A-I-C : เครื่องมือวิจัยท้องถิ่น


กระบวนการ A-I-C เป็นเทคนิคการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ที่การระดมสมองทำให้เกิดความเข้าใจสภาพปัญหา/ขีดจำกัด ความต้องการ/และศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ

หลังจากได้อ่านบันทึก วิเคราะห์เฮฮาศาสตร์ ตอนที่ 6 ของท่าน

P บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)
อีเมลติดต่อ

... RAT ต่อมาพัฒนาเป็น RRA หรือ Rapid Rural Appraisal ต่อมาพัฒนาเป็น PRA หรือ Participatory Rural Appraisal ต่อมาพบว่า เครื่องมือนี้สามารถใช้ทำการศึกษาได้ทั้งสังคมชนบทและสังคมเมือง จึงนิยมใช้คำใหม่ว่า Participatory Rapid Appraisal และพัฒนาไปอีกมากมาย หากเราอ่าน รายงานของ WB หรือ ADB หรือ UN ก็จะพบว่าการศึกษาข้อมูลหมู่บ้าน หรือพื้นที่ใดๆนั้นมักนิยมใช้ เทคนิค PRA กันทั่วโลก เพราะ ผลที่ได้นั้นเป็นที่ยอมรับได้

 

PRA นั้นมีเครื่องมือย่อยๆที่ใช้ศึกษา วิเคราะห์ ทำรายงาน มากมายเป็นกะตั๊ก เช่น problem tree, historical profile, mind map, seasonal calendar, cropping calendar, mobility map, walk-through survey, Lawrence curve, land use map, wealth ranking, direct observation,  semi structure interview, time trends, Venn diagram,  daily routine diagrams, livelihood analysis, sustainability analysis, innovation assessment, transect, flow chart, focus group, paring etc. ปัจจุบันยังพัฒนาไปอีกมากมาย...

จากบันทึกดังกล่าวทำให้ตระหนักว่า ศาสตร์ในการพัฒนาหมู่บ้านมีพัฒนาการมานาน เราจะมานั่งคิดใหม่เริ่มจาก 0 บางทีจากนี้ไปจนตายอาจจะพัฒนาหมู่บ้านไม่ทัน อย่ารอช้าอยู่ใย เอา Key words ต่าง ๆ ไปค้นคว้าเพิ่มเติมดีกว่า จนทำให้ไปพบเวปนี้เข้าครับมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน  จึงขอนำมาเสนอไว้ดังนี้ครับ (ท่านสามารถดูรายละเอียดได้ตาม Link ที่โยงไปยังต้นฉบับนะครับ)

 เครื่องมือวิจัยท้องถิ่น
 

Appreciation-Influence-Control (A-I-C)

          กระบวนการ A-I-C เป็นเทคนิคการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ที่การระดมสมองทำให้เกิดความเข้าใจสภาพปัญหา/ขีดจำกัด ความต้องการ/และศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ งานที่ได้จากการประชุมมาจากความคิดของทุกคน โครงสร้างกระบวนการ A-I-C จะคล้ายกับ F.S.C. เพียงแต่กระบวนการ A-I-C มีลำดับขั้นตอนไม่ซับซ้อนเท่ากับ F.S.C.

ความหมาย
           A-Appreciation คือ การยอมรับชื่นชม (Appreciate) ความคิดเห็นความรู้สึกของเพื่อนสมาชิกในกลุ่มด้วยความเข้าใจในประสบการณ์ สภาพ และขีดจำกัดของเพื่อนสมาชิกแต่ละคน จึงไม่รู้สึกต่อต้านหรือวิจารณ์เชิงลบในความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิก ทุกคนในกลุ่มมีโอกาสที่จะให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง เหตุผล ความรู้สึก และการแสดงออกตามที่เป็นจริง เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน มีความรู้สึกที่ดีมีเมตตาต่อกัน เกิดพลังร่วมกันและความรู้สึกเป็นเครือข่าย เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

           I-Influence คือ การใช้ประสบการณ์ /ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละคนที่มีอยู่ มาช่วยกันกำหนดวิธีการ / ยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์/อุดมการณ์ร่วมกัน สมาชิกในกลุ่มจะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน มีการถกเถียงด้วยเหตุผลทั้งในประเด็นที่เห็นด้วยและขัดแย้งจนได้วิธีการที่กลุ่มเห็นร่วมกัน

           C-Control คือ การนำยุทธศาสตร์/วิธีสำคัญ มากำหนดแผนปฏิบัติการโดยละเอียด สมาชิกจะเลือกว่าตนเองสามารถรับผิดชอบในเรื่องใดด้วยความสมัครใจ ทำให้เกิดพันธะสัญญาข้อผูกพัน (Commitment) แก่ตนเองเพื่อควบคุมตน (Control) ให้ปฏิบัติจนบรรลุผลตามเป้าหมายร่วมของกลุ่ม

เทคนิค / วิธีการ
           กระบวนการ A-I-C จะใช้การวาดภาพเพื่อเป็นการสะท้อนประสบการณ์ในอดีต / สภาพปัจจุบันกับจินตนาการถึงความมุ่งหวังในอนาคตของสมาชิกทุกคน โดยให้แต่ละคนวาดภาพของตนก่อน นำภาพของทุกคนมาวางรวมกันบนกระดาษแผ่นใหญ่ แล้วจึงต่อเติมรวมภาพของแต่ละคนให้กลมกลืนเป็นภาพใหญ่ของกลุ่มเพียงภาพเดียว การวาดภาพเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจออกมาอย่าง

           แท้จริง บางเรื่องราวที่ไม่สะดวกใจที่จะพูดโดยเปิดเผยก็สามารถสะท้อนออกมาเป็นรูปภาพหรือสัญญลักษณ์รูปทรง/สี แทนการพูด/เขียนหนังสือ เปิดโอกาสให้ผู้อื่นสามารถซักถามข้อมูลความหมายจากภาพได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ใช้เป็นสื่อกระตุ้นให้สมาชิกที่ไม่ค่อยกล้าพูดได้ร่วมอธิบายความคิด/ประสบการณ์ขงตน การวาดภาพช่วยสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง

           การรวมภาพความคิดของแต่ละคนเป็นภาพรวมของกลุ่ม ทำได้ง่ายและเป็นรูปธรรมกว่าการพยายามรวมแนวคิดของแต่ละคนโดยการอภิปรายหรือการเขียน และเป็นสื่อถึงความรู้สึกเป็นเจ้าของภาพร่วมกันและการมีส่วนร่วมในการสร้างกรอบความคิดตามภาพของกลุ่ม

           โดยทั่วไป ผู้ใหญ่มักกังวลว่าไม่มีความสามรถในการวาดภาพ จึงควรชี้แจงว่า การวาดภาพไม่เน้นความสวยงาม หากแต่เน้นถึงความหมายที่ปรากฏออกมาเป็นภาพ ผู้วาดอาจใช้สีเป็นสัญลักษณ์แทนภาพเหมือนก็ได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 181347เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ อ.นิโรธ คะ

มาเก็บเกี่ยวความรู้ และขออนุญาตนำบล็อก เข้าแพลนเน็ต ค่ะ

เยี่ยมมาก ๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์

P 1. บัวปริ่มน้ำ

  • ยินดีครับท่านอาจารย์
  • แต่ผมเขียนบล็อกแบบสะเปะสะปะ มั่ว ๆ เอานะครับ

เป็นแนวความคิดที่ดี จะลองนำไปใช้นะคะ

  • เต็มเปี่ยมเลยนะคะสำหรับบันทึกนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท