รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ทยศยิ่งยง
รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ทยศยิ่งยง Assoc. Dr.Yongyootdha Tayossyingyong

หลักการศึกษาและการเรียนรู้


หลักการศึกษาและการเรียนรู้

 

 

 

ดร. กีรติ ยศยิ่งยง

อาจารย์ประจำวิชา หลักการศึกษาและการเรียนรู้

ภาค2/2550

สาขาการจัดการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

 

เอกสารประกอบการบรรยาย

 

ครั้งที่ 1 :

แนะนำการเรียน และภาพรวมวิชาหลักการศึกษาและการเรียนรู้

 

 

ครั้งที่ 2 :

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนรู้

 

ครั้งที่ 3 :

พัฒนาการของการศึกษา

 

ครั้งที่ 4 :

บรรยายพิเศษ เรื่อง "การจัดการศึกษาในประเทศไทย :  อดีต ปัจจุบัน และอนาคต"

โดย พลตรีหญิงอุษณีย์ เกษมสันต์ ณ อยุธยา

 

ครั้งที่ 5 :

เชื่อมโยงและบูรณาการหลักการศึกษาและการเรียนรู้

 

 

ครั้งที่ 6 :

นโยบายการศึกษา : การเปรียบเทียบและการวิเคราะห์

 

 

ครั้งที่ 7 :

พระราชบัญญัติการศึกษาและแผนการศึกษา

 

ครั้งที่ 8 :

 บุคลากรทางการศึกษากับการพัฒนาประเทศ 

 

ครั้งที่ 9 :

หลักสูตร และพื้นฐานแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอน

 

 

ครั้งที่ 10 :

การประกันคุณภาพการศึกษา

 

 

 

ครั้งที่ 11 :

บรรยายพิเศษ เรื่อง "การปฏิรูปการศึกษา : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต"

โดย ผศ.ดร. ขวัญดี อัตวาวฒิชัย

 

 

  

ครั้งที่ 12 :

การเชื่อมโยงและบูรณาการหลักการศึกษาและการเรียนรู้

 

 

ครั้งที่ 13 - 14  :

นักศึกษานำเสนองาน : อารัมภบทวิชาการ

 

 

ครั้งที่ 15 :

 

 

ครั้งที่ 16 l

สอบปลายภาค

 

 

ปัญหา และแนวโน้มการจัดและการบริหารการศึกษาไทย

หมายเลขบันทึก: 176818เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2008 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

31. Phrasamuwisudsri Watkuborn

เมื่อ ศ. 24 ส.ค. 2550 @ 13:52

359517 [ลบ]

สรุปคำบรรยายเรื่องบุคลากรทางการศึกษา โดยท่านอาจารย์กิตติวัฒน์ อิทธิมงคลวัฒน์บรรยายแทนท่านดร.กีรติคำว่า วิสัยทัศน์ คือสิ่งที่อยากจะเห็น อยากจะเป็นหรือสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น วิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 กระทรวงศึกษาธิการผู้ส่งพระสมุห์วิสุทธิ์ศรี ป.โทปี ๒ สาขา การจัดการศึกษา

วิสัยทัศน์ § กระทรวงศึกษาธิการเป็นองค์กรหลักที่มุ่งจัดและส่งเสริมการศึกษาให้ประชาชน มีคุณธรรมนำความรู้ มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างสังคมคุณธรรม พัฒนาสังคมฐานความรู้ และยืนหยัดในเวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย

พันธกิจ § เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเสริมสร้างโอกาสในการศึกษาให้แก่ประชาชน โดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

§ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

§ พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ประเด็นยุทธศาสตร์§ สร้างกระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม คุณธรรม วัฒนธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลแก่เยาวชน และประชาชนทุกระดับ โดยเชื่อมโยงความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในสังคม§ เร่งปรับกระบวนการเรียนการสอนเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา

สร้างโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต§ สนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศ

§

§ เร่งรัดผลักดันการกระจายอำนาจและสร้างความเข้มแข็งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา§ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการและสนับสนุนการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย§ จัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมให้เกิดสันติสุข .สาระความรู้ และสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา

1. หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา

สาระความรู้

1) หลักและทฤษฎีทางการบริหาร และการบริหารการศึกษา

2) ระบบและกระบวนการบริหารและการจัดการการศึกษายุคใหม่

3) การสร้างวิสัยทัศน์ในการบริหารและจัดการการศึกษา

4) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

5) บริบทและแนวโน้มการจัดการการศึกษา

สมรรถนะ

1) สามารถนำความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษาไป

ประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา

2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการการศึกษา

3) สามารถกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายของการศึกษา

4) สามารถจัดองค์กรโครงสร้างการบริหาร และกำหนดภารกิจของครูและบุคลากร

ทางการศึกษาได้เหมาะสม

2. และการวางแผนการศึกษา

สาระความรู้

1) พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการจัดการศึกษา

2) ระบบและทฤษฎีการวางแผน

3) การวิเคราะห์และการกำหนดนโยบายการศึกษา

4) การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

5) การพัฒนานโยบายการศึกษา

6) การประเมินนโยบายการศึกษา

สมรรถนะ

1) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำนโยบายการศึกษา

2) สามารถกำหนดนโยบายวางแผนการดำเนินงานและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา

3) สามารถจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่มุ่งให้เกิดผลดี คุ้มค่าต่อการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม

4) สามารถนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ

5) สามารถติดตามประเมิน และรายงานผลการดำเนินงาน

3. การบริหารด้านวิชาการ

สาระความรู้

1) การบริหารจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

2) หลักการและรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร

3) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

4) หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศ

5) กลยุทธ์การนิเทศการศึกษา

6) การวางแผนและการประเมินผลการนิเทศการศึกษา

7) ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา

8) หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา

9) สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัย

สมรรถนะ

1) สามารถบริหารจัดการการเรียนรู้

2) สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

3) สามารถนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

4) สามารถส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้

4. การบริหารด้านธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่

สาระความรู้

1) กฎหมายที่เกี่ยวข้อกับงานธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่

2) การจัดวางระบบควบคุมภายใน

3) เทคนิคการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา

สมรรถนะ

1) สามารถจัดระบบงานสารบรรณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2) สามารถบริหารจัดการงบประมาณอย่างถูกต้องและเป็นระบบ

3) สามารถวางระบบการบริหารและจัดการทรัพยากรภายในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) สามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

5. การบริหารงานบุคคล

สาระความรู้

หลักการบริหารงานบุคคล

สมรรถนะ

1) สามารถสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเข้ามาปฏิบัติงาน

2) สามารถจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่รับผิดชอบ

3) สามารถพัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) สามารถเสริมสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับครูและบุคลากรในสถานศึกษา

5) สามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา

6. การบริหารกิจการนักเรียน

สาระความรู้

1) คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์

2) ระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

สมรรถนะ

1) สามารถบริหารจัดการให้เกิดกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน

2) สามารถบริหารจัดการให้เกิดงานบริการผู้เรียน

3) สามารถส่งเสริมการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในด้านต่าง ๆ

4) สามารถส่งเสริมวินัย คุณธรรม จริยธรรมและความสามัคคีในหมู่คณะ

7. การประกันคุณภาพการศึกษา

สาระความรู้

1) หลักการและกระบวนการในการประกันคุณภาพการศึกษา

2) องค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษา

3) มาตรฐานการศึกษา

4) การประกันคุณภาพภายในและภายนอก

5) บทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพการศึกษา

สมรรถนะ

1) สามารถจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

2) สามารถประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา

3) สามารถจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมิน ภายนอก

8. การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาระความรู้

1) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

2) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

3) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้

สมรรถนะ

1) สามารถใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติงานได้อย่าง เหมาะสม

2) สามารถประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการ

3) สามารถส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

9. การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน

สาระความรู้

1) หลักการประชาสัมพันธ์

2) กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

สมรรถนะ

1) สามารถบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารไปสู่ผู้เรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา

2) สามารถเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและกิจกรรมของสถานศึกษาไปสู่ชุมชน

3) สามารถใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์

4) สามารถสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน โดยมีเป้าหมายในการ

เข้าไปช่วยเหลือชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

5) สามารถระดมทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษา

10. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

สาระความรู้

1) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร

2) จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

3) การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนในกรอบคุณธรรม

4) การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)

สมรรถนะ

1) เป็นผู้นำเชิงคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

2) ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

3) ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ร่วมงานมีคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมจินตนาการใหม่ของมนุษย์หลังยุคดังกล่าว คือ การมีชีวิตที่มั่งคั่งสมบูรณ์ สุขสบายทางวัตถุ มีความปลอดภัย(จากภัยธรรมชาติ ภัยการเมือง) มีเสรีภาพในการคิด การแสวงหาความรู้ และความมั่งคั่งตามความสามารถของแต่ละปัจเจกบุคคล โดยมีวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์ และวิชาการทางสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐหรือศาสตร์ ฯลฯ เป็นศาสตร์สำคัญในการจัดระเบียบสังคม และผลักดันให้จินตนาการของวิถีชีวิตบุคคลและสังคมอันสุขสบายดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมา(7) ดังนั้น ไม่ว่าการพัฒนาเพื่อไปสู่เป้าหมาย Growth , Modernization, Globalization ต่างมีเป้าหมายเดียวกันคือ ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมั่งคั่งสุขสมบูรณ์ หลุดพ้นจากข้อบีบคั้นต่าง ๆ ในอดีต หรืออยู่ตาม"อำเภอใจ"นั้นเอง

ผู้นำที่ดีควรมีลักษณะสำคัญคือ

1)มีความรู้ ยิ่งมีความรอบรู้มาก ฐานะแห่งความเป็นผู้นำจะยิ่งมั่นคง

2)มีความคิดริเริ่ม ต้องคิดก่อนทำ จะทำให้มีเหตุผลในการทำงานเป็นที่วางใจของลูกน้อง

3) มีความกล้าหาญ ไม่กลัวอันตรายหรือความลำบาก ควบคุมความกลัวไว้ได้ทั้ง กายวาจา ใจ

4)มีความเด็ดขาด สามารถตัดสินใจได้ทันท่วงที

5) มีความแนบเนียน ติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยอาการวาจาที่เหมาะสม

6)มีความยุติธรรม วางตนเป็นกลางไม่เอนเอียงก่อประโยชน์หรือโทษต่อใคร

7)มีท่าทางดี ทำให้ผู้อื่นเลื่อมใสศรัทธา

8) มีความอดทนต่อการปฏิบัติภารกิจหน้าที่อย่างต่อเนื่อง

9) มีความกระตือรือร้น มีใจจดจ่อเอาใจใส่ต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอยู่เสมอ

10)มีความไม่เห็นแก่ตัว คือขจัดสุขหรือผลประโยชน์ขจองตน มีความซื่อสัตย์สุจริตตรงไปตรงมา ไม่ทำลายผู้อื่น คุ้มครอง รักษาและให้สิทธิแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม

11)มีความตื่นตัว ระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ

12)มีดุลพินิจ พิจารณาสิ่งต่างๆอย่างถูกต้อง

13)มีความสงบเสงี่ยมไม่หยิ่งยโส ไม่ภาคภูมิใจอย่างไร้เหตุผล

14) มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่เรื่องทุกข์เรื่องสุขของลูกน้องให้มาก

15) มีความจงรักภักดี ต่อหน้าที่ ต่อผู้อื่น ต่อหมู่คณะต่อส่วนรวม เพื่อจะได้เป็นที่ไว้วางใจของผู้ใต้บังคับบัญชา

16) สังคมดี ปรับตนให้เข้ากับสังคมอย่างถูกต้อง

17)การบังคับตนเอง บังคับจิตใจและอารมณ์มิให้แสดงกริยาอาการที่ไม่เหมาะสมต่อผู้

หัวใจ AIC

แนวคิดของการเขียน แผนงาน / โครงการอย่างมีส่วนร่วม ต้องมีความเชื่อมโยงกันอย่างดี ระหว่าง1. แกนกลาง คือ สภาพแวดล้อมทุกด้าน 2. กรอบนอกออกไป คือ พลังของความมีสัมพันธภาพ 3. กรอบนอกสุด คือ พลังของการทำงานของผู้ทำงาน ที่มีความมุ่งหมายเดียวกัน C = สภาพแวดล้อมของตัวบุคคล และกลุ่ม เกิดการควบคุมกันเองได้ (control power)I = กรอบวงรอบออกไป คือ สิ่งนำเข้า และผลผลิตที่ได้ เป็นอิทธิพลต่องาน (Influence)A = กรอบวงนอกสุด คือ ความพึงพอใจที่จะทำงาน (Appreciation)บุคคล/กลุ่มคน มีความคิด ความเข้าใจกันคนละทิศละทาง มุ่งหมาย และปฏิบัติกันไปคนละอย่าง แต่ผลที่เกิดขึ้น กระทบ และมีอิทธิพลต่อกัน (Influence) หากไม่มีการควบคุม (Control) จะไม่เกิดความพอใจ และไม่เห็นคุณค่า (appreciation)ผู้นำการพัฒนาชุมชน ให้แนวทางไว้ว่า1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องเดียวกัน (Stakeholder) ต้องกำหนดความประสงค์ร่วมกันก่อน ต้องทำความเข้าใจสถานการณ์ มีความปรารถนาดี และเป็นมิตร เคารพความเห็นของกันและกัน ให้เกิดความพอใจเสียก่อน 2. ต้องร่วมกันหากลวิธีให้บรรลุความประสงค์ ด้วยการริเริ่ม คิด วิเคราะห์ แยกแยะด้วยปัญญา และการแลกเปลี่ยนที่คุ้นเคย จึงจะได้วิธีการที่สำคัญ มีพลัง มีประสิทธิภาพ 3. ต้องทำแผนปฏิบัติการระบุว่า จะทำอะไร เพื่อให้ได้อะไร มีเหตุผลอย่างำร ใครรับผิดชอบ ใครร่วมมือ ติดตามประเมินผลอย่างไร มีอะไรเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (ทรัพยากรได้จากไหน) 4. การปฏิบัติตามแผน ความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ 5. มีการติดตามผล เรียนรู้ ปรับปรุงภารกิจ จากประสบการณ์ที่ทำงาน6. หลักการ AICหลักของวิธีประชุมแบบ AIC ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพึงพอใจ และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในอันที่จะสร้างสรรค์ และจัดการร่วมกัน โดยมีขั้นตอนการประชุมกระบวนการ A.I.C เป็นเรื่องปฏิบัติ ต้องลงมือทำเอง ดัดแปลงหลักการให้เข้ากับสถานการณ์และบุคคล ทำไปเรียนรู้ไปเป็นประจำทุกครั้งที่จะทำโครงการพัฒนางานให้ประชาชน จะเป็นของง่ายทำได้ทุกระดับคนไทยจะเป็นคนพัฒนาเต็มศักยภาพทันยุคโลกาภิวัฒน์ได้ ก็อยู่ที่เราจะยอมทำโครงการ โดยออกแบบ กลวิธีดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมนี้ได้จริงเพียงใด ครั้งต่อไปจะค้นหาตัวตน / วิธีการของกระบวนการ A.I.C. ที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร

32. มนูญ คันธประภา

เมื่อ จ. 27 ส.ค. 2550 @ 11:49

361831 [ลบ]

วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2550 โดย อาจารย์กิตติวัฒน์ อิทธิมงคมวัฒน์ สรุปในภาพรวมเรื่องบุคลากรทางการศึกษากับการพัฒนาประเทศ บุคลากรทางการศึกษา แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนผลักดันในการพัฒนาประเทศ คือ1. ครู 2. ผู้บริหาร 3. ผู้บริหารทางการศึกษา 4. บุคลากรทางการศึกษา ทั้ง 4 กลุ่มนี้จะต้องมีสมรรถนะ(Competency) ด้านต่าง ๆ คือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ที่มีส่วนขับเคลื่อนการจัดการศึกษาไทยสู่ความสำเร็จ โดยนำเอาเทคนิคการเป็นผู้นำการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยใช้เทคนิคซีเอ็ม : Concept Mapping เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานดังกล่าว

33. แม่ชีรัตนาภรณ์ ช้างขำ

เมื่อ จ. 27 ส.ค. 2550 @ 15:50

362072 [ลบ]

แม่ชีรัตนาภรณ์ ช้างขำ

สาขาการจัดการศึกษา รหัสนักศึกษา ๔๙๑๒๐๕๐๒๕ สรุปงานวันพุธ

วิชาหลักการศึกษาและหลักการเรียนรู้ ๒๒ /๘/๕๐ สรุปงานส่ง อ. ดร.กีรติ ยศยิ่งยง

บรรยายโดย อ.กิตติวัฒน์ อิทธิมงคลวัฒน์ (กบิล ไตรทิพย์)

เรื่อง บุคลากรทางการศึกษากับการพัฒนาประเทศ องค์กรทางวิชาชีพครู และใบประกอบวิชาชีพครู

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคคลกรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาติเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติ๑. ครู หมายถึง บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ตำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน ๒. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน หรืออุดมศึกษาตำกว่าปริญญาทั้งรัฐและเอกชน ๓. ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคคลซึ่งปฎิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในรฟะดับเขตพื้นที่การศึกษา ๔. บุคคลกรทางการศึกษาอื่นๆ หมายถึง บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกาาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษาสถานศึกษาต้องมีองค์ประกอบคือวิสัยทัศน์ หมายถึงสิ่งที่เห็น สิ่งที่เป็น ในอนาคตที่ต้องการเห็นหรือต้องการให้เป็น พันธกิจ เป้าประสงค์ หรือจุดสำเร็จ นโยบาย ยุทธศาาสตร์หรือกลยุทธ์ คือแนวทางปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ การที่จะเดินไปตามแนวทางที่เป้าหมายกำหนดนั้น ต้องมีทักษะหรือ ความสามารถ สมรรถนะ (Competency) ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๔ อย่างคือ ๑. ความรู้ ๒. ทัศนะคติ ๓ ทักษะความสามารถ ๔. คุณลักษณะอื่นๆ

ขอบคุณค่ะ

34. โกเมท ล้อมจันทราศิลป์

เมื่อ อ. 28 ส.ค. 2550 @ 23:48

363559 [ลบ]

22/08/50 หลักการศึกษาและหลักการเรียนรู้ อ.ดร.กีรติ ยศยิ่งยงวิทยากรที่มาสอนคือ ท่านกิตติวัฒน์ อิทธิมงคลวัฒน์กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์วิทยากรอย่างมากที่มาจุดประกายความคิดในครั้งนี้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา = ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติครู =บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนผู้บริหารสถานศึกษา=บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน หรืออุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนผู้บริหารการศึกษา=บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา “บุคลากรทางการศึกษาอื่น” บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษาดังนั้นบุคลากรจำเป็นต้องมีสมถรรนะในการที่มีส่วนขับเคลื่อน การศึกษาไทยสู่ความสำเร็จCompetency = ทักษะความสามารถ สมรรถนะ ในด้านธุรกิจ บุคคล = ความได้เปรียบLevel of competency = 1.Basic 2.Doing 3.Development 4.Avandance 5.Expertประกอบด้วย KASO K = Knowledge ความรู้A = Attitude ทัศนะคติS = Skill ทักษะO = Other characteristics ลักษณะนิสัยอื่นที่สามารถมองเห็นว่าจะให้การทำงานบรรลุผลสำเร็จ

35. นายวันชัย การวิทยี

เมื่อ พ. 29 ส.ค. 2550 @ 17:38

364406 [ลบ]

นายวันชัย การวิทยี 491205028

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)

หมายถึงการที่บุคคลตั้งแต่ 10-25 คน ซึ่งมีความสนใจ หรือปัญหาที่จะต้องร่วมกันแก้ไขมาพบ ปรึกษาหารือ ค้นคว้าหริวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเพื่อให้มีความรู้กว้างขวางขึ้น สถานที่สำหรับจัดการประชุมการปฏิบัติการ ควรต้องใหญ่พอที่จะจัดที่นั่งได้อย่างสบายมีที่วางเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ มีห้องสมุดหรือเอกสารข้อมูลสำหรับค้นคว้า และควรมีกระดานดำหรืออุปกรณ์อื่นใดสำหรับจดบันทึกด้วย

วิธีการของการจัดการประชุมปฏิบัติการ คือ ผู้จัดการอบรมจะต้องจัดเตรียมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกรวมทั้งวิทยากร และข้อมูลต่างๆ สำหรับการค้นคว้าไว้ล่วงหน้าแล้วจึงจัดการประชุมปฏิบัติการและหลังจากการประชุมปฏิบัติการแล้ว ก็จะจัดทำประเมินผลติดตามผลตามต้องการ

ข้อดีของการชุมปฏิบัติการ คือ เปิดโอกาสให้แต่ละคนมีส่วนร่วมได้มาก ให้กลุ่มได้มีโอกาสกำหนดเป้าหมาย และวิธีการได้เอง ข้อกำจัดคือ ทั้งวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม ต้องให้เวลาแก่งานนี้มาก และต้องใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจำนวนมาก นอกจากนี้ยังต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องอำนวยความสะดวกพิเศษ และผู้เข้าอบรมต้องพร้อมที่จะทำงานแบบลำพังคนเดียว และแบบ ร่วมมือกัน

36. พระเมธิวัจน์ ธมฺมธโร

เมื่อ ศ. 31 ส.ค. 2550 @ 08:19

366690 [ลบ]

สรุปการบรรยาย

ของ อ.สุชาติ ผู้อยู่สุข และ ผศ.ดร.ขวัญดี อัตวาวุฒิชัย

ผู้การฟังบรรยายมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของสังคมใด ย่อมสัมพันธ์กันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของสังคมนั้น และเมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแล้ว ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไปด้วย ซึ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือ

๑. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทฤษฎี อันได้แก่ แนวความคิด ความเชื่อและความเข้าใจต่าง ๆ และ

๒. การเปลี่ยนแปลงทางด้านปฏิบัติ อันได้แก่การประกอบกิจกรรม และการกระทำต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทั้งสองนี้ย่อมมีความสัมพันธ์กัน คือเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน นั้นก็หมายความว่า เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมทำให้การเปลี่ยนแปลงอีกด้านหนึ่งเกิดขึ้นด้วย การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษานอกจากจะมีลักษณะอย่างเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและ ยังมีความสัมพันธ์กันอีกด้วย ดังนั้นในการจะกล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติหรือปรัชญาการศึกษาไทย จึงจำเป็นจะต้องนำเอาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของไทย ในแต่ละยุคแต่ละสมัยมากล่าวด้วย

อีกประการหนึ่ง ผู้เขียนเชื่อว่าจากสถานการณ์และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนกำลังรอคอยอยู่ในเรื่องรัฐธรรมมูญปี ๕๐ ก็ผ่านพ้นไปด้วยดี ดังนั้นเราต้องรอคอยอีกต่อไปว่า พ.ร.บ ต่าง ๆนั้นจะมีทิศทางไปในด้านใดอีก.

......อนิจจตา.......

สามัญลักษณะทั้งหลายทั้งปวงคืนสู่ความจริง

37. พระเมธิวัจน์ ธมฺมธโร

เมื่อ ศ. 31 ส.ค. 2550 @ 09:18

366744 [ลบ]

สรุปการบรรยาย

อ.กิตติวัฒน์ อิทธิมงคลวัฒน์

การบริหารบุคลากรทางการศึกษากับการพัฒนาประเทศ ในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทางการศึกษาของสังคมใด ย่อมที่จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสัมคมแห่งนั้น และเมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสัมคมแล้ว ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมด้วย ทั้งนี้การบริหารบุคลากรทางการศึกษาของไทยได้เปลี่ยนแปลงควบคู่มากับสังคม และ วัฒนธรรมมาตามลำดับ ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่สนใจทางการศึกษาควรที่จะได้ศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงแนวการศึกษาของไทยให้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามนอกจากการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ท่านที่จะประกอบวิชาชีพครูและเป็นผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่ มั้นใจที่จะเป็นผู้บริหารที่ประสพความสำเร็จได้ ท่านจะต้องบริหาร ทั้ง ๓ ปัจจัยให้ได้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ได้แก่

๑. การบริหารตนเอง เป็นปัจจัยแรกที่สำคัญมาก

๒. การบริหารคน เป็นปัจจัยที่สอง

๓. การบริหารงาน เป็นอันดับสุดท้าย

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา หมายความว่าครู หรือผู้บริหารสถานศึกษา , ผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หากได้นำหลักการทั้ง ๓ ข้อที่ได้กล่าวมานี้นำทาพัฒนาสมถรรนะ ทักษะ ความสามารถในการบริหารงานตามสถานการณื ทันต่อเหตุการณ์ต้องเป็นพลวัต โดยใช้วิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารและพัฒนาตนเองตามความจำเป็น ผู้เขียนเชื่อว่าท่านจะเป็นบุคลากรนักบริหารที่ทันสมัย หรือ ผู้นำที่ดีได้ในอนาคต

อ.กิตติวัฒน์ ท่านได้ให้แนวคิดไว้ว่า การใช้เทคนิค ซี เอ็ม(Concept Mapping) คือ เทคนิคการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๆ ๕ ขั้นดังต่อไปนี้

๑.ขั้นเตรียมการ (สิ่งที่จะทำ)

๒. ขั้นสร้างแนวความคิด

๓. ขั้นจัดทำกลุ่มคำ/เชื่อมโยง

๔. ขั้นการเขียน Form : ซี เอ็ม

๕. ขั้นการใช้แผนภาพ ซี เอ็ม (คือกรอบแนวคิดที่ได้ถูกการกลั่นกลองมาแล้ว)

สรุป การทำกระบวนการ cm นี้คือการระดมสมองที่แตกออกเป็นกิจกรรมย่อย ๆ สามารถนำมาจัดใส่ในรายละเอียดของโครงการให้ง่ายขึ้นในการกำหนดมาตรฐานที่กลุ่มต้องการ เช่น มาตรฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรมของราชการเป็นต้น

ข้อคิด : มีความแตกแยกแต่ไม่แตกต่าง......

38. พระเมธิวัจน์ ธมฺมธโร

เมื่อ ศ. 31 ส.ค. 2550 @ 12:58

366992 [ลบ]

สรุปการบรรยาย

ดร. กีรติ ยศยิ่งยง

มาตาฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

ใน พ.ร.บ มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการปประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฏกระทรวง.

มาตรา๔๘,มาตรา๔๙,มาตรา๕๐ และมาตรา๕๑

กล่าวว่า ในกรณีที่ผลการประเมิณภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตราฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดหากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตราฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข.

ในความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องนี้ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าตราบใดเส้นการศึกษายังไม่คงที่ไม่มีจุดยืนที่แน่นอนอย่างมั่นคง เชื่อว่าเส้นที่แสดงความเป็นมาตราฐานหรือการประเมินคุณภาพก็คงจะแสดงเส้นความขึ้น-ลงอยู่ตลอดเวลาด้วยเหตุและปัจจัยต่าง ๆ

39. พระครูใบฏีกาสมศรี ธีรปัญโญ

เมื่อ พฤ. 06 ก.ย. 2550 @ 22:59

375182 [ลบ]

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจะต้องมีสมรรถนะใดบ้างที่มีส่วนขับเคลื่อนการจัดการศึกษาไทยสู่ความสำเร็จ

ครู

ผู้บริหารการศึกษา

บุคคลากรอื่นๆ

- มีความคิดริเริ่มใหม่, มีความรักและปรารถนาดีต่อผู้เรียน, การทำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้, พัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น, บุคลิกภาคแต่งการดีเรียบร้อย, มีจรรยาบรรณดีต่อวิชาชีพครู, มีความสามัคคี, เสียสละ, แจ่มใส

- พัฒนาครูให้มีคุณภาพในด้านการเรียนการสอน, เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ, ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่, เป็นผู้นำที่ดีในด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง, มีความรู้คู่คุณธรรม, แจ่มแจ้งจูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง

ผู้บริหารสถานศึกษา

- มีประสิทธิภาพในการใช้คนให้มีเหมาะสมกับงาน, สามารถวางแผนนโยบายและการประเมินผลที่ชัดเจน, มุ่งให้เกิดผลดี, มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ, จัดรูปแบบการศึกษา, มีความเห็นชอบ, มีความเชื่อมั่นศรัทธาในวิชาชีพของตน, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี, มีความคิดสร้างสรรค์, มีความกล้าหาญ, เคารพความเห็นผู้อื่น, ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับงานที่มีปัญหาได้, ส่งเสริมภูมิปัญญา, เป็นผู้ทันสมัยต่อเทคโนโลยี, พัฒนาความรู้และนำมาประยุกต์

- มีคุณธรรมจริยธรรม, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ร่วมงาน, มีส่วนร่วมในความคิดเห็น, สามารถจัดทำบัญชีได้, มีวินัยในการทำงาน, มีความขยันอดทนในการทำงาน,

40. พระครูใบฏีกาสมศรี ธีรปัญโญ ส่งงานอาจาย์กิตติวัฒน์ อิทธิมงคลวัฒน์ ๒๒ สิงหาคม ๕๐

เมื่อ พฤ. 06 ก.ย. 2550 @ 23:11

375207 [ลบ]

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจะต้องมีสมรรถนะใดบ้างที่มีส่วนขับเคลื่อนการจัดการศึกษาไทยสู่ความสำเร็จ

ครู

ผู้บริหารการศึกษา

บุคคลากรอื่นๆ

- มีความคิดริเริ่มใหม่, มีความรักและปรารถนาดีต่อผู้เรียน, การทำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้, พัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น, บุคลิกภาคแต่งการดีเรียบร้อย, มีจรรยาบรรณดีต่อวิชาชีพครู, มีความสามัคคี, เสียสละ, แจ่มใส

- พัฒนาครูให้มีคุณภาพในด้านการเรียนการสอน, เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ, ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่, เป็นผู้นำที่ดีในด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง, มีความรู้คู่คุณธรรม, แจ่มแจ้งจูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง

ผู้บริหารสถานศึกษา

- มีประสิทธิภาพในการใช้คนให้มีเหมาะสมกับงาน, สามารถวางแผนนโยบายและการประเมินผลที่ชัดเจน, มุ่งให้เกิดผลดี, มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ, จัดรูปแบบการศึกษา, มีความเห็นชอบ, มีความเชื่อมั่นศรัทธาในวิชาชีพของตน, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี, มีความคิดสร้างสรรค์, มีความกล้าหาญ, เคารพความเห็นผู้อื่น, ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับงานที่มีปัญหาได้, ส่งเสริมภูมิปัญญา, เป็นผู้ทันสมัยต่อเทคโนโลยี, พัฒนาความรู้และนำมาประยุกต์

- มีคุณธรรมจริยธรรม, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ร่วมงาน, มีส่วนร่วมในความคิดเห็น, สามารถจัดทำบัญชีได้, มีวินัยในการทำงาน, มีความขยันอดทนในการทำงาน,

41. พระครูใบฏีกาสมศรี ธีรปัญโญ

เมื่อ พฤ. 06 ก.ย. 2550 @ 23:33

375235 [ลบ]

สรุปการบรรยายของอาจารย์ กิตติวัฒน์ อิทธิมงคลวัฒน์ ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๕๐

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจะต้องมีสมรรถนะใดบ้างที่มีส่วนขับเคลื่อนการจัดการศึกษาไทยสู่ความสำเร็จ

ครู

ผู้บริหารการศึกษา

บุคคลากรอื่นๆ

- มีความคิดริเริ่มใหม่, มีความรักและปรารถนาดีต่อผู้เรียน, การทำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้, พัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น, บุคลิกภาคแต่งการดีเรียบร้อย, มีจรรยาบรรณดีต่อวิชาชีพครู, มีความสามัคคี, เสียสละ, แจ่มใส

- พัฒนาครูให้มีคุณภาพในด้านการเรียนการสอน, เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ, ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่, เป็นผู้นำที่ดีในด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง, มีความรู้คู่คุณธรรม, แจ่มแจ้งจูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง

ผู้บริหารสถานศึกษา

- มีประสิทธิภาพในการใช้คนให้มีเหมาะสมกับงาน, สามารถวางแผนนโยบายและการประเมินผลที่ชัดเจน, มุ่งให้เกิดผลดี, มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ, จัดรูปแบบการศึกษา, มีความเห็นชอบ, มีความเชื่อมั่นศรัทธาในวิชาชีพของตน, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี, มีความคิดสร้างสรรค์, มีความกล้าหาญ, เคารพความเห็นผู้อื่น, ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับงานที่มีปัญหาได้, ส่งเสริมภูมิปัญญา, เป็นผู้ทันสมัยต่อเทคโนโลยี, พัฒนาความรู้และนำมาประยุกต์

- มีคุณธรรมจริยธรรม, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ร่วมงาน, มีส่วนร่วมในความคิดเห็น, สามารถจัดทำบัญชีได้, มีวินัยในการทำงาน, มีความขยันอดทนในการทำงาน,

42. พระเมธิวัจน์ ธมฺมธโร 49-120-5006

เมื่อ ศ. 07 ก.ย. 2550 @ 03:35

375355 [ลบ]

เรื่องการเยี่ยมชมสถานศึกษา

เมื่อวันที่ ๖ กันยายา พ.ศ. ๒๕๕๐ ดร.กีรติ ยศยิ่งยง อาจารย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ได้นำคณะพระภิกษุ และคฤหัสถ์ สาขาการจัดการศึกษา เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ภายใต้หัวข้อที่ว่า การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ

ในเวลา ๐๗.๓๐ น. ทางคณะได้เริ่มออกเดินทางจาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถึง ร.ร. บดินทรเดชา เวลาประมาณ ๐๙.๐๐น. ซึ่งในขณะที่ศิษยานุศิษย์ของ ร.ร. กำลังแสดงมุทิตาจิตสักการะในงานเกสียนอายุราชการของครูบดินทรเดชา เป็นภาพที่ประทับใจมาก โดยที่คณะครูและผู้บริหารของโรงเรียนให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ถือได้ว่าเป็นเรื่องการเชื่อมปฏิสัมพันธ์ระหว่าง มมร. กับ ร.ร.บดินทรเดชา หลังจากนั้นทางคณะได้เดินเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆภายในสถานศึกษา ซึ่งดูแล้วก็เหมาะสมกับสถานศึกษาที่ได้รับว่าเป็นเลิศ และ เวลา ๑๓.๐๐ น. ทางคณะ(มมร.) ได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ซึ่งเป็นสถานที่ที่สองต่อไป เวลา ๑๕.๐๐ น. ทางคณะ(มมร.) ก็ได้เดินทางกลับ

ซึ่งเชื่อได้ว่า ภาพที่ปรากฏ ทั้ง ๒ โรงเรียน สร้างความประทับใจ กับผู้ไปเยือนทุก ๆ ท่าน

.............สรุปโดยพระเมธิวัจน์ ธมฺมธโร สาขา การจัดการศึกษา รายงาน.................................

43. แม่ชีรัตนาภรณ์ ช้างขำ

เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 14:54

383543 [ลบ]

แม่ชีรัตนาภรณ์ ช้างขำ

สาขาการจัดการศึกษา

สรุปงาน วันที่ ๑๒/๙/๕๐ วิชาหลักการศึกษาและหลักการเรียนรู้วันนี้พระอาจารย์วิโรจน์ เข้าสอน แทน อ.กีรติ พระอาจารย์วิโรจน์ได้เสนอแนะหลักการวิเคราะห์งาน โดยการวิเคราะห์งานนั้นต้องประกอบด้วยกัน ๓ ส่วน คือ ๑. ความรู้ ๒. ความจริง ๓. ทัศนะคติของผู้วิเคราะห์ การวิเคราะห์งานนั้นต้องนึกถึงความจริงก่อนเป็นประการแรก แต่ถ้าหากว่าผู้วิเคราะห์ไม่มีความรู้จริงในเรื่องที่จะวิเคราะห์ให้แสดงทัศนะคติของตัว ที่สำคัญอย่างหนึ่งการที่เราจะเคราะห์อะไรสักอย่างเราต้องมีความรู้ที่เป็นความจริงในเรื่องนั้นๆด้วย เพราะว่าเราไม่มีความรู้ก็จะทำให้เรามีความคิดเห็นในเรื่องนั้นผิดๆแต่ความรู้นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริงเสมอ การที่สังคมไทยต้องวุ่นวายกันอยู่เพราะว่ามีแต่พวกมีความรู้ แต่ขาดความรู้ที่จริง ทุกคนก็ต่างเป็นคนมีความรู้ เมื่อต่างคนต่างคิดว่าตัวเองเก่งจึงไม่มี ใครยอมรับฟังความคิดเห็นของใคร เพราะคิดว่าตัวเองก็แน่เหมือนกันจึงมีคนมีความรู้ทั่วประเทศ(ถ้าคุณคิดอยากจะรู้อะไรก็ขอให้คุณรู้จริงในเรื่องนั้น อย่างรู้แบ่งครึ่งๆกลางเพราะจะทำให้คุณไม่รู้เรื่องนั้นจริงๆเลย)

ขอบคุณคะ

44. พระเมธิวัจน์ ธมฺมธโร 49-120-5006

เมื่อ จ. 17 ก.ย. 2550 @ 00:44

388141 [ลบ]

สรุปการบรรยาย (โดยสังเขป )

เรื่อง ปัญหาและแนวโน้มการจัดการและการบริหารการศึกษาไทย

อริสโตเติล กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หมายความว่า มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกันจึงอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มนุษย์มีหลายลักษณะต่างจากสัตว์ และบางลักษณ์เหมือนกับสัตว์

ดังนั้นปัญหาสังคม ก็หมายถึงสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ปราถนาเห็นว่าควรแก้ไข บ้างก็ร่วมมือกันแก้ไข จากนิยามข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัญหามีทั้งที่แก้ไขได้ และแก้ไขไม่ได้ ปัญหาที่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ลมพายุ ฟ้าผ่า จึงไม่ใช่ปัญหาสังคมเพราะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ส่วนปัญหาสังคมต้องเกี่ยวข้องกับความต้องการขั้นมูลฐาน และกฏระเบียบทางสังคม เช่นปัญหาการศึกษา ปัญหาโสเภณี ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาฉ้อราษฏร์บังหลวง ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาความมั่นคงของชาติ เป็นต้น

ในนัยยนี้ปัญหาเรื่องการศึกษาของประเทศไทย จะกล่าวได้ว่ากำลังประสบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน ทุกระดับชั้น ทั้งด้านผู้เรียน ครู และผู้บริหารเองก็ตาม โดยที่ท่านเจ้าคุณ ( ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของการศึกษาไทย จากการอภิปรายในการประชุมสัมมนาทางวิชาการของสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย เรื่อง " การศึกษาไทยแก้ปัญหา หรือ สร้างปัญหาให้กับสังคม" ซึ่งจากมุมมองของท่านเจ้าคุณพรฺหมฺคุณาภรณ์ กล่าวถึงวิกฤติทางการศึกษาไทยมีอยู่หลายประการ ดังนี้

1. การศึกษาสมัยใหม่ได้แยกนักเรียนออกจากชุมชนหรือท้องถิ่นของตน

2. การศึกษาดึงคนจากชนบทเข้าเมือง

3. ปัญหาความไม่เสมอภาคทางโอกาสในการศึกษา

4. ปัญหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับการศึกษา

5. ความเสื่อมโทรมของสถาบันครู

6. ความเสื่อมโทรมทางคุณธรรมและจริยธรรม

7. ไม่มีจุดมุ่งหมายการศึกษาที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตามแน้วโน้มการศึกษาไทยในอนาคตที่ดีจะเกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่ผู้เขียนจะเสนอข้อคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะให้ความสนใจและควรที่จะเข้าไปดูแลกับสถาบันเหล่านี้ให้เป็นรูปธรรมมีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมและชัดเจนมากขึ้น เช่น

สถานบันครอบครัว ควรมีหน้าที่

1 ให้กำเนิดบุตรเพื่อธำรงไว้ซึ่งสมาชิกของสังคม

2 อบรมให้สมาชิกรู้ระเบียนอันดีงามของสังคม

3 คุ้มครองและบำรุงรักษาสมาชิกทั้งทางการและใจ

4 กำหนดสถานภาพบุคคล

สถานบันการปกครอง มีหน้าที่ ทำให้สังคมสงบสุขและเกิดสันติสุขที่ชัดเจน

สถานบันศาสนา มีหน้าที่อบรมให้ประชาชนมีศีลธรรมประจำใจ

สถานบันการศึกษา มีหน้าที่ถ่ายทอดความคิด ความรู้ และคุณธรรมแก่สมาชิก

สถานบันเศรษฐกิจ มีหน้าที่ ผลิต บริโภค แจกจ่ายให้สมาชิกกินดีอยู่ดี

สถานบันสื่อสารมวลชน ส่งข่าวสาร ให้ความรู้ ตลอดจนความเพลิดเพลิน

นันทนาการ มีหน้าที่ ส่งเสริมการพักผ่อนคลายเครียด

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานบันที่กล่าวมาคือ ด้านสถานภาพ , บทบาท , หน้าที่ และประเภทรูปลักษณ์ที่บุคคลแสดงออกมาเป็นบรรทัดฐานใช่หรือไม่......

อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งซึ่งก็ถือหลักที่เราถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลัก " โอวาทปาฏิโมกข์ " ที่ทรงแสดงในวันมาฆบูชานั้น สรุปง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า " เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ " นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เราคิดว่านี่แหละเป็นคำสรุป แสดงว่าเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาอยู่ที่นี่ เราก็เรียกว่านี่คือ หัวใจของพระพุทธศาสนา

.....................เอวัง....ก็มีด้วยประการละฉะนี้..............

45. phrasamuwisud

เมื่อ จ. 17 ก.ย. 2550 @ 17:05

388622 [ลบ]

โรงเรียนบดินทรเดชา

(สิงห์ สิงหเสนีย์)และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าทั้งสองโรงเรียนนี้มีความเป็นเลิศแตกต่างกัน เรียกว่าเหมือนกันในนโยบายแต่หลากหลายในการปฏิบัติ และที่เหมือนกันคือ ทั้งสองสถาบันมุ่งผลิตคนดีคุณภาพ มีคุณลักษณะตามที่สังคมโลกต้องการตลอดจนเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคมได้ในอนาคต

สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน สรุปได้ว่าในการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศนั้นสิ่งสำคัญ คือ ผู้บริหารควรมีความสามารถทางการจัดการ 3 ด้านด้วยกัน คือ 1. ความสามารถด้านความคิด เป็นความสามารถในการมองภาพรวมทั่วทั้งองค์การ และความสามารถที่จะรวบรวมเอากิจกรรมและสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในองค์การ 2. ความสามารถด้านคน ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม การสร้างบรรยากาศในการทำงาน และการยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน 3. ความสามารถด้านงาน (เทคนิค) มีความรู้ ความชำนาญ กระบวนการ วิธีการ ขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำงาน และความสามารถในการประยุกต์ให้งานประสบความสำเร็จได้ดี

สายงานการบริหารของทั้งสองโรงเรียนเหมือนกัน กล่าวคือ มีการบริหารแบบการกระจายอำนาจทางการบริหาร มีรองผู้อำนวยการ 5 ฝ่าย ได้แก่ รองฝ่ายวิชาการ ดูแลงานกลุ่มสาระ

46. กีรติ ยศยิ่งยง

เมื่อ พ. 21 พ.ย. 2550 @ 07:40

464578 [ลบ]

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2550 ดร. กีรติ ยศยิ่งยง อาจารย์บรรยายวิชา หลักการศึกษาและการเรียนรู้ สาขาการจัดการศึกษา ร่วมกับบัณฑิตศึกษา มมร. จัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง“วัดบวรนิเวศวิหารกับการศึกษาไทย”

โดยเรียนเชิญ ผศ.ดร.ขวัญดี อัตวาวุฒิชัย บรรยายพิเศษ

ณ ห้องประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในการนี้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ได้มีการถอดเทปการบรรยายด้วย โดย นางสาวพัชรินทร์ ตระกูลทองอยู่ รหัส 491205023 สาขาการจัดการศึกษา ปริญญาโทปีที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

47. กีรติ ยศยิ่งยง

เมื่อ พ. 21 พ.ย. 2550 @ 07:41

464582 [ลบ]

นำโดยการสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิดร. กีรติ ยศยิ่งยง :ในโอกาสนี้ขอกราบนิมนต์พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์

รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มากล่าวรายงานครับ นิมนต์ครับ

กราบเรียนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รักษาการแทนอธิการบดี กระผมพระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมด้วยคณาจารย์ วิทยากร เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้เมตตาสละเวลามาเป็นประธานกล่าวให้โอวาทและกล่าวเปิด การสัมมนาทางวิชาการในครั้งนี้ การสัมมนาทางวิชาการประจำเดือนของบัณฑิตวิทยาลัย ตามปกติจะมีการจัดกันเป็นประจำทุกเดือนโดยในแต่ละเดือนบัณฑิตวิทยาลัย ได้เรียนเชิญคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ ความสามารถ มาเป็นวิทยากร เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาบรรลุเป้า ประสงค์แห่งเจตนาการจัดการศึกษาและเกิดการ เชื่อมโยงเชิงบูรณาการอย่างแท้จริง สำหรับการสัมมนาประจำเดือนกันยายน พ.ศ 2550 บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับสาขาวิชาการจัดการศึกษา โดยการนำของ ดร. กีรติ ยศยิ่งยง ซึ่งเป็นอาจารย์พิเศษ ได้เรียนเชิญ ผศ. ดร. ขวัญดี อัตวาวุฒิชัย อาจารย์บำนาญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่องวัดบวรนิเวศวิหารกับการศึกษาไทยการจัดสัมมนาในครั้งนี้มี

วัตถุประสงค์3ประการ

1.เพื่อส่งเสริมและสร้างเสริมประสบการณ์ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการจัดสัมมนาในระบบเปิด

2.เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหารมีต่อการศึกษาไทยมาตั้งแต่อดีต

3.เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดการเรียนการสอน สาขาวิชาการจัดการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย

มหามกุฏราชวิทยาลัยต่อสาธารณชน

รูปแบบของการจัดสัมมนาในครั้งนี้คือ

1.มีการเข้ารับฟังการบรรยายจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ

2.จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ข้อคิดข้อเสนอแนะ ซึ่งกันและกันระหว่างวิทยากรกับนักศึกษาและรวมทั้งผู้เข้ารับฟัง บัดนี้ถึงเวลาอันสมควรแล้วกระผมในนามของคณาจารย์ วิทยากร เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและผู้เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ทุกท่าน ได้พร้อมกัน ณ ห้องประชุมแห่งนี้แล้ว จึงขอกราบเรียนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและรักษาการแทนอธิการบดีได้กล่าวให้โอวาทเพื่อเป็นความสิริมงคลแก่ที่ประชุมแห่งนี้ แก่คณะผู้ร่วมจัดสัมมนาประจำเดือนในครั้งนี้และกล่าวเปิดการสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อเรื่องวัดบวรนิเวศวิหารกับการศึกษาไทยต่อไปพระเทพปริยัติวิมล : ท่านคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย คณาจารย์ วิทยากรเจ้าหน้าที่ นักศึกษาทั้งบรรพชิต แม่ชีและคฤหัสถ์ทุกท่าน ในนามของอธิการบดี เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ขออนุโมทนาคณะผู้จัดทำทุกท่านตลอดจนท่านวิทยากรที่ได้ให้ความกรุณามาถวายและให้ความรู้เป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้ในฐานะที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารถ้านับอายุกาลแล้ว 49 ปีของอาคารหลังนี้ ฉะนั้นการที่วัดบวรนิเวศวิหารได้ให้ความกรุณาต่อมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยตั้งแต่ต้น ถ้านับย้อนหลังไปให้เต็มสมบูรณ์ก็คือ 61 ปี ฉะนั้นระยะเวลาที่ เราทั้งหลายในนามของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษาได้อยู่ภายใต้ในนามของวัดบวรนิเวศวิหารด้วยจากการเกิดขึ้นของสถาบันแห่งนี้ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก่อให้เกิดการพัฒนา ไปถึงส่วนภูมิภาค เฉพาะในส่วนกลางนี้ก็มีถึง 3 วัดด้วยกัน คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชาธิวาส และวัดอาวุธวิกสิตตาราม ส่วนภูมิภาคนั้นอีกมี 7 วิทยาเขต 3 วิทยาลัย 12 ศูนย์การศึกษาทั่วประเทศทั้ง 4 ภาค จากการเกิดขึ้นนี้เสมือนต้นไม้ที่เราปลูกเพียงต้นเดียวแต่ก็สามารถที่จะแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อความเป็นความแข็งแกร่งแข็งแรงร่มเย็น แล้วก็สามารถที่จะเป็นเมล็ดเพาะปลูกไปยังที่ต่าง ๆ ได้ บูรพาจารย์ได้ดำเนินบริหารสถาบันแห่งนี้มา ก็ด้วยสำนึกในพระคุณของวัดบวรนิเวศวิหาร 175 ปี ของวัดบวรนิเวศวิหารที่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษา เราทั้งหลายได้ทราบ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งมีบทบาทในการศึกษาในทางโลกและทางศาสนาหรือทางธรรม อีก 2 ปี จะ150 ปี ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น มหาวิทยาลัยเองก็จะดำเนินการในการจัดงานครั้งนี้เพื่อรำลึกถึงพระมหาคุณูปการของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น มหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารหลังหนึ่งเป็นที่ระลึกด้วยการบริจาค ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย สมเด็จเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ด้วยมูลค่า 57 ล้านบาท ที่ศาลายา การศึกษาของไทยซึ่งทั้งของทางโลกและของทางธรรมเป็นที่ทราบกันอยู่ โดยประวัติศาสตร์ โดยการสืบต่อกันมา แล้ววันนี้เราได้วิทยากรพิเศษซึ่งมีความรู้ละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้จะได้มาถวายและให้ความรู้แก่เราทั้งหลาย หอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย ในอดีตซึ่งเป็นที่เรียนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในนามของสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัยในอดีต ปัจจุบันนี้เป็นสำนักแม่กองธรรมสนามหลวง ซึ่งก็หวนกลับมามีหน้าที่ทำงานด้านการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาพระพุทธศาสนา ฉะนั้นวัดบวรนิเวศวิหารกับการศึกษาไทยจึงถือว่ามีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สำคัญกับการศึกษาของชาติ แม้กระทั่งตึกมานุษยนาควิทยาทาน ก็เช่นเดียวกัน หลากหลายต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านวิทยากรจะได้นำเสนอบอกให้เราทั้งหลายทราบ ย้ำให้เราทั้งหลายเข้าใจ ทำให้เราทั้งหลายนั้นมีความรู้ที่จะสืบต่อกับความรู้ที่บูรพาจารย์ได้ดำเนินการได้บริหารให้การศึกษาไทยนั้นควบคู่อยู่กับชาติ ฉะนั้นก็ขออนุโมทนาท่านคณบดีพร้อมด้วยผู้บริหาร ผู้ดำเนินการ ท่านวิทยากร ดร.ขวัญดี ท่านผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านขอให้การสัมมนาครั้งนี้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ก็คือได้รับความรู้และ นำความรู้นั้นไปขยายต่อให้สำเร็จทั้งผู้ที่ดำเนินการ คือ บัณฑิตวิทยาลัยและนักศึกษาได้รับความรู้ยิ่งไปกว่านั้นก็คือนำไปปฏิบัติได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง การสัมมนาก็จะลุล่วงไปด้วยดีประสบผลสำเร็จทุกประการ ก็ขอเปิดการสัมมนา ณ บัดนี้

48. กีรติ ยศยิ่งยง

เมื่อ พ. 21 พ.ย. 2550 @ 07:43

464587 [ลบ]

ดร. กีรติ ยศยิ่งยง : นมัสการพระคุณเจ้า แขกผู้มีเกียรติทุกท่านครับ คิดว่าวันนี้เป็นวันที่เราจะร่วมกันจารึกเกี่ยวกับความเป็นวัดบวรนิเวศวิหารกับการศึกษาไทย คิดว่าวันนี้เราจะได้อะไรมากกว่าที่คิด เราจะได้รู้อะไรที่ลึกกว่าที่ในหนังสือที่เราอ่านนั้นปรากฏอยู่เนื่องจากเราว่าเราได้วิทยากรซึ่งมีความรู้เฉพาะด้านเพราะท่านเป็นนักค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ มาถ่ายทอดความรู้ที่ท่านได้ค้นคว้ามาในชั่วชีวิตของท่าน มาเล่าให้เราฟังว่าเกิดอะไรขึ้นนะครับ แล้วท่านได้ค้นคว้าอะไรเกี่ยวกับความเป็นวัดบวรนิเวศวิหารกับการศึกษาไทยในช่วงนี้ขออนุญาตแนะนำวิทยากรที่จะมาบรรยายพิเศษให้เรา ท่านจบการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยและท่านได้ไปศึกษาปริญญาเอกทางด้านวรรณคดีอังกฤษ จากประเทศอังกฤษอันนี้เป็นประเด็นหนึ๋งซึ่งอาจจะต้องเรียนถามท่านว่าท่านจบวรรณคดีอังกฤษ แล้วเหตุใดกลับมาท่านจึงมาสอนประวัติศาสตร์ไทย แล้วทำให้ท่านเกิดความรักแล้วเกิดความรู้สึกว่าประวัติศาสตร์ไทยมีความสำคัญตั้งแต่นั้นมาท่านเลยค้นคว้าความเป็นไทย เพราะฉะนั้นถ้าบอกว่าในประเทศไทยท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีความรู้ความสามารถทางด้านของประวัติศาสตร์ไทยก็คงจะไม่ผิดอะไรนะครับผมขออนุญาตแนะนำให้ท่านรู้จักกับ ผศ. ดร.ขวัญดี อัตวาวุฒิชัย ผศ. ดร. ขวัญดี : นมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพแล้วก็นักบวชทุก ๆ สถานะรวมทั้งนิสิตด้วย ดิฉันอาจจะมีความสับสนนิดหน่อยดูเหมือนวันนี้เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ที่ ดร.กีรติขอให้มาบรรยายส่วนหนึ่งเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ไปเข้าใจว่าอย่างนั้นจริง ๆ ก็เลยเตรียมมาว่าจะพูดกับเด็ก พอมาเห็นอย่างนี้ก็ตกใจแต่ว่าที่ไม่ตกใจนักก็เพราะว่านี่เป็นครั้งที่2 ครั้งแรกนั้น ดร. กีรติได้ขอให้มาบรรยายให้แก่นิสิตปริญญาโทของท่าน ซึ่งข้างบนนั้น ดิฉันตกใจเหมือนกันว่าที่เข้าไปเพราะดิฉันเป็นคนที่อ่อนด้อยด้านเทคโนโลยีมาก แต่พอขึ้นไปข้างบนชั้น5 นั้นเพียบเลยแม้แต่ PAPER งานค้นคว้าของนิสิตส่งให้ ดร. กีรติกันทางทางอีเมลล์ ใช่มั้ยคะ ถึงขนาดนั้นน่ะค่ะ ซึ่งตัวดิฉันเองยังไม่มีความรู้อะไรในเรื่องนั้น แล้วก็เลยคิดว่าวันนี้ตัวเองจะครึ่ง ๆ กลาง ก็เลยเตรียมพวกแผ่นใสมาเต็ม ปรากฏว่าที่นี่ไม่มีเครื่องฉายให้ ก็เป็นไป ตามสภาพแต่ดิฉันปรับได้ วันนี้เป็นวันเดียวที่ดิฉันไม่ได้มีวางแผนไว้ว่าจะพูดอย่างไรยิ่งมาเจอสภาพอย่างนี้ยิ่ง ตกใจค่ะ ตกใจจริง ๆเพราะในความรู้สึกชองดิฉันว่าอย่างนี้ค่ะที่ตกใจ เพราะว่าคิดว่าทุกท่านที่อยู่ในที่นี้โดยเฉพาะทางฝ่ายพระ ภิกษุสงฆ์เนี่ยะจะต้องมีความรู้ที่เกี่ยวกับวัดบวรนิเวศ ดีกว่าดิฉันทุก ๆ ท่านเลยน่ะค่ะ แล้วทำไมให้ดิฉันมาพูดเขาเรียกว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายชาวสวน เอาหน้าแป้งนวลมาขายชาววัง กระมังคะ ก็เลยคิดว่าเอ๊ะเรา ก็คงจะต้องเป็นแบบของเรา คือ ต้องหาจุดอะไรบางอย่างที่นิสิตอาจจะยังไม่ทราบเหมือน ที่ทราบมาอย่าง อย่างคราวที่แล้ว ว่ามีหลายอย่างที่ ดร. กีรติไม่ทราบอย่างนี้เป็นต้น ก็เลยคิดไว้ในใจว่าเราจะเริ่มอย่างไรดีหนอ ก็คิดอยู่ว่าพระคุณเจ้าดิฉันจะปรับอย่างไร ที่จริงดิฉันจะมีหนังสือ สมุดเล่มแบบนี้น่ะค่ะ ซึ่งตอนนี้ เป็นสิบ ๆ เล่มแล้วค่ะ เหตุที่ทำอย่างนั้นและจะแนะไม่ทราบท่านใดเป็นนิสิตปริญญาโทของคุณกีรติบ้าง ที่นั่งอยู่ในที่นี้ อ๋อมีอยู่นะคะ ค่ะอยากจะแนะในสิ่งหนึ่งซึ่งเคยใช้มาในทางตะวันตกแล้วก็เมื่อมาสอนที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะในวิชาอารยธรรมไทยเนี่ยะ ได้บอกกับลูกศิษย์ทุกคนว่า สมุดที่ใช้ในการจด อย่างนี้ ให้จดเฉพาะหน้าขวา หน้าด้านขวา เป็นสิ่งที่ผู้ที่มาสอนจะเป็นครูบาอาจารย์หรือผู้ที่ เชิญมาจากภายนอกเป็นส่วนของความรู้ที่เขากลั่น กรองมาแล้วก็ให้อยู่ด้านขวามือเท่านั้น ด้านซ้ายมือก็คือสิ่งที่เราไม่เข้าใจ สิ่งที่ผู้ที่มาสอนเขาขอให้ไปค้นหรือว่าสิ่งที่เราได้เพิ่มเติม จากเขาหรือจากการอ่านของเราให้ใส่ไว้ด้านซ้าย แล้วก็ลูกศิษย์ที่ธรรมศาสตร์เขาทำตาม เมื่อทำตาม แล้วเนี่ยะผลมันออกมา ว่าความรู้ที่อยู่ด้านซ้ายมือในหน้าด้านซ้ายมือของสมุดมีมากกว่าด้านขวา ทั้งนี้เป็นเพราะการค้นเอง และตัวดิฉันเองก็พูดชัด ในอาชีพครู ที่มีมาจนเกษียณอายุเนี่ยะบอกว่า ถ้าผู้ใดก็ตามท่องจากที่ เราสอนให้ ให้ท่องได้ทุกคำแล้วเวลาสอบเอามาตอบจากการท่องได้ไม่มีตก ไม่มีตกหล่นไม่มีทางเกิน 60 % เลยจากดิฉันที่จะให้ เพราะความรู้จะเลวลงถ้าเผื่อว่าคุณไม่ค้น ต่อ แต่ถ้าอันไหนที่ผู้สอนแนะนำบอกให้ไปค้นต่อคุณอาจจะขึ้นถึง 70 – 75 และเมื่อไรที่มีความคิดงอกเงยเมื่อนั้นรู้ก็อาจถึงจะ 90 ดิฉันมีเป็น 10 เล่ม ความรู้อยู่ด้านขวากับด้านซ้ายมีมากเหลือเกิน ครั้งแรกนั้นดิฉันคิดว่าจะไปค้นคว้าในเรื่องของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าและสมเด็จพระสังฆราชที่ประจำอยู่ที่วัดบวรแต่คิดไปมาพบว่าทางนี้ทำไว้หมดแล้วเป็นเล่มเยอะแล้วที่เหมือนพ็อกเก็ตบุ๊กเป็นชุดก็เลยคิดว่าถ้าเราไปทำ ก็ไม่ควรจะต้องไปทำ เพียงแต่แนะนำว่าหากทุกท่านได้อ่านประวัติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราชที่วัดนี้แล้วก็ขยายความรู้ต่อเนื่องกับที่เรารู้หรือเราจะรู้หรือเราจะพบหรือจากที่เราเก็บไว้ในหลืบของความคิดของเราเมื่อไรก็จับต่อได้ สำหรับวัดนี้ทุกท่านที่อยู่ในที่นี้ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการรวม 2 วัดเข้าเป็นวัดเดียว แล้วเมื่อครู่นี้ท่านเจ้าคุณได้บอกถึงปีของการ ก่อตั้งแล้วฉะนั้นในวันนี้ ดร. กีรติบอกว่าให้มาพูดถึงในเรื่องของวัดนี้ที่เกี่ยวกับการศึกษา ดิฉันได้วาดภาพมาในที่นี้ด้วย ไม่ใช่ภาพเพราะดิฉันวาดภาพไม่เป็นแต่วาดอย่างนี้มาใน แผ่นใสให้ดู ไม่เป็นไรหรอกค่ะ เพราะว่าท่านนั่งอยู่อย่างนี้ก็ให้เริ่มต้นลอง คิดถึงที่ตั้งของวัดนี้ก่อน วัดนี้อยู่นอกหรือในเขตของเกาะรัตนโกสินทร์ ถ้าเราคิดเอา 2325 เป็นที่ตั้ง ไม่ทราบว่านิสิตของอาจารย์กีรติอยู่ที่ไหนบ้าง ช่วยกรุณาตอบด้วย เราไม่มีเครื่องอะไรมากมาย แต่เดี๋ยวนี้เขาเรียนว่า อินเตอร์แอ็คทีฟ ( Inter active)น่ะค่ะ ซึ่งเราจะไม่ใช้ภาษาฝรั่งกันก็ได้ซึ่งเดี๋ยวนี้เขาเรียกกันว่า ยุคลวิถี เป็นทางคู่อย่าให้พูดคนเดียวมันไม่สนุก เราก็จะเห็นว่าในเขตส่วนที่เป็นพระราชฐานจริง ๆเราก็รู้ว่าทรงเอาบริเวณที่ปัจจุบันนี้เป็นใต้สะพานพระปิ่นเกล้า ฯ ตรงนั้นเป็นคลองโดยตลอดเรียกว่าคลองรอบกรุง แล้วตอนหลังมาเรามาเรียกกันเบี่ยงผิดไปว่าเป็นคลองหลอด มีเด็กที่เกิดมาทีหลังอาจจะไม่ทราบว่าความจริงที่ใต้ตรงนั้นมีคลองมาแต่ไหนแต่ไรแล้วก็ไปเรื่อยที่เราเรียกว่าคลองหลอดแล้วไปออกปากคลองตลาด ทุกท่านก็ทราบอยู่อันนั้นในส่วนในสุดเป็น ในส่วนที่เป็นพระราชฐานเป็นวังหลวงกับวังหน้า แต่ว่าบุคคลที่ได้รับสถาปนาหรือแต่งตั้งหรือได้อิสริยศขึ้นมาเป็นวังหน้าพระองค์แรกซึ่งพระนามเดิมของท่านคือบุญมา แล้วก็เรื่อยขึ้นไปจนกระทั่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยาสุรสีธิราชสุรสิงหนาท แล้วเมื่อมีการตั้งราชวงศ์ใหม่ท่านก็ไดรับอิสริยศขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท แล้วบ้านเดิมของท่านอยู่ที่ไหนถ้าเราเอาหน้าวัดทางนี้แหละค่ะแล้วไปทางสี่แยกบางลำพู แล้วตรงไปทางป้อมพระสุเมรุ ยังไม่ทันถึงตรงนั้น ทางนั้น ขวามือซึ่งเดี๋ยวนี้แต่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงพิมพ์คุรุสภาแล้วตอนนี้ปิดแล้ว แล้วก็มีการต่อสู้ไม่ให้ กทม.ทุบทิ้ง ตรงนั้นจะมีปั๊มน้ำมันปั๊มหนึ่งดูเหมือนจะเป็นปั๊มตราดาว มองไปที่ด้านซ้ายจะมีประตูเหลืออยู่ ข้างหลังก็มีคนอยู่คนขายของจนแทบจะไม่เห็นประตูนั้น ไปแล้วแต่มีป้ายบอกว่าเป็นประตู ของวังของเจ้าฟ้าจักรเจษฎา หรือเจ้าฟ้าที่มีพระนามเล่นว่าเจ้าฟ้าลา แล้วก็เป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ฝ่ายชายองค์สุดท้อง คือประตูจักรเจษฎา เป็นอนุชาองค์สุดท้อง แต่จริง ๆ ก็มิใช่วังของพระองค์ท่าน พระองค์แรก ในวันที่มีการอุปราชาภิเษกแถวเกียรติยศแห่ไปจากประตูนั้น ไปจนกระทั่งถึงที่พระบรมมหาราชวัง แล้วถึงจะเข้าสู่พิธีอุปราชาภิเษก จากนั้นจึงได้มาประทับในวังหน้าซึ่งก็คือบริเวณที่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เดี๋ยวนี้เป็นโรงละครแห่งชาติเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสำนักงานกฤษฎีกา ทั้งหมดเลยท่านมาประทับตรงนั้น ทั้งหมดเลยคือตรงบางลำพูถนนเดียวกับวัดบวรนี้จึงว่างลงแล้วก็ ได้พระราชทานให้แก่เจ้าฟ้าจักรเจษฎาผู้เป็นพระอนุชาประทับต่อ เพราะฉะนั้นในความรู้สึกของดิฉันเริ่มตั้งแต่ตรงนี้ก่อน ถ้าเป็นต่างประเทศต้องมีป้ายบอกนะคะประตูตรงนั้น เพื่อรักษาเอาไว้แต่เราก็ไม่ทำ จนกระทั่งเด็กปัจจุบันนี้ไม่รู้จักเพราะฉะนั้นการที่ เด็กไม่รู้จักเราโทษใครไม่ได้เลยนอกจากเราผู้ใหญ่ไม่ทำเอง เพราะฉะนั้นบริเวณตรงที่เป็นส่วนของวัดบวรในปัจจุบันนี้ ซึ่งไม่ห่างจากบางลำพู และไม่ห่างจากบริเวณที่เคยเป็นวังของวังหน้าพระองค์แรกเนี่ยะ อยู่ในเขตที่แบ่งกันแล้วกับทางฝ่ายวังหลวง อย่างเช่น วัดตองปุ วัดชนะสงคราม รู้จักวัดบวรสถานสุทธาวาสมั้ยคะ เดี๋ยววันนี้จะรู้ทั้งหมดแบ่งกันตรงที่ถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระลาน จากถนนหน้าพระลานลงไปจนตลอดถึงข้างล่างเป็นฝ่ายของวังหลวง บริเวณตั้งแต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จริง ๆ แล้วตั้งแต่วัดมหาธาตุขึ้นมาจนกระทั่งถึงคลองตรงนี้ค่ะ คลองบางลำพูตรงนี้แหละค่ะ อันนี้เป็นเขตของวังหน้าเอาอย่างนี้ก่อน เพราะฉะนั้นนะคะตรงบริเวณที่เป็นบางลำพู ตั้งแต่ป้อมซึ่งเดี๋ยวนี้ ก็เป็น สวนสันติชัยปราการ เป็นต้นมาเลียบมาทางนี้เป็นฝ่ายที่ดิน ของวังหน้าถือว่าอยู่นอกเขตของวังหลวง วังหน้ามีสิทธิ์ที่จะทำอะไรก็ได้ในบริเวณนี้ อันนี้คือเรื่องกำเนิดของวัดบวรในเบื้องแรกทีนี้ดิฉันจะพาให้ ท่านลองนึกดูก่อนนะคะว่าท่านจะนึกออก หรือไม่ถ้าหากว่าดิฉันบอกว่า นึกถึงวัดบวรข้ามฝั่งไป ข้ามถนนตรงนี้ไปสู่ที่เป็นมูลนิธิแล้วมีถนนเล็ก ๆซึ่งกลางคืน คุณจะไม่เห็นความสง่างามของวัดบวรเลยเพราะเต็มไปด้วยคนมากินข้าวต้ม ที่เขาเรียกข้าวต้มวัดบวร นั่นคือทางเสด็จของพระเจ้าอยู่หัว พลตรีหญิงอุษณีย์บอกว่าพี่ขวัญกระทุ้งเลย กระทุ้ง ก็คือว่าเสียดายถ้าตรงนั้นยังเป็นท่าเรือเสด็จขึ้นวัดบวรนิเวศวิหารจะสวยขนาดไหน ศาลาท่าน้ำยังอยู่ใช่มั้ยคะ คงเคยเห็น พระภิกษุคงไม่เคยเห็น ท่านคงไปฉันข้าวต้มไม่ได้ แต่ถ้าคนอื่นนอกนั้นเนี่ยะจะรู้จักข้าวต้มวัดบวรดีกว่าที่จะรู้จัก ศาลาท่าน้ำตรงนั้นที่เป็นศาลาทรงไทย อันนี้เป็นจุดสำหรับดิฉันและน่าเสียดายมาก ก่อนที่จะถึงศาลาทรงไทยตรงนั้น เลยวัดบวรไปนิดเดียวท่านก็ยังเห็นกำแพงอยู่นึกออกมั๊ยคะกำแพงตรงนี้ เป็นกำแพงที่สมเด็จพระเทพรัตน ฯ ได้เป็นประธานซ่อมแล้ว ซึ่งจะตรงไปเรื่อย ๆจนกระทั่ง ถึงตรงสันติชัยปราการ หรือป้อมพระสุเมรุตรงโน้นด้าน หนึ่งหรือถ้าตรงไปอีกก็ ตรงไปตามแนวคลองบางลำพู แล้วก็ไปชนป้อมพระกาฬ ตรงบริเวณที่เป็นเฉลิมไทย นึกออกมั๊ยคะ ตรงโน้นก็จะมีป้อมอีกแล้วเหมือนกัน สำหรับดิฉันมันเหมือนกับเราไม่ค่อยจะ รักษาของเก่าของเรา เราอยากได้เงินจากนักท่องเที่ยวมาก ลองคิดดูนะคะว่าถ้ากำแพงนี้ยังอยู่เมืองนี้จะน่าดูแค่ไหน โดยเฉพาะบริเวณนี้ แล้วมีศาลาท่าน้ำคนมาทางน้ำคลาคล่ำ แล้วเป็นอย่างนั้นมาจากระทั่งเมื่อสัก 6 -70 ปีที่แล้วนี้ก็ยังมีเรือเข้ามาตลอด เขามาดูลิเกกัน มาจากแถวปทุมเขาก็จะมาจอดเรือกันแถวบริเวณ ข้างนอกของป้อมพระสุเมรุแล้วก็เข้ามาตรงลำคลองนี้เพื่อมาดูลิเกกัน ตรงบริเวณสี่แยกบางลำพู เอาละนะคะลองข้ามฝั่งจากตรงฝั่ง ข้างหน้าศาลาวัดบวรตรงศาลาท่าน้ำนั้นไป ปัจจุบันนี้เป็นอะไรไปจนกระทั่งถึง ริมสะพานนรรัตน์ ปัจจุบันนี้เป็นอะไรได้เห็นไหมคะ เป็นห้องแถว นอกจากเป็นห้องแถวแล้ว ก็เป็นตึก ตรงกันข้าม ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหารข้าม นั่น วัง 2 วัง ที่อยู่ตรงนั้น เป็นวังของบุคคลที่ดิ ฉันจะดึงเข้ามาสู่การศึกษา วังที่ 1 เป็นวังของพระองค์เจ้านพวงศ์ และวังที่ 2 อยู่ติดกันเป็นของพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ทั้ง2 พระองค์เป็นโอรส องค์โต 2 พระองค์ของรัชกาลที่ 4 ก่อนที่ เสด็จขึ้นครองราชย์ ก่อนที่จะเป็น เขาเอาชื่อเก่ามาเป็นชื่อของราชสกุล โอรสองค์ที่ 2 รัชกาลที่ 4 ก่อนอุปสมบท เป็นวชิรญาโณภิกขุ พูดง่าย ๆ ขอประทานพระอนุญาต ชื่อนพวงศ์กับชื่อสุประดิษฐ์ แล้วเราก็จะจำโดยการบอกว่า อ๋อชื่อเก่าอย่างนี้เขาเอาชื่อเก่ามาเป็นราชสกุล ใช่หรือไม่ ใช่เลยค่ะ ถ้าเจอใครที่นามสกุลสุประดิษฐ์เราทราบเลยค่ะว่าเป็นชื่อ ตระกูลนั้นคือลูกชายองค์ที่ 2 ของรัชกาลที่ 4 ก่อนอุปสมบทแล้วใครก็ตามที่นามสกุลนพวงศ์คือคนที่สืบสาย ราชสกุลของพระองค์แรก ตัวดิฉันก็ลากเส้นเช่นกันซึ่งในความจริงได้พยายาม สำหรับพระภิกษุดิฉันคิดว่าท่านลากเส้นได้ทันที บางครั้งเราจำเป็นต้องหากำลังใจเหมือนกัน และจำได้ตอนนั้นยังเรียนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์จุฬา ปีที่ 1 แล้ว ได้รับการบอกว่าอาจารย์ของเราที่จะสอนเรานั้นท่านลาบวช รุ่นพี่ผู้ชาย 2 คนเขาบอกว่าอยากจะมาไหมงานบวชของท่าน คือค่อนข้างซนแบบอยากรู้อยากเห็น ดิฉันมีรูปถ่ายที่ดิฉันกับเพื่อนถ่ายในวัดบวรไม่ไกลจากพระอุโบสถในขณะที่ท่านอาจารย์ของ ก็เพราะว่าเป็นหลานชายสุดท้ายแล้วของสมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวชิรญาณวงศ์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ หลายท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อนี้ ดิฉันมีรูปอยู่ที่นี่ที่ถ่ายแถวนั้นแหละค่ะ ก็เลยเป็นกำลังใจมหาศาล และที่ดิฉันจะพูด ก็ถ้าฝั่งโน้นเคยเป็นวังของกรมหมื่นมเหศวรศิวะวิลาส นั่นคือพระองค์เจ้านพวงศ์ค่ะ เมื่อทรงกรมแล้ว กรมหมื่นมเหศวรศิวะวิลาส แล้วก็องค์น้องที่ชื่อสุประดิษฐ์ ชื่อว่ากรมหมื่นวิศนุนาถนิภาธรอยู่ด้วยกันที่หน้าวัดบวร 2 องค์นี้แหละค่ะในความรู้สึกของดิฉันก็คือว่าสององค์นี้ เป็นที่มาของสิ่งที่เรียกว่าการศึกษา การศึกษาของดิฉันไม่ได้หมายถึงการมีชั้นเรียน แต่หมายถึงการหาวิชาการ ซึ่งสมัยโน้นเริ่มที่พระเจ้าอยู่หัวแล้วก็คือในวังกับในวัด ตลอดเวลาส่วนทางบ้านมาอันดับที่ 3 แล้วถามว่าสำคัญอย่างไร เมื่อทั้งสองพระองค์พี่น้อง 30กว่า ๆ กับ 40 ต้น ๆ สิ้นพระชนม์ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระบิดา คือรัชกาลที่ 4 ได้มาเยี่ยม เมื่อมาเยี่ยมแล้วเห็นว่าเป็นโรคอย่างนี้ ขอเลยว่าให้ลูกทำอย่างไรแต่ก็ไม่ได้รับความเชื่อถือจากพระโอรส องค์น้องสิ้นก่อน องค์พี่สิ้นทีหลัง สิ่งที่ดิฉันอยากจะพูดคือ การแพทย์แผนปัจจุบัน รัชกาลที่ 4 กริ้วมากที่ลูกไม่ยอมเชื่อ แล้วท่านก็ออกมาเป็นประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าตั้งแต่นี้ต่อไปจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอาการของลูกอีก ฟังอาการแล้ว ลองคิดดูก็แล้วกัน ท่านคิดว่าสองพระองค์นี้เป็นโรคอะไรและเป็นที่มาของแพทย์แผนปัจจุบันแล้วก็จะบอก ณ ที่นี้เลยนะคะว่า รัชกาลที่ 4 นั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ตามที่เราทราบกัน แต่ท่านเป็นวิทยาศาสตร์ของท่านไม่ได้เป็นแค่เคมีหรือดาราศาสตร์อย่างเดียวแต่เป็นทางด้านการแพทย์ด้วย เมื่อปีที่แล้วสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขาขอให้ดิฉันไปพูดแล้วเขาก็รวบรวม เรื่องต่างที่ เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าไว้เขาไม่ทราบเลยไม่ทราบตั้งแต่แรก พระองค์ประกาศพระองค์เองว่าฉันคือหมอ ถึงขั้นนี้เลยนะคะ เดี๋ยวท่านลองลองฟังดู ว่าทั้งสองพระองค์เป็นโรคอะไรกันหนอ แล้วลองทายดู แล้วคิดว่าแล้วควรจะรักษาทางไหน แต่ว่ามีอยู่ข้อหนึ่งที่ศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์มีอยู่ข้อหนึ่ง ไม่เอาตัวเราในปัจจุบันนี้เป็นเกณฑ์ บางครั้งเวลาเราศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์เราต้องเอาสภาพสังคมในตอนนั้นเป็นตัวตั้งด้วย ดิฉันได้พยายามรวบรวมเรื่องต่างๆ เอาไว้ที่เป็นเรื่องการแพทย์แผนไทยแต่ไม่ใช่ ที่เขาสอนกันปัจจุบันที่มิใช่วัดโพธิ์ จริงแล้วในวรรณคดีและในประวัติศาสตร์มีเรื่องของแพทย์แผนไทยอยู่เยอะ คุณหมอที่นำทางด้านการแพทย์แผนไทยที่กระทรวงสาธารณสุข หมอเพ็ญนภาได้ส่งไปให้แล้ว 1 ชุด ถ้าหากว่าท่านไม่รู้จักรัชกาลที่ 4 ท่านอาจจะคิดว่ารัชกาลที่4ท่านไม่ได้บอกว่าท่านเป็นแพทย์ แต่ว่าถ้าอ่านมาก ๆ ตัวดิฉันยอมรับเลยนะคะว่าดิฉันอ่าน รัชกาลที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 บ่อยที่สุดบ่อยถึงขั้นความรู้สึกในบางครั้งว่าเราเป็นลูกศิษย์ท่าน บางครั้งเหมือนทรงแนะนำอะไรต่อมิอะไรให้ เพราะอะไรจึงรู้สึกอย่างนั้น เพราะทั้งสองสามพระองค์ ทีท่านเขียนหนังสือเหมือนกับท่านอยู่ใกล้ ๆเรา ลีลา การเขียนไม่เหมือนนักวิชาการเดี๋ยวนี้เลย เดี๋ยวดิฉันจะอ่านให้ฟัง ท่านบอกว่า กรมหมื่นวิศนุนาถนิภาธรพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์เป็นก่อน อาการกรมหมื่นวิศนุนาถนิภาธร อาการให้แน่น ให้เฟ้อ อาหารที่กินเข้าไปก็อาเจียนออกเสีย ท่านบอกป่วยหลาย ๆวันแล้วก็คลายขึ้นเล่า นี้เมื่อ10ข้างขึ้นประมาณเดือนหนึ่ง ให้แน่นเฟ้อมากเข้ามาในวังไม่ได้อยู่มาหลายวัน จึงคลายเป็น ๆ หาย ครั้งเดือน 11 ข้างขึ้นบอกอาการคลายหายขึ้น แล้วไปกฐิน จนเมื่อเดือน11 ข้างขึ้นก็ไปสระบุรี และเมืองลพบุรี ครั้นกลับมาถึงกรุงแล้ว อาการนั้นหาคลายไม่ ให้ตกโลหิตซีดซูบลงโดยเร็ว หมอได้วางยาลุนด้วยดีเกลือ อาการแรกลุนนั้นค่อยสบาย มาจนอาการทรุดหนักลงโลหิตลิ่มเป็นชิ้น ๆ แลติดกับพังผืด ยืดใยเหนียวออกจากอุจจาระแทบทุกเวลากำลังน้อยลง ให้เจ็บในอกมาก ให้หายใจเหนื่อยเนือง ๆ อุจจาระมีน้ำขาวแดง หมอแคลงว่าจะใกล้อติสาน อติสาน แปลว่าอะไรนะคะ คนไทยมักไม่มีรู้จัก อันนี้เราลืมไปแล้วคนไทยไม่มีใครไม่รู้จักคำว่าโคม่า โรคอย่างนี้หมอไทยว่าไม่เคยเห็น สิ่งที่ออกมาว่าตับเครื่องในและม้ามขาด ออกมา แต่หมออังกฤษว่าโรคในลำไส้พอง แตกเป็นโลหิตแล้วพังลงมากับผิวในลำไส้เป็นพังผืด แต่ไม่รับรักษา แต่ชีพจรดีอยู่ไม่พักไม่อ่อน เป็นแต่เดินเร็ว มินิตละ 113 โปรดสังเกตภาษาที่ใช้นะคะ ได้หาหลวงประเทศแพทยาหมอจีนในพระบวรราชวังมาดู หมอนั้นจะแมะเห็นชีพจรดีอยู่ว่าให้ยาเวลา 3 วันให้คลายได้ ครั้นมาดูอุจจาระเห็นโลหิตชิ้นและพังผืด หันเหไปทางเป็นป่วงโลหิตหาเคยรักษาไม่ ถ้าจะยอมให้รักษาก็จะวางยาลองดู เห็นคุณก็จะทำไป ถ้าไม่เห็นคุณ ก็จะขอตัวหนี ถ้าวางยาเข้าไปอาการทรุด ก็อย่าให้ถือโทษเพราะไม่เคยรักษามาแต่ก่อน อาการกรมหมื่นวิศนุนาถนิภาธร ครั้งนี้หนักมากจนความหวังของญาติพี่น้องที่เห็นว่าจะหายจะคลายนั้นน้อยนักแล้วอาการกรมหมื่นวิศ นุนาถนิภาธร ป่วยหนักลงกลางคืน ให้ขัด ปัสสาวะมากแล้วอุจจาระตกออกมาเป็นเทา แล้วตั้งหอบ แก้ฟื้นขึ้นบ้างแล้วก็กลับหอบหนัก จนทรุดโทรมสิ้นกำลัง ขาดใจที่เรียกกันว่าหนึ่งทุ่ม อายุได้ 34 ปี กับ6 เดือน คิดเป็น 14174วัน นี่คือลักษณะร.4 เห็นชัดเลยว่าชอบในเรื่องดาราศาสตร์มาก ในเวลาเช้าวันศุกร์ทรงให้ธูปเทียนจีนมอบให้พรยามณเฑียรบาลขึ้นนำกราบถวายบังคมลา ต้องลาใคร ลาตายในเมื่อพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ตรงนี้แหละค่ะ ตรงข้างวัดบวร เสียลูกองค์ที่ 2 ไป ท่านเขียนอยู่ในราชกิจจานุเบกษา ที่ว่าต้องกราบถวายบังคมลา นั้นก็คือ ต้องกราบังคมลาพระเจ้าอยู่หัว อีกพระองค์หนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯซึ่งตอนนั้นเป็นวังหน้าอยู่ นี่องค์เล็กองค์ที่ 2 หลังจากนั้นมาไม่นานนัก อาการกรมหมื่นมเหศวรศิวะวิลาสอันนี้ข้าพเจ้าเสียใจอยู่ กรมหมื่นมเหศวรศิวะวิลาส ไม่ให้รู้ว่าอาการเป็นอย่างไรบ้างเลย ตั้งแต่อาการยังเบา และอาการสืบสาวยาวยืดมากขึ้นอย่างไรไม่ได้รู้บ้างเลย พอจะสังเกตได้บ้างก็ไม่ให้รู้ แต่ฝ่ายข้าพเจ้าไว้ ใจกรมพระมเหศวร อยู่ตั้งแต่ทั้ง กรมหมื่นวิศนุนาถนิภาธร ยังอยู่ ก็ได้รับว่ากรมมเหศวรรับว่าองค์มเหศวรเองก็แคลงอยู่แต่กรมหมื่นวิศนุนาถนิภาธรให้รักษาตัว ทั้งนั้นไม่ชอบใจกรมหมื่นมเหศวรศิวะวิลาส ละเอียดอยู่ และกรมมเหศวรก็รับเห็นจะมิรีบร้อนระมัดระวังสืบสวนหยูกยา สืบสวนท่านโน้นท่านนี้ รักษาเกียรติกันรากโรค แรกจะเกิดมีนั้นเสียโดยเร็วก็รูปพรรณที่แลเห็นเป็นเหง้าโรค ก็ไม่ได้สังเกตได้ง่าย จนเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 13 ค่ำ ปีเถาะ นพศกนี้ เข้ามาในวังวันนั้นแล้วรีบกลับ ไปเสียโดยเร็ว ก็กลับมาบ้านที่นี่หน้าวัดบวร เรียกตัวมาไม่ได้ จึงได้ทราบว่าป่วย แต่ตัวข้าพเจ้าไม่ใช่หมอ และลัทธิของหมอในบ้านเมืองนี้กับข้าพเจ้า ไม่ถูกกัน นี่คือวิสัยการเขียนของรัชกาลที่ 4 ขอประทานพระบรมราชานุญาต ท่านเขียนอย่างท่านหมายความกระแนะกระแหน ฉันไม่ใช่หมอเขาไม่เชื่อ และลัทธิของหมอกับข้าพเจ้าไม่ถูกกัน แสดงชัดว่ารัชกาลที่ 4 ไม่รับการแพทย์แผนไทย และเริ่มเปลี่ยนเป็นวิชาการสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้ หน้าวัดบวรตรงนี้แหละค่ะ ที่เขาว่าอย่างหมอว่า หรือตามตำราและที่เขาว่าตามเคยนั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อเลยด้วยว่าหมอในบ้านนี้เมืองนี้ ทั้งหมอนวด หมอยา ตำราโรคของเขามีอยู่เพียง 3 อย่าง คือ สารพัดไข้เป็นของจรมาอย่างหนึ่ง คือโลหิตอย่างหนึ่ง คือลมและเสมหะอย่างหนึ่ง ท่านบอกมีอยู่แค่ 3 อย่างนี้ในเมืองไทย แล้วท่านก็บรรยาย ลม เพราะฉะนั้นหมอในวังทั้งสองวังนี้ชื่อหลวงวายุนั่น หลวงวายุนี่ คือรักษาแต่โรคลมตลอด พระองค์ท่านไม่เห็นด้วย ที่เรียกว่าลม คือการพิการโลหิตและเสมหะ โลหิตเป็นตัวชีวิตบำรุงขึ้นด้วยฤดูและอาหาร ลม อากาศที่สูดเข้าไปทางการหายใจ ไปฟอกโลหิตให้ ใสสะอาดแบบนี้เมืองไทยไม่เคยมีมาก่อนท่านเริ่มแล้วค่ะ เริ่มมีการฟอกโลหิตข้างในปอด แล้วขับให้แล่นเป็นชีพจรไปทั่วทั้งตัว นี่ของ ร.4 นะคะ โลหิตที่กลับมาแต่ชีพจร ตั้งโลหะในอุระแห่งหนึ่ง ในศีรษะแห่งหนึ่ง โลหิตเดิมตั้งในปอด ลม หายใจจะฟอกแล้วขับให้ แล่นไปทุกเส้นโลหิตถูกไหมคะ อันนี้หมอไทยไม่มีท่านบอกท่านไม่ใช่หมอแต่ท่านรู้ อย่างนี้ ส่วนที่แดง จะซึมซาบทั่วทุกแห่งเป็นลมสะอาด จึงกลายเป็นเสมหะเป็นมูก เป็นเขฬะและเป็น เหงื่อไคลไป โลหิตเดิม ตั้งในปอดลมหายใจจะขับให้แล่นไปทุกเส้นโลหิต อันนี้หมอไทยไม่มี และฟอกไปทุกเส้นโลหิต ส่วนที่แดงจะซึมซาบ มลทินของโลหิตที่สะอาด ลมหายใจที่ฟอกแล้ว ย่อมกลับออกมา เป็นลมหายใจออกและเป็นหาวลม เรอ หาวอาเจียนและลมผายลงล่าง ลมหายใจออกเป็นต้น ย่อมไม่สะอาดและไม่มีเครื่องฟอก เครื่องจุดไฟให้ติด คือฤทธิ์ดินประสิว น้ำกรดสุขุมเหมือนลมหายใจเข้า คนหายใจเข้านั้นสูดลมเข้าไปมากกว่าระบายออกมา ลมที่ค้างอยู่ จึงได้เบ่งที่ฟื้นฟูให้เป็นปกติ ยังลมอีกพวกหนึ่งเกิดขึ้นภายในแต่ไฟธาตุย่อยอาหาร โลหิตที่แปร ดังไอน้ำที่เกิดแก่น้ำที่เดือด ก็มีบ้าง ลม 2 อย่าง คือลมเหลือ ลมหายใจ แลลม ที่เกิดขึ้น ภายในดังว่านั้นเมื่อล้นเหลือเฟือฟาย ก็ระบายออกมาเป็นผายลม เหลือเฟือฟายและอ้วก หลังจากนั้นมา ท่านออกประกาศในเมื่อลูกองค์นี้ ไม่เชื่อว่าท่านออกประกาศจะไม่เยี่ยมจะไม่แนะนำกรมหมื่นศิวะวิลาศอีก ยาวมากนะคะตรงนี้ที่เขียนท่านเป็นคนที่ช่างเขียนมากที่สุด เคยคิดว่ารัชกาลที่ 5นั้นขยันเขียนมากที่สุดแต่ที่จริงแล้วไมใช่เป็นรัชกาลที่ 4 วชิรญาโณภิกขุ ท่านเป็นต้นของความคิดและวิชาการทั้งมวลแต่ที่จริง ที่เป็นต้นรากเหง้าและรากของการศึกษาในเมืองไทยจริง ๆ ท่านเขียนเอาไว้แล้วก็สรุปไว้ทรงไปแนะนำกับลูก บอกว่ามีพิษในสิ่งภายในแล้วคั่งค้าง ขอให้ใช้ยาปัดยาลุน เพราะ เรารู้จักแต่คำว่า ยาระบาย แต่ในสมัยก่อนในรัชกาลที่ 3 ที่ 4 ยังใช้ คำว่า ยาปัด และถ้ามันคั่งค้างอยู่นานจำป็นต้องใช้ยาลุน แล้วลักษณะของท่านที่พูดถึงยาลุน ตรงกันเป๊ะเลยนะคะที่ ปัจจุบันนี้คนไทยเรียกว่าดีท็อกซ์ แต่สมัยก่อนบรรพบุรุษของเราเรียกว่ายาลุน แล้วมีเรื่องของยาต่าง ๆที่อยู่นั้น คือ ไล่ออกมาเลยสิ่งที่ไม่ดีออกมาให้หมดท่าน เคยหนเดียวเท่านั้นท่านท่าน กรอกให้ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ เอง แล้วทันทีที่ปัดออกมา ค่อยยังชั่ว แต่หลังจากนั้นก็ไม่เชื่อท่านอีก ท่านเลยกริ้ว การเสียลูกองค์นี้ กรมหมื่มเหศวรศิวะวิลาสนี่ เป็นตัวอย่างหนึ่งให้เราเห็นสิ่งหนึ่งว่า ว่า รัชกาลที่4 ก็ดี รัชกาลที่ 5 ก็ดี จะทรงใช้บุคคลข้างพระวรกายมากที่สุดในการทำงานราชการ กรมหมื่นมเหศวรศิวะวิลาสนั้นมีหน้าที่โดยตรง คือจะต้องไปอยู่ที่พระที่นั่งศุทไธสวรรย์ ท่านรู้จักไหมคะ คือพระที่นั่งศุทไธสวรรย์อยู่ถัดจากประตูวัดพระแก้วด้านที่มีปืนใหญ่อยู่ทางฝั่ง ตรงข้ามกับกระทรวงกลาโหม เลยไปนิดหนึ่ง ด้านซ้ายที่เป็นอยู่ติดกันกับราชอุทยานสราญรมย์จะมีเป็นสนามอยู่ตรงนั้นเราเรียกว่าสนามไชย ฝั่งตรงข้ามสนามไชยจะมีที่นั่ง อยู่บนกำแพงยาวเลยสีเขียว นึกออกไหมคะนั้นคือพระที่นั่งศุทไธสวรรย์ รัชกาลที่ 4 นี่ท่านน่ารักเป็นที่สุดเลยค่ะเพราะว่าท่าน บอกเลยว่าคนไทยไม่รู้หนังสือเวลาถูกข้าราชการเขาทำร้ายก็ไม่สามารถจะเขียนฎีกาได้ คนไหนที่เขียนฏีกาไม่ได้ ก็ให้มาถวายฎีกาด้วยตนเอง หรือโดยการพูดก็ได้ แล้วให้ใครเขียนก็ได้ หรือฝากให้คนอื่นพูดให้ก็ได้ถ้าพูดไม่เป็นพระองค์ท่านจะเสด็จออกพระที่นั่งศุทไธสวรรย์ตรงนั้น ด้วยพระองค์เอง จะคอยรับฎีกาจากราษฎรของท่าน นึกออกไหมคะอยู่ตรงไหน ตอนไหนนึกออกหรือยัง ตอนที่มีพิธีราชาภิเษกสมรสระหว่างพระบรม ฯ กับพระองค์โสม ฯ ท่านออกมายื

49. กีรติ ยศยิ่งยง

เมื่อ พ. 21 พ.ย. 2550 @ 07:44

464588 [ลบ]

พระหัตถ์ ตรงนั้นแหละค่ะข้างหน้าวัง หน้าพระที่นั่งอุทยานสราญรมย์ท่านออกมารับฎีกาหรือไม่ก็ออกมารับการฟ้องด้วยพระองค์เอง เว้นเสียแต่วันนั้นฝนตกหนักแต่ก็ยังจะให้ลูกอออกมารับแทน และผู้ที่ออกมารับแทนก็คือ กรมหมื่นมเหศวรศิวะวิลาส คอยช่วยเหลือรัชกาลที่ 4 แล้วคอยช่วยเหลือราษฎร แล้วก็มาสิ้นเสียที่วังหน้าวัดบวรนี้เองด้วยเหตุโรคนี้ มีอย่างหนึ่งที่ดิฉันจะต่อก็คือว่ารัชกาลที่ 4 เป็นพระองค์แรกที่บอกว่าไม่ทรงเชื่อเรื่องลม ที่ได้ฟังไปแล้ว กับท่านบอกว่า ความป่วยไข้ของคนในเมืองนี้มีที่มาที่ไป และที่มาที่ไปนั้นทำให้เรารู้อีกนะคะว่าท่านคิดว่าที่ตั้งของ กรุงเทพมหานครนี้คือจุดที่ทำให้คนป่วยไข้มาก ความจริงท่านอ้างบอกว่าฉันนี่แหละเป็นหมอไม่เชื่อไปถามสิคนนั้นนะ จวนจะตายแล้ว คนถึงอติสานแล้วท่านให้ยาหาย ท่านนี่แหละเป็นหมอ ท่านพูดว่าแผ่นดินของกรุงเทพนี้เป็นที่มาของการไข้ อนุมานการคิดดูเห็นว่าในกรุงเทพฯพื้นดิน นั้นหน้าแล้งต้นไม้ใบไม้ร่วง หน้าฝน ฝนชุก ก็เป็นโคลนตม หล่ม เลน ก็เมื่อ ฝนชุกนั้น ไข้ต่าง ๆ ก็ไม่มี ถึงคราวลงราก ก็มีฝนชุกลงมา ไข้ต่าง ๆ ก็ดี ไข้ลงราก ( ไข้รากสาด )ก็ดี เข้าหน้าแล้งเมื่อใดไข้ลงรากก็กลับชุมขึ้น หรือลงเมื่อแรกก็มีมาในต้นฤดูฝน ครั้นฝนชุกแล้วก็คลายไป ถึงไข้ต่าง ๆ ก็เหมือนกัน การซึ่งเป็นดังนี้คะเนเห็นว่าที่ แผ่นดินเป็นดินเหนียวดินชื้นเช่นนั้นเมื่อฝนชุก ก็เหมือนกระทะตั้งไฟ ลำบากมากการที่จะให้ราษฎรเข้าใจ เมหือนกระทะตังไฟ เมื่อคนตักน้ำมาเทซ้ำแล้วซ้ำเล่าในกระทะน้ำก็ไม่มีร้อนขึ้นได้ ครั้นน้ำไม่ร้อนก็ไม่มีไอ ถึงหน้าแล้งก็คลายไอดินออกมาให้เกิดแต่ดินก็ตามแต่ ก็เมื่อหน้าแล้งนั้นฝนไม่มีก็ได้คลายไอออกมาพุ่ง ๆเพราะมีน้ำ แล้วไม่มีน้ำเย็นเททับ ก็แผ่นดินกรุงเทพฯ นั้นเป็นดินชื้น ไอน้ำนั้นขึ้นมาถูกคายขึ้นมา ผู้คนมักจะมีความไข้ในหน้าแล้ง แต่หน้าฝนแล้วไข้ชุมซึ่งเป็นดังนี้ เพราะที่เป็นป่า เป็นดอนที่สูงแห้งแล้งมากนัก ถ้าแล้งมากต้นไม้ก็ไม่มีใบ ก็ไม่มีไอดินมา ไม่ชื้น ที่ดอนโดนฝนตกลงมาก็ไม่ขังอยู่ ไหลอาบไปที่อื่นเสียชุ่มแผ่นดินนั้นน้อยการนี้ก็เหมือนกับกระทะที่ตั้งไฟแล้วร้อนอยู่นาน ครั้นถูกน้ำ น้ำน้อย ถ้ากระทะนั้นเอียง น้ำไปที่อื่น น้ำที่ติดกระทะก็ร้อนเป็นไอน้ำขึ้นมาฉันใด ลมสูบน้ำให้ไหลอยู่เสมอ การที่เขาสะบาปกันที่เมืองจันทบุรี ท่านบอกท่านไปสระบุรีแล้วไม่เป็นอะไรเลยทางโน้น แต่ท่านกลับมาท่านป่วย ที่มันต่ำ ฝั่งนี้เป็นทะเลตมที่มันต่ำ น้ำฝนที่ตกอยู่ในป่าอยู่เป็นนิตย์ มันเป็นเพราะที่นี่ที่มันต่ำ ฝั่งนี้เป็นทะเลตมที่นั้นต่ำ ท่านเขียนยาวมากเริ่มแล้วการศึกษาอย่ามองว่ามีแต่เลือดลม และเสมหะ ท่านจดไปได้เลยว่ายาเม็ดแรกที่รัชกาลที่ ที่4 ชื่อยา หอลอเว เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างไร ท่านบอกว่า เดี๋ยวจะไข เมื่อคนทั้งปวงจะเห็นว่าเป็นยาหมอบ้า หมอหลัง ก็ดีหลอกลวงไม่ให้ใครนับถือแต่ข้าพเจ้าใช้เอง กินยาหอลอเวมาแล้ว 20 ปี เห็นว่ากำลังกายก็ดี อาหารก็เจริญ ไข้เจ็บก็น้อย เจ็บนิดหน่อยวางยาขนานนั้นสกัดเสีย แต่รักษาโรคใหญ่ไม่ได้อย่างยาเขียวนั้น จะวางให้หายในขณะเดียวกัน แก้ปัด คุมตัวเองถ้าโรคมาก ถ้าเห็นปัดเห็นขัดอย่า กลัวถ้าโรคมากก็ต้องกินวันละ 2 เวลา แต่กินตามกำลังลองดูคราวละ 3 – 4 เม็ด ถ้าเห็นปัด เห็นขัด เห็นปัดออก อย่าตกใจ ถ้าตกใจไม่สบายจิตรูปจะทำให้เห็นอาการต่าง ๆ ก็จะปัดแรง ระบายแรง แต่สาย ก็จะสบาย พยายามหาอยู่จนข้ามปีสว่ายาหอลอเว คือยาอะไร เจ้าของห้างฮอลลอเว ลอนดอนเสียชีวิตแล้วแล้เจ้าของห้างฮอลลอเว คือผู้ผลิตยาหอลอเวของรัชกาลที่ 4 นั่นเป็นยาเม็ดแรก ทรงแนะนำยาอีกชนิดหนึ่งคือ ยาควินิน เอามาให้ท่านก่อนในเรื่องของการศึกษา ขอแนะนำก่อนนะคะว่าข้างหน้าวัดบวรเป็นที่มาของการแพทย์แผนปัจจุบัน และยาเม็ดแรกที่ทรงให้ลอง ตรงกันข้ามเปี๊ยบ ที่นี้ในแง่ของการศึกษาถ้าก่อนรัชกาลที่4 คิดว่ามีไหม ถ้าเป็นของสมัยใหม่ยังไม่มี ก่อน ร.4 จะมีลักษณะอยู่สิ่งหนึ่ง การเข้ามาของ 2 กลุ่มจากตะวันตก แคธอลิก เรียกว่า บาทหลวง อีกกลุ่ม หนึ่งที่เราเรียกว่า หมอ หรือ มิชชันนารี แต่หลายคนเป็นหมอด้วย เป็นนักสอนศาสนาด้วย นำ 2 อย่างรวมกัน แล้วก็มีบาทหลวง 2 กลุ่มนี้จะแตกต่างกันอยู่ ถ้าเป็นด้านคาธอลิกจะเน้นมาก ในเรื่องของศาสนามาก มีบาทหลวงใหญ่อยู่ที่วัดคอนเซ็บชั่น เป็นมิตรอย่างยิ่งกับวชิรญาโณภิกขุของเราในขณะที่พระองค์ประทับอยู่ที่วัดราชาธิวาส ชื่อ บาทหลวงตันเลอร์กัว แลกความรู้กันเลย ซึ่งไปอ่านรายละเอียดขอไม่พูดในตรงนี้ หลังจากนั้นก็มีหมอสอนศาสนาจาก นิกายแบบทริช มีนิกาย 3 นิกาย มีนิกายแมชชันนารี นิกายแบบทริช และบัลเชเรียล อันนี้เป็นฝ่ายของคริสเตียน แต่มันมีเรื่องเกิดขึ้นคนไทยไม่รู้หนังสือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีโอกาสเห็นสมุดเล่มเล็กเปิดดูเป็นอักษรโรมัน ลองอ่านดู อ่านแล้วเป็นภาษาไทยเช่นพระแม่มาเรีย คืออ่านตัวอังกฤษออกมาเป็นภาษาไทย นั่นเป็นเพราะว่าหมอสอนศาสนาเหล่านั้นไม่รู้ภาษาไทย ออกมาเป็นภาษาไทยให้คนไทยฟัง จนกระทั้งมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น นั่นก็คือมีฝรั่งคนหนึ่ง ขอคุณธีรนันท์ คุณสุดารา (แอน) เราโชคดีนะคะ คนหนึ่งเป็นมุสลิม คนหนึ่งเป็นคาธอลิก จะช่วยเราได้ เดี๋ยวจะให้ดูหนังสือภาษาไทยเล่มแรกสุด ช้า ๆ ก็ได้มีเวลาตั้ง 3 ชั่วโมง มีแผ่นใสไหมคะ ไม่มีแผ่นใสไม่เป็นไร เอาแผ่นใสให้ดูก่อนก็ได้ค่ะ อันนี้เป็นตัวหนังสือแรกสุดของเรา หล่อที่ประเทศอินเดีย ผู้ที่หล่อคือร้อยเอกเจมส์ ลอว์ เคยเห็นมาก่อนไหมคะ นี่แหละค่ะเป็นอย่างนี้แหละค่ะ ตัวหนังสือไทยของเรา หล่อที่เมืองดากัสกา ไม่ได้ได้จากเมืองไทยได้มาจากอังกฤษ เสียดายอยู่ว่ามีทั้งทึบและใส อันนี้เป็นรากเหง้าของการศึกษาโดยแท้ แต่สำหรับทางฝ่ายคริสเตียนเป็นความจำเป็นโดยแท้ คำสอนในศาสนาคริสเตียน เอามาให้ท่านดูอย่างนี้ เครื่องพิมพ์เครื่องนี้หลังจากนั้นหล่อที่คากัสกา แล้วมีมิชชันนารอเมริกัน สองคนผัวเมียได้ซื้อแล้ว นำเข้ามาจากสิงคโปร์ 2คนนั้นชื่อจัสซัน เขาเอามาจากสิงคโปร์จากสิงคโปร์เครื่องพิมพ์อันเดียวกันเข้ามาสู่ประเทศไทย แล้วหลังจากนั้นมาจึงซื้อขาย แล้วตกมาสู่มิชชันนารีคนหนึ่งที่เป็นแพทย์ ชื่อหมอบรัดเลย์ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทางฝ่ายไทยในตอนนั้นยังอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ตึงตัวมากเลยในเรื่องนี้ รู้แล้วล่ะคะว่า วิทยาการตะวันตกก้าวหน้ามาก เราจะอยู่กับปากไก่ ใบลานและสมุดข่อยลำบากแล้ว เพราะฉะนั้นจึงมีการขอให้หมอบรัดเลย์นั้นพิมพ์สิ่งแรกขึ้นมาในประเทศไทย และดิฉันถือว่าสิ่งแรกอันนั้น มีความสำคัญต่อการศึกษาของประเทศไทยมากที่สุด นั่นก็คือพระราชบัญญัติห้ามการสูบฝิ่น 9000ฉบับ นี่เป็นแรกสุดของประเทศไทยนี่คือตัวจริงถ่ายมา ตัวเดิมเขียนอยู่ในสมุดข่อย แต่ได้ว่าจ้างให้โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์พิมพ์ออกมาเป็นอันนี้ นี่ตัวจริงถ่ายมาจากอันนี้จริง มี ความยาว 1 หน้า อยากให้ที่นี่ลองเก็บไว้ดู นี่คือต้นฉบับแท้ ๆของพระราชบัญญัติ ประกาศห้ามสูบฝิ่น 9000 ฉบับในรัชกาลที่ 3 ว่ามันร้ายกาจขึ้นจนกระทั่ง มีพวกตั้วเฮีย เกิดขึ้นที่โน่นที่นี่บางปะกงจนกระทั่งลงไปถึงหัวเมืองทางปักษ์ใต้ รัชกาลที่ 3 จึงความจำเป็นต้องประกาศห้ามสูบฝิ่น ปลูกฝิ่น ที่ถ่ายมามีตัวอย่างของการแจกลูก ไม่ทราบคนปัจจุบันนี้ ดร. กีรติรู้จักการแจกลูกมั้ยคะ เพราะ ฉะนั้นจากการที่ เริ่มมีโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์แต่ที่จริงหมอบรัดเลย์นั้นมาหลังจากหมออีกคนหนึ่ง บ้านอยู่ที่บางคอแหลม รู้จักบางคอแหลมไหมคะ ทางถนนตก เขาเป็นหมอเหมือนกันชื่อว่าหมอสมิธ หมอสมิธ คนนี้เล่นการพิมพ์เหมือนกัน แต่หมอบรัดเลย์พิมพ์มากกว่า และก็เกิดเหตุในเมืองไทยที่เป็นความรู้สมัยใหม่ เลย ก็คือมีงานที่วัดประยุรวงศาวาส แล้วก็มีปืนใหญ่ชำรุดอยู่กระบอกหนึ่ง ไม่ทราบว่าพระที่นั่นท่านเชี่ยวชาญอย่างไรทดลองขุดหลุม เอากระบอกปืนใหญ่คว่ำลงในหลุมแล้วก็จุดชนวน เมื่อจุดชนวนระเบิดจนข้ามมาถึงฝั่งปากคลองตลาด ด้วย ทางปากคลองตลาดไม่มีใครบาดเจ็บแต่ทางวัดประยูร ฯ มีพระองค์ที่ทำระเบิดนี้ก็ แขนขาด มีตายด้วยนะคะ คนจุดตาย พระที่ชอบเล่นไฟพะเนียงแขนขาด และวันนั้นที่วัดประยุรวงศาวาสได้เกิดการศัลยกรรมครั้งแรกขึ้นในประเทศไทย หมอบรัดเลย์ได้จัดการตัดแขนพระก็เป็นพระที่ ได้รับศัลยกรรมเป็นคนแรกในเมืองไทยแล้วหลังจากนั้นมาจึงเกิดเรื่องของกุมารกำเนิดขึ้นมา หมอเริ่มทำคลอดให้แก่ผู้หญิงไทยแน่นอนที่สุดในวังต้องลองก่อน ยาก็เหมือนกันในวังนี่กลัวกินแล้วตาย ต้องให้ข้าทาสลองก่อนถ้าไม่ตายเจ้านายถึงจะกิน นี่ด้านการแพทย์พอคร่าว ๆและนี่เป็นประกาศห้ามสูบฝิ่นตัวแท้ ต้นฉบับให้ดูภาพคนแรก ๆ ที่เข้ามาในช่วงเวลาเหล่านั้น ร.3 ท่านเลิกคบฝรั่ง แต่ ร .4 ท่านเป็นเพื่อนหมด เรียกว่า เป็นพระสหายทูลกระหม่อมพระ สมัยที่อยู่วัดราชาธิวาส เมื่อหมอเอาเครื่องพิมพ์เข้ามาและเราก็จ้างให้เขาพิมพ์ หลังจากนั้นเขาก็ออกหนังสือ ชื่อว่าหนังสือ ? และนี่คือภาพหมอบรัดเลย์ และเปิดภายในให้เห็นสมเด็จ นี่คือหมอบรัดเลย์ ที่ผ่าตัดครั้งแรก ทำคลอดคนแรกก็ท่านนี้ค่ะ ทำตำรา กุมารกำเนิดก็ท่านี้ แล้วท่านก็ออกหนังสือพิมพ์เล่มแรก ชื่อ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ เริ่มทำให้ชินกับการออกข่าวเรียกว่าหนังสือข่าว และหมอบรัดเลย์คนนี้สนิทสนมทั้งกับทูลกระหม่อมพระและทูลกระหม่อมฟ้าน้อย นี้เมื่อบางกอกรีคอร์ดเดอร์จะออกมานานหลังจากนั้นมา วชิรญาโณภิกขุก็ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เรียนถามพระคุณเจ้าว่าเสด็จออกจากพระตำหนักไหนในวัดนี้คะ ทางวัดบวรฯช่วยให้ความรู้หน่อยว่าทูลกระหม่อมพระประทับที่ตรงไหนคะ อ๋อที่พระตำหนักปั้นหยา เพื่อนดิฉันที่เป็นนักค้นคว้าท่านบอกว่าศิลาจารึก หลักที่ 1 เป็นของปลอมทุกท่านคงทราบเรื่องนี้ใช่ไหมคะ คือท่าน อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์

50. กีรติ ยศยิ่งยง

เมื่อ พ. 21 พ.ย. 2550 @ 07:45

464591 [ลบ]

ถ้ารัชกาลที่ 4 ท่านทรงทำศิลาจารึกขึ้นเองท่านจะทำที่ไหนแล้วก็ บอกว่าคงทำที่วัดบวรนิเวศ ดิฉันไม่เชื่อเลยว่ารัชกาลที่ 4 จะมานั่งตอกหลักศิลา แต่ไม่เล่าละเอียดเพียงแต่จะเล่าให้ฟังว่าเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นไปได้ว่าที่นี่จะมีอักษรชุดที่ 2 ที่ชื่อว่า อริยกะ ไม่ได้หมายความว่าคนที่คิดอริยกะจะต้องคิดศิลาจารึก ดิฉันเชื่อในความแตกแขนงของการศึกษา ท่านคบหากับมิชชันนารีและบาทหลวงอยู่ภาษาของท่านถึงได้ดีและหลังจากที่ท่านเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้ออกหนังสือฉบับหนึ่งหน้าตาคล้ายบางกอกรีคอร์ดเดอร์ ท่านบอกเลยนะคะว่าหนังสือเล่มนี้ออก มาแล้วจะเห็นว่าถ้าเป็นของท่านจะมีตรามหามกุฏ แล้วมีฉัตรขนาบทั้ง 2 ข้าง แล้วจากราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ ของรัชกาลที่ 4 นั้น ทางสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพดูแลหอสมุดแห่งชาติได้นำเอางานชิ้นนี้ แยกออกเป็นส่วน ๆ แล้วก็ไปแยกพิมพ์ เรียก ว่าประกาศในรัชกาลที่4 แต่ทีนี้รวมหมดเลย อันนี้เป็นต้นฉบับถ่ายมาจากต้นฉบับแท้ ๆ ท่านอย่าไปหาเพราะตอนนี้กรอบหมดแล้ว ทำให้เราศึกษาได้เลยว่าพระองค์ท่านลักษณะอย่างไรน่ารักมาก ๆ เป็นพระมหากษัตริย์ที่น่ารักมาก ตัวอย่างในสมัยรัชกาลที่ 4 ไม่มีโรงเรียนก็จริงแต่เรามีพระมหากษัตริย์ที่ให้ความรู้เราเป็นระยะในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและที่เราเรียนรู้กันว่าราชกิจจานุเบกษา คือ ราชกิจที่ออกมาเป็นระยะ ที่ จริง ๆแล้วรวมเรื่องราวน่ารู้ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างให้ฟังว่า การวัด น้ำฝน มาตราวัดน้ำฝน เริ่มมีในรัชกาลที่ 4 บันทึกไว้ว่า วันนี้น้ำฝนตก 5 ทสาง ไม่รู้ว่าคืออะไรตอนหลังมาเมื่อมีเอกอัครราชทูต ของอังกฤษเข้ามาได้ถวายเครื่องมือวัดน้ำฝน ท่านเขียนไว้ในราชกิจจานุเบกษาว่าเมื่อท่าน ตรวจดูแล้วยอมรับว่าของเขาดีกว่า ทสาง มาจาก ทส+ อังค อันมีองค์ 10 เหมือนกัน แต่ 10 นั้นคือ 10 อะไร คนไทยใช้วิธีการเอาข้าวเปลือกเรียงเอาด้านข้าง มาเรียงขึ้นไป 10 เม็ดค่ะ เรียงลำบากค่ะ อย่างนั้นจะได้เป็น 1 นิ้ว เรียกว่า ทสาง ของเขาได้ถึง 100 ท่านคิดคำใหม่จากทสางเป็นสตางค์ คือ 100ขีด ท่านดำริว่าเจ้าหน้าที่ขี้เกียจจึงด้ผลการวัดไม่ค่อยตรง ร.4 ท่านเขียนหนังสือสนุก พระองค์ท่านคงเขียน หรือบอกโดยมีอาลักษณ์จดโดยละเอียด ร.4 ท่านบอกว่าในบางอย่างอย่าเชื่อพระ เพราะบางเรื่องพระเชื่อไม่ได้ สมมุติว่าพระที่นี่ได้บรรดาศักดิ์ก็จะเอาลงในงานนี้ ในราชกิจจานุเบกษา ในนั้นมีบันทึกว่า ให้พระอาจารย์สา เป็นพระศาสนาโสภณที่ในวัดบวร ฯ มีนิตยภัติเดือนละ 4 ตำลึงกึ่ง พระราชทานตลิปัดแฉกเป็นเครื่องปรุงยศ ใครคือองค์นี้คะ อยู่วัดราชประดิษฐ์ที่มีฉายาว่าปุตสตยะ ฉายาเปรียญธรรม 18 ประโยค รัชกาลที่ 4 จะน่ารัก เดี๋ยวลองฟังสำนวนรัชกาลที่ 4 สักนิด นอกจากว่าท่านจะบอกเรื่องน้ำฝน เรื่องยาแล้วยังบอกเรื่องนาฬิกาว่ามี 24 ชั่วโมง ถ้าตอนเช้ากับตอนกลางคืนอย่าได้เรียกเหมือนกัน ถ้าเป็นกลางวันเรียกว่าโมง ถ้าไม่ให้เรียกตอนย่ำรุ่งว่า 6 โมง ให้เรียกว่าย่ำรุ่ง แล้วถึงจะเป็นโมงหนึ่งแล้วก็สองโมง สามโมง ไปเรื่อยจนถึงเที่ยงไม่ให้เรียก 12 นาฬิกาให้เรียกย่ำเที่ยง ย่ำค่ำให้เรียกว่าโมง เคยนึกหมือนกันว่าคำเหล่านี้มาจากไหน กลางคืนจะกลายเป็นทุ่ม เรียกตามเสียงย่ำกลอง เรื่องของคำว่าทสางท่านอธิบายว่า 7 เม็ดข้าวเปลือกตะแคงเป็นนิ้ว 1 แบ่งเป็น 8 กระเบียด ทำให้จดเสียเศษ อย่างเก่าแบ่งนิ้ว 1 เป็น 8 กระเบียดเรียกว่าทสาง แต่ของอังกฤษจะได้100ถ้วน เรียกว่า สตางค์ ท่านสอนหลายเรื่อง และดิฉันเชื่อว่าวัดบวรฯ ต้องเป็นแหล่งเกิดความรู้อย่างแท้จริง ถ้าหากว่าท่านที่อยู่ที่นี่ถ้าใช้ผิด ดิฉันจะลองถามดูนะคะถาม พระคุณเจ้าได้ไหมคะ ท่านบอกว่าถ้าหนังสือทั้งปวงที่ดำเนินราชโองการจะกุมไปยังหัวเมือง ต่าง ๆ ถ้าเมืองเป็นประเทศราชหนังสือดำเนินราชโองการนั้นให้เรียกว่า ตอบได้ไหมคะ ถ้าไปจากเมืองหลวงไปสู่หัวเมืองเทศราชให้เรียกว่าอะไรคะ ท่านสอนไว้เลยให้เรียกว่าศุภอักษร ถ้าเมืองนั้นถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาให้เรียกว่า ท้องตรา เรียงลำดับให้อย่างนี้แล้วก็บอกเสร็จนะคะว่า ให้พวกเราทั้งหมดอย่าได้ผิดเป็นอันขาดถ้าใครเรียกผิด เขียนถวายผิด กราบทูลผิด จะต้องถูกปรับ ปรับอะไร ถ้ากีรติใช้ผิด ดร.กีรติจะต้องปรับให้กวาดชานหมากล้างน้ำหมากทั้งในและนอกห้องท้องพระโรงในพระบรมมหาราชวังและให้ระวังปากอย่าเชื่อคำพระ คำเถรนั้นไม่รู้ขนบ ประเพณีอะไร มีอีกตอนหนึ่งที่แรงว่าทำไมเรียกศพ เรียกศพไม่ได้ ที่จริงเรียกศพนะถูกแล้ว ทำไมพระสงฆ์จึงมาบอกว่าศพคนธรรมดาให้เรียกว่า อสุภ ให้เรียกว่า ศพ อันนี้เป็นภาษาปกติไม่ใช่ภาษาทางพระแล้วท่านก็บอกว่า คุณกีรติ คุณธีรนันท์ ที่ใช้คำว่า ศพ นั้นอย่าไปเดาะใช้อสุภ เหมือนกับพระนั่นก็ว่าพระด้วย มีบางตอนที่ท่านว่าแรง เวลาท่านบอกให้อาลักษณ์เขียนเช่นตอนลงท้าย ท่านบอกว่า พระยาศรีสุนทรโวหารสันดานมากด้วยวิตกอกหักเป็นผู้สั่ง เวลาทำให้เรารู้ว่าพระศรีสุนทรโวหารนั้น คือ พระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร ) เป็นคนที่ ขี้วิตกมากแล้วมีบางตอนบอกว่าถ้าสั่งอย่างนี้แล้วถ้าใครทำไม่ถูกขอแช่งอันนั้นน่าขำมาก สนุกมาก อันนี้รับสั่งมาใน เป็นฉบับที่ 2518 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้สั่งคือพระศรีสุนทรโวหารผู้กลัวเมียนักเหมือนบ่าวกลัวนาย แต่ได้ยินว่าลักสมคบกับญาติหญิงของเมียอยู่ ญาติหญิงของเมียรำต่อหน้าจึงไม่สบาย เมื่อเรารู้อย่างนี้ มีบางตอนท่านบอกว่าถ้าหากว่าใครทำถูกตามที่ท่านบอกก็ อันนี้ก็ดีเหมือนกัน ถ้าไม่เชื่อท่านขอให้คนคนนั้นศีรษะล้านเหมือนคนที่รับสั่ง ให้ร้านไปชั่วนิจนิรันดร เขียนไว้อย่างนั้นจริง ๆนะคะ ส่วนใครที่ทำตามรับสั่งแม้ใครที่ศีรษะล้านอยู่แล้วขอให้ผมขึ้นเท่านั้นทำให้เรารู้สึกว่าท่านใกล้เรามากท่านมีอารมณ์ขัน อันนี้คือความรู้ที่เราได้รับจากรัชกาลที่ 4 ในสมัยที่ยังไม่มีโรงเรียนเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ว่ามีคนถามเหมือนกันว่าแล้วพระเจ้าอยู่หัวเรียนที่ไหน ทั้งรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 ฝากพระคุณเจ้าช่วยกรุณาอนุรักษ์แหล่งที่เป็นความรู้ที่เรียกว่าวัดให้คงไว้ทุกพระองค์เรียนที่สำนักเดียวกันหมดเลยคือวัดโมฬีโลกยาราม ไม่อนุรักษ์สมกับเป็นโรงเรียนแห่งเจ้าชายในระดับเจ้าฟ้า และในระดับที่เป็นพระราชโอรสเรียนที่นั่นทั้งนั้นเลย แต่เดี๋ยวนี้ดูไม่ได้นั่นคือแหล่งเรียนรู้ของเจ้านายระดับสูง แต่เจ้านายฝ่ายหญิงนั้นแน่นอนก็มีคนสอนข้างในวัง เราจะไม่พูด ถึงที่นี้พอมาถึงสมัยที่จะเริ่มมีโรงเรียนจริง ๆ เป็นมาอย่างไร อันดับต่อไปจะอาศัยข้อเขียนของลูกรัชกาลที่ 4 เลย นั่นคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เขียนและพิมพ์แล้วอยู่ในเรื่องของความทรงจำ เล่มที่ 1 เล่มที่ 2 ที่ดิฉันใช้มาก็คือ ทายดูสิคะ ตราอย่างนี้บุคคลนี้เกี่ยวข้องกับวัดนี้แหละค่ะในอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารสวยเหลือเกิน ที่อยู่ข้างหน้าประธานพระพุทธชินสีห์ หน้าชุกชี สวยเหลือเกิน เป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์นี้ค่ะ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ให้จำชื่อหนังสือไปหาอ่านต่อ ได้มีศิษย์วัดบวรรวบรวมขึ้นพิมพ์ แต่บัดนี้ไม่ค่อยได้มาแล้ว ท่าน คือ อาจารย์ ศ. ศิวรักษ์ เล่มที่ 3 พระภิกษุควรอ่านชื่อว่าพระประวัติตรัสเล่า ผู้เขียน มีรูปหล่อของท่านอยู่ที่นี่ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าวชิรญาณวโรรส มีเรื่องให้จำมาก แปลกอยู่ในรัตนโกสินทร์เรา ตั้งแต่ตอนต้นมาบุคคลที่เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าเราทำไมชื่อเป็นนาค ลูก ร .1 องค์แรกคือพระองค์เจ้าวาสุกรี คือกามสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส องค์นี้ก็ชื่อมานุษยนาคมานพ ร.4 เคยถามว่าเคยเห็นมนุษย์ที่เป็นนาคไหมท่านพูดกับพระภิกษุ นี่ไงคนนี้ไง คือพระองค์เจ้ามานุษยนาคมานพ นั่นคือ หนังสือพระประวัติตรัสเล่า ทั้ง 3 เล่มนี้ เมื่อรวมกันเข้าแล้วเราจะได้ภาพของบุคคล 2 คนในแง่ของการศึกษาชัดเจน ภาพที่ 1 คือรัชกาลที่ 4 และภาพต่อสายการนำการศึกษาลงสู่สามัญชนโดยรัชกาลที่ 5 พออ่านแล้วจะเห็นจริงว่าลำบากขนาดไหน ถ้าทำได้อยากจะบอว่าที่ได้เรียนหนังสือในปัจจุบันนี้มาจากใคร คือจากร.4 กับ ร.5 แล้วอาศัยทั้ง 3 พระองค์นั้น

51. กีรติ ยศยิ่งยง

เมื่อ พ. 21 พ.ย. 2550 @ 07:45

464594 [ลบ]

เริ่มตั้งแต่ว่าทำไม ร.4จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนภาษาอังกฤษ ท่านเขียนไว้ชัด สมเด็จกรมพระดำรง ฯ เขียนไว้เองว่า เหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาอังกฤษพิเคราะห์ในพงสาวดารน่าจะเป็นการวิเคราะห์การเมืองตั้งแต่จีนรบแพ้อังกฤษ ทรงกลัวอะไร กลัวการตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ จีนใหญ่ขนาดนั้นทำไมจึงแพ้ ต้องเรียนอังกฤษเพราะจีนต้องทำหนังสือสัญญา ยอมให้อังกฤษกับฝรั่งข้าไปมีอำนาจในเมืองจีนเมื่อ พ.ศ.2385 ในรัชกาลที่ 3 ในตอนนั้นสมเด็จพระ หรือทุลกระหม่อมพระยังบวชอยู่เวลานั้นไทยโดยมากมีพฤติกรรมเชื่อตามแบบจีนแพ้แล้วไม่ทันเตรียมตัว ร.3 ทรงเห็นว่าถึงคราวโลกยวิสัยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยฝรั่ง มามีอำนาจขึ้นทางตะวันออกและจะต้องเกี่ยวข้องกับประเทศสยามในบันหน้าจึงต้องทรงศึกษาภาษาอังกฤษและพระอาจารย์องค์แรกนั้นชื่อว่า มิสเตอร์แคสแวลล์ MR . CASWELL นี่เป็นพระอาจารย์องค์แรกของสมเด็จพระวชิรญาโณภิกขุ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ถวาย เล่ากันว่า MR . CASWELL ไม่ยอม รับค่าจ้างทูลขอแต่โอกาสให้ได้สอนพุทธศาสนาได้ที่วัดบวรฯ ถึงขนาดนี้แหละค่ะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กล้าพระราชทานให้สอนได้ที่ศาลาหน้าวัด หลังหนึ่งตามประสงค์เป็นหน้าที่ของพระคุณเจ้าจะต้องหาว่าเป็นศาลาไหนที่ MR . CASWELL ใช้สอนศาสนาแลกกับการสอนภาษาอังกฤษให้กับวชิรญาโณภิกขุ เป็นทำนองอย่างไรเป็นทำนองให้พิสูจน์ความศรัทธาของพุทธบริษัท ร.4 ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ MR . CASWELL จนสามารถอ่านเขียนและตรัสได้สะดวกดียิ่งกว่าใคร ๆที่เป็นไทยด้วยกันในสมัยนั้น เมื่อรัฐบาลอังกฤษให้เซอร์เจมส์เข้ามาเป็นทูตในรัชกาลที่ 3หนังสือที่มีไปมากับไทยเป็นภาษาอังกฤษ เวลานั้นไม่มีผู้ชำนาญภาษาอังกฤษต้องอาศัยมิชชันนารีชาวอเมริกันชื่อมิสเตอร์เจมส์ กับฝรั่งข้ามชาติชื่อเจมส์เฮ ที่ถนนสุริวงศ์จะมีห้องสมุด ชื่อ เจมส์เฮ มอมโมเลียม แหม่มคนนี้มีส่วนทำให้เกิดโรงเรียนวังหลังวัฒนา ศิริราช แล้วตอนหลังกลายเป็นโรงเรียนวัมนาวิทยาลัยในปัจจุบัน มีฝรั่งข้ามชาติอีกคนหนึ่งที่ไม่ชำนาญภาษาไทยเป็นผู้แปลและ แต่งภาษาอังกฤษแล้วเขียนถวาย ร.4 เรียกกันในชาวงนั้นว่าทูลกระหม่อมพระ ทรงตรวจทุกฉบับแสดงว่าท่านเก่งมากในขณะนั้น ท่านมีลายพระหัตถ์ที่เป็นภาษาอังกฤษทรงไว้ ลายพระหัตถ์สวยมากทั้งเจ้าฟ้าน้อยและเจ้าฟ้าใหญ่ (ร.4) ลายพระหัตถ์ของท่านในสมัยนั้นน่าจะเป็นอักษรอริยกะแล้ว และเป็นภาษาทูตทั้งสิ้น ลายพระหัตถ์พระปิ่นกล้าจะสวยกว่า อ่านง่ายกว่าทั้งหมดที่อ่านมาคือข้อเขียนของกรมพระดำรงที่บอกเหตุผลไว้ว่าทำไมร.4ท่านจึงต้องเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อจะเอาประเทศให้รอด ต้องรู้เขารู้เราละพระองค์ทรงกล้ามากที่จะให้หมอสอนภาษามาสอนศาสนาในวัดบวร แสดงว่าทรงเชื่อเหลือเกินว่าพุทธบริษัทในวัดบวรนั้นหนักแน่นมาก มาถึงยุคลูกของท่านรัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคตเมื่อไรคะ พ.ศ. 2411 ด้วยสาเหตุแห่ง ในวันนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่ใช้ฉากแต่ความจริงในวันสวรรคตนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำไมจึงไม่มีพระโอรสที่จะสืบต่อพระราชบัลลังก์จากท่านอยู่กับท่านในวันนั้นนั่นก็คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณทำไมจึงไม่อยู่ด้วย เพราะว่าตามเสด็จสมเด็จพระราชบิดาไปหว้ากอด้วยก็ เลยติดมาเลเรียมาด้วยก่อนหน้านั้นได้ไปอภิบาลสมเด็จพระชนกนาถทุกวัน จนกระทั่งวันหนึ่งรัชกาลที่ 4 ยกพระหัตถ์ขึ้นไปตั้งใจจะลูบพระนลาฏของลูกจึงได้ทราบว่าทรงมีไข้สูงเหมือนได้บอกกับเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณว่าไม่ต้องมาให้พักที่พักของพระองค์ท่านมองเห็นเดี๋ยวนี้คือตรงที่เป็นพระตำหนักสวนกุหลาบตรงท้ายวังตรงที่สมเด็จพระเทพรัตน ฯ ทรงเปิดเป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบตรงท้ายวังด้านมุม ท่านทรงพระประชวรเป็นไข้มาลาเรียเหมือนกันซ้ำร้ายคือมีพระยอด ( มีฝี )ขึ้นที่พระศอด้วยไม่มีใครเลยที่คิดว่าจะรอดมีกรมพระสมรรัตน์ศิริเชฐดูแลอยู่พระองค์เดียว ร.4ท่านเอาข้อความที่ทรงต้องการให้เอาออกมาข้างนอกและเอาจากข้างนอกเข้าไปถวายให้ท่านข้างในแล้วในที่สุดท่านก็ถามถึงพ่อใหญ่คือเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ แล้วรับสั่งให้เอาของ 2 สิ่งไปพระราชทานให้ ของสองสิ่งนั้น ของที่พระราชทานไป คือ 1.เป็นประคำ 2. เป็นพระธำมรงค์ ให้เขาเอาไปพระราชทานให้แก่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ รัชกาลที่ 5 เนี่ยะได้ตรัสไว้ชัดเลย หาบอกว่าทำไมจึงต้องเป็นประคำและพระธำมรงค์ของต้นราชวงศ์จักรี คือของรัชกาลที่ 1 เขาไม่สามารถพูดความจริงได้เขาก็เลยบอกว่าสมเด็จพระชนกนาถดีพระทัยที่พระโอรสฟื้นตัวขึ้นมาแล้วหลังจากนั้นจึงได้มีคำบอกจากรัชกาลที่ 4 ฝากผ่าน คนไปบอกกรมพระสมรรัตน์ศิริเชฐว่าให้บอกพ่อใหญ่ว่าถ้าต้องการเห็นหน้าพ่อให้ไปเฝ้าเสียแต่ในวันนี้เราทุกคนทราบดีว่าด้านโหราศาสตร์ทรงยอดเยี่ยมที่สุดแล้วแต่ท่านก็เสด็จไม่ได้หนักเหมือนกันทางโน้นแล้วก็เป็นเรื่องที่มีการ นิมนต์พระจากวัดราชประดิษฐ์มาแล้ว ก็ทุกคนก็ทราบ ใช้มั้ยคะว่าในตอนนั้นท่านขออภัยพระสงฆ์ แล้วเรื่องนี้ทำให้มีพระสงฆ์ที่ไม่ขอเอ่ยนามบอกว่าทรงรู้พระองค์ดีว่าทรงทำสังฆเภท ไม่ใช่นะคะแต่ทรงกล่าวลาพระสงฆ์แต่ตอนกล่าวลานั้นทรงตรัสหลายภาษาเลยนะคะทั้งภาษามคธ ทั้งภาษาบาลีและภาษาไทยและก็ถามพระที่อยู่ว่าถูกต้องมั้ย แล้วทุกทุกองค์ของคำตรัสที่ออกไปนั้นถูกต้องหมดแสดงว่าพระสติคุมได้แม้จนกระทั่ง ถึงที่สุดถึงที่สุด หลังจากได้กล่าวลาพระสงฆ์แล้วสิ่งหนึ่งที่ทรงทำได้ก่อนหน้านั้น ลืมไปนิดก็คือฝากพระราชโอรสและพระราชธิดา เพราะพระองค์น้อย ๆทั้งนั้นว่าจะเลือกใครขึ้นมาเป็นพระเจ้าอยู่หัวก็ขอให้ทำขอเพียงแต่อย่าให้ประหารลูกของท่าน อย่างมากที่สุดก็ให้เนรเทศไปเสีย หลังจากนั้นก็ให้ราชบุตรบุญธรรมที่เรียกว่า พ่อเพ็ง ( ต้นราชสกุลเพ็ญกุล) บอกว่าให้ช่วยพลิกพระวรกายท่านเหนื่อยมาก แต่ต้องการที่จะนอนในท่าสีหไสยาสน์เหมือนกันแล้วหลังจากนั้นถึงสิ้น คือมีพระสติโดยตลอดและบอกราชวงศ์ไม่ให้ร้องไห้ทุกคนเพราะเป็นเรื่องปกติมนุษย์ หลังจากนั้นจึงไปทูลเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ หลังจากนั้นจึงเอาท่าน ขึ้นบนคานหามมาที่พระที่นั่ง ในช่วงนี้รัชกาลที่ 5เขียนไว้ให้ไปหาอ่านค่ะ เพราะว่าพระองค์ท่านรัชกาลที่ 5 เองได้ตรัสเล่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพแล้วพระองค์ท่านเขียนไว้ในนี้ว่า คนเต็มไปหมดรู้แล้วว่าไม่มีพระราชบิดาแล้ว แต่ท่านก็อุตส่าห์ได้ยินท่านผู้หญิงพรรณ คือท่านผู้หญิงพรรณของสมเด็จเจ้าพระยาเมื่อเห็นพระองค์ท่านทรงซบอยู่บน คานหาม ถามว่าพ่อคุณนี่พ่อจะอยู่ไปได้สักกี่วัน ท่านได้แต่ยกมือขึ้นจบไหว้ไปทางพระบรมศพแล้วก็สลบอยู่บนเสลี่ยงแล้วเขาเคลื่อนพระวรกายไม่ได้ต้องเอาพระฉากมากั้นอยู่พระที่นั่ง อิสราวินิจฉัย ซึ่งน่าสงสารมาก รายละเอียดขอให้ติดตามอ่านได้ในพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานให้พระโอรสพระองค์แรก คือ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ว่าพระองค์ท่านขณะนั้นเปรียบเหมือนบุคคลที่หามีศีรษะไม่แต่เขายกไว้สูงความหนักของมงกุฎนั้นสุดที่จะหนักมีทั้งโรคภายนอกและโรคภายใน มีทั้งศัตรูภายนอกแลศัตรูภายในและท่านรอดด้วยอะไร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์แรกนั้นถือไว้ในการสำคัญที่จะเป็นพระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อไป นี่ก็เป็นการศึกษาอีกประการหนึ่ง มาถึงตรงนี้ มาถึงตอนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงตรัสเล่าถึงช่วงรัชกาลที่ 5 และในตอนนี้ เองที่มาถึงเรื่องของการศึกษาสมัย รัชกาลที่5 ขึ้นครองราชย์เพียงพระชนมายุ 15 พรรษากับ 4 เดือนเท่านั้น และทรงมีพระธิดาแล้ว ขึ้นมามีน้องทั้งหมดลูกของรัชกาลที่ 4 มีทั้งหมดกี่พระองค์ทราบมั้ยคะที่จะต้องดูแล 2 พระองค์พี่ของท่านสิ้นไปแล้ว มีทั้งหมด 87 พระองค์นะคะรวม 2 พระองค์ที่สิ้นด้วย ท่านจะดูแลน้องทั้งหมดอย่างไร จนพระองค์ท่านพระชนม์ 17 พรรษา ก็แสดงแววแห่งอัจฉริยะ ต้องบอกว่าเป็นโชคดีของประเทศไทย โชคดีที่เราได้อริยบุคคลขึ้นมาในเวลาที่จำเป็นนั่นก็คือทรงขอสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ( ช่วง บุนนาค ) คุณธีรนันท์ ที่สืบสายใช้นามสกุลช่วงพิชิต ช่วง คือนามเดิมของท่าน เพื่อที่จะเดินทางไปสิงคโปร์และชวาต้องดูการศึกษาที่อังกฤษทำอยู่ที่สิงคโปร์และดัชทำอยู่ที่ชวา เมื่อเสด็จกลับมา เว้นระยะไปเพียง 1 ปีเศษก็ขออนุญาตเขาอีกครั้งหนึ่ง( ท่านใช้คำว่าเขา ) เพื่อที่จะไปประเทศอินเดีย คราวนี้ไปนานเกือบ 4 เดือน ดิฉันค้นคร่าว ๆ ดูในหนังสือนี้เป็นเรื่องต้อนรับพระองค์ท่านที่พม่าและที่อินเดีย เป็นฝ่ายอังกฤษที่เขียนบันทึกไว้และแปลเป็นคำชมทั้งสิ้น เช่น พระทนต์เรียบ ขาวสวยมาก ปกติคนไทยฟันดำเพราะกินหมาก พระองค์ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี แล้วพระองค์ท่านเรียนภาษาอังกฤษกับใครตรงนี้มาสู่การศึกษา แน่นอนในรัชกาลที่ 4 ทรงเรียนกับหมอสอนศาสนาได้ขอให้สิงคโปร์หาครูมาสอนให้แก่พระราชโอรสและพระราชธิดาทำให้เรารู้จักผู้หญิงคนนั้น ที่เป็นแม่หม้าย คือ แอนนา เลียวโนเวนส์ มาสอนภาษาอังกฤษรัชกาลที่ 5 ซึ่งเขาเคยออกมาเป็นเรื่อง จนกระทั่ง มาทำเป็นภาพยนตร์ เรื่อง เดอะคิงส์แอนด์ไอทำเป็นละครบรอดเวย์ เดอะคิงส์แอนด์ไอ เขาถือว่าเป็นละครคลาสสิกของโลก บุคคลสำคัญในเรื่องคือ รัชกาลที่ 4 เมื่อเรื่องนี้เขียนขายแหม่มแอนนาถูกเรียกตัวไปที่สถานเอกอัครราชทูต ไทย ทำไมจึงเขียนของที่ไม่ถูกไม่จริง ที่ว่าไม่ถูกเธอเขียนราวกับว่า เธอคือผู้เปลี่ยนแปลงประเทศสยามสู่ความใหม่และเขียนราวกับว่ารัชกาลที่ 4 พอพระทัยนางและนางก็ตอบว่าไม่ได้คิดอะไรเลยนี่เขียนนวนิยาย แล้วผู้หญิงคนนี้นามสกุลยาวแต่ไม่ได้สวยหรูอะไรเลยนามสกุลเดียวกับนักฟุตบอล คนนั้นที่ชื่อโอเวน แล้วก็มิได้เป็นใครเลยเป็นแม่ม่ายของทหารยศต่ำอยู่ที่อินเดีย แล้วสามีตายเดี๋ยวนี้ศพสามียังฝังอยู่เลย ดิฉันไปดูมาแล้วอยู่ที่ปีนัง ดังนั้นตัวเองเป็นแม่ม่ายลูกติดอยู่คนหนึ่งที่ชื่อว่าหลุยส์ แล้วได้รับการติดต่อให้มาสอนภาษาให้แก่พระราชโอรสพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 แล้วลูกชายคนนั้นติดตามมาด้วยแต่ตอนหลังกลับ ไปเมืองนอกแล้วกลับมาใหม่เปิดบริษัทหลุยส์ทีเลียวโนเวนส์ เขาก็คือผู้ที่ถวายไม้สักทำเสาชิงช้าต้นก่อนหน้านี้ ร.5 ท่านจ้างฝรั่งชื่อจอวส์ แมกเดอเซนเข้ามาสอนน้อง ๆ หลังจากที่เสด็จกลับมาจากอินเดีย ทำไมถึงต้องจ้างจอวส์ แมกเดอเซน ถ้าไม่จ้างเข้ามาก็เกรงว่าเขาจะหาว่าไปเที่ยวเล่นที่ไปเมืองนอกฉะนั้นจึงตั้งโรงเรียนขึ้นมาในพระที่นั่งจักรีแล้วแล้วทรงตั้งชื่อว่าโรงเรียนราชกุมาร ไม่มีใครกล้าเข้าไปเรียนคนทุกคนกลัวมากว่า เหมือนหนูทดลอง

แม่ชีรัตนาภรณ์ ช้างขำ

สวัสดีค่ะ ท่านอ.กีรติ อาจารย์เปลี่ยนชื่อแล้วเหรอค่ะ แต่รูปดูหล่อมากเลยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท