kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน (3) : เรื่องเล่าจากวชิรบารมี


จากบันทึก http://gotoknow.org/blog/kongkiet/177265  มีเรื่องเล่าจากผู้ประชุมหลายเรื่อง เช่น

เรื่องเล่าของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร

                คุณจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ  เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อยู่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวชิรบารมี  รับผิดชอบงานหลายๆ อย่าง และงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพก็เป็นงานอย่างหนึ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบ

-          จุดประกายที่สำคัญของการทำงานในโรงเรียน เริ่มด้วยกิจกรรมการประกวด เนื่องจากบุคลากรในโรงเรียนชอบกิจกรรมที่จะต้องมีการประกวด เพื่อต้องการแสดงให้ผู้อื่นมองเห็นถึงงานที่ทำ

-          แต่สิ่งสำคัญของการจัดกิจกรรมนั้น ผลการประกวดเป็นผลพลอยได้มากกว่า

-          การจัดทำกิจกรรม จะเริ่มต้นจากโรงเรียนที่มีแนวโน้มที่จะทำกิจกรรมได้ดีกว่าที่อื่น ๆ ก่อน

-          จุดเริ่มต้นในปีแรกคือ พ.ศ. 2548  เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนากิจกรรม แม้จะไม่ได้รับรางวัลก็ตาม

-          ในปี 2549 มีโรงเรียนที่ได้รางวัล 2 แห่งคือโรงเรียนบ้านโนนทอง และโรงเรียนอนุบาล วชิรบารมี ซึ่งทำให้มีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น

-          การทำงานกับโรงเรียน คุณจักรพันธ์ บอกว่าต้องอดทนต่อการปฎิเสธ และการต่อว่า จากครู และต้องพยายามทำความเข้าใจกับตัว Key person ให้ได้

-          จุดเริ่มต้นคือการเข้าไปทำกิจกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งบางครั้งต้องลงไปคลุกวงใน จนกระทั้งครูและนักเรียนเกิดความคุ้นเคย จนทำเองได้ แล้วค่อยปลีกตัวออกมา

-          ในปีที่แล้วได้ลงกิจกรรมปูพรมทั้งอำเภอในเรื่องโรงเรียนปลอดขนมกรอบ และน้ำอัดลม โดยของบประมาณจาก สสส.

-          เริ่มจาก Otawa charter ในเรื่องการควบคุมสิ่งแวดล้อม จากนโยบายสาธารณโดยคิดว่าหากโรงเรียนไม่ให้เด็กกิน แม้จะเป็นแค่ช่วงอยู่โรงเรียนก็ตาม ก็เกิดประโยชน์ต่อเด็ก  ซึ่งระยะแรกผู้บริหารไม่ยอมรับ เพราะเกี่ยวกับผลประโยชน์ แต่ในช่วงหลังมีความเข้าใจมากขึ้น หลังจากคุ้นเคยและให้ความรู้มากขึ้น

-          เริ่มจากการตั้งโจทย์ 3 ข้อคือ

1.                  ห้ามจำหน่ายลูกอม ขนมกรอบ และน้ำอัดลม

2.                  ห้ามนำลูกอม ขนมกรอบ และน้ำอัดลม เข้ามาในโรงเรียน

3.                  ร้านค้ารอบโรงเรียนไม่จำหน่าย

-          ในช่วงแรก โรงเรียนขอต่อลองเป็นข้อ 1 อย่างเดียว  แต่ทางเจ้าหน้าที่ขอเป็นข้อ 2 อีกข้อ ซึ่งก็ OK

-          ผลลัพธ์คือจากโรงเรียน 23 แห่ง มีโรงเรียนที่สามารถทำได้ 22 แห่ง (อีก 1 แห่งภรรยาครูเป็นคนขาย จึงควบคุมไม่ได้)

-          สรุป ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จคือตัวบุคลากร ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครู

-          สิ่งที่ฝากไว้ก็คือการทำกิจกรรมในโรงเรียนเราเน้นการยกย่องชมเชยครู แต่ละเลยการยกย่องชมเชยในส่วนของบุคลากรในพื้นที่ด้วย จึงอยากให้ส่วนกลางให้ความสำคัญในส่วนนี้มากยิ่งขึ้นด้วย

หมายเลขบันทึก: 177380เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2008 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • จ้ะ จ้ะ สรุปว่า เจ้าหน้าที่ก็ต้องการคำชื่นชมด้วยเน๊าะ ... จะได้ชมให้ครบ 360 องศา เลยก็ท่าจะดีนะคะ
  • คือ ชมตัวเราเองที่ทำด้วย ... โอ้ ได้กำลังใจแบบครบวงจรเลย อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท