สวัสดีปีใหม่


ปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่มาจากการศึกษาที่ไม่อาจนำพาให้เด็กทั้งหลายใช้ความคิดวิจารณญาณในการต้านกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายอันมีผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมต่อชีวิตของเด็ก...

ผมจั่วหัวเรื่องไว้ว่า "สวัสดีปีใหม่" หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมจนป่านนี้ย่างเข้าเดือนหกฝนตกพรำๆ แล้วยังมาสวัสดีปีใหม่อยู่อีกหรือ...
ช่วงนี้ส่วนใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษาเริ่มเปิดเรียนกันแล้ว เป็นการเริ่ม "ปีการศึกษา" ใหม่ของไทย ปีการศึกษา 2551 ครับ ปีการศึกษาใหม่มีอะไรใหม่ๆ บ้างครับ...สถานการณ์ต่างๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม อุบัติภัยต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างไร ให้นักเรียนได้เรียนรู้กันตามความหมายของการจัดการศึกษา หรือใช้เนื้อหาแนวคิดเหมือนเดิมในปีที่ผ่านมา น่ายินดีที่หลายโรงเรียนปรับเปลี่ยนแนวคิด วิสัยทัศน์ พันธกิจให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ ทันสมัยเป็นไปตามสถานการณ์ของโลก ยังประโยชน์ให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ...
แต่หลายแห่งยังใช้ความคิดเก่าไม่ใช่ปีที่แล้วหรอกครับ...ย้อนอดีตไปหลายปีเหลือเกินจะด้วยเหตุเพราะกลัวการเปลี่ยนแปลงหรืออย่างไรก็ตามที บัดนี้มันส่งผลร้ายออกมาให้เห็นแล้วในหลายเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาที่เด็กของเราไม่อาจรู้เท่าทันความเป็นไปในสังคมแวดล้อมได้... ปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่มาจากการศึกษาที่ไม่อาจนำพาให้เด็กทั้งหลายใช้ความคิดวิจารณญาณในการต้านกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายอันมีผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมต่อชีวิตของเด็ก เช้านี้ผมอ่านบทความของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ แห่ง นสพ.มติชน ในเรื่อง การศึกษา "แห่งชาติ" ของไทยใน "วิถีเถรวาท" ท่องจำคำครูเป็นสำคัญ (โปรดคลิก) ที่ให้ข้อคิดน่าสนใจและคิดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกท่านควรจะได้รับทราบความคิดมุมมองของผู้คนที่มีต่อการศึกษา เพื่อจะได้นำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขด้วยความเข้าใจว่า "ผู้เรียนเป็นสำคัญ" เป็นของขวัญวันปีการศึกษาใหม่แก่เด็กไทย และเพื่ออนาคตของชาติ...

หมายเลขบันทึก: 182171เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • ตราบใดที่ความก้าวหน้าของครูอยู่ที่การประเมินเอกสารทางวิชาการ ตราบนั้นเด็กก็จะมีพัฒนาการที่ถดถอย ถดถอยลงไปหาโง่อย่าต่อเนื่อง และโง่โดยสนิท
  • เมื่อถึงวันหนึ่ง "รากเหง้าเราอยู่ไหน?"
  • โชคดีขอรับ

สวัสดีค่ะ

* วันนี้ตั้งใจว่าจะตามเข้ามาดูอาจารย์ในแพลนเน็ต ( ช่วงนี้เขาไม่แสดงบล็อก...แสดงเป็นบันทึกรวทั้งหมด...หายากค่ะ )

* ส่งข่าวนางพะโล้ตายเสียแล้ว...และไปเกิดใหม่เป็นดาราละครช่อง ๗ เม่อคืนเห็นออกมาแสดง ๒ - ๓ ตอน ....อิอิ

* เรื่องการศึกษา....แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีคะ...เมื่อวานนักเรียนที่ไม่จบชั้นม. ๓ มาขอแก้วิชาที่เรียนอยู่เมื่อสอบถามเขาบอกว่าติดอยู่ ๑๒ วิชา...และต้องแก้ให้แล้วเสร็จก่อน ๒๐ พฤษภาคม ๕๑...สภาพจริงโรงเรียนจัดให้แก้ถึง ๕ ครั้ง...ในระหว่างเรียนชั้นม ๑ - ๓...ตามแล้วก็ไม่แก้....บัดนี้ต้องการเรียนต่อสายการอาชีพ....ครูๆ ผู้สอนทั้งหลายก็กลุ้มค่ะ...รวมทั้งครูพรรณาด้วย

* เมื่อสองวันก่อนพบศิษย์เก่า ( อายุ ๓๕ ปีแล้ว ) พาหลานมาขอสอบแก้ตัว....สอบถามทำงานที่สถาบันอุดมศึกษาแห่ง ๑ ในกรุงเทพฯ...ติดวิชาภาษาไทยของครูพรรณา ตั้งแต่ชั้นม. ๕ ( ลืมไปเขาเรียนถึง ๙ ปี ...ชั้น ม. ๑ - ๖ แต่ไม่ได้วุมิ ม. ๖)ชวนให้แก้หลายหนก็ไม่แก้...สุดท้ายเป็นผู้มีวุฒิน้อยที่สุดในฝ่ายงานที่เขาทำ....เขาเองก็พูดเสมอว่าถ้าผมไม่เหลวไหลก็คงได้ดีกว่านี้...

* เราจะทำอย่างไรกับนักเรียนเหล่านี้....เพื่อไม่ให้เกิดความคิดคำนึงว่า...กว่าจะคิดได้ก็สายเสียแล้ว....ครูใจร้ายตัดอนาคตเด็ก

สวัสดีค่ะ

* กลับเข้ามาใหม่ค่ะ...เห็นท่านทนันท์ ภิวงศ์งาม

* ถ้าฝ่ายบริหารยอมรับความจริง( มากกว่าเอกสาร )....เชื่อได้ว่าเราน่าจะทำอะไรหรือแก้ไขได้ดีกว่านี้

* เมื่อ หลาย ปีก่อน...นักเรียนมาเข้าเรียนชั้นม. ๑ อ่านและเขียนหนังสือ ( ไม่นับคัดลอกข้อความนะคะ )ไม่ได้นอกจากชื่อตัวเอง...เพราะถ้า นักเรียนติดค้างระดับประถมศึกษา...เสียชื่อเสียงของโรงเรียน....

* ครูพรรณา ต้องการให้ลูกเรียนซ้ำในชั้น ป. ๖...ไปขอครูท่โรงเรียนให้รับไว้...เขาบอกว่าไม่ได้ถ้าจะซ้ำควรซ้ำต้งแต่ชั้น ป. ๕...เขาเสียชื่อเสียง...ขอร้องละ...ซึ่งครูพรรณาก็ไม่เคยรู้ระเบียบนี้

เรียน อาจารย์ศิลป์ชัย

หากที่การนำข้อมูลในปีเก่ามาศึกษา ปัญหา จุดอ่อน จุดแข็ง ของผู้เรียน ผู้สอน แลกเปลี่ยนเรียนรูระหว่างสถาบัน ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้เพื่อพัฒนาในปีใหม่ได้นะครับ

สวัสดีค่ะ คุณศิลป์ชัย

เรื่องเด็กนักเรียนที่ทำรายงานส่วนใหญ่มักก็อปข้อมูลค่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดีค่ะ แต่ถ้าเรียนในรดับสูง อ.ก็ปรับตกค่ะ

ขอบพระคุณทุกท่านครับ...ผมคิดว่าหากเราทุกคนช่วยกันขยายความคิด ค่านิยมที่ถูกต้องของการศึกษา ก็คงจะมีสักวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดจากปริมาณไปสู่ระดับคุณภาพได้ครับ...ก็หวังว่าอย่างนั้น

ครูพรรณาครับ ขอบคุณครับ เสียใจกับข่าวนางพะโล้ด้วยครับ คุณครูทำดีที่สุดแล้วในสถานการณ์นั้นๆ ผมเชื่อว่านักเรียนทุกคนเขาก็ต้องมีพัฒนาการตามวัยครับ ความคิดความอ่านในแต่ละวันเวลาก็เปลี่ยนไปครับ...ก็คงเหมือนเรานี่แหละครับเมื่อวานก็คิดอย่างหนึ่งวันนี้ก็อย่างหนึ่งพรุ่งนี้ก็คงปรับเปลี่ยนไปอีก แต่เปลี่ยนไปในทางที่พัฒนาขึ้นครับ...

ท่าน ผอ. ประจักษ์ครับดอกไม้ช่อนี้หอมมากเลยครับ ดีใจครับที่ได้รับแต่เช้า และกราบขอบพระคุณมากครับ

ท่านอาจารย์ทนันครับ ผมเห็นด้วยกับท่านครับและยังมีความหวังว่าทางการคงจะมีวิธีการประเมินฯ ที่ดีและเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่ายครับ

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านอาจารย์เพชรากรครับและเชื่อว่าเราคงจะช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้นและนำมาใช้ได้จริงครับ

ขอบคุณคุณ berger ครับ ผมเชื่อว่าคุณครูกำลังพัฒนาการทำรายงานของนักเรียนไม่ให้คัดลอกตัดแปะมาส่งครับ แต่คงจะอีกหลายปีจึงจะสำเร็จ...

สวัสดีค่ะ...คุณศิลป์ชัย ตามไปอ่านข่าวที่ลิงค์ไว้นะค่ะ...ก็ถือว่าเป็นผลงานเชิงประจักษ์...การแก้ไขปัญหาคงต้องใช้ความร่วมมือหลายฝ่าย...ครูตัวน้อยๆ ทำกันเต็มกำลังนะค่ะ...แต่ปัญหาในเรื่องการสอนให้เกิดทักษะกระบวนการ..มากกว่าเนื้อหา  ต้องใช้เวลา..และต้องมีปัจจัยเอื้ออีกหลายๆ ปัจจัยนะค่ะ..แล้วค่อยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกค่ะ

ขอบคุณคุณนกมากครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครูนกด้วยครับ

หลายวันก่อนมีโอกาสไปที่ศรีษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อรักษาอาการกระดูกเคลื่อน และได้เห็นการดำเนินชีวิตอีกปรัญาหนึ่ง (คิดเอาเองนะ)เป็นปรัชญาการใช้ชีวิตแบบพอเพียงโดยแท้จริง ประชากรที่อยู่ในหมู่บ้านนั้น ทุกคนมีหน้าที่ เช่น น้องโก้ (จบการศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จาก มน.)ทำหน้าที่เป็นครู (มีนักเรียนตั้งแต่ ป.1-ม.6)ที่ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (ซึ่งบูรณาการจริงๆ) ทำหน้าที่เป็นหมอ คอยดูแล รักษาคนไข้ ตั้งแต่เช้า ประมาณ 04.00 น.จนถึง 22.00 น.ทำโน่นทำนี่ไม่ได้หยุด ภายในหมู่บ้าน มีประชาชนเข้ามารับการอบรมการอาชีพต่าง ๆ เช่น การทำปุ๋ย การทำแชมพูสระผม และอีกหลายอย่าง ที่ประทับใจคือ ความมีน้ำใจ การอยู่ การกินที่เป็นธรรมชาติ กินในสิ่งที่ปลูก และปลูกในสิ่งที่กินจริง ๆ ตอนเช้า เวลาประมาณ 04.00 น. ครูโก้นำนักเรียนออกกำลังกาย แล้วทุกคนจะไปทำงานตามฐานต่าง ๆ ก่อนรับประทาน อาหารเช้า แล้วก็ทำกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป นักเรียนที่จบ ม.6 แล้วต้องการเรียนต่อ ก็สามารถเรียนได้ มีนักเรียนกำลังจะไปเรียนที่ ม.อุบล วิชาเอกเภสัชกร เป็นต้น ที่เล่ามานี้ หากโรงเรียนของเราสามารถปรับวิถีชีวิตเข้ามาสู่การเรียนการสอนบ้างก็น่าจะดี

ขอบคุณคุณปู-อัชรา มากครับ...ใช่ครับหากโรงเรียนของเราจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและบูรณาการกับวิถีชีวิตการเรียนรู้ก็จะมีความหมายและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท