Empowerment เด็กไทย ...ปฏิบัติการป้องกันโรคตามฤดูกาล


เชื้อโรค ทำงานตามปฏิทิน ตามฤดูกาล อย่างชัดเจนมาก แต่ การป้องกันโรคของคนไทยยังไม่มีปฏิทินที่ชัดเจน ไม่เป็นที่รับทราบตรงกัน ปฏิทินระดับครอบครัวก็ไม่มี

       ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานด้านผู้เรียนประการหนึ่ง ที่ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานการศึกษาชาติ โดยโรงเรียนทุกโรง ต้องทำเหมือนกันทั่วประเทศ  คือ ส่งเสริมให้ “นักเรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี”

       วันนี้ตื่นมาตอนเช้า ได้อ่านเรื่อง  เมื่อไข้เลือดออกพรากชีวิตลูกน้อย...จากอกแม่  ของคุณ อำนวย ทำให้ต้องบันทึก ในเรื่อง “สุขนิสัย และสุขภาพกายของนักเรียน” และ การปฏิบัติการเพื่อป้องกันโรคตามฤดูกาล   สิ่งที่ผมอยากเห็น  อยากให้มี และใฝ่ฝัน สำหรับประเทศไทย คือ

  • อยากให้มี ทีมเฝ้าระวังโรคตามฤดูกาล ที่เข้มแข็ง ผมอ่านบันทึกของคุณอำนวย แล้ว ผมขอชื่นชมในความมุ่งมั่น จริงใจของทีม SRRT นะครับ...ขณะนี้ ในประเด็นนี้ น่าจะมีแล้วครับ
  • อยากให้มี "ปฏิทินการปฏิบัติงาน ป้องกัน-ควบคุม-แก้ปัญหาโรคระบาดตามฤดูกาล" ของประเทศไทยจังเลย  คนไทยควรเรียนรู้ว่า วันไหน เดือนไหน ของแต่ละปี จะต้องเตรียมการเพื่อป้องกันโรคอะไร  เช่น โรคไข้เลือดออก ต้องเริ่มเตรียมการณ์ตั้งแต่เดือนเมษายน  โรคเล็บโต  โรคไข้หวัดนก  ท้องร่วง ฯลฯ ต้องเริ่มกันในเดือนไหน  ทุกโรคเหล่านี้ ผมเชื่อว่า "เชื้อโรค ทำงานตามปฏิทิน อย่างชัดเจนมาก"  แต่ “การป้องกันโรคของคนไทยยังไม่มีปฏิทินชัดเจน  ไม่เป็นที่รับทราบตรงกัน   ปฏิทินระดับครอบครัวก็ไม่มี ดังนั้น  การปฏิบัติการ เพื่อป้องกันโรคแบบพร้อมเพรียงกัน ทั่วประเทศ จึงยังไม่เกิดขึ้น   เมื่อมีคนตายเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ครอบครัวต่าง ๆ ก็จะตื่นตัวครั้งหนึ่ง

 

  • ผมเคยฝัน  ในฝัน “ได้เห็นเด็กไทย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 17-19 ล้านคน  เป็นทีมรณรงค์ เพื่อป้องกันโรคตามฤดูกาล กันอย่างต่อเนื่อง มีปฏิทินการปฏิบัติงานระดับประเทศแบบพร้อมเพรียงกัน.... ในทันที่เปิดภาคเรียนที่ 1 ของทุกปี  เช่น วันที่ 15-18 พฤษภาคม ของทุกปี   เยาวชน ได้ออกปฏิบัติการ ทบทวนเกี่ยวกับ อาการของโรคไข้เลือดออก และแนวปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดย นักเรียนแต่ละคน ถือกระดาษ 1 แผ่น ไปถามชาวบ้าน ว่า ต่อไปนี้เป็น อาการ และแนวปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ท่านตอบว่า  “ใช่”  “ไม่ใช่”  หรือ “ไม่แน่ใจ”  ถ้าตอบผิด นักเรียนจะเฉลย ทั้งนี้ ได้กำหนดเป้าว่า  นักเรียน 1 คน ต้องไปสอนหรือสอบถามชาวบ้าน(ญาติพี่น้อง) อย่างน้อย 5 คน  หลังจากนั้น กระทรวงก็ประกาศว่า ในขณะนี้ คนไทย จำนวน 65 ล้านคน ได้รับรู้และมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกครบถ้วนแล้ว( เด็ก 18 ล้าน x 5 คน =90 ล้านคน)”...มาถึงตอนนี้ ผมตกใจตื่น....แหม..อยากให้ฝันเป็นจริง และทำอย่างต่อเนื่อง ทุกโรค  ตามฤดูกาล ตลอด 12 เดือน  เหมือนในฝันจังเลย
หมายเลขบันทึก: 183071เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท