ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

การจัดการความรู้เห็ดพื้นบ้านแดงหม้อ


เห็ดพื้นบ้าน อาหารชุมชน

เห็ดป่า หรือเห็ดพื้นบ้าน เป็นทั้งพืช และเชื้อรา ที่เป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตคนเรามาตั้งแต่บรรพกาลจนกระทั่งมาถึงทุกวันนี้ หากแต่ว่าชนิดและปริมาณของเห็ดค่อนข้างจะลดลงไปมากในปัจจุบัน จนกระทั้งบางแห่ง บางพื้นที่ ได้หมดสิ้นไปไม่เหลือไว้ให้ลูกหลานแม้แต่ดอกเดียว อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมของเห็ดได้ถูกเปลี่ยนสภาพไป กลายเป็นตึกราบ้านช่อง ไม่เหลือไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเห็ด หรือบางพื้นที่สภาพธรรมชาติที่เป็นป่าและแหล่งอาศัยของเห็ดก็เหลือน้อยเต็มทีจนกระทั่งเห็ดไม่สามารถเกิดได้

ดังนั้น เพื่อให้สภาพธรรมชาติได้กลับคืนมา และให้เห็ดกลับมาเป็นอาหารของชุมชนดังเดิม ท่านกำนันวรชาติ สายเสมา กำนันตำบลแดงหม้อ อ.เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อ โดยคุณอนุวัฒน์ ภูพวก เลขานายกฯ พร้อมด้วยสมาชิก อบต. สมาชิกชุมชนกว่า 30 คน ได้มานั่งสนทนากันเพื่อหาแนวทางการทำงานสำหรับการที่จะอนุรักษ์ป่าชุมชน และเพิ่มผลผลิตเห็ดป่าให้มากขึ้น สำหรับเป็นมรดกให้กับเยาวชนรุ่นหลังได้เก็บกิน จึงได้ข้อสรุปเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันดังนี้

1. จะอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าชุมชนโดยการปลูกต้นไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยของเห็ดให้มากขึ้น

2. ต้องเรียนรู้เรื่องเห็ดให้มากขึ้น

3. จะสร้างชุดความรู้เรื่อง "การจัดการความรู้เห็ดพื้นบ้านแดงหม้อ" สำหรับให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้

4. สร้างแรงบันดาลใจให้คนในชุมชนร่วมกันปลูก และอนุรักษ์ป่าให้มากขึ้น

ในการนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเห็ดในท่อนไม้ เพื่อเป็นการสร้างแหล่งอาหารของชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพวกกิ่งไม้ ต้นไม้ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้กับสมาชิกของชุมชน ตลอดทั้งการเรียนรู้เรื่องปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตพืช และการสร้างความเข้าใจให้เห็นถึงโทษภัยของสารเคมีอีกด้วย

        ครับจากแนวทางดังกล่าวเห็นได้ว่าชุมชนแดงหม้อเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีแนวทางที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้ร่วมมือกับ สวทช. เข้าไปเสริมกระบวนการการจัดการความรู้ร่วมกับกับชุมชน เพื่อจะให้ความฝันของชุมชนเป็นจริง ตลอดทั้งเป็นการฟื้นฟูธรรมชาติ และแหล่งอาหารธรรมชาติของชุมชน ให้กลับมา โดยเฉพาะเรื่องเห็ดพื้นบ้านที่เคยเป็นแหล่งอาหาร และรายได้ของคนในชุมชนในอดีตให้กลับคืนมา ดังนั้น คณะทำงานจึงร่วมมือกับชุมชนวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปลูกเห็ดปลูกป่า พร้อมกับการปฏิบัติจริงขึ้น ในพื้นที่ตำบลแดงหม้อในปลายเดือนนี้ ทีมงานจึงขอเชิญชวนพันธมิตรที่สนใจวิธีการลูกเห็ดป่าไปร่วมสนทนาและปลูกเห็ดด้วยกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 180155เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เข้ามาเป็นแรงใจให้ค่ะ...แล้วเราจะได้เห็นเห็ดป่าเยอะ ๆ นะค่ะ...ขอบคุณค่ะที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ...สู้ ๆ นะค่ะ

ขอบคูณมากครับ

ก็คงสู้ต่อไปครับ

สวัสดีครับครู

สบายดีไหมครับ

ที่นั่นร้อนไหมครับ

ผมอยู่สระบุรี ร้อนดีเหมือนกัน แต่ฝนเริ่มตกบ้างแล้วครับ

โห...หายไปนานมากเลยนะคะ อาจารย์อุทัย

คิดถึงๆ

ติดตามอาจารย์อยู่ ส่วนมากเป็นเรื่องเห็ดน๊ะอาจารย์ มีแนวอื่นๆบ้างไหม

หวัดดีครับ อาจารย์หนิง คุณซาโตริ และพันธมิตรทางสระบุรี

กลับมาแล้วครับ และเดี๋ยวจะหาเรื่องอื่นๆ มาเล่าสู่กันฟังครับ

ขอกำลังใจด้วยนะครับ

สู้ สู้ เฮ

สาธุ สาธุ สาธุ

ยังคงส่งแรงและกำลังใจให้เสมอ...

ขอบคุณมากครับ

ที่มาเป็นกำลังใจ

ปลูกป่าไว้ที่เมืองกาญจนจากทุ่งโล่งเดี๋ยวนี้ป่ามีความชื้นมีเห็ดโคนเกิดขึ้นมากมายชาวบ้านเข้ามาเก็บกินแบบถอนรากถอนโคนเราไม่หวงกินพยายามพูดให้ความรู้ที่มีงูๆปลาๆว่าการเก็บเห็ดนั้นเขาไม่ถอนถึงโคนแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าไรนัก...เห็ดเริ่มลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว..

การทำลายธรรมชาติโดยการ โกงกิน มีอยู่มากมาย จนธรรมชาติที่คนช่วยสร้างไม่มีโอกาศจะเกิด....ทำไงดี....

กัลยารัตน์ รัตนะจิตร

หากต้องการที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ และการจัดการเห็ดพื้นบ้านให้กับกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็น ครู นักเรียน และชาวบ้าน โดยจัดในรูปแบบของค่ายฯ

จะต้อง ทำอย่างไรบ้าง สิ่งแรกที่ต้องเริ่มคิด คือควรจัดทำหลักสูตรก่อนใช่มั้ยคะ

ขอคำปรึกษาก่อนเบื้องต้นคะ

ประการแรกต้องดูกลุ่มเป้าหมายก่อนครับว่ามีประเพณีวัฒนธรรมอย่างไร

หรือเรียกรวมว่าบริบทของชุมชนนั่นแหละครับ

แล้วเราค่อยมาน่งวางแผนต่ออีกทีว่าจะขับเคลื่อนอย่างไร

พยายามให้กลุ่มเป้าหมายมามีส่วนร่วมกระบวนการ จะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น

แต่จะยอมเสียเวลานิหนึ่ง แต่ก็คุ้มกับการทำงานครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย

อาจารย์ มาสอนที่ศูนย์ดีมากครับ ไม่ทราบว่าช่วงนี้ว่างหรือเปล่าครับ อยากให้มาช่วยสอนกลุ่มเกษตรกร อีกรอบนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์

  • เขียนไปทางแนวเกษตรคล้ายๆกันนะครับ
  • ก็บ้านเรามีพื้นฐานทางด้านการเกษตรนี่เน้าะ...
  • ผมส่งแผนที่ไปมหาวิชชาลัยธรรมชาติมาให้ ที่เมล์
  • เผื่ออาจารย์มีเวลาแวะคุยกัน
  • ส่วนเรื่องเวลา ค่อยโทรหากันอีกทีนะครับ
  • สวัสดีครับ

อ้อ...อาจารย์ครับ

รบกวนดูแผนที่ที่ http://gotoknow.org/file/kruwoot/view/368210 ครับ

อาจารย์ค่ะ

เป็นไปได้ไหมที่เราจะนำเห็ดพื้นบ้าน เหล่านี้มาเพาะเลี้ยงเอง โดยที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่ป่าตามธรรมชาติ เพราะเท่าที่สังเกต คนแถวบ้านเรานิยมรับประทานเห็ดพื้นบ้านกันเยอะมาก แต่ที่สำคัญ คือ หาซื้อตามท้องตลาดไม่ได้

และอีกประการ น่าจะเป็นไปได้หรือไม่คะ ว่าจะผลักดันให้เกิดการเพาะเลี้ยงในครัวเรือน

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท