ปัญหาของ Experience


experience1

ในรูปนี้  จากวัตถุไปถึงตาเป็นเหตุการณ์ภายนอกสมอง  คืออยู่ในโลกนอกสมอง  ระยะจากหลังลูกตาไปถึงบริเวณ Cerebral Cortex จะเป็นเหตการณ์ภายในร่างกาย  แต่เมื่อปลายประสาทที่มาจากตากระตุ้นที่ Visual cortex ภาวะทางจิต คือ การรู้สึกสัมผัส, รับรู้, ก็เกิดขึ้น 

ปัญหาก็คือ  ถ้าเรา "ปฏิเสธ"ภาวะทางจิตดังกล่าว  ว่า "ภาวะทางจิต"ที่ว่านั้น - จะเป็นความจำก็ดี, ความคิดก็ดี, - "ไม่มี"  คือที่แท้แล้ว "มันเป็นสิ่งเดียวกันกับสมอง" ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า จิต หรือวิญาณ  มีก็แต่สมอง - วัตถุ - อย่างเดียว ถ้าเชื่อเช่นนี้ก็ต้อง "นิยามคำประสบการณ์ใหม่"  เช่น นิยามว่า "ประสบการณ์คือ เหตุการณ์ที่นับตั้งแต่วัตถุที่เข้าเร้าไปจนถึงปลายประสาทตาที่แตะกับ Visual cortex " หรือ "เหตุการณ์ที่นับจากตาไปจนถึงปลายประสาทจากตาที่แตะกับ Visual cortex "  โดยไม่นับ การรู้สึกสัมผัส, การรับรู้, เข้าไปด้วย !!  จะนับได้อย่างไรเล่า  ก็เขาปฏิเสธ Mental event !!!

ปัญหานี้ทำให้เดือดร้อนถึงนักการศึกษา  ครู  ด้วย  ว่าจะเอาอย่างไรกันแน่

เรื่องนี้ผมขอแนะนำว่า  อย่าวิตกไปเลย  ในปัจจุบันนี้  นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือ Cognitivists ได้ทดสอบด้วยการวิจัยอย่างวิทยาศาสตร์มาตลอดเวลาจนได้ข้อสรุปว่า  สมองรู้สึกเป็น  จำเป็น  คิดแก้ปัญหาเป็น  รู้สึกเจ็บเป็น ฯลฯ เหมือนที่เรามี "ประสบการณ์"กับมันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี่แหละครับ

คำสำคัญ (Tags): #ประสบการณ์ experience
หมายเลขบันทึก: 182165เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมมองว่าทั้ง ความจำ, ความคิด ฯลฯ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ที่เอาไว้ใช้อธิบายกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสมอง เพื่อให้เราเข้าใจการทำงานของสมองให้ได้ดียิ่งขึ้น เพียงแต่ที่ยังไม่อาจสรุปได้ชัดเจน

และเรายังไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่า สมองมีกระบวนการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อบันทึกประสบการณ์ต่างๆ ที่เราได้รับมา ไว้ในสมองได้อย่างไร

แต่หากเราสามารถล่วงรู้ได้ถึงขนาดนั้นแล้ว อีกหน่อยเราก็คงอาจจะสามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นออกมาจากสมอง และบันทึกลงสื่อข้อมูลอื่นๆ ได้ หรือถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำภายนอกได้ หรือแม้แต่ทำสำเนาลงไปในสมองผู้อื่นได้ เหมือนที่ภาพยนตร์ หรือการ์ตูนวิทยาศาสตร์พูดถึงกัน (แต่ถึงตอนนั้น ผมว่าวุ่นวายแน่นอน)

โดยส่วนตัวของผม ผมก็ชอบที่จะอธิบายเรื่องการทำงานของสมอง โดยยอมรับภาวะทางจิตอยู่ เนื่องจากช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของสมองได้ง่ายกว่าการที่จะอธิบายการทำงาน โดยมองสมองทั้งหมดในภาพรวม

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว....

  • เข้ามาเยี่ยมอาจารย์เรื่อย...

หนังสือปรัชญาจิตวิทยา ที่เป็นภาษาไทยเคยเห็นและเคยอ่านนานแล้ว แต่ก็จำไม่ได้ว่าของใคร จึงไม่มีอะไรค้างอยู่ในหัว... รู้สึกยินดี ถ้าอาจารย์จะเขียนไว้อีกเล่มหนึ่ง...

เรื่องประสบการณ์ที่อาจารย์อธิบายมาในบันทึกชุดใหม่ น่าสนใจ... แม้จะมีความเห็นแย้งกับอาจารย์หลายประการ แต่ขอสงวนความเห็น จะติดตามอ่านต่อไป...

อำนวยพรให้อาจารย์มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงสืบต่อไป...

เจริญพร 

สวัสดีคุณ kafaak

ที่แสดงความคิดเห็นไว้นั้น น่าสนใจ ความจำ ความคิด เป็น "ชื่อ" ของ "มโนทัศน์" ความจำ และความคิด เป็น "ความสามารถ" หรือ Ability เมื่อมันเป็น มโนทัศน์ มันก็เป็น นามธรรม อย่างหนึ่ง เบื้องหลังของความสามารถนี้ยังมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่า สิ่งนั้นคือ "กลุ่มนิวโรน" ที่แสดงกิจกรรมที่ทำให้เกิด "ความสามารถ" และเราเรียกความสามารถนั้นว่า "ความสามารถจำ," "ความสามารถคิด",ความสามารถนี้"เป็น"มโนทัศน์" หรือ Concept"

สำหรับคำว่า "รหัส" หรือ "Code" และ "การเข้ารหัส" หรือ "Encoding" นั้น เป็นคำที่นักจิตวิทยาพวกที่ไม่เชื่อเรื่อง "Association" ระหว่าง "sensations" ใน STM และต้องการให้สมองมีอำนาจเป็นผู้จัดการสิ่งที่อยู่ในกระบวนการประสบการณ์ คือน้ำหนักโน้มไปทาง Rationalists หน่อยๆหรือมากๆ แต่นึกไม่ออกว่าจะใช้คำใด จึงได้"ขอยืม"คำนั้นมาจากภาษาของ สาขาวิชาแอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีความก้าวหน้าอยู่มากในขณะนี้ และมีใช้กันทั่วไปในจิตวิทยาปัญญา คือมีการวิจัยกันว่า "กระบวนการเข้ารหัส"นั้นเข้าอย่างไร การวิจัยเกี่ยวกับการเข้ารหัสนี้มีความถี่สูงมากในช่วงประมาณ 1950 - 1970

นมัสการพระคุณเจ้า

บคุณครับ คำอวยพรทำให้ผมมีความสุขมาก ผมเองก็รู้สึกว่าท่านหายไปนาน แต่ก็ "รู้สึก" ว่า ท่านเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆ ปรัชญาจิตวิทยาที่ว่านั้นมี 10 บท หากท่านสนใจ ผมจะส่งมาให้ทาง อีเมลสักบทก็ได้

เรื่องของ ประสบการณ์นั้น เป็หัวข้อสำคัญของ ประจักษ์นิยมกลุ่มอังกฤษ และ ปฏิบัตินิยม และเป็นคำสำคัญของวงการศึกษาไทย ในสังคมเองก็พูดกันเป็นภาษาประจำวัน แต่แน่นอน ความหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมเองให้ความสำคัญเพราะมันเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ จึงได้นำมาวิพากษ์ในที่สาธารณะนอกห้องเรียน เพื่อว่าจะได้คุยกันกว้างขวางครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท