ในการเสวนา “การจัดการความรู้ในวงราชการไทย” โดย สคส. เมื่อวันที่ 28 กค ที่ผ่านมา และภาควิชาพยาธิวิทยา (โครงการ Patho-Otop) คณะแพทย์ มอ. ได้รับเกียรติเป็นกรณีศึกษาหนึ่งนั้น ดิฉันในฐานะผู้นำเสนอมีความสับสนเล็กน้อย เนื่องจากได้รับการบอกกล่าวว่า ให้นำเสนอ 3 ประเด็นหลักคือ 1) ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ คืออะไร (สำเร็จอะไรบ้าง)2) ทำไมจึงสำเร็จ3) ความสำเร็จนั้นส่งผลต่อหัวปลาองค์กรอย่างไร โครงการนี้ยังไม่จบ เป็นเพียงเริ่มต้น แต่ก็เกิดความสำเร็จเล็กๆ ที่สัมผัสได้ ได้แก่
1.มีการทำงานเป็นทีม
2. การพัฒนางานทุกกระบวนการพร้อมๆ กันไป
3. บุคลากรกระตือรือร้นในการพัฒนางาน
4. บุคลากรได้แสดงศักยภาพออกมา
5. บุคลากรได้พัฒนาตนเองหลายด้าน (เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ การนำเสนอ)
<p> แต่ในการสกัดแก่นความรู้ ปรากฏว่าเป็นการสกัดว่า “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” คืออะไร ในความคิดส่วนตัว คิดว่าประเด็นนี้น่าจะตรงกับประเด็นที่ 2 ที่ให้นำเสนอมากกว่าคือ “ทำไมจึงสำเร็จ” และได้นำเสนอไปว่า เหตุที่ทำให้สำเร็จ หรือทำ KM ได้ สืบเนื่องจาก การมีความเชื่อ 3 อย่างคือ เชื่อ คือ 1. เชื่อว่าบุคคลกรระดับปฏิบัติ (ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของหน่วยงาน) มีส่วนในความสำเร็จขององค์กรไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระดับหัวหน้างาน 2. เชื่อว่าพวกเขามีศักยภาพ และ 3. เชื่อว่าการออกแบบโครงการตามหลักการ KM จะช่วยสร้างบรรยากาศในการดึกศักยภาพเหล่านั้นออกมา นอกจากนี้ ก็มีเทคนิคเล็กๆ น้อย ดังที่ทีมงานคุณลิขิตรวบรวมไว้แล้ว (KnowledgeAssets.doc) </p><p> จากความเข้าใจคลาดเคลื่อ จึงขอเพิ่มปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ไม่ได้นำเสนอในวันนั้น และถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง นั่นคือ การบูรณาการหลักการ KM เข้ากับระบบงานที่มีอยู่ และใช้ในการพัฒนางานประจำ ถึงแม้จะดูว่าอาจมีภาระงานที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มคุณค่าของงานที่ตนรับผิดชอบ และจะก่อประโยชน์ให้กับตนเองด้วย นอกจากที่หน่วยงานจะได้รับเต็มๆ ถือเป็น win-win situation หนึ่ง</p>