GotoKnow

วิธีตั้งชื่อเรื่องวิจัยเชิงทดลอง

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว
เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2549 12:21 น. ()
แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2555 11:23 น. ()
ชื่อเรื่องการวิจัยใดจะเป็นหัวใจของวิธีวิจัยนั้นๆ

หลักในการตั้งชื่อเรื่องวิจัย (1) ตั้งชื่อจากปัญหาการวิจัย, (2) ชื่อเรื่องวิจัยเป็นหัวใจของเรื่องวิจัย, (3) ต้องถูกหลักภาษา

ขั้นตอนในการตั้งชื่อเรื่องวิจัย :

     1. ค้นหาตัวแปรจากปัญหาการวิจัย

     2. แปรค่าตัวแปรออกเป็นระดับ (Level)

     3. พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผล(Cause - Effect) หรือเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation)

     4. ใช้ตัวแปรตั้งชื่อเรื่งวิจัย

ตัวอย่าง :

ปัญหาการวิจัย  : การสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (รูปประโยคบอกเล่า)

                    : ความคิดสร้างสรรค์ สามารถสอนได้หรือไม่? (รูปประโยคคำถาม)

ตัวแปร(Variables) : ตัวแปรอิสระ : วิธีสอน

                         : ระดับ ; วิธีสอนความคิดสร้างสรรค์ - ไม่สอนความคิดสร้างสรรค์

                         : ตัวแปรกลาง : ปัญญา

                         : ระดับ          ; ปัญญาระดับสูง - ปัญญาระดับต่ำ

                         : ตัวแปรตาม  ; คะแนนจำนวน, คะแนนริเริ่ม หรือเอกลักษณ์

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร : เชิงสาเหตุและผล  โดยมีวิธีสอนเป็นสาเหตุ(Cause) คะแนนความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งได้แก่ คะแนนจำนวน  คะแนนริเริ่ม เป็นผล(Effect)

การตั้งชื่อเรื่อง      : อาจจะตั้งชื่อได้หลายชื่อที่มีความหมายสอดคล้องกัน เช่น

                        : บทบาทของวิธีสอนความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์

                        : ผลของวิธีสอนความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์

                        : วิธีสอนความคิดสร้างสรรค์กับความคิดสร้างสรรค์ : การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผล

 

 



ความเห็น

ขจิต ฝอยทอง( khajit's blog)
เขียนเมื่อ

เป็นการให้ตัวอย่างการตั้งชื่อเรื่องวิจัยเชิงทดลองที่ชัดเจนดีครับอาจารย์ถือว่าการวิจัยเชิงทดลองเป็น Quasi-experiment ใช่ไหมครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
เขียนเมื่อ

Quasi-experiment เป็นการวิจัยเชิงทดลองประเภทหนึ่ง.  กล่าวคือ Quasi-experiment เป็น Subset ของ  Experimental research  มีความหมายแตกต่างกันกับคำกล่าวว่า "การวิจัยเชิงทดลองเป็น Quasi-experiment"

บันทึกข้างบนนี้ เป็นการกล่าวถึงเรื่องของการตั้งชื่อเรื่องวิจัยเท่านั้น  ไม่ได้กล่าวถึงแบบแผนการวิจัย(Research Design)  และไม่อาจจะกล่าวได้เลยว่าเป็น Quasi-experimental research  หรือ True-experimental research

แต่ตามตัวอย่างข้างบนนั้น ตัวแปรทดลองคือ วิธีสอน  ซึ่งผู้วิจัยสามารถแปรค่ามันได้เพื่อนำไปสอน นั่นคือเราสามารถ Manipulate มันได้ ประการหนึ่ง  และถ้าเรา Random Subjects เข้าสู่กลุ่มทดลองได้ด้วยอีกประการหนึ่ง  รวมทั้งเราได้แปรค่า ปัญญา ออกเป็นสองระดับด้วย  แบบแผนการวิจัยก็จะเป็น Factorial Design และเป็น True-Experiment ไปเลย ครับ    

 

ขจิต ฝอยทอง
เขียนเมื่อ
  • ขอบคุณมากครับที่ให้ความกระจ่าง
ขจิต ฝอยทอง
เขียนเมื่อ
  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่เข้ามาให้กำลังใจและเยี่ยมชม blog ผม
  • ชอบอ่านงานวิจัยของอาจารย์นะครับ
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
เขียนเมื่อ

ขอบคุณมากครับ  ผมสนใจเรื่องของชีวิตผจญภัยที่คุณได้เล่าไว้ ครับ.   คุยไปได้ที่ [email protected] ครับ.

จารินี
เขียนเมื่อ

ขอบคุณมากคะสำหรับข้อมูล กำลังหารายงานส่งอาจารย์ (กำลังเรียน ป.โท หลักสูตร) อยู่คะ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
เขียนเมื่อ

ขออวยพรให้จบเร็ว ๆ ครับ

กมลพร
เขียนเมื่อ

ขอบคุณค่ะ กำลังจำนำเสนอ หน้าชั้นเรียนค่ะ

สวัสดี คุณ กมลพร

ขอให้ได้คะแนนงามๆนะ เรื่องการตั้งชื่อเรื่องวิจัยตามบทความนี้ ไม่มีในตำรานะครับ ถ้าหากว่าเพื่อนๆในชั้นของคุณไม่เคยเข้ามาอ่านบล็อกนี้เลย ก็แสดงว่า คุณพูดถึงเรื่องใหม่แปลกสำหรับผู้ฟัง และคงจะถามคุณกันมาก คุณคนเก่งก็ต้องตอบให้ได้ทุกคำถามนะ ห้ามตอบว่าไม่ทราบโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นก็ไม่เก่ง จริงไหม


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย