คุณลูกพูดได้น้อย อาจเป็นผลจากคุณพ่อซึมเศร้า


ปัญหาคุณลูก(ลูกน้อย)พูดช้าเป็นปัญหาที่ทำให้คุณแม่คุณพ่อปวดหัวมากที่สุดเรื่องหนึ่ง วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า คุณพ่อที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจส่งผลทำให้คุณลูกพูดได้น้อยมาฝากครับ

 

...

ปัญหาคุณลูก(ลูกน้อย)พูดช้าเป็นปัญหาที่ทำให้คุณแม่คุณพ่อปวดหัวมากที่สุดเรื่องหนึ่ง วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า คุณพ่อที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจส่งผลทำให้คุณลูกพูดได้น้อยมาฝากครับ

ท่านอาจารย์นายแพทย์เจมส์ พอลซัน (Dr. James Paulson) จิตแพทย์เด็ก และคณะ แห่งวิทยาลัยแพทย์อีสเทิร์น เวอร์จิเนีย สหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งคุณแม่ คุณพ่อ และคุณลูก 5,000 ครอบครัว

...

ผลการศึกษาสุขภาพของคุณแม่และคุณพ่อพบว่า ท่านเหล่านี้มีอาการซึมเศร้า (depressed) ดังตาราง

คุณแม่หรือคุณพ่อ มีอาการซึมเศร้า
คุณแม่ 14%
คุณพ่อ 10%

...

ผลการศึกษาเมื่อเด็กอายุ 2 ขวบพบว่า คุณแม่ที่ซึมเศร้าไม่มีผลทำให้คุณลูกพูดได้น้อยลง ทว่า... คุณพ่อที่ซึมเศร้ามีส่วนทำให้คุณลูกพูดได้น้อยลง 1.5  คำจากคำที่เด็กๆ พูดได้บ่อย เช่น แม่ พ่อ นม ฯลฯ 29 คำ

อาจารย์หมอรูต คอพพาร์ด จิตแพทย์ผู้สนใจพัฒนาการเด็กให้ความเห็นว่า คุณแม่กับคุณพ่อที่ซึมเศร้าแสดงออกไม่เหมือนกัน

...

คุณแม่นั้นมีความอดทน และมั่นคง หนักแน่นในการเลี้ยงลูกมากกว่า ไม่ว่าท่านจะแข็งแรงดีหรือป่วย... คุณแม่ก็ต้องเลี้ยงลูก เล่นกับลูก และคุยกับลูก

ส่วนคุณพ่อนั้น... ถ้าซึมเศร้าแล้วมักจะหลบฉาก (withdrawal) ไปเลย ไม่ค่อยยอมช่วยเลี้ยงลูก เล่นกับลูก หรือคุยกับลูก

...

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่เป็นภาวะที่พบได้บ่อย การศึกษานี้น่าสนใจมากๆ เพราะตรวจพบว่า คุณพ่อเองก็มีอาการซึมเศร้ามากเหมือนกัน

อาจารย์พอลซันแนะนำว่า ถ้าคุณลูกพูดได้ช้า... ต่อไปคงจะต้องตรวจหาภาวะซึมเศร้าของคุณพ่อไปด้วยจึงจะดี

...

การรักษาโรคซึมเศร้ามีส่วนช่วยป้องกันการความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย และช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้นได้

คนเรามีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าทั้งอย่างแรงและอย่างอ่อนประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั่วไป การทำแบบทดสอบความเสี่ยงโรคซึมเศร้าอาจช่วยคัดกรองหาโรคนี้ได้

...

ถึงตรงนี้...  ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Depressed fathers 'hit learning' > [ Click ] > May 10, 2008. // J New Scientist & American Psychiatric Association Meeting.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 12 พฤษภาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 181948เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ จะนำไปฝากคุณพ่อน้องค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.จันทวรรณเช่นกันครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท