สภามหาวิทยาลัย : เถ้าแก่ศึกษา


 

          เมื่อบ่ายวันที่ ๒๙ เม.ย. ๕๑ มีการบรรยายเรื่อง Educating High-tech Entrepreneurs โดย Prof. Philip Treleaven, Pro-Provost and Professor of Computing, University College London   ที่ สกว.
ผมได้เรียนรู้ว่าในอังกฤษ มีหลักสูตรนี้ เพียง ๓ - ๔ แห่ง ที่อยู่นอก business school

          ผมไปเข้าฟังสาย แต่ก็พอจะได้ความรู้ว่า UCLจัด Entrepreneurship Education มา ๗ ปี มีนักศึกษาและอาจารย์ผ่านหลักสูตรนี้ ๒,๕๐๐ คน   โดยหลักสูตรประกอบด้วย ๖ ส่วนคือ

๑. เรียนรู้วิธีดำเนินการ high-tech start-up
๒. Business planning & fund-raising
๓. กฎหมายเกี่ยวกับบริษัท
๔. วิธีจัดตั้งสำนักงาน
๕. การจัดการการเงิน
๖. Making your fortune


          UCL อนุญาตให้อาจารย์และนักศึกษาเริ่มธุรกิจที่โต๊ะทำงานได้    ถือเป็นกิจกรรม incubator   โดยหวังว่ากิจกรรมที่พัฒนาขึ้นเป็นธุรกิจและมีรายได้งามจะนำมาซึ่ง donation กลับมาที่มหาวิทยาลัย   กิจกรรมธุรกิจไม่ได้มีเป้าหมายหลักที่เงิน แต่เพื่อสร้างธุรกิจแบบแปลกใหม่ระดับโลก   และเพื่อพิสูจน์คุณค่าของเทคโนโลยีที่มี
การเป็นผู้ประกอบการระดับโลก  มี ๗ องค์ประกอบของ competence ได้แก่

1. Entrepreneurial Attitude มี global vision และความทะเยอทะยาน 
2. Market Opportunity รู้จัก และรู้สร้างโอกาสทางตลาด
3. Communication มีความสามารถในการสื่อสารกับ partners และลูกค้า
4. Business Focus มีจุดมุ่งเพื่อความสำเร็จระดับโลก
5. Harnessing Talent รู้จักใช้ talent ของตนและของผู้อื่น
6. Building Valuation รู้จักสร้างคุณค่าจากสิ่งทีมี โดยเฉพาะ branding
7. The Exit รู้จังหวะว่าจะถอยเมื่อไร อย่างไร
 
 ผมติดใจวิชาเลิกทำธุรกิจ ซึ่งมี Exit Options 4 แนว ได้แก่
1. กลายเป็นบริษัทมหาชน
2. ขายบริษัท
3. Refinancing เป็นการถอยระดับหนึ่ง
4. เลิกกิจการ

          UCL ได้ตั้งเว็บไซต์ www.skeegle.co.uk เป็น networking site for entrepreneurs seeking partners สร้าง community (CoP ของนักวิชาการ/วิจัย ที่ต้องการเริ่มธุรกิจ ในพื้นที่ลอนดอน)   และเปิด UCL Intrapreneurship (เป็น CoP ในกลุ่มนักวิจัยภายใน UCL)   ทางมหาวิทยาลัยช่วยกระตุ้นการแลกเปลี่ยน ไอเดีย โดยส่ง idea ที่คัดเลือกว่าดีไปยัง 10 referees    ถ้ามีคนไม่ตอบ ก็ส่งไปยัง referee คนใหม่    ไอเดียที่ได้รับการประเมินว่าเหมาะที่จะทำธุรกิจ ก็จะได้รับการส่งเสริม

          ผมติดใจข้อกำหนดหน้าที่ ๓ ด้านของอาจารย์ ได้แก่  teach   research  และenterprise หรือเรียกว่า third leg   ซึ่งใน สรอ. เป็นมานาน   มองว่า applied res ซับซ้อนและยากกว่า pure res
          ข้อกำหนดกว้างๆ สำหรับอาจารย์ของ UCL ที่ถือว่าเป็น “ยอดอาจารย์” คือ ดึงทุนวิจัยเข้ามหาวิทยาลัย ๒ เท่าของเงินเดือน   ผลิต paper 2 paper/ปี    
 

          ผมฟังแล้วรู้สึกว่าการดำเนินการเพื่อใช้มหาวิทยาลัยเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ มีการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ ไม่หยุดยั้ง   และถ้าเราจะเรียนรู้เรื่องนี้ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่เหมาะ   เพราะเขาเองก็ไม่เก่ง จึงต้องพัฒนาระบบ Entrepreneurship Education    ส่วนในสหรัฐอเมริกา entrepreneurship ของเขาอยู่ในสายเลือด เขาแนะนำหรือถ่ายนอดให้เรายาก   และแม้เขาจะแนะนำเรา เราก็เอามาใช้ยาก เพราะวัฒนธรรมต่างกันมาก
          Prof. Treleaven กล่าวถึงข้อกังวลในอังกฤษว่า อังกฤษ fund basic research แล้วปล่อยให้ญี่ปุ่นเอาความรู้นั้นไป commercialize   เพราะอังกฤษ commercialize เทคโนโลยีไม่เก่ง   นี่คือจุดอ่อนที่เขาพยายามแก้
 
          ในโลกยุค ICT ความสำคัญของคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นมากมาย   วงการ financial mgt ต้องการคนที่มีความรู้คณิตศาสตร์สูงขึ้นมาก และขาดแคลน
          โลกวิชาการยุคใหม่  ต้องการนักวิชาการทีมีทั้ง วิชาการ และรู้จักโลก

          ผมติดใจยุทธศาสตร์ virtual company   โดยแต่ละ partner มีข้อกำหนดภารกิจ   เมื่อมีผลงานก็ลงบัญชีไว้ และได้ virtual share   อาจมีการปรับแผนงานงาน  เมื่อมีความสำเร็จจะขายก็จดทะเบียนบริษัทจริง   เกิดหุ้นจริง และหุ้นส่วนแต่ละคนก็ได้ส่วนแบ่งตาม virtual share ที่ได้บันทึกไว้    ช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้มาก

           แนะนำให้มหาวิทยาลัยเล็กๆ หลายแห่ง รวมตัวกัน share back office function ระหว่างมหาฯ   ช่วยให้ประหยัด และมีเวลาไปเอาใจใส่การวิจัย วิชาการ

           การประเมินความเข้มแข็งด้านการวิจัยของภาควิชา เขาไม่ได้ขอจำนวน paper และ citation แต่ขอให้ staff แต่ละคน submit 4 best papers    นำไป judge by panel    เป้าหมายของการจัดการอุดมศึกษาระดับประเทศ คือ กำจัดภาควิชาที่อ่อนแอ    ดังนั้น
 ผล research ranking ได้ credential สู่ research block grant จาก รัฐบาล และจาก EC
 

วิจารณ์ พานิช
๓๐ เม.ย. ๕๑

 

                          

หมายเลขบันทึก: 180152เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์
  • ผมได้ความรู้และข้อคิดเยอะเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท