องค์กรกับนวัตกรรม (3)


จากบันทึก องค์กรกับนวัตกรรม และ องค์กรกับนวัตกรรม (2) ซึ่งกล่าวถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง และกระบวนการในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้ทิ้งท้ายไว้ในเรื่องกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรมไว้ว่า

กระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม มีอยู่สามกระบวนการใหญ่ๆ คือ

  1. นวัตกรรม ด้านกระบวนการ (Process Innovation) เช่นกระบวนการผลิต กระบวนการจัดซื้อ กระบวนการขาย กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ ฯลฯ เป้าหมายของนวัตกรรมด้านกระบวนการคือการหากระบวนการใหม่ ที่ดีขึ้น มีขั้นตอนน้อยลง รวดเร็วขึ้น เพื่อให้คนในองค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนน้อยลง แต่ไม่เสียหายในเรื่องของการควบคุม
  2. นวัตกรรม ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) ครอบคลุมทั้งสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดสินค้าใหม่ที่มีคุณลักษณะที่ดีกว่าเดิม ดีกว่าของคู่แข่ง มีต้นทุนต่ำกว่า ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากกว่า หรือทำให้ผู้บริโภคยินดีปนประหลาดใจ
  3. นวัตกรรมด้านรูปแบบธุรกิจ (Business Model Innovation) ทำให้การทำธุรกิจกับลูกค้า+คู่ค้าเป็นไปด้วยความสะดวก แข่งขันในพื้นที่ที่ได้เปรียบในการแข่งขัน (ไม่เหมือนกับเอาเปรียบ)

ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรม ก็เป็นเช่นเดียวกับ งานวิจัยและพัฒนา การพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือกิจกรรมต่างๆนวัตกรรม เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ไม่มีนวัตกรรมอะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง

นวัตกรรม น. สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น. (ป. นวต + ส. กรฺม; อ. innovation).

 ◊ แม้ผลการเปลี่ยนแปลง จะไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะออกมาดี แต่หากวางแผน ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว น่าจะเชื่อได้ว่าผลลัพท์จะออกมาดี [กระโดดน้ำหันหลัง มองไม่เห็นเป้าหมาย แต่รู้ว่ามีพื้นน้ำรออยู่ข้างล่าง ที่ต้องทำคือจัดระเบียบร่างกายตามแบบแผน Trajectory + Control of rotation + Twisting + Entry]

 ◊ ถึงไม่เปลี่ยนแปลง ก็ไม่มีอะไรรับประกันเช่นกัน ว่าผลลัพท์จะยังคงเป็นเหมือนเดิม

ตำราทุกตำรา องค์กรที่ประสบความสำเร็จทางด้านนวัตกรรมทุกองค์กร ต่างให้ความเห็นไปในทำนองเดียวกัน ว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้นวัตกรรมกลืนอยู่ในวิถีแห่งองค์กร อยู่ในทุกความคิด ในทุกกระบวนการ -- นวัตกรรมเป็นเรื่องของทุกคน

Creating an Innovative Organization Robert D. Behn, GovtLeaders.org มีสี่ตอน

แต่ในองค์กรมีความหลากหลาย มีข้อจำกัดต่างๆ มากมาย ถ้าสามารถกระตุ้นให้พนักงานทุกคน ทุกระดับ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และยึดถือเรื่องนวัตกรรมเป็นหน้าที่ประจำได้ ก็จะสามารถขับเคลื่อนองค์กรด้วยการกระทำอันถูกต้อง รับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 171434เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

P

Conductor

 

 

  • กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และยึดถือเรื่องนวัตกรรมเป็นหน้าที่ประจำได้

วรรคสุดท้ายกระตุ้นต่อมความรู้สึกบางอย่าง....

เจริญพร

ผมเพิ่งเห็นว่าลอกมาจากที่ร่างไว้ไม่หมด เดี๋ยวเติมที่ขาดไปครับ

  • ตามมาบอกว่า
  • เอาหมูมาให้ดูแล้วด้วย
  • แต่ชอบหมู ยกน้ำหนักมาก ฮ่าๆๆ
  • กำลังนึกว่า องค์กรหลายๆองค์กรยังยึดติดนวัตกรรมเดิมๆ
  • การทำงานแบบเดิมๆๆ
  • ไม่ต้องบอกนะครับว่า หน่วยงานไหน
  • อิอิๆๆ
  • หมูตัวนี้ เลี้ยงไว้สองปีแล้วครับ แต่เพิ่งเอามาโชว์ใน GotoKnow
  • ส่วนคนเราถ้าไม่ตั้งเงื่อนไขมาก และพิจารณาสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง บางทีก็สามารถทำในเรื่องที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้สำเร็จได้เหมือนกัน
  • ส่วนคนที่มัวแต่คิดและหรือพูด และ/หรือมัวแต่ห่วงตัวตน โฆษณาตัวเอง  อาจไม่มีความสำเร็จอะไรเลย

นวัตกรรม น. สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น. (ป. นวต + ส. กรฺม; อ. innovation).

  • นวัตกรรมเกิดขึ้นใน Chaordic Organization ง่ายกว่า Ortrolic Organization
  • สิ่งที่มีค่ามากที่สุดของมวลมนุษยชาติคือความคิด  ต้องยอมรับความแตกต่างทั้งตัวบุคคลและความคิด  ความแตกต่างทางความคิดจะนำไปสู่นวัตกรรม

สวัสดีค่ะ

เรื่องการเปลี่ยนแปลง และกระบวนการในการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใดสำหรับองค์กรเก่าๆค่ะ

แต่ถ้าเป็นองค์กรเกิดใหม่ๆ ก็ไม่ยากนัก  คงเป็นเรื่องของการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็น Innovative Organization  ในเวลาที่เหมาะสม  ตั้งแต่แรกเลย

ต้องอาศัย ความมุ่งมั่นและทุ่มเทของผู้บริหารมากค่ะ

รวมทั้ง โครงสร้างองค์กร ก็ต้องเอื้อให้เกิด นวัตกรรมภายในองค์กรด้วย

ตามประสบการณ์ของตัวเองนะคะ  คือโครงสร้าง ที่มีความยืดหยุ่น ในระดับที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กรค่ะ 

มีทางออกเสมอครับพี่ (อย่างน้อยก็ split ได้ ปลุกวิญญาณของคนทำงานขึ้นมาใหม่)

  • ขออนุญาตเสริมเกี่ยวกับ เรื่อง นวตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เพราะเป็นวิชาที่ชอบที่สุดสมัยเรียนหนังสือครับ
  • ในยุคหนึ่ง Re-Engineering ของไมเคิล แฮมเมอร์ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Process Innovation ที่ผู้คนให้ความสนใจไม่น้อย (รวมทั้งผมด้วย)
  • ยกตัวอย่าง บริษัทรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง มีความพยายามจะลดต้นทุนของบริษัทที่ผลิตรถยนต์ขายทั่วโลก หลังจากการวิเคราะห์กระบวนการแล้ว พบว่า บริษัทของเขามีต้นทุนเกี่ยวกับการจัดซื้อและการจัดเก็บ Stock อะไหล่เพื่อการประกอบรถยนต์ที่สูงกว่าบริษัทคู่แข่งมาก ทั้งนี้เพราะในการผลิตรถคันหนึ่งนั้น บริษัทรถยนต์จะไม่ผลิตทุกอย่างด้วยตนเองทั้งหมด เช่น ล้อรถยนต์ จะต้องสั่งจากผู้ผลิตที่มีความชำนาญด้านนี้กว่า เป็นต้น
  • เราลองคิดเล่น ๆ ดูนะครับว่า จะจัดการออกแบบกระบวนการอย่างไรให้ต้นทุนการสั่งซื้อและจัดเก็บอะไหล่อย่างเจ้าล้อรถนี้มีต้นทุนต่ำที่สุดครับ ? แต่อย่าลืมว่า เขามีโรงงานผลิตรถยนต์กระจายไปตามประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก นะครับ
  • จะสั่งทีละมาก ๆ เพื่อให้ได้ราคาถูกดีไหม แต่ก็ต้องมีพื้นที่ในการจัดเก็บล้อรถเหล่านั้น
  • หรือว่า จะสั่งตามจำนวนที่ผลิต เช่น ผลิตวันละ 100 คัน ก็สั่งมาวันละ 100 คัน โดยไม่ต้องเสียพื้นที่จัดเก็บล้อรถมากนัก เอ! ว่าแต่ว่า ถ้าเขาส่งของไม่ทัน หรือเกิดปัญหาด้านการขนส่งจะไม่ทำให้กระบวนการผลิตช้าไปหรือ
  • ...สำหรับนวตกรรมกระบวนการ... ที่เขานำมาใช้และเป็นคำตอบสุดท้ายของการลดต้นทุนตรงนี้ คือ ... ยุบฝ่ายจัดซื้อทิ้งไปเลย เปลี่ยนวิธีคิดเป็น เราจะจ่ายเงินค่าล้อรถยนต์ให้คุณ ก็ต่อเมื่อ "ล้อรถของคุณไปประกอบกับรถเราเรียบร้อยแล้ว" นั่นหมายความว่า ยกปัญหาด้านการจัดการนี้ให้กับบริษัทคู่ค้า ถ้าเขาจัดการดีเราก็จะซื้อจากเขา แต่ถ้าเขาจัดการไม่ดีมีปัญหาเราจะเปลี่ยนไปซื้อจากเจ้าอื่น
  • เป็นเรื่องจริงนะครับ อิ อิ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท