บูรณาการการศึกษาบ้านเรา


โครงการ บูรณาการการศึกษาบ้านเรา

(ไม่มีโรงเรียนวัดในวันนั้น...ไม่ีมีฉันในวันนี้)

 

1.      หลักการและเหตุผล


ด้วย การศึกษาในระดับท้องถิ่นในบ้านเรายังขาดการให้ความสำคัญอย่างจริงจังโดย เฉพาะการทำงานในด้านการศึกษาในระดับชุมชนยังมีการแบ่งภาคส่วนกันอย่างชัดเจน เช่น โรงเรียนมีหน้าที่ให้ความรู้กับเด็กๆ ในท้องถิ่นเท่านั้น เมื่อเด็กๆ เรียนจบในระดับการศึกษาพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษาตอนต้น ก็จะต้องขวนขวายหาที่เรียนในเมืองหรือที่ไกลออกไป ด้วยเหตุเพราะหวังว่าจะทำให้ชีวิตพัฒนาไปในทางที่ดีกว่า ส่งผลให้การศึกษาที่ทันสมัยต้องวิ่งไปกระจุกกันอยู่แต่ในเมือง ซึ่งจริงๆ แล้วนั้น องค์ความรู้ที่เด็กๆ ควรจะได้เรียนรู้ก็อยู่ในท้องถิ่นของเรานั่นเอง เพียงแต่ยังขาดการประสานงานร่วมมือกันในชุมชนบ้านเราในระดับท้องถิ่น โดยการรวมองค์กรต่างๆ ที่มี ทั้งภาคราชการ เอกชน และท้องถิ่น ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของคนในชุมชน ด้วยโครงการนี้ มีแนวคิดที่ว่าจะบูรณาการ ผสมผสานความรู้ที่มีอยู่ในธรรมชาติท้องถิ่นให้รวมตัวกัน เช่น บ้าน วัด มัสยิส โบสถ์ โรงเรียน องค์กรในชุมชน ทำงานร่วมกัน เรียนรู้ไปด้วยกัน โดยเป็นการรวมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาภาคอิสระ มารวมกัน เพื่อพัฒนาการศึกษา และพัฒนาชุมชนไปพร้อมๆ กัน โดยขับเคลื่อนจากองค์กรที่มีอยู่แล้วในชุมชน

 

2.     วัตถุประสงค์

  1. เพื่อต้องการให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของตน
  2. เพื่อลดอัตราการเข้าศึกษาในเมืองตั้งแต่ภาคการศึกษาพื้นฐาน ในระดับ 1-9 หรือ 12 ปี โดยเน้นการศึกษาในชุมชนของตนเอง
  3. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น อยู่บนพื้นฐานการศึกษามาตรฐานและการศึกษาท้องถิ่นบนรากเหง้าทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตัวเอง
  4. เพื่อทำการศึกษาภาคชุมชนท้องถิ่นให้เรียนรู้ได้ไม่แตกต่างจากการศึกษาในตัวเมืองในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร และสาระความรู้
  5. เพื่อให้การศึกษาระดับพื้นฐานมีการส่งรับนักเรียนในช่วงการศึกษาแต่ละระดับให้กันอย่างต่อเนื่อง ลดการตกหล่นของนักเรียนที่ไม่สำเร็จการศึกษากลางคัน
  6. เพื่อสร้างจุดของเครือข่ายในชุมชนในการเชื่อมต่อกับชุมชนรอบข้างเป็นเครือข่ายในอนาคต
  7. เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าการศึกษาในท้องถิ่นห่างไกลตัวเมืองสามารถให้การศึกษาระดับพื้นฐานได้ไม่แตกต่างกัน อยู่บนรากทางวัฒนธรรมที่สวยงามของชุมชน
  8. เพื่อพัฒนาการศึกษาภาคพื้นฐานก่อนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 
3.      ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. โรงเรียนระดับประถมศึกษาในท้องถิ่นบ้านเรา
  2. โรงเรียนมัธยมศึกษาในท้องถิ่น
  3. วัด มัสยิด โบสถ์ องค์กรพัฒนาทางด้านจิตใจ และคุณธรรม
  4. ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรอื่นๆ ในภาครัฐและเอกชน
  5. สมาคมครูและผู้ปกครอง ตลอดจนศิษย์เก่า
  6. อื่นๆ


4.      วิธีการดำเนินงาน

  1. พูดคุย ปรับกระบวนการ มองตน ในระดับพื้นฐาน ประเมินการศึกษาท้องถิ่นบ้านเราในชุมชน พัฒนาการของเด็ก อาชีพของคนในชุมชน รากเหง้าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นเรา ตลอดจนแนวทางต่างๆ การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในทุกๆ องค์กร ในชุมชน เช่นการประชุมกันเองในองค์กรของตนก่อน แล้วค่อยประชุมร่วมเมื่อแนวคิดเป็นไปได้แล้ว ค่อยขยับกระบวนการให้กว้างในชุมชนมากขึ้น
  2. พูดคุยกับ ศิษย์เก่า ในระดับของการสะท้อนแนวคิดเพื่อพัฒนาต่อยอด และปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง จัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าชุมชน (โรงเรียน หมู่บ้าน) เป็นข้อมูลเพื่อการบริหารชุมชนต่อไป  โดยอาจจะมีอาจารย์ในระดับอุดมศึกษามาร่วมทำโครงการร่วมด้วย ในการแนะแนวในอนาคตในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการศึกษาพื้นฐานเช่น ป.5,6 ม.2,3 ม.5,6 หรือ ปวช.ปวส. เพื่อพัฒนาต่อ โดยมีการแนะนำจากผู้รู้จากศิษย์เก่า หรือ นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาตลอดจนผุ้ประสบความสำเร็จในชุมชน
  3. วางแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงในส่วนที่บกพร่องอยู่ ตลอดจนการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ในชุมชน ทั้งทางด้านสมอง ร่างกาย และจิตใจ
  4. ออกแบบกิจกรรมพื้นฐานให้เกิด เช่น กิจกรรมร่วมกันระหว่าง มัธยมกับประถมศึกษา มัธยมกับชุมชน โรงเรียนกับวัดหรือมัสยิด หรือโรงเรียนกับชาวบ้าน เน้นการมีส่วนร่วม กิจกรรมพี่สอนน้อง(ทั้งระดับครูและนักเรียน) และอื่นๆ
  5. การเข้าร่วมประชุมกับหมู่บ้าน ในระดับประจำเดือนทุกๆ เดือน เช่นผู้บริหารระดับโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นสายอาชีพ (ปวช. ปวส.) การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) สายสามัญ องค์กรเอกชน และเจ้าอาวาสของวัดในท้องถิ่น มีการพูดคุยกัน เน้นการร่วมคิด ร่วมแก้ ร่วมทำ แทนการทำแยกส่วนที่เคยมีมา
  6. ออกแบบเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการรักษาวัฒนธรรมเดิมของท้องถิ่น ขึ้นกับแต่ละชุมชน ก็จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้คือความงามของความหลากหลาย
  7. ออกแบบกิจกรรมเกี่ยวกับ อาชีพต่างๆในท้องถิ่น เช่น กิจกรรมทางด้านการเกษตร คหกรรม การช่างต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอื่นๆ โดยจัดให้มีการเรียนเป็นวิชาพื้นฐานในระดับมัธยมต้น เพื่อปูฐานในการเรียน ระดับ มัธยมปลาย หรือระดับอาชีวะศึกษาต่อไป
  8. ติดต่อเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ระบบสารสนเทศในการบริการให้กับชุมชน โดยอาจจะมี โรงเรียน มัธยมเป็นเจ้าภาพในการให้บริการ อบรมและเข้าถึงข้อมูลต่างๆภายในชุมชน โดยมีที่ปรึกษาตามความเหมาะสม (เสนอโครงการต่อภาครัฐ)


5.      กิจกรรมตัวอย่าง

  1. กิจกรรมในชุมชน เน้นกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน หันไปพัฒนาเรื่องของการให้ การเข้าใจธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น  การมีชั่วโมงบริการชุมชน เช่น นักเรียนประถม ป.5 ไปกันทั้งห้องช่วยเกี่ยวข้าวให้กับชาวบ้าน หรือ ร่วมปลูกต้นไม้ชุมชน หรืออื่นๆ
  2. กิจกรรมให้ความรู้ เช่น พี่สอนน้อง (นร. มัธยม สอนติวน้อง ประถม แทนการไปติวพิเศษด้วยเงินทางผ่านระบบธุรกิจอื่นๆ) โครงการปราชญ์ชุมชนสอนนักเรียน เป็นแนวทางการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และผู้ให้หรือเด็กผู้สอนเป็นแนวทางของการสร้างยุวชนครูตัวน้อย ในอนาคตได้ดีอีกด้วย
  3. กิจกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนประจำปี หรือประจำฤดูกาล ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน และสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ สอบถาม
  4. กิจกรรมการบริการชุมชนทางด้านการเกษตร การช่างต่างๆ นาฏศิลป์ คหกรรม ให้กับชุมชน เช่น การบริการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน จาก นร.มัธยมศึกษาตอนต้น ให้บริการกับชาวบ้านในอัตราที่ถูก หรือบริการให้ฟรี แล้วแต่การออกแบบ หรือการบันเทิงละเล่นต่างๆ ในชุมชน ตามงานต่างๆ เช่นการรำมโนราห์ในงานต่างๆ เล่นหนังตะลุงเด็ก เพลงอีแซว หมอลำ ลำตัด ลิเก ในงานต่างๆ เป็นการรักษาไม่ให้วัฒนธรรมเหล่านี้หายไปจากท้องถิ่น และกิจกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นอื่นๆ วัฒนธรรมการละเล่น ชาวมอญ ไทยใหญ่ ไทยลื้อ อาจจะจัดให้มีการละเล่นตามที่มีผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนด้วยก็ได้ เช่นครูจากภาคอีสานมาสอนภาคกลางและสอนการละเล่นในภาคอีสานด้วยก็ได้  ตลอดจนการทำอาหารต่างๆ แนะนำให้ชาวบ้านเป็นอาชีพเสริมได้
  5. กิจกรรมแนะแนว เชิญวิทยากรรุ่นพี่ ศิษย์เก่า หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในชุมชนหรือระดับประเทศมาให้ความรู้แลกเปลี่ยน สร้างแรงจูงใจให้กับเด็กๆ
  6. กิจกรรมพัฒนาครูร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ในการเชื่อมระหว่างแนวทางการบูรณาการทฤษฏีและปฏิบัติให้เข้ากัน
  7. กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนในชุมชน อาหารกลางวันในโรงเรียน ชุมชน โรงพยาบาล
  8. กิจกรรมอาหารปลอดสารพิษ ผักปลอดสารพิษ ดินน้ำลมสะอาด
  9. กิจกรรมสาธารณสุขชุมชน สุขภาพพลานามัย กีฬาในชุมชน สร้างความสนิทสนม และเสริมวิชาการแฝงเรื่องการดูแลสุขภาพ ลดโรคภัยไข้เจ็บตลอดจนการป้องกันโรคภัยต่างๆ
  10. กิจกรรมอยู่กับธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น กิจกรรมจักรยานในชุมชน ลดภาวะโลกร้อน ชุมชนสีเขียว
  11. กิจกรรมป่าชุมชน ศึกษาแนวปลูกป่าอยู่ร่วมกับธรรมชาติ กันแนวลมพายุ ทิศทางลม แนวน้ำท่วม สำหรับภัยที่จะยังมาไม่ถึงหรือกำลังจะมาถึง
  12. โครงการชุมชนยั่งยืน อื่นๆ เน้นการ คิดทุกอย่างที่ทำ ทำทุกอย่างที่คิด ทำทุกอย่างที่ใช้ ใช้ทุกอย่างที่ทำ
  13. อื่นๆ


6.     ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน เกิดการให้ต่อกันและกัน เป็นพื้นฐานของสังคมอยู่เย็นเป็นสุขต่อไป
  2. นักเรียนจะมีพื้นฐานและความผูกพันระหว่างตัวเองกับชุมชน เป็นพื้นฐานที่ดีต่อการเกิดสำนึกรักบ้านเกิดต่อไป
  3. นักเรียนจะมีความรู้รากเหง้าชุมชน แม้จะต้องบินออกจากชุมชน วันหนึ่งจะกลับมาและคืนคุณค่าให้กับชุมชนตัวเองและชุมชนอื่นๆ ในแบบการพัฒนาเชิงคู่ขนาน
  4. เกิดชุมชนบูรณาการเพื่อการศึกษาในชนบทให้เทียบเท่าการศึกษาในตัวเมือง ทั้งในเรื่องการศึกษามาตรฐานและมีพื้นฐานทางอาชีพเสริมในหลักสูตรมาตรฐาน เช่นการเกษตร การช่าง คหกรรม วัฒนธรรม
  5. เกิดความภาคภูมิใจในชุมชนที่ตัวเองอยู่และศึกษามา ตลอดจนการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น บนพื้นฐานของชุมชนของตัวเองตั้งแต่ นักเรียน จนถึงผู้ใหญ่ในชุมชน
  6. อื่นๆ



7.     การประเมินผล

  1. การประเมินผล ดูที่พัฒนาการและพฤติกรรมของเด็ก การเรียนรู้ การศึกษา การรับรู้เข้าถึงข้อมูล และอาชีพที่เกิดขึ้น
  2. การทำงานร่วมกันในชุมชน มีศักยภาพมากน้อยเพียงใด
  3. ความสงบสุข เกื้อกูลพึ่งพาในชุมชน
  4. อื่นๆ



8.     งบประมาณ

  1. งบประมาณจัดหาตามความจำเป็นในชุมชน มีกิจกรรมมากมายเช่น การนัดพบศิษย์เก่า สมาคมผู้ปกครอง หรือ งบจากชุมชนเอง งบส่วนหนึ่งจากโรงเรียน องกรณ์ชุมชน เช่น อบต.อบจ. เทศบาล และอื่นๆ  ตลอดจนการรับบริจาคจากภาคเอกชนในชุมชนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาท้องถิ่น
  2. งบอื่นๆ ตามโครงการในวาระต่างๆ ที่มีจากภาครัฐหรือเอกชน



9.     หมายเหตุ

    โครงการนี้ ร่างขึ้นแบบกลางๆ ท่านสามารถจะปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับชุมชนของท่านได้ตามที่เห็นสมควรได้อย่างอิสระ

    โครงการนี้อยู่ในใจผมมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างมากในตอนนี้ ตอนนี้อยู่ในช่วงพูดคุยกับคุณครูในชุมชนเป้าหมายที่ผมวางไว้ ก็เลยได้แนวคิดว่า ลองเอามานำเสนอดูเผื่อว่าท่านใดสนใจอยากจะเดินทางร่วมและจัดทำในพื้นที่ของตัวเอง จะทำให้เราเดินไปพร้อมๆ กัน จุดตรงนี้ผมคิดว่าเป็นหนทางหนึ่งในการบริการชุมชน ที่เราทุกคนควรมีส่วนในการรับผิดชอบการศึกษาภาคชุมชนร่วมกันครับ

 

ดาวโหลดร่างโครงการ...

  1. ThaiRuralEducation.doc
  2. ThaiRuralEducation.pdf


ขอขอบคุณคำแนะนำจาก

  1. พี่เหลียง สิทธิรักษ์
  2. ท่านอัครราชทูตพลเดช
  3. พี่บุญรุ่ง


ขอแสดงความนับถือ

 
ร่างโดย…สมพร ช่วยอารีย์

 

ท่านคิดว่าส่วนใดจะเพิ่มเติมแต่ง ทำได้เต็มที่นะครับ... ด้วยความยินดีครับ

 

  

 โรงเรียน กับ วัด มัสยิด โบสถ์ อยู่ด้วยกัน (โรงเรียนเสริมสมอง วัดเสริมใจ)

 

 

หมายเลขบันทึก: 182961เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

ตามมาดูการบูรณาการแบบไทยๆๆครับผม...

ที่เสนอมาก็ถือว่าเป็นความตั้งใจที่ดีค่ะ

พี่อยากให้มองการศึกษาในสามระดับ

1.การศึกษาระดับพื้นฐาน คือคนไทยทุกคนต้องอ่านออกเขียนได้ เพื่อจะได้สื่อสารกันได้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน สามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ในทุกตารางนิ้วของแผ่นดินเกิด

2.การศึกษาระดับกลาง เพื่อประกอบสัมมาชีพในทุกแขนงวิชาชีพ ที่พึงมีในแผ่นดินเกิดอย่างมั่นคง

3.การศึกษาระดับสูง รัฐต้องลงทุนเต็มที่คัดเลือกบุคคลที่มีระดับสติปัญญาที่อยู่ในดีเกณฑ์ดีเยี่ยม รัฐต้องจัดงบประมาณเต็มที่ส่งเสริมให้ศึกษาค้นค้วาวิจัยในทุกด้านที่ใช้พัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย ด้านอาหาร ยารักษาโรค พลังงาน เทคโนโลยี่ ศิลป ดนตรี ฯลฯ

จากนั้นก็มาพิจาณาว่า การศึกษาในแต่ระดับควรอยู่ในความรับผิดของใคร อย่างไร งบประมาณแต่ระดับต้องจัดให้เหมาะสม

ประการสุดท้ายต้องมีการประเมิณผลที่มีประสิทธิภาพ และฝึกอบรมเพิ่มเติมให้เป็นระยะๆตามความเปลี่ยนแปลงของความเจริญบนโลกใบนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

เพิ่งมีโอกาสแวะมาคุยค่ะ งานในวารสารทันตภูธรก็นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน วัดและ โรงเรียน โดยชุมชนและเพื่อชุมชนเองในเรื่องของทันตสุขภาพค่ะ แต่เรื่องฟันจะเป็นเรื่องท้ายๆที่ชุมชนสนใจเสมอ หมอฟันที่ทำงานในชุมชนได้ดีจึงต้องไปร่วมด้วยช่วยกันกับชุมชนให้ความสำคัญในเรื่องอื่นๆที่ชุมชนสนใจก่อนแล้วจึงจะสอดแทรกความรู้เรื่องฟันเข้าไปตามโอกาสที่เหมาะสม เป็นเรื่องของศิลปะในการนำเสนอและความสามารถเฉพาะตัวของหมอฟันแต่ละรายไปค่ะ

การเริ่มรวมพลังชุมชนด้วยเรื่องการศึกษาน่าจะเข้าถึงชุมชนได้ง่ายกว่าเรื่องอื่นๆนะคะ  และจะทำให้ชุมชนโดยรวมเข้มแข็งต่อไป

ว่าแต่ว่า คุณเม้งได้คิดเผื่อเรื่องการแฝงตัวเข้ามาของบรรดาหัวคะแนนนักการเมืองท้องถิ่นไว้บ้างป่าวค๊า ..เป็นห่วงค่ะ หุ หุ

สวัสดีครับพี่บ่าวขจิต ฝอยทอง

    สบายดีไหมครับ อิๆๆๆ ขอบคุณมากๆ เลยครับ เป็นเรื่องที่ดีจังครับ วันนี้สวนป่าครึกครื้นครับ มีอะไรคงได้แลกเปลี่ยนกันครับเรื่องนี้ครับ คิดว่าต้องวางแผนและดำเนินการต่อไปครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับพี่Lin Hui

    ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับแนวคิดและการแบ่งระดับให้ชัดเจนครับ เพราะตอนนี้ในระดับที่คิดคือ อยู่ในระดับแนวทางเบื้องต้นคือให้ คนในชุมชนคิด เริ่มคิด มองปัญหาของตัวเองและนำไปสู่การพูดคุยในวงกว้างและหาทางร่วมกันนะครับ และค่อยๆ ปรับๆ กันไปครับ ผมก็คงลงพื้นที่เป้าหมายที่ผมช่วยได้เช่นกันครับ

    พี่ลองจับหรือมองกลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่พี่ลงได้ด้วยดูไหมครับ แล้วช่วยกันขับเคลื่อนแล้วเราค่อยแลกเปลี่ยนร่วมกันครับ น่าจะทำให้เกิดอะไรขึ้นได้ระดับหนึ่งครับ ในหลักการตอนนี้ผมได้คุยกับคุณครูไปแล้วครับ รอให้คุณครูพูดคุยกันด้วยครับ

    ขอบคุณมากๆ นะครับ

คุณเม้ง  แวะไปดูกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในบันทึกคุณหมอนนทลีนะคะ  น่าสนใจและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงๆค่ะ  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ยินดีค่ะ เพราะอ๋อก็นำเสนอทางวารสารทันตภูธรอยู่เสมอค่ะ  อ๋อต้องรีบหน่อยค่ะ  รีบไปซื้อสะตอค่ะ

สวัสดีครับคุณ อ๋อทิงนองนอย

    ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับคำแนะนำนะครับ เรื่องสุขภาพพื้นฐานนี่ก็สำคัญมากๆ ครับ ซึ่งถ่ายทอดผ่านนักเรียน นักเรียนถึงครอบครัวก็ได้อีกทางหนึ่ง หรือให้ความรู้โดยตรงจากคุณครูที่สอนสาธารณสุข หรือเชิญคุณหมอในพื้นที่ หรือระดับอำเภอจังหวัดมาให้คำแนะนำ หรือจะเชื่อมต่อมายัง โกทูโนว์ก็ได้ครับ เพราะเส้นทางนี้จะเข้าูสู่ถนนสายหลักที่ ร.ร. หรือชุมชนสามารถจะนำความรู้จากผู้เชี่ยวชาญลงไปปรับใช้ได้ด้วยครัีบ

    ผมเห็นด้วยเลยครับ โครงการของพี่นนทลี ทำอยู่น่าสนใจและอีกหลายๆ ท่านที่เขียนเกี่ยวกับด้านสุขภาพและเรื่องของเกษตรพอเพียง นับว่าเป็นเครือข่ายที่จะต่อเชื่อมโยง และทำให้ ต้นไทร ต้นนี้ เติบโตได้จริงๆ ครับ

    ต้นไทร สายใยโกทูโนว์

    อาจจะต้องปรึกษาหลายๆ ท่าน และคุณอ๋อ (ธิดาเทพ) ด้วยนะครับ

    ส่วนเรื่องหัวคะแนนนั้นคงไม่มีอะไรมากครับ คิดว่าการศึกษาจะช่วยแก้ไขปัญหาทางความคิดได้ครับ แม้จะใช้เวลาหน่อยก็ตามครับ เน้นความจริงใจ และศรัทธานำครับ

ขอบคุณมากๆ นะครับ สะตอและขนมครับ

 

จะว่าไรไหมคะ ถ้าจะหอบกุ้งสะตอมาฝากด้วยอ่ะค่ะ จานใหญ่มากๆ

สวัสดีครับคุณทิงนองนอย

    ว้าาว.. มาส่งถึงบ้านเลยครับ กำลังตักข้าวมาทานกับผัดกุ้งสะตอพอดีเลยครับ มีพริกขี้หนูสดหั่นชิ้นเล็กๆจิ้มกะปิกินด้วยครับ พร้อมไส้กรอกและต้มจืดน้องๆ ครับ เด็ดเลยครับ

    คิดถึงต้นสะตอที่บ้านจังครับ

การปลูกไม้ยืนต้นแบบดูอัลคอร์ Dual Core สองพลังเทอร์โบ

ขอบคุณธิดาเทพมากๆ เลยครับ

ตามกลิ่นผัดสตอมาเยี่ยมบ้านคุณเม้งค่ะ :)

สวัสดีครับคุณ jaewjingjing และ ธิดาเทพอ๋อทิงนองนอย

    ขอบคุณครับ เชิญนั่งกันก่อนนะครับ ดื่มน้ำและนั่งให้หายเหนื่อยแล้วทานอาหารบูรณาการด้วยกันครับ  เดี๋ยวไปทานกันที่นี่ได้เลยครับ

เมนูประยุกต์ต่างแดน น้ำพริกปลาย่างไฮเดลแบร์ก

    และ

มีแกงส้ม น้ำพริกกะปิ

ทานเต็มที่ครับผม

คุณเม้ง สมพร

อ่าน ๑ รอบ ยังไม่มีความเห็นนะคะ

แต่ชื่นชม ในบันทึกของคุณ

แล้วจะมาให้ความเห็น ตอนต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะคุรณม้ง

พอตามเข้ามาในบล็อก เป็นงงเลยค่ะ สมองมันสั่ง ไปกินข้าวๆๆกับผัดกุ้งใส่สะตอ..

คุณเม้งนี่คิดอะไรว่องไวเสมอ อย่างนี้ซิคะ คนที่ประเทศชาติต้องการ

เป็นการขยายความคิดที่ดีมาก สำหรับมือเก่า และมือใหม่ ที่มีใจรัก งานชุมชน

คิดว่า การดำเนินงานนี้ คงมีหลายๆท่านได้ลงมือไปแล้ว แต่อาจไม่ครบถ้วน กระบวนความ เพราะแต่ละหน่วยงาน ที่จะเป็นตัวประสานนั้น ก็อาจยังอาจจะหากันไม่เจอ

ผู้ใหญ่บ้าน ก็เป็นจุดศูนย์รวมที่ดี และพี่ก็ได้ร่วมงานกับท่านๆอยู่ เป็นแรงผลักดันได้ดี

อีกอย่าง ผู้ใหญ่สมัยนี้ ก็เป็นคนรุ่นใหม่ ทันสมัยทั้งนั้น ทำงานน่าสนุกค่ะ

ขอให้โกทูโนว์ เป็นสื่อสัมพันธ์ ให้โครงการนี้ต่อไป พี่ว่า ถ้าแต่ละคน เอาจิ๊กซอในมือวางลง ก็จะต่อกันเป็นรูปร่างมากขึ้น สะดวกในการเป็นแบบอย่าง กันต่อไปค่ะ

เอาใจช่วยค่ะ และจะนำไปบูรณาการณ์ด้วยค่ะ

สวัสดีครับคุณเอื้องแซะ

    ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ และยินดีที่ได้รู้จักครับ หากมีอะไรแนะนำด้วยความยินดีและขอบพระุคุณล่วงหน้านะครับ ผมก็ยังมองอะไรไม่ครอบคลุมและต้องศึกษาอีกเยอะครัีบผม

ขอบพระคุณมากครับ

สวัสดีครับพี่รุ่ง ตันติราพันธ์

    ขอบคุณมากครับพี่ ใช่ครับ จริงๆโครงการนี้ไม่ได้ใหม่อะไรเลยครับ และเชื่อว่าหลายๆ ที่นำไปทำแล้ว และได้ผลแล้วก็น่าจะมีอยู่ไม่น้อยครับ เพียงแต่หากเราปรับให้มีการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนได้มากขึ้น จะเกิดความยั่งยืนของชุมชน ตลอดจนการแนะแนวให้กันในหมู่บ้าน รื้อเรื่องธรรมชาติให้กลับมา เน้นสมุนไพรพื้นบ้านให้กลับมา โดยโรงเรียนเป็นผู้นำในการคิดทำและผลักดันให้มีการนำไปใช้ในระดับครัวเรือนได้ หลายๆ โครงการเลยครับ

    สำหรับผู้นำชุมชนในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ก็จำเป็นมากๆ นะครับ แล้วจับมือร่วมกันจะเกิดการนำไปสู่การสร้างชุมชนยั่งยืน ครบวงจรได้ครัีบ เพราะเืชื่อมต่อกับโลกและสังคมภายนอกได้ครับ สำหรับข้อมูลข่าวสารก็ทำงานร่วมประสานกับกระทรวงไอซีที เพื่อให้เกิดการนำไปสู่การเกื้อกูลจากทางภาครัฐด้วยครับ

    ต้องดูครับ ว่าจะไปได้ขนาดไหนครับ แต่ก็ปัญหาเิกิดได้และยินดีให้เกิดและยินดีจะร่วมแก้ต่อๆ ไปครับ

ขอบคุณพี่มากครับ

มาปรบมือให้คุณเม้งดัง ๆ ค่ะ....^_^

เม้งครับ ...

ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่ผมสัมผัสในวันนี้ครับ

------------------------------------------------------------------

ถึงสนามบินนครศรีธรรมราช เย็นย่ำ บรรยากาศดี ฝนไม่ตก ลมโชยเย็นสบาย มองผ่านกระจกก่อนเครื่องลง เห็นสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ต้นไม้เขียวครึ้ม ดูๆไปพื้นที่คล้ายเชียงใหม่

มาที่ชายเล ด้าน อ.ปากพนัง - แหลมตะลุมพุก พูดคุยกับคนที่นี่เกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่ พอประมวลหลักๆได้ดังนี้

  • อุบัติการณ์เบาหวานความดัน ๑ ต่อ ๖ ซึ่งก็หมายถึง อ.เชียรใหญ่ มี ประชากร ๖๐,๐๐๐ คน มีผู้ป่วยเบาหวานความดัน ๑๐,๐๐๐ คน ซึ่งข้อมูลน่าตกใจ - - -ผมคิดว่างาน health promotion อาจต้องเข้มข้น
  • นากุ้งร้างจากสารเคมีเข้มข้น ๑ ใน ๓ ส่วน ถูกทิ้งไว้ปล่อยร้าง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงรำคาญ
  • ป่าพรุ ถูกทำลาย ระบบนิเวศที่ขาดความสมดุล  ความสมบูรณ์ของ พรุ หายไป ซึ่งหมายถึง แหล่งชีวนิเวศที่หายไป แหล่งอาหารชุมชนหายไป อ.เชียรใหญ่ อ.ปากพนัง อ.หัวไทร ส่วนหนึ่งอพยพออกไปทำงานต่างจังหวัดในหัวเมืองใหญ่ๆ เหลือแต่ผู้สูงอายุและเด็ก
  • นาข้าว มีน้ำเค็มเอ่อท่วม ทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ
  • พืชเชิงเดี่ยว เช่นปาล์ม ทำให้ระบบเกษตรเดิมของชุมชนเสียไปพร้อมกับการหายไปของสวนสมรม
  • ปัญหาอื่นๆ

ผมจะเครียดไปมั้ยครับ...แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น น่าสนใจ ภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ที่มองจากเครื่องบิน กับพื้นที่จริงนั้นแตกต่างกัน

ตรงนี้ให้ข้อคิดกับนักพัฒนาครับ เราต้องเข้าใจ เข้าถึง จึงจะพัฒนาได้  หากมองปรากฏการณ์แต่เพียงผิวเผิน พัฒนาเท่าไหร่ก็ไม่ยั่งยืน

 

จตุพร/นครศรีธรรมราช

 

โดย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร   อนุทิน   ลิงก์ถาวร: 6162   [ แก้ไข : ลบ ]  
สร้าง: ส. 17 พฤษภาคม 2551 @ 21:52   แก้ไข: ส. 17 พฤษภาคม 2551 @ 22:04   ขนาด: 3667 ไบต์

จริงๆตั้งใจจะไปกราบคุณพ่อ คุณแม่ ที่ อ.จุฬาภรณ์ ด้วยครับ แต่ผมมีเวลาไม่พอครับ พรุ่งนี้ต้องเดินทางไปหาดใหญ่แต่เช้ามืดครับ

----------------

ไว้โอกาสหน้าครับ จะไปให้ถึงครับ

สวัสดีครับคุณใบไม้ย้อนแสง

    ยินดีต้อนรับนะครับ ขอบคุณมากๆ นะครับ ลองเอาโครงการไปปรับใช้กับชุมชนดูไหมครับ หากสาัมารถทำได้นะครับ แล้วเดินไปด้วยกัน และแลกเปลี่ยนกัน ผ่านทางระบบเครือข่ายที่เราใช้กันอยู่ตอนนี้ เป็นการปลูกต้นไทร ให้เข้าถึงชุมชนจริงๆ นะครับ ผมเองไม่หวังมากครับ เพียงแค่อยากให้เด็กๆและผู้ใหญ่ในชนบทเข้าถึงข้อมูลทางการศึกษา การแนะนำเล่าประสบการณ์ให้ฟัง อะไรทำนองนี้นะครับ เพื่อได้แนวคิดมาปรับใช้กับบ้านเรา ในชุมชนเราครับ

    ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

    ขอบคุณมากครัีบสำหรับการรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนครฯ นะครับ ผมก็ไม่ค่อยได้ไปเท่าไหร่ครับ นั่งมองจากภาพดาวเทียมก็คือสิ่งที่เห็นแต่พูดอะไรไม่ได้ครับ ได้แค่เป็นห่วงเท่านั้นครับ หากจะพัฒนาจริงต้องลงไปอยู่กับชุมชนเพื่อทำความเข้าใจจริงๆ ครัีบ

    สำหรับเรื่องการปลูกพืชหมุนเวียนราคายั่วตามกระแสข่าวนั้น ผมเชื่อว่ามีผู้มีความรู้ได้พูดคุยและให้ความรู้กับพี่น้องเกษตรกรได้แน่นอนครับ ส่วนที่เหลือนอกจากนั้นพี่น้องเกษตรกรก็จะนำไปคิดและตัดสินใจเองครับ เอาเป็นว่าให้เป็นไปตามอิสระในการปลูกครับ ไม่ว่ากันครัีบ ถือเป็นการเรียนรู้ ผมเองก็บ่นๆ ไปนะครัีบ ผิดบ้างถูกบ้างเพราะไม่ได้ทำจริง และมองในภาพรวมของประเทศมากกว่า เพราะความอยู่รอดของประเทศคือการเกื้อกูลพึ่งพากันจากสิ่งที่ปลูกครับ หากวางแผนสวนสมรมในระดับประเทศ ชาวบ้านจะปลูกแบบเชิงเดี่ยวก็ได้ครับ แต่มีการผสมผสานระหว่างชาวบ้าน ปลูกสลับกัน ก็ยังเป็นสวนสมรมระดับประเทศ เพียงแต่ชาวบ้านต้องแลกเปลี่ยนอาหารทางเกษตรกันเองครับ แต่หากชาวบ้านทำแบบปลูกพืชสวนผสม ระดับประเทศก็จะเป็นสวนสมรมไปอย่างอัตโนมัติครับ

    เอกก็คงผ่านหน้าบ้านผมนั่นล่ะครับ หากต้องไปหาดใหญ่ก่อนนะครับ มีโอกาสก็แวะเยี่ยมได้ครับ ไม่มีที่ท่องเที่ยวแต่มีข้าวอาหารให้กินให้หายเนือยครัีบ

โชคดีในทุกๆ ภารกิจครัีบ

หัวใจดวงน้อยติดไฟ  ปล่อยไปดวงไฟจะโชติช่วง

สักพักเถิด สักพักเถิด  แรงลมแรงใจจะโหมพัดกระหน่ำไฟแรง

ฮ่า           ฮ่า         ฮ่า

สวัสดีครัีบคุณอ๋อทิงนองนอย

    ขอบคุณมากครัีบผม สบายดีนะครัีบ ขอบคุณพี่เหลียงด้วยครัีบ ที่มาเพิ่มเติมหัวใจติดไฟครับ นี่ถ้าได้ติดปีกด้วยคงบินฉิวเลยครัีบ ต้องเติมเทียนด้วยเนอะครัีบไฟจะได้ไม่กินไส้เทียนครับ

ขอบคุณมากครัีบ

ป๊าเหลียง ขา  ฮ่า ฮ่า ฮ่า

เหลียงเฉาเหว่ย หรือ เหลียงเฉาเฉ่า

เอิ๊กๆๆๆๆ ฮ่า ฮ่า ฮ่า  คุณเม้งขา ไงๆก็ช่วยอ๋อด้วยนะ ถ้าป๊าเค้ามีน้ำโห ที่ไปล้อเลียนผู้ใหญ่วัยชราอ่ะค่ะ  

สวัสดีครับคุณอ๋อทิงนองนอย

    ขอบคุณหลายๆ นะครัีบ สำหรับอาหารโปรดครับ อิๆๆ ธิดาเทพมาแซวเทพเล่นเองแล้วครับ อิๆๆ สบายดีนะครัีบ เดี๋ยวจะเข้าไปที่นองนอยนะครัีบผม

มีความสุขในการทำดีนะครัีบ

*** แวะมาสวัสดีน้องชายบ้านเรานะคะ ***

*** น้องเม้งคนดี สบายดีไหมจ๊ะ ***

สวัสดีครัีบพี่สาวBright Lily

    ผมสบายดีนะครัีบ แต่ยังไม่เสร็จภารกิจครับ เสร็จเมื่อไหร่จะแวะไปกินอาหารทะเลแถวนั้นนะครับ ขอน้ำชุบแกงไตปลาด้วยนะครัีบพี่ พี่สบายดีนะครับ คิดถึงนะครัีบ

    ชีวิตที่นั่นเป็นไงบ้างครับ อยู่ที่ไหนก็ไม่เหมือนบ้านเหร่านะครับ

  • สวัสดีค่ะคุณเม้ง ขออนุญาตเพิ่มกิจกรรม สัก 2 กิจกรรม
  • 1.กิจกรรมคาราวานความรู้ คล้ายๆห้องสมุดเคลื่อนที่ แต่จะมีสื่อที่หลากหลาย ใช้ได้กับเด็กๆ ทุกวัย
  •  สถานที่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่แต่ในห้องเรียน ที่ลานเอนกประสงค์ของหมู่บ้านก็ได้ หรือที่ศาลาอ่านหนังสือพิมพ์ก็ได้
  • 2.กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เครือข่าย รักษ์ ศิลป   และวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • หากเป็นชุมชนเล็กๆ  วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น  ทำเป็น   แก้ปัญหาเป็น  ดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขค่ะ
  • ร่วมลปรร เท่านี้นะคะ  สวัสดิ์ดีค่ะ

สวัสดีครับคุณเอื้องแซะ

    ขอบคุณมากๆ นะครัีบ สำหรับกิจกรรมเพิ่มเติมครับ มีประโยชน์มากๆ ครับ เพราะเป็นรากของความรู้ในชุมชน ตลอดจนการสืบทอดและเรียนรู้ร่วมกิจกรรมข้าววัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยครัีบ หากเราทำชุมชนคือแหล่งความรู้ ทุกที่ก็จะคือโรงเรียน คือชุมชุนแห่งการเรียนรู้ไปเลยครัีบ กรอบของคำว่าโรงเรียนจะเปลี่ยนไป จะมากกว่าคำว่าโรงเรือนที่เอาไว้เข้าห้องเรียน ครับผม ห้องเรียนในชุมชนเป็นห้องเรียนที่ คนในชุมชนเรียนรู้ร่วมกันครัีบ

    ครูสอนเด็ก ให้เด็กสอนครู

ขอบคุณมากๆ นะครับ

ทัศนีย์ นามวงศ์พรหม

สวัสดีเจ้า

ขอบคุณมากนะคะที่ให้ข้อคิดมากมาย สำหรับคนที่กำลังมืดและมึนตึบ

ครูออมแอม

คนดอย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท