CSR : ความเป็นมาและความหมาย


พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ดี ทั้งในแง่ของการเจริญเติบโตทางธุรกิจที่ต้อง “เก่ง” ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นองค์กรที่ “ดี”

ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ บทบาทของการเป็นบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มบรรษัทและกิจการธุรกิจ (Good Corporate and Corporate Social Responsibility) มีความสำคัญมากขึ้นทั้งในแง่ของการเป็น แนวคิด กลไกและ เครื่องมือที่สำคัญของการพัฒนาองค์กรธุรกิจ การพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม ของโลกอย่างยั่งยืน  นับตั้งแต่มีการประชุมระดับโลกครั้งแรกที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในปี ๒๕๓๕  ได้มีการกล่าวถึงทิศทางใหม่ของการพัฒนาที่เรียกว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้เกิดการพัฒนาที่เอาใจใส่ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม  นอกเหนือจากมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว  โดยเริ่มมีข้อเรียกร้องมากดดันองค์กรธุรกิจ  ให้คำนึงถึงปัญหาสังคมและปัญหาสิ่งแวดล้อม  ไม่ใช่ทำแต่กำไรโดยไม่ใส่ใจต่อปัญหา  โดยมีคำที่ใช้เรียกกันคือ “corporate citizenship” หรือ “responsible corporate citizenship” หรือ “corporate social responsibility (CSR)”    ในประเทศไทย  หลังจากมีการนำแนวคิดธรรมาภิบาล  และการกำหนดมาตรฐาน ISO ในด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้ในภาครัฐและภาคเอกชนแล้ว  แนวคิดที่มีอยู่ดั้งเดิมคือ การช่วยเหลือแบ่งปัน และ การให้เพื่อพัฒนาสังคม รวมไปถึง การทำบุญให้ทานก็เป็นสิ่งที่ปรากฏอย่างต่อเนื่อง  ภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน  และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมาจึงได้มีกลุ่มธุรกิจและองค์กรต่างๆร่วมกันดำเนินการผลักดันแนวคิดและกระบวนการของ CSR ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม  เครือข่ายธุรกิจร่วมรับผิดชอบต่อสังคมไทย (Thai CSR) อธิบายความหมายของ CSR ไว้ว่าเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบรรษัท หมายถึงการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร  ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล  ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กร  หรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร  ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข  พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ดี  ทั้งในแง่ของการเจริญเติบโตทางธุรกิจที่ต้อง เก่ง  ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นองค์กรที่ ดี  หมายถึงการมีคุณธรรม จริยธรรมเชิงบรรษัท (CSR) และ SRI (Social Responsibility Investing) หรือการลงทุนแบบรับผิดชอบต่อสังคม  

 

       กล่าวโดยสรุป CSR ก็คือการทำธุรกิจที่ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือเมื่อใด  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ซึ่งหลักการของ CSR ไม่สนับสนุนการรีบเร่งสร้างความเจริญเติบโตของธุรกิจ  หรือการมุ่งแสวงหาผลกำไรสูงสุด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้อื่น  แต่ CSR เป็นเครื่องมือในการบริหารที่ได้รับความเชื่อมั่นว่า  จะสามารถช่วยให้องค์กรธุรกิจดำเนินกิจการให้เจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงไปพร้อมๆกับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้คนและชุมชน และความยั่งยืนของสังคม  ซึ่งสอดคล้องกับทั้งหลักการเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏเด่นชัดขึ้นในประเทศไทย  โดยเป็นทั้งกระบวนการและเป้าหมายที่จะทำให้เกิดดุลยภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

 

หมายเลขบันทึก: 176382เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2008 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว"

"Business cannot succeed in a society that fails"

Bjorn Stigson

ประธานสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนที่ยั่งยืน (WBCSD)

"เราไม่ได้ขอให้กิจการทำสิ่งที่ต่างไปจากการทำธุรกิจปกติ แต่เรากำลังขอให้กิจการทำธุรกิจเช่นปกตินั้น ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากเดิม"

"We are not asking corporations to do something different from their normal business; We are asking them to do this normal business differently"

Kofi Annan

อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (UN)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท