รายการ Human talk วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2551


Human talk

ศ.ดร.จีระ : สวัสดีครับท่านผู้ฟังที่เคารพ วันนี้แปลกนิดหนึ่ง เพราะว่าพิธีกรร่วมกับผมไปต่างประเทศ คือคุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ พิธีกรท่านนี้อาชีพจริง ๆ เขาเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด อยู่ที่ Emporium ซึ่งก็มีภารกิจไปดูงานที่ต่างประเทศ ผมก็เลยทำหน้าที่คนเดียว ซึ่งอาจจะไม่ค่อยสนุกนัก เพราะว่าต้องพูดเหมือนบรรยาย Lecture เลยนะ อย่างไรก็ตามก็คงจะไม่ทำให้ท่านผู้ฟังที่ติดตามรายการของผมได้ผิดหวัง แต่ว่าก็จะมีของพิเศษสำหรับท่านผู้ฟัง 2 ท่าน ถ้าโทรศัพท์มาถึง office ของผมในวันจันทร์ เวลาราชการ ช่วยจดไว้นิดหนึ่งนะครับ คือเบอร์ 02-884-8814 เนื่องจากผมเป็นคนมาทำรายการด้วยตัวเอง ก็เลยจะให้รางวัลพิเศษ คือผมได้ทำเสื้อ Jacket ครับ สีดำ แล้วก็มีตรา Chiraacademy

Chira ก็ชื่อผม academy ก็คือเป็นภาษาอังกฤษ เขาเรียกว่าเป็นคล้าย ๆ โรงเรียนหรือตักศิลา ซึ่งปกติเราก็จะทำเฉพาะลูกศิษย์ที่มาเรียนกับเรา หรือทีมงานของเรา ก็จะมอบให้ท่านผู้ฟังที่ติดตามรายการ 2 ท่าน แต่ว่าอยากจะให้ท่านอธิบายไปด้วยว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีของประเทศไทยคืออะไร

ตัวผมเองเวลาพูดถึง Chiraacademy นั้น ก็คงหมายถึงการที่ได้เคยทำงานเป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์มาก่อน จริง ๆ แล้วก็ทำไปทั้งหมด 30 ปี คือ 20 ปีนี่ ผมใช้เวลาในการทำงานเกี่ยวกับสถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่ธรรมศาสตร์นะครับ แล้วก็ได้ทำงานอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา จริง ๆ แล้ววันนี้ก็ปีที่ 30 แล้วก็ทำงานต่อไป แล้วก็งานที่ทำอยู่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้ฟังไม่มากก็น้อย และโดยเฉพาะสิ่งหนึ่งที่รายการนี้ได้ทำอยู่ก็คือเรามีการทำงานอย่างต่อเนื่อง แล้วก็จะเอาเรื่องที่มีประโยชน์ แต่ว่าไม่ได้พูดถึงเรื่องคนตรง ๆ เราอาจจะมีมุมมองเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม แล้วก็โยงไปถึงเรื่องคน แล้วก็งานที่ผมทำอยู่ก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในฐานะสอนหนังสือก็ดี ถึงแม้ว่าไม่ได้อยู่ที่ธรรมศาสตร์แล้ว ก็ยังช่วยงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่เสมอที่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีบทบาทเข้มแข็ง ภายใต้ท่านผู้อำนวยการ รองศาสตราจารย์ ดร.ไว ไปช่วยงานมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ เกษตร ศิลปากร หลายแห่ง อาจจะไปต่างจังหวัดด้วย เช่นที่ขอนแก่น อุบลราชธานี

ตอนหลัง ๆ ที่ผมมีโอกาสได้ทำงานมากหน่อยที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นเรื่องวัฒนธรรมศาสตร์ แต่โยงไปที่เรื่องเกี่ยวกับคน แล้วก็รายการแบบนี้นี่ ก็จะเป็นรายการซึ่งสำหรับท่านที่ฟังครั้งแรกก็ไม่อยากให้ท่านฟัง แล้วก็เหมือนกับข้อมูลธรรมดา อยากจะให้ท่านมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ไปด้วย คือฟังแล้วคิด วิเคราะห์ไปด้วย แล้วก็ฟังอย่างต่อเนื่อง แล้วก็บางเรื่องก็เก็บไว้เป็นสมบัติของเรา คือรู้ให้มันจริง แล้วก็พยายามหาความรู้อย่างต่อเนื่อง แล้วก็เอาความรู้เหล่านี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตัวเอง เพราะว่าความรู้วันนี้ ท่านผู้ฟังลองคิดดูสิครับ บางครั้งมันช่วยในการทำให้เราแก้ปัญหาของประเทศ ของตัวเองได้สำเร็จใช่ไหม เพราะว่าวันนี้เรามีแต่ปัญหาเยอะแยะไปหมด หรือบางทีความรู้ก็อาจทำให้เราเกิดความคิดใหม่ ๆ อาจะเอาไปใช้ในงานคิดถึงงานที่เราจะทำต่อไป หรือสินค้า หรือวิธีการบริหารจัดการ ที่ทำให้เราได้มีโอกาสใหม่ ๆ มันเกิดขึ้นคือ ที่เขาชอบพูดกันถึงทฤษฎีมหาสมุทรสีฟ้า เพราะว่าในโลกในอนาคตมันเป็นโลกที่มันน่าวิตก ในลักษณะที่ว่ามันไม่มีอะไรแน่นอน อย่างพูดถึงโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน

ขณะที่คุณจีรวัฒน์ ไปต่างประเทศ ก็เผอิญได้มอบงานอันหนึ่งให้ผมช่วยประสานก็คือ    เขามีครูใหญ่จากโรงเรียนผู้หญิงชั้นนำของอังกฤษ คือเขาจะเรียกว่าเป็นโรงเรียน Cheltenham girl college เป็นโรงเรียนประจำของเด็กระดับมัธยมก่อนจะเข้ามหาวิทยาลัย แล้วเผอิญคุณศิริลักษณ์ ที่เป็นผู้จัดการอยู่ Emporium ลูกสาวของท่าน จริง ๆ แล้วก็เป็นน้องสาวของคุณประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ มีหุ้นอยู่ที่ Emporium เผอิญมีลูกของท่านไปเรียนที่นั่น แล้วอาจารย์ใหญ่ ชื่อ Mrs. Tuck เขามาที่เมืองไทย

ท่านผู้ฟังทราบไหมครับว่า ศิษย์เก่าคนหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เลย คือคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เมื่อวานนี้ที่โรงแรม Emporium ก็มีโอกาสไปสัมภาษณ์ท่าน จะออกในรายการ UBC 8 , TTN2 ของผมอีกประมาณ 2 อาทิตย์

ท่านอาจารย์ท่านนี้ ท่านเป็นผู้บริหารที่มองการณ์ไกลมาก ท่านก็เลยบอกว่า เดี๋ยวนี้ครูที่ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดี เสร็จแล้วจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องความเป็นห่วงเป็นใย หรือท่านใช้คำว่า caring สังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน ซึ่งตามปกติตอนหลัง ๆ เมืองไทยจะเอื้ออาทรต้องเป็นผลประโยชน์เรื่องการเมืองเป็นหลัก ไม่ได้ทำด้วยความจริงใจ บอกว่าเอื้ออาทรต่อนักเรียน  เอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม เข้าใจถึงความหลากหลายของปัญหา และสุดท้ายท่านบอกว่าทำให้สำเร็จ ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ก็ต้อง commitment แล้วท่านบอกว่าทำสำเร็จนี่มันยาก เพราะว่า วันนี้ปัญหาของเด็กรุ่นใหม่ ก็คงคล้าย ๆ กับประเทศไทย ค่านิยมก็ดี การรับรู้สื่อก็ดี อะไรก็ดี ก็เป็นสิ่งที่ลำบาก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจเขาว่า สถานการณ์ที่มันเกิดขึ้นนี้ มันไม่มีใครที่จะรู้มากกว่าใคร ก็พยายามเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

มันก็ทำให้ผมเห็นว่า รายการของผมนี่ ถ้าท่านผู้ฟังที่ติดตาม ผมทราบดีว่ามีหลายท่านที่ได้ติดตามมา ตั้งแต่ผมทำมาเกือบสิบปีแล้ว ก็อาจจะได้ข้อมูลที่ อย่างน้อยก็สด แล้วมีประโยชน์ แล้วก็จะได้เอาไปใช้ คือผมอยากเล่าให้ฟังว่า ทุกวันที่ผมมีกิจกรรมที่ทำอยู่ ก็อยากจะแบ่งปันให้แก่ท่านผู้ฟัง แล้วก็ในขณะที่ทำไปแล้ว ถ้ามีคนเอาไปใช้ ได้ประโยชน์ มันก็จะทำให้ผมรู้สึกว่า ชีวิตมีคุณค่า แล้วก็ผ่านประสบการณ์ของตัวเองมาบ้างแล้ว ก็จะได้แบ่งปันงานเหล่านี้ คืออยากให้เห็นว่า วันนี้นี่ข้อมูลข่าวสาร ผมไม่ได้ได้มาด้วยตัวเอง คือเขามีคนส่งมา อย่างมีลูกศิษย์ผมหลาย ๆ คนที่อยู่ในวงการต่าง ๆ ก็มาช่วยงานผม

อย่างพิธีการท่านนี้ เขาก็เพิ่งจบมหาวิทยาลัยไม่ถึง 10 ปี วันนี้ก็มาทำงานที่ Emporium แล้วก็เป็นคนที่มีความเข้าใจทั้งเศรษฐศาสตร์ ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ ทั้งการตลาดด้วย เผอิญวันนี้ไม่อยู่ก็เลยจะต้องทำหน้าที่ ประเด็นที่สำคัญก็คือ ขนาดครูของเรา ของประเทศอังกฤษนี่ ก็ยังวิตกว่า วัยรุ่นของเขา จะต้องเป็นวัยรุ่นซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง แล้วก็บางคนก็ท่านผู้ฟังก็คงทราบดี บางคนก็ Highly Technical ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรุนแรง ท่านยังเล่าให้ฟังว่า ลูกของท่านอายุแค่ 24 อยู่ที่บ้านมี computer 2 เครื่อง มีเทคโนโลยี software อยู่ 7 8 system แล้วก็ไม่ค่อยคุยกับใคร อยู่แต่ที่หน้าจอ  computer ผมยังเล่าให้เขาฟังว่า แม้กระทั่งผู้ใหญ่อย่างอัลกอร์ เวลาเขาเขียนบทความ เขาก็ใช้ computer ตั้ง 3 ตัว อย่างผมเองอยู่ที่บ้าน ผมก็มี computer แค่ตัวเดียว ก็ยังใช้อยู่ตลอดเวลา แล้วตอนนี้ก็ใช้ ไปที่ไหนก็ต้องถือ Laptop อยู่ด้วยอย่างนี้

ประเด็นก็คือว่า รายการนี้ ย้ำนิดหนึ่งว่าถ้าท่านผู้ฟัง ฟังแล้วเอาไปคิด แล้วก็มองถึงกิจกรรมบางอย่างที่เป็นข้อเท็จจริง แล้วเอาไปปรับตัวเอง ไปปรับวิธีการทำงาน แล้วก็มีความรู้ หิวความรู้  ใฝ่รู้ แล้วก็ต้องยอมรับว่า วิทยุ เผลอ ๆ มันอาจจะดีกว่าตำราบางแห่ง ซึ่งความรู้มันล้าสมัย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องช่วยกัน ฉะนั้นเราอยากจะย้ำอีกทีว่า ถ้าโทรมาที่ 884-8814 ในวันจันทร์ พอดีวันจันทร์ วันหยุดด้วยนะครับ ก็เป็นวันอังคารก็แล้วกัน แล้วก็เล่าให้ฟังว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเมืองไทย ได้ความรู้อะไรจากวิทยุของผม  แล้วก็จะให้หนังสือ เออ.. เขาเรียกอะไรนะ เป็นเสื้อ jacket มีตราChiraacademy ให้ 2 ท่านแรกที่สนใจ แล้วก็จะได้รู้กัน คือรายการผม จริง ๆ แล้วต้องการ feedback จากท่านผู้ฟังอยู่ตลอดเวลา ตอนนี้เราก็ได้ใช้ Chiraacademy.com เป็น blog ของเราด้วย แล้วก็ท่านผู้ฟังที่พลาดรายการนี้ ก็อาจจะเปิด internet ของ อสมท. หรือไม่ก็เปิดจาก blog ของผม ซึ่งวิธีการกดเข้าไปก็คือ กดเข้าไปใน gotoknow.org/blog/Chiraacademy ก็จะพบข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

คราวนี้ในช่วงแรกก่อนที่จะไปเบรก ผมจะขอเรียนให้ทราบว่า สำหรับรายการ TV ของผมในวันพุธ ซึ่งจะออกเก้าโมงครึ่งเช้า ถึงสิบโมงครึ่ง แล้วก็ rerun อีกครั้งหนึ่งตอนสี่ทุ่ม ผมก็ได้แอบไปเชิญนักวิชาการ 2 คน คนหนึ่งก็เป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญมาก แล้วท่านก็มีประวัติความเป็นมาได้ครบถ้วน อดีตเป็นคณบดีที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ก็คือท่าน ศ.โสภิณ ทองปาน อีกท่านหนึ่งก็คือ รศ. สมพร ซึ่งเคยไปเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย Washington รุ่นน้องผม ก็มาคุยกันเรื่องข้าว แต่ว่าไม่ได้คุยแบบสื่อ สื่อทั้งหลายที่ได้พูดกันไป เพราะว่าข้าวนี่ก็มีการพูดกันเยอะ ผมอยากเรียนให้ทราบว่า ผมได้ถามเขาถึงตัวละครต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และใครได้ใครเสีย อย่างน้อยคำถามแรกที่ผมถามเขาก็คือ แล้วเกษตรกรกลุ่มไหนที่จะได้ แล้วก็ exporter กลุ่มไหนที่จะได้ แล้วก็บทบาทนักการเมือง ข้าราชการประจำเป็นยังไง แล้วก็เดี๋ยวหลังจากเบรกแล้ว ผมอาจจะมาเพิ่มเติมว่า ประเด็นที่เขาพูดกันมีประโยชน์อย่างไรบ้าง เดี๋ยวช่วงนี้ เราพักสักครู่นะครับ 

โฆษณา

ศ.ดร.จีระ : ครับท่านผู้ฟังที่เคารพครับ ขอกลับมากับรายการ Human Talk จีระ หงส์ลดารมภ์ อีกครั้งหนึ่งนะครับ และวันนี้ก็คงแปลกนิดหนึ่ง ก็คือ ผมพูดคนเดียว แล้วก็พิธีกรร่วมวันนี้ก็ไปต่างประเทศ ตามปกติแล้วพูดกับลูกศิษย์หรืออะไร ทำมาเยอะแล้ว แต่พูดทางวิทยุนี่ ไม่ค่อยเห็นหน้าท่านผู้ฟัง ไม่ค่อยจะมีบรรยากาศ ก็ทำให้ผมไม่ค่อยจะสนุกเท่าไร แต่ว่าก็คงจะต้อง เขาเรียกอะไรนะ เอาชนะอุปสรรควันนี้ให้ได้ เมื่อกี้นี้ก็เล่าให้ฟังถึงรายการนี้ เบื้องหลังของมัน แล้วก็มีรางวัล คือเสื้ออันนี้สวยครับ เวลาใครเห็นเสื้อ jacket ของเรา เขาก็จะมักจะขอ แล้วก็เป็นเสื้อสี.. ใส่แล้วก็จะ ไปที่ไหน เขาก็มักจะถามว่า Chiraacademy แปลว่าอะไร เมื่อกี้ผมเล่าให้ฟังแล้ว

Chiraacademy เป็นการพูดถึงเรื่องคน  แล้วก็คนในที่นี้ ก็หมายความว่า เราจะได้ ประเทศของเราดีขึ้น องค์กรดีขึ้น ชุมชนดีขึ้น ใช้คนเป็นตัวแปร แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้พูดตรง ๆ อาจจะมาจากมุมมองของระดับโลกาภิวัตน์ มุมมองของประเทศ  มุมมองของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือแม้กระทั่งจิตวิทยา ซึ่งผมเองก็จะเรียนรู้ไปทุก ๆ วัน คือทุกเช้าในชีวิตของผม ผมก็จะหาความรู้ตอนเช้าเป็นหลัก เพราะว่าตอนสาย ๆ ก็คงต้องไปประชุมบ้าง ไปสอนบ้าง ผมก็จะตื่นเช้าขึ้นมาก็จะใช้เวลาเปิด internet ก่อนนอนก็เปิด เสร็จแล้วก็จะ... ที่บ้านก็จะรับหนังสือพิมพ์ แน่นอนภาษาไทยก็คงอ่านด้วย เพื่อจะดูความเป็นมา

แต่ผมจะอ่านทั้ง Bangkok Post แล้วก็ Nation แต่ว่าผมจะอ่านจาก internet นี่เป็นส่วนใหญ่ แล้วก็ในวันหนึ่งผมก็จะเข้าไปที่ร้านหนังสือหลายครั้ง โดยเฉพาะที่ Emporium หนังสือร้าน Kino กับร้าน Asia books ความจริงสมัยก่อนนี้ ร้านหนังสือ Asia books ประมาณเกือบสิบปี เขาก็ได้สนับสนุนรายการ TV เรา ฉะนั้นเขาก็จะส่งหนังสือมา หรือไปที่ร้านเขาสามารถเซ็นรับหนังสือได้ ตอนหลัง ๆ นี่ก็มีสำนักพิมพ์ McGraw-Hill  เขาเป็นสำนักพิมพ์ที่ค่อนข้างจะใหญ่ ก็เป็น sponsor รายการอยู่  เขาก็ส่งหนังสือมา คือตอนเด็ก ๆ ผมก็ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ ไม่รู้ว่าอ่านไปทำไมด้วย

แต่ว่าจุดประกายที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผมมีความกระตือรือร้นคือ ผมอ่านแล้วสนุก ฉะนั้นผมก็จะเริ่มอ่านในสิ่งที่ผมสนใจ อย่างเช่น สมัยไปเรียนที่นิวซีแลนด์ ก็จะสนใจ Magazine เช่น Time หรือ Newsweek ตอนนั้นก็จะอ่านเกี่ยวกับทางด้านการเมืองบ้าง สงครามบ้าง ตอนหลังผมจะมาอ่านเรื่องกีฬาเป็นหลัก แล้วก็ break มาทางชีวประวัติ ช่วงนี้คุณ  Mugabe ผมก็จะติดตามอย่างใกล้ชิด คุณ Obama กับคุณ Clinton ล่าสุดนี่ผมก็ไปอ่านหนังสือของ Obama เขาทั้งสองเล่ม เขาเขียนไว้สองเล่ม ก็คือเล่มแรกก็คือเรื่อง เกี่ยวกับ dream ของพ่อของเขา เพราะพ่อของเขาเป็นชาวเคนยา ชีวิตเขาลำบากมาก เพราะว่าพ่อ หลังจากจบที่มหาวิทยาลัยฮาวาย แต่งงานกับแม่แล้ว ไปเรียนที่ Havard หรือไง แล้วก็กลับไปทำงานที่เคนยา คุณพ่อเขาเป็นคนเรียนเก่งมาก เป็นผิวดำ แล้วในที่สุดก็ไม่ได้กลับมา เขาก็เลยอยู่กับคุณแม่ แล้วในที่สุดคุณแม่ก็ไปแต่งงานอีกครั้งหนึ่งกับชาวอินโดนีเซีย แล้วก็ในที่สุดแล้ว เขาก็กลับมาอยู่กับคุณ.เขาเรียกอะไรนะ คุณตากับคุณยายเขา ชีวิตเขาก็เลยเห็นโลกเยอะ เป็นคนที่น่าสนใจมาก

ก็อยากจะเล่าให้ฟังว่าการจะเป็นคนมีความรู้ได้  อย่าประมาทกับความรู้ ใส่ใจในเรื่องต่าง ๆ ภาษาอังกฤษเขาเรียก know what’s going on คืออยากให้เป็นคนที่พร้อมที่จะรับฟัง พร้อมที่จะคิด คิดนี่สำคัญที่สุด เพราะว่าบางทีเราเจ็บปวดแล้ว เราถึงจะคิด ก่อนเจ็บปวด เราก็ต้องคิดให้รอบคอบด้วย ผมคิดว่าการที่เรามีระบบการคิดที่ดี บางทีมันต้องฝึกตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะการฝึก อย่างที่โรงเรียน Cheltenham college อย่างที่ผมพูดเมื่อเช้านี้ ผมถามคุณหญิงชฎาว่า ได้อะไรจากครั้งนี้ ท่านผู้ฟังเชื่อไหมครับ แทนที่เขาจะบอก เขาได้ความรู้ เขาพูดอันแรกบอกว่า ฉันได้.. คุณหญิงบอกว่า อันแรกได้การเป็นบุคคล allround

allround นี่หมายความว่า เป็นคนที่เรียนหนังสือได้ มีสังคมได้ เข้าสังคมได้ เป็นคนที่ balance แล้วก็สองเป็นคนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น สามเป็นคนที่พึ่งตัวเอง self independence แล้วก็สี่เป็นคนที่ flexible แล้วเป็นคนที่ adaptable โห..ผม ในรายการนี้ผมเลยรู้เลยว่าโรงเรียนมัธยมของเรา มันไม่ได้สอนให้คนเป็นคน เราสอนให้คน บางแห่งนะครับ ในกรุงเทพฯ เรียนแบบปลากระป๋องด้วย คืออย่างเทพศิรินทร์ที่ผมเป็นนายกอยู่ ครั้งหนึ่งห้องหนึ่งถูกกำหนดจากกดดันจากหลาย ๆ ฝ่าย ห้องหนึ่งตั้ง 55 คน ท่านผู้ฟังครับ 55 คน ครูคนหนึ่งรับไม่ไหว ตอนหลัง ๆ นี่ เทพศิรินทร์ใหญ่ก็ลดลงมาเหลือประมาณ 40 คน แต่ตอนหลัง ๆ นี่ การเรียนของเรานี่ มันก็เป็นการเรียนที่เน้นไปที่ปริมาณ ไม่ได้เน้นไปที่คุณภาพเลย ฉะนั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาอย่างยิ่งเลย ผมก็เลย วันนี้ก็เลยมีโอกาสได้มา share ความรู้กัน

คราวนี้เวลาที่เหลืออยู่ตามปกติแล้วผมก็จะ นอกจากเรื่อง TV แล้ว ซึ่งเดี๋ยวผมจะพูดต่อนิดหนึ่ง ผมจะขอพูดถึง Big story สัก 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือเรื่องเกี่ยวกับวันเกิดของศรีบูรพา เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์หรือศรีบูรพา เป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ด้วย เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังว่า เราน่าจะได้อะไรจากการไปฉลองวันเกิดของศรีบูรพา และสุดท้ายผมจะพูดถึงนายกสมัครในการไปประชุม GMS เพราะท่านไปพูดว่า จะต้องเน้นในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือผมจะสนับสนุนท่านส่วนหนึ่ง และก็จะขอเพิ่มเติมบางประเด็นที่คนไทยจะได้ฟัง จะได้เข้าใจว่า ถ้าผมเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ผมจะมีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องการประชุม Summit ของประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขงอย่างไร และเผอิญมูลนิธิที่ผมเป็นเลขาธิการอยู่ก็จะทำเรื่อง GMS ค่อนข้างจะมาก

คำสำคัญ (Tags): #human talk
หมายเลขบันทึก: 176374เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2008 02:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กลับมาเรื่องข้าวนิดหนึ่ง อาจารย์โสภิณกับอาจารย์สมพรก็ย้ำว่า เวลาเราจะพูดถึงใครได้ประโยชน์ เราต้องพูดให้เห็นว่า ในระดับเกษตรกร คนที่ได้ประโยชน์คือ คนที่มีนาข้าว ซึ่งมีแหล่งชลประทานข้อแรก เพราะแหล่งชลประทานทำให้เขาทำนาได้หลายครั้ง และโดยเฉพาะอย่างวันนี้ ณ วันนี้นี่คนก็ยังทำนาปลังอยู่ และเผอิญปีนี้มันหนาว ข้าวก็เลย นาปลังก็เลยเก็บได้ช้า ฉะนั้นช่วงนี้ ถ้าเขาขายข้าว คนที่มีข้าวเหลืออยู่ คนนั้นจะได้ประโยชน์ ส่วนนาปี ถ้าไม่มียุ้งฉางเก็บไว้ เขาก็ไม่ได้อะไร ฉะนั้นเวลาเราพูดถึงข้าว เราต้องมอง นอกจากประเทศไทยแล้วต้องมองคู่แข่ง มองการผลิตข้าวของคนอื่นด้วย เสร็จแล้วเราก็ต้องมองว่า มองจากฤดูกาล

ฉะนั้นข้อที่หนึ่งก็คือ ประเด็นนี้ก็น่าสนใจว่า ข้าวจริง ๆ แล้ว ถ้าข้าวมันขึ้นจริง ๆ ก็คนที่จะได้ประโยชน์จริง ๆ ก็คือ เกษตรกรที่มี นาที่มีน้ำ เป็นชลประทาน ส่วนในภาคอิสาน อย่างเช่นข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่ ป่านนี้ก็คงขายไปหมดแล้ว แล้วก็ประเด็นที่สองก็คือว่า อาจารย์โสภิณ อาจารย์สมพรได้ predict ไว้ว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับข้าวปีนี้ ประเทศไทยจะมีกองทุนวิจัยเรื่องข้าว

ท่านยังยกตัวอย่างสมัยหนึ่ง European Union เอางบประมาณส่วนหนึ่งมาทำกองทุนวิจัยมันสำปะหลัง แล้วท่านอาจารย์ 2 ท่าน ท่านเป็น expert ทางด้านสินค้าเกษตร ท่านบอกว่าการวิจัยผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง พันธุ์พืชต่าง ๆ มันสำปะหลัง ก็ทำให้การขยายตัวของมันสำปะหลังก้าวกระโดดไปค่อนข้างจะมากเลย ฉะนั้นท่านก็เลยขอเสนอว่า ประเทศไทยต้องหันมาวิจัยเรื่องข้าว เพราะข้าวมันก็จะมีจุดอ่อนตรงที่ว่า เหตุการณ์การปฏิวัติเขียวนี่ ซึ่งครั้งหนึ่งก็ทำให้ productivity ของข้าวขยายตัว มันหมดไปแล้ว มันก็ต้องมีทำการวิจัยอีกครั้งหนึ่ง ท่านผู้ฟังครับประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะว่าผมเคยพูดอยู่เสมอแล้วว่า อย่าฟังนักการเมือง อย่าฟังข้าราชการประจำมาก อย่าฟังสื่อมวลชนมาก ความจริงผมก็เป็นสื่อมวลชนเหมือนกันในเรื่องนี้ พยายามมองอะไรไกล ๆ

เสร็จแล้วเมืองไทยอยู่ได้ด้วยการ เช่นอย่างนี้ การแก้รัฐธรรมนูญ อาจต้องฟังหมอประเวศ คุณอานันท์ด้วย ไม่ใช่ฟังเฉพาะนักการเมืองเท่านั้น อันนี้ผมไม่ได้ขัดแย้งกับใครนะครับ เราต้องเป็นคนฉลาด เราจะไปหาข้อมูลเหล่านี้จากที่ไหน ผมยังคิดว่าผมจะลองไปปรึกษาท่านอดีตปลัด ซึ่งก็เป็นเพื่อนรักผม ท่านจเร สิทธาวัฒนกุล และท่านยังเป็นประธานทำงานทางด้านกองทุนมันสำปะหลังอยู่ กองทุนมันสำปะหลังเข้าใจว่าปีหนึ่งมีเงินหมุนเวียนที่จะนำมาทำวิจัย อย่างน้อย เท่าที่ฟังจากอาจารย์สมพรก็เป็นพันล้าน ฉะนั้นผมขอยืนยัน

และผมขอเล่าให้ท่านผู้ฟังอีกครั้งหนึ่ง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผมโชคดีมากเลย ตั้งแต่ท่านธีระ สูตะบุตร เข้ามา และก็มีอดีตรองปลัด ท่านสิทธิพร ผมได้เข้าไปพัฒนาข้าราชการกระทรวงเกษตรอย่างเข้มข้น เป็นร้อย ๆ คน แล้วเวลาผมจะทำรายการเรื่องข้าว ผมก็จะโทรศัพท์ถึงข้าราชการเหล่านี้ ซึ่งตัวข้าราชการเอง เขาก็มีความตั้งใจที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องข้าว เพียงแต่นักการเมืองชอบเข้ามาแทรกแซงตลาดข้าว ไม่ว่าตอนที่ตลาดแพงหรือตลาดตกต่ำ เพื่อผลประโยชน์ทางคะแนนเสียงอันหนึ่งล่ะ และสองเพื่อผลประโยชน์ทางด้านอาจจะพูดถึงอื่น ๆ ที่เราเข้าใจกัน

อาจารย์โสภิณกับอาจารย์สมพรก็เลยเตือนไว้ว่า ในฐานะสื่อมวลชนต้องระวัง เวลานักการเมืองเขาทำอะไร ถ้าเป็นการบิดเบือนตลาด แทรกแซงจนมากเกินไป สิ่งที่ชาวนาจะได้ ก็เลยไม่ได้ ฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่า จะต้องฝากไว้คือ ไม่อยากให้นักการเมืองพูดเพื่อได้คะแนนเสียงอย่างนี้ บทบาทของคุณมิ่งขวัญ บางทีเราก็รู้ท่านเป็นนักการตลาด บางทีท่านพูดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็อยากให้นักการเมือง... แต่ว่าปัญหาของเรา สื่อมวลชนของเราก็จะวิ่งตามนักการเมือง แล้วก็เอาไมโครโฟนไปจ่อปากเขา ไม่ว่าเป็นไร พูดออกมาก็เป็นข่าวไปหมด

ข่าวเหล่านี้จริง ๆ แล้วศึกษาดี ๆ แล้ว มันอาจจะเป็นจุดอ่อนหรือทำร้ายเกษตรกรของเราก็ได้ คราวนี้อีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งผม.. ท่านผู้ฟังติดตามรายการผมมาก็คงรู้คือ เวลาเราพูดถึงโอกาสของเกษตรกร บางครั้งมันเหมือนกับพอมีโอกาสแล้ว ผมพูดอยู่เสมอ เปิดเสรีจะมีเรื่องสินค้าเกษตรส่งไปเมืองนอก แต่ว่าองค์กรเกษตรกร อย่างเช่นสหกรณ์การเกษตร

เดี๋ยวนี้กลุ่มสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน เขาไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการ เขาจะรู้เรื่อง production แต่เขาไม่รู้เรื่องการจัดการ เรื่องการตลาด เรื่องการเงิน เรื่องการบริหาร network ต่าง ๆ ฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลไม่ได้ทำก็คือ ไม่ได้ทำให้เกษตรกรของเราเข้มแข็งขึ้นอย่างแท้จริง ยิ่งในยุคการเมืองแบบประชานิยม จะเห็นว่าก็มีการไปล่อให้เกษตรกรของเรา ได้เงินทีละพัน สองพัน แล้วก็แบมือขอ คือไม่ได้พึ่งตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ก็ทำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งน้ำ เรื่องชลประทาน เรื่องอะไรต่าง ๆ

ฉะนั้นก็อยากฝากท่านผู้ฟังไว้ว่า อยากจะให้ระมัดระวัง เวลาฟังข่าว และในสรุปก็คือ คนไทยไม่ต้อง panic ครับ ปัญหาเรื่องข้าว รัฐบาลไม่แทรกแซงราคา 40 บาทแน่นอน มีแต่ว่าส่วนไหนเราจะได้ ผู้บริโภค ลึก ๆ แล้วก็กระทบไม่มากหรอก แล้วที่จะต้องระมัดระวังมากไปกว่านั้น ก็คือการแบ่งพื้นที่ระหว่างอาหารกับพลังงาน ซึ่งสองท่านก็ได้สรุปว่า มันเป็นเรื่องที่จัดการได้ เพราะว่าเราไม่ได้เอาข้าวไปทำพลังงาน เพียงแต่พอสินค้าอื่น ๆ ที่จะทำพลังงาน เช่น ปาล์ม หรือข้าวโพดหรือมันสำปะหลัง เอาไปใช้ในการทำพลังงาน ก็มาแย่งพื้นที่จากข้าวไปทำ เวลาผมวิตกเรื่องพลังงานกับอาหาร ผมก็วิตกมากเกินไป ผมพูดแบบคนไม่รู้เรื่อง ทั้งสองท่านก็ได้สรุปว่า มันมีผลกระทบ อาจจะ 10% , 20% แต่ข้อสำคัญก็คือว่า แม่ค้าแม่ขายอย่าตระหนก อย่าไปกักตุนอาหารมา อย่าไปคิดว่าจะต้องมี อะไรนะแบบฟิลิปปินส์ คือเรานี่โชคดี เราไม่เหมือนประเทศอย่างฟิลิปปินส์ หรือบังคลาเทศ เขาต้องสั่งข้าวเข้ามา และวันนี้เวียดนามก็หยุดการส่งออก อินเดียก็มีปัญหา ผมเข้าใจว่าจีนก็คงมีปัญหา ฉะนั้นประเทศที่เครียดที่สุดวันนี้ก็คือ อย่างฟิลิปปินส์ ใครกักตุนข้าว ยิงเป้าเลย ฉะนั้นเรื่องอาหาร สรุปก็คือ น่าจะมีกองทุนวิจัย น่าจะมองไกล คืออาจารย์สองท่านนี่ได้ predict ไว้ว่า แนวโน้มของข้าวนี่ ราคามันจะขึ้นแน่นอน แล้วก็เป็นผลกระทบจาก global warming ด้วย และอย่าลืมมันทั่วโลกเลย อย่างอาทิตย์ที่แล้ว ผมบอกแล้วว่า ข้าวสาลีก็แพง เพียงแต่ว่าคนกินขนมปัง เราไม่ได้ควบคุมราคาขนมปัง ทุกคนก็เลย absorb ได้

เอาละครับเวลาที่เหลืออยู่นี่ ผมขอเรียนให้ทราบว่า พูดถึงคุณสมัครก่อน ก็ขออวยพรให้ท่านหายป่วย เพราะว่าอายุท่านมากแล้ว ก็ในบทความแนวหน้าผมเขียนถึงท่าน โดยใช้ทฤษฎี 8 H , H เอชในที่นี้ ไม่ใช่เฮช นะ เด็กบางคนชอบอ่านว่าเฮช H ในที่นี้อันหนึ่งที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์เขียนก็คือเรื่องของ Health ผมขอเรียนให้ทราบว่า ท่านทั้งหลายที่มีชีวิตอยู่ ตัว H ที่สำคัญที่สุดต้องมาก่อนก็คือ Health เวลาท่านไม่สบาย ผมก็เป็นห่วงท่าน

ผมเป็นห่วงท่านอยู่ 2 อย่างคือ ท่านไม่ค่อยออกกำลังกาย แล้วก็ท่านรู้ไหมครับ เรื่องการออกกำลังกาย ได้มีวิจัยออกมาแล้วที่อเมริกา อันนี้เมืองไทยแย่กว่าเขาเยอะ เขาบอกคนอเมริกาที่ทำงานอยู่ 100 คน ออกกำลังกายแค่ 15 คน 15 % อีก 40 % อยากทำ แล้วก็ทำไม่ค่อยสำเร็จ คือมันไม่มีวินัย ที่เหลืออยู่ก็คือ ไม่ได้ทำ แล้วก็อ้วน แล้วก็ความดัน อย่างผมเอง ผมตัดสินใจเรื่อง Health มาตั้งแต่อายุ 45 นะครับ ผมก็มีวินัยในการวิ่ง แต่ก่อนก็วิ่งไม่ได้ เพราะว่าครั้งหนึ่งอ้วน ครั้งหนึ่งบ้าทำงาน ใครก็ตามเคยเห็นผมตอน 40 กว่า ก็คงรู้สึกว่ามองผมเหมือนคน 55 , 60 แต่ตอนนั้นเราไม่ค่อยรู้สึกอะไร เพราะเราบ้าทำงาน ผมสมัยหนุ่มที่ธรรมศาสตร์ ผมจะบ้าทำงาน วันนี้ก็ยังบ้าอยู่ แต่ว่าฉลาดในการทำงาน

แล้วก็เรื่องคุณสมัครในเรื่องการไปประชุม คือ Summit อันนี้น่าสนใจ เพราะมันมีจีนเข้ามาด้วย แล้วก็จีนก็จะ link กับเราทางด้านยูนนาน เพียงแต่ว่าน่าสนใจ เพราะสื่อก็ประโคม เพราะหนึ่งคุณสมัครไปเสนอประเทศใน GMS ขอเป็นคนดูแลเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ผมก็อ่านต่อไปว่า สนใจในด้านไหน สนใจสอนให้คนใน GMS สนใจภาคภาษาอังกฤษ เพราะตั้งแต่ว่าเรามีโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนชั้นนำ ซึ่งอันนี้ผมไม่ได้ว่าอะไร ก็ดี ถ้าจะทำก็ขอทำให้มันต่อเนื่อง แล้วขอให้คนไทยได้ประโยชน์จากภาษาอังกฤษ ของอาจารย์ คืออย่าให้ไปสอน คนลาว คนพม่า คนเขมร และอย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษนี่ เราไม่ได้เก่งที่สุดนะใน GMS บางคนอาจจะหัวเราะเยาะเราก็ได้ อย่างเวียดนาม ท่านผู้ฟังผมติดตามเขามาโดยตลอด คนเวียดนามนี่หลังจากทำงานแล้วในโรงงาน ชอบอ่านภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีคนมาสอน คือคนเราจะเรียนอะไร เขาใฝ่รู้ด้วยตัวเอง เขาเรียนได้ ของเราต้องรอฝ่ายบริหาร ฝ่าย training มาบอก ฉันจัด course ฉันอยู่แล้ว แล้วก็ส่งอาจารย์เฮงซวยมาอย่างนี้ คืออาจารย์ใช้ไม่ได้ ก็สอนไม่ได้

คราวนี้ เอาละ ผมขอสนับสนุนและขอให้ทำจริง และทำเสร็จแล้วก็รายงานด้วย ว่าทำไปหรือเปล่า ผมอยากเรียนให้ทราบว่า กระทรวงการต่างประเทศ เขามี project เยอะนะครับ แต่ท่านผู้ฟังรู้ไหมครับ นี่เป็นเรื่องจริง กลับมาแล้วก็ต้องปรึกษากระทรวงอื่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ มี IT ไหม มี E-learning ไหม อาจจะปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการประจำเมืองไทยนี่ เขาไม่ได้บ้าคลั่งแบบนักการเมืองหรอกครับ นักการเมืองพูดไป เขาไม่อยากทำงานหรอก เขาทำแล้วได้อะไร ฉะนั้นวิธีการทำงาน project base ในนโยบายต่างประเทศนี่ ถ้าเราประเมินออกมา ผมว่าเราได้ไม่ถึง 10 % คือเป็นราคาคุยซะส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นในวิธีการในอนาคต อาจจะต้องเริ่มมีวิธีการแบบใหม่ ๆ ต้องเอาภาคเอกชนเข้ามาหรือมอบงานให้แก่มหาวิทยาลัยไปทำ แล้วก็ทำแล้วเขาได้อะไร ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ

คราวนี้ถ้าผมจะขอแนะนำ เพื่อให้ท่านผู้ฟังได้ทราบ เรายังมีอีก 4 สาขาที่คนใน GMS เขาอยากได้ แต่คุณสมัครไม่ได้พูดถึงเลย อันแรกก็คือ เรื่องการท่องเที่ยว เราเก่งเรื่องนี้ เราพร้อมที่จะเป็นแนวร่วม แล้วเผลอ ๆ นอกจากพร้อมแล้ว เราอาจจะได้ประโยชน์ด้วย ซึ่งเราก็ไม่ได้พูดในการทำงานครั้งนี้

2. ผมว่าเราค่อนข้างจะ advance ในเรื่องการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกและการแปรรูปสินค้าเกษตร ซึ่งเราควรจะใช้ GMS เป็นฐาน อย่างเช่น สมัยคุณทักษิณ ทำเรื่อง contract farming นี่ดี เราจะต้องเน้น เรานี่เก่งในเรื่องการแปรรูปสินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็นปลากระป๋อง ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้

และ 3. ผมคิดว่าเราเก่งเรื่อง Health care เราน่าจะแนะนำ Health care อาจจะบวกถึง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย หรือสปา

สุดท้ายนี่ ผมว่าเราเก่งเรื่องค้าปลีกแบบ Central วันนี้ Central ก็บุกไปที่เวียดนามแล้ว ทำไมผมรู้ คุณรู้ไหม ผมนี่เป็นคนที่ link กับอินเดีย และที่ผม link กับเขา ผมไม่รู้จักเขานะ เขาจะ search ข้อมูล คนอินเดียวันนี้สนใจประเทศไทยอยู่ 2 เรื่องใหญ่ ๆ ไม่ได้สนใจเรื่องภาษาอังกฤษเลยนะ เขาสนใจเรื่อง ทำอย่างไรระบบการขายปลีกของเขา เขาจะสามารถแข่ง ทำคล้าย ๆ กับ Emporium , Paragon , Central เพราะว่าเขาบอกว่า Department store ของเรา คือของฝรั่งด้วยนะ เป็น Department store ที่ทำงานสำเร็จมากเลย ฉะนั้นอีกหน่อย Central หรือ The Mall ก็บุกเข้าไปเปิดที่อินเดีย และเสร็จแล้วเขาชอบเรื่องสปา

วันนี้คุณรู้ไหม คุณสุรางค์รัตน์ได้เข้าไปเปิดสปา Franchise ที่อินเดีย 4 – 5 แห่ง และอีกหน่อยคนอินเดียนี่ เขาก็สนใจเรื่องสปา Spa ค่อนข้างจะมาก ฉะนั้นสิ่งที่ประเทศไทยจะช่วยหรือเป็นแนวร่วมกับประเทศอื่นได้ ผมคิดว่าเราต้องมาจากความเข้มแข็งของเราก่อน และจะต้องเป็นสิ่งที่เขาอยากได้จากเรา เวลาท่านผู้ฟังครับ อะไรที่มันเกิด value ขึ้นมา มันต้องมาจาก demand driven หรือหมายความว่าเขาจะต้องมีความต้องการก่อน ภาษาอังกฤษนี่เขาก็ต้องการ แต่ว่าผมไม่แน่ใจว่า คนไทยนี่เก่งภาษาอังกฤษจริงหรือเปล่า ฉะนั้นเวลากระทรวงการต่างประเทศ... คือพวกนี้ เขียน speech โดยข้าราชการประจำ แล้วก็บางทีก็ไม่ได้ทำการบ้านอย่างแท้จริง ผมเชื่อว่าข้าราชการวันนี้ ถ้าไม่ไป มีข้อมูล ปรึกษาหารือ อย่างผมเองผมทำอะไร ผมก็จะปรึกษาหารือกับคนที่เก่ง แล้วก็ผมก็จะรู้ว่าอย่างชีวิตผมวันนี้ ผมก็จะทำความสัมพันธ์กับอินเดีย ท่านผู้ฟังจะได้ติดตามผม ผมจะบินไปที่บังกาลอร์ Bangalore เร็ว ๆ นี้

สุดท้าย เวลาเหลือนิดเดียว ก็อยากจะขอเรียนให้ทราบว่า พี่กุหลาบ สายประดิษฐ์ ท่านเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ แล้ววันนั้นผมไปบ้านท่านด้วย เนื่องจากทำบุญที่วัดแล้ว ที่วัดเทพศิรินทร์แล้ว สำหรับครู ผู้ปกครองอยากให้ลองไปเยี่ยมบ้านกุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่อยู่ตรงซอยพระนาง เข้าไปแล้วจะเห็นอะไรรู้ไหมครับ เห็นความเรียบง่าย ภรรยาท่าน คุณชนิดก็ยังมีชีวิตอยู่ 96 แล้ว แล้วก็เห็นหลักฐานทางวรรณกรรม โต๊ะท่านที่เขียน แล้วสำคัญที่สุด ท่านไม่ได้เป็นนักเขียนอย่างเดียวนะ ท่านผู้ฟังครับ ท่านเป็นนักต่อสู้เพื่อความถูกต้อง อะไรที่ไม่ดี โดยเฉพาะเรื่องการเมืองที่ไม่ถูกต้อง ท่านกล้าพูด ซึ่งวันนี้สิ่งสำคัญที่สุดในประเทศไทย เราจะต้องมีคนกล้าหาญแบบนั้นมากขึ้น เพราะถ้าเราไม่มี เดี๋ยวเราจะเป็นแบบซิมบับเวนะครับ ระวัง คือคุณ Mugabe แกสร้างปัญหา 2 อย่างคือ 1 แกทำให้เงินเฟ้อสูงที่สุดในโลกมั้ง เสร็จแล้วการว่างงานของแก 70 – 80 % แกก็ยังอยากจะเป็นประธานาธิบดีต่อไป เพื่ออะไร ผมก็ยังงง และคนซิมบับเว ก็แสดงว่า ยังไม่มีคนกล้าหาญที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นแนวร่วมให้แก่ประเทศ

ตัดรายการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท