บทอาขยาน


“ ท่องบทอาขยานให้เป็นพื้นฐานของการอ่านทำนองเสนาะ ”

 ท่องบทอาขยานให้เป็นพื้นฐานของการอ่านทำนองเสนาะ 

            การท่องบทอาขยาน ( บทท่องจำ ) สั้นๆ ในช่วงปฐมวัยเป็นการปูพื้นฐานให้เด็กๆได้เรียนรู้และเข้าถึงศิลปะแห่งการอ่านทำนองเสนาะได้ง่ายขึ้น

            การฝึกเด็กๆให้ท่องบทอาขยาน  เริ่มจากการสอนให้ท่องคำคล้องจองสั้นๆ ซึ่งมีการฝึกฝนกันในเกือบทุกภาษา  เช่น  บทจ้ำจี้มะเขือเปราะของคนไทย ก็เป็นบทท่องประกอบการละเล่นที่เพลิดเพลินคล้ายๆกับชาวไต้หวัน ที่มีบทท่องประกอบการละเล่นว่า เฉ่า...หลัวปั่วเฉ่า...หลัวปั่ว...เชียะๆๆ....เนียะเจ่าจี่เนียะ.....เจ่าจี่เนียะ...เนียะๆ...เฉ่าหมาอี้ผาต้าเซนสั่งเอี๊ยว......

            ยังมีบทอาขยานในภาษาอื่นๆอีกมากมายที่ควรนำมาให้นักเรียนได้เรียนรู้และเปรียบเทียบดังตัวอย่าง  การนำท่องอาขยานของชาติต่างๆมาท่องให้เด็กๆฟัง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กๆฝึกท่องจำจะทำให้เด็กได้ทั้งการฟังและการพูดที่สร้างความเพลิดเพลิน.....การท่องบทอาขยานจึงเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ในการเรียนภาษาให้แตกฉาน

            การท่องบทอาขยาน  ควรต้องปลูกฝังให้ท่องในทุกระดับชั้น  เพราะเมื่อนักเรียนได้เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น  จะทำให้อ่านบทร้อยกรองทุกประเภทให้เป็นทำนองเสนาะได้ดี  การได้ท่องจำจนขึ้นใจจะเกิดพัฒนาการขั้นต่อไปคือการนำสิ่งที่ได้ท่องมาใส่ท่วงทำนองให้เกิดความไพเราะเสนาะหูยิ่งขึ้น

            การอ่านทำนองเสนาะต่างจากการท่องบทอาขยาน เพราะการอ่านทำนองเสนาะ คือ วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรอง ทั้งโคลง  ฉันท์  กาพย์  และกลอนกลอน  ด้วยระบบเสียงสูงต่ำ มีจังหวะสั้นยาว   ได้อย่างไพเราะจับใจ

            การสอนให้นักเรียนการอ่านทำนองเสนาะ  จึงเป็นการช่วยให้นักเรียนเข้าถึงรสของคำและความ  ได้สัมผัสถึงความงาม   เกิดความสนุกสนาน   ความเพลิดเพลิน และ ซาบซึ้ง  ทั้งยังช่วยให้จำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ   กล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน

            วิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนที่มีความเกี่ยวพันกับการร้องเพลงทำนองต่างๆเพราะ คนไทยมีนิสัยชอบพูดคำคล้องจองให้มีจังหวะด้วยลักษณะสัมผัสต่อเนื่องกันไป  ประกอบกับคำภาษาไทยมีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนเสียงดนตรี  เมื่อประดิษฐ์ทำนองง่าย ๆ   ใส่เข้าไปก็ทำให้สามารถสร้างบทเพลงที่ไพเราะได้  

            ศิลปะการอ่านทำนองเสนาะ  จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้อ่าน  และความไพเราะของบทประพันธ์แต่ละประเภท    ซึ่งผู้อ่านต้องรู้จัก วิธีการอ่านทอดเสียง   การเอื้อนเสียง  การครั่นเสียง   การหลบเสียง    การกระแทกเสียง  นอกจากนั้นยังต้องรู้จักรสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ คือ มีทั้งรสถ้อย  ( คำพูด )  รสความ  (เรื่องราวที่อ่าน)  รสทำนอง ( ระบบสูงต่ำซึ่งมีจังหวะสั้นยาว )  รสคล้องจอง      และรสภาพ  แล้วจึงฝึกฝนตามหลักการอ่านทำนองเสนาะ  คืออ่านให้คล่อง  แบ่งคำแบ่งวรรคได้ถูกต้องตามหลักคำประพันธ์ อ่านได้ชัดเจนทั้งเสียงควบกล้ำ  ร ล   อ่านให้เอื้อสัมผัส ไม่ให้ตกหล่น   อ่านถูกจังหวะไม่ตู่ตัวหรือต่อเติม  อ่านให้เสียงดัง   โดยใส่อารมณ์ตามรสความของบทประพันธ์นั้น 

            การอ่านทำนองเสนาะเป็นการสืบทอดมรดกแห่งวัฒนธรรมในการอ่าน  นับเป็นศิลปะขั้นสูงที่ต้องฝึกฝน  จึงจะอ่านให้ไพเราะได้

            การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง   จึงต้องอ่านออกเสียง   และทำเสียงให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง

            การฝึกให้นักเรียนฟังการอ่านจากเทปบันทึกเสียงเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้นักเรียนเข้าถึงความงามและความไพเราะของบทร้อยกรองได้ดีนัก

            การฝึกให้นักเรียนอ่านด้วยตนเองได้ผลมากกว่า   เพราะนักเรียนบางคนแม้จะรู้ตัวดีว่าอ่านไม่ไพเราะแต่การได้อ่านออกเสียงก็ทำให้ได้ใกล้ชิดกับภาษา  เกิดความรักและภาคภูมิใจในภาษาประจำชาติมากยิ่งขึ้น

            การรวบรวมบทอาขยานมาให้นักเรียนได้ฝึกท่องในทุกช่วงชั้น  เป็นสิ่งที่ควรได้รับการส่งเสริม  เนื่องจากในปัจจุบันนักเรียนไม่ค่อยให้ความสนใจ  มรดกทางวัฒนธรรมประเภทการอ่านก็เริ่มจะรางเลือน  สังเกตได้จากบทเพลงในปัจจุบัน  ที่แต่งขึ้นเพื่อสื่ออารมณ์เท่านั้น  การกล่อมเกลาอารมณ์จากความไพเราะอ่อนโยนของภาษาในบางบทเพลง...แทบหาไม่ได้เลยก็มี 

            ถ้าช่วยกันส่งเสริมการท่องอาขยานกันอย่างต่อเนื่อง    สักวันบทเพลงในอนาคตอาจย้อนรอย  คือมีทั้งความไพเราะและสามารถสื่อความได้ตามยุคสมัย   เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของผู้คนทุกยุคได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 180947เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

***สวัสดีค่ะผอ.

***ขอบคูณค่ะที่แวะมาทักทาย

***ได้เวลาลุยงานหนักอีกแล้วนะคะ...ขอให้ผอ.สุขสดชื่น..เหมือนภาพที่ส่งมาค่ะ

สวัสดีครับ

สนับสนุน ส่งเสริม ครับ

ท่องไปเถอะ ได้ประโยชน์แน่

อย่างน้อย ถ้านึกจะแต่งโคลงกลอนขึ้นมา ก็นึกตัวอย่างขึ้นได้สบายแฮ

สมัยก่อน บันทึก จำเป็นกลอน น่าจะทำง่ายกว่าเป็นความเรียงธรรมดา

เคยเห็นตำราเลข "เลขปกรณ์" เขียนโจทย์เป็นกลอน สนุกมากครับ (พีชคณิต)

***ขอบคุณ...ธ.วัชชัย...ที่ช่วยสื่อให้เห็นความสำคัญของการท่องบทอาขยาน

***อาขยานเป็นสุทรียภาพแห่งถ้อยคำ...เป็นรากร่วมแห่งวัฒนธรรม...แต่กำลังจะกลายเป็นมรดกที่ถูกลืมเลือน

***ผลที่ได้จากการท่องอาขยาน ตรงกับทฤษฎีการศึกษาต่างประเทศที่เราถูกยัดเยียดตั้งหลายทฤษฎี ทฤษฎีการศึกษาของไทยมีคนใส่ใจน้อยไปกระมังคะ..เราจึงถูกมองว่าล้าหลังและดูเหมือนไม่ค่อยแตกฉาน

มาเยี่ยม...

สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม ท่องจังเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้นะ ฮิ ฮิ ฮิ

ขอบคุณครับ

อยากได้บทอาขยานง่ายๆๆเกี่ยวกับhero ที่เป็นต้นแบบ

ใครก็ได้ช่วยหาคำประพันธ์เกี่ยวกับการฟังให้หน่อยได้ไหมคะ

ชอบมากๆเลยค่ะอยากได้อาขยานที่สามารถแข่งระดับประเทศได้

สวัสดีค่ะ อ.กิติยา ตอนเด็กๆท่องจนยังจำได้จนบัดนี้

ภาษาไทยควรอนุรักษ์ไว้นะคะ...

 

ชอบภาษาไทยมากเลยค่ะ แล้วจะชอบตลอดไป

ชอบเรียนวิชาไทยมาก

ใครก็ได้ช่วยหาใจความสำคัญของบทอาขยานไห้หน่อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท