ต้มยำปลาดิบ(ข่าวประชาสัมพันธ์)


นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่น่าสนใจ

ได้รับการ์ดเชิญพิธีเปิดนิทรรศการศิลปะ

พร้อมด้วยข่าวประชาสัมพันธ์กับตารางกิจกรรมในนิทรรศการ

ก็เลยนำมาส่งข่าว ชาว G2K ต่อนะคะ  ใครสนใจก็เชิญได้เลยค่ะ :)

ส่วนตัวถ้ามีโอกาสไปดูจะนำมาเล่าให้ฟังอีกทีนะคะ 

ต้มยำ ปลาดิบ

 

นิทรรศการศิลปะจากศิลปินไทยและญี่ปุ่น ที่สำรวจและนำเสนอการอยู่ร่วมกันของประเพณีนิยมและความสมัยใหม่

 

ศิลปินร่วมแสดงในนิทรรศการ: จารุพัชร อาชวะสมิต, ยาสึมาสะ โมริมูระ, โยชิโตโมะ นาระ, สึโยชิ โอซาว่า, วิสุทธิ์ พรนิมิต และ วชิราภรณ์ ลิมวิภูวัฒน์, เรียวตะ ซูซูกิ, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐ-กุล

 

คัดสรรผลงานโดย กฤติยา กาวีวงศ์

ผู้ช่วยภัณฑารักษ์: เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์ และนันท์นรี พานิชกุล

 

19 มีนาคม 5 มิถุนายน 2551

ณ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

 

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันภูมิใจนำเสนอ ต้มยำ ปลาดิบ นิทรรศการศิลปะจากศิลปินไทยและญี่ปุ่นอันมุ่งสำรวจและนำเสนอการอยู่ร่วมกันของประเพณีนิยมและความสมัยใหม่ นิทรรศการจะเผยให้เห็นถึงทัศนคติอันหลากหลายซับซ้อนต่อศิลปะแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย ผ่านสายตาและการตีความของศิลปินญี่ปุ่นและไทย ผู้ซึ่งเคยมีประสบการณ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวของการทำงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม นิทรรศการจะแสดงผลงานของศิลปินญี่ปุ่นซึ่งเคยพำนักและแสดงนิทรรศการในกรุงเทพฯ ซึ่งบางท่านได้ตกหลุมรักกรุงเทพฯจนตัดสินใจพำนักและทำงานที่นี่เป็นการถาวร นอกจากนี้ ยังรวมถึงงานของศิลปินไทยที่เคยพำนักและทำผลงานในญี่ปุ่นอีกด้วย

 

ต้มยำ ปลาดิบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความซับซ้อนของศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งจากไทยและญี่ปุ่นด้วยงานศิลปะหลากรูปแบบของศิลปินจากทั้งสองประเทศ ที่จะมาร่วมกันค้นหาและสำรวจการมีอยู่ร่วมกันของสิ่งดั้งเดิมและร่วมสมัยในแต่ละวัฒนธรรม ผ่านการนำเสนอด้วยงานศิลปะหลายแนว ทั้งวิดีโอ อาร์ท งานศิลปะจัดวาง สื่อสิ่งทอ และแฟชั่น รวมไปถึงงานด้านการประพันธ์ ผลงานส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากความทรงจำ ความร่วมมือทางวัฒนธรรมและเรื่องราวในชีวิตประจำวันทั่วไป

 

ชื่อนิทรรศการต้มยำ ปลาดิบ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนักเขียนญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในประเทศไทย เรียวตะ ซูซูกิ ผู้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นและวัฒน-ธรรมไทยมาเป็นระยะเวลานาน ในคอลัมน์ภาษาไทยรายเดือนที่เขาเขียนให้กับนิตยสาร อะ เดย์ ซูซูกิได้แบ่งปันความคิดความรู้สึกในฐานะชาวญี่ปุ่นที่มีต่อวัฒนธรรมไทย และภาพสะท้อนของชีวิตประจำวันในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ นอกจากนี้ เขายังเขียนคอลัมน์รายปักษ์ให้กับหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นโยมิอุริ ชิมบุน เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและทัศนคติของไทยทีมีต่อชาวญี่ปุ่นอีกด้วย

 

ชื่อนิทรรศการ ต้มยำ ปลาดิบ ได้รวมอาหารขึ้นชื่อของสองประเทศเข้าด้วยกัน ได้แก่ ต้มยำ อาหารประเภทน้ำแกงเผ็ดร้อนของไทย และ ปลาดิบ ภาษาไทยสำหรับเรียกซาชิมิ กลุ่มคำที่สร้างขึ้นใหม่นี้สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจอันดีระหว่างชาวไทยและชาวญี่ปุ่นผู้คุ้นเคยเป็นอย่างดีกับทั้งสองภาษา และยังเป็นสัญลักษณ์ถึงความสัมพันธ์ที่พิเศษของไทยและชุมชนชาวญี่ปุ่น ชื่อนิทรรศการเป็นการรวมสุดยอดประเพณีอาหารของทั้งสองชาติ ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่เคยมีใครนำมารวมกันมาก่อน

 

นิทรรศการ ต้มยำ ปลาดิบ จะอุทิศให้กับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางศิลปะและกระชับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับญี่ปุ่น เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทยและญี่ปุ่น และวาระครบรอบ 30 ปีของสมาคมอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น ณ พิพิธภัณฑ์บ้านไทยจิม ทอมป์สัน

นอกจากนี้นิทรรศการยังจะกิจกรรมพิเศษต่างๆ อาทิ การเสวนากับภัณฑารักษ์และศิลปิน กิจ-กรรมการสัมมนารวมถึงกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการตลอดระยะเวลาของนิทรรศการ

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

คุณเพ็ญวดี (ผู้ประสานงานฝ่ายนิทรรศการ) ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-612-6741, 02-219-2911

อีเมล์ [email protected] หรือ [email protected]

 

ต้มยำปลาดิบ : กิจกรรมด้านการศึกษา

มีนาคม

 

พิธีชงชา

วันที่: ศุกร์ที่ 21 มีนาคม

เวลา: 14.00 - 15.30น. 

สถานที่: ห้องไอยรา บริเวณพิพิธภัณฑ์บ้านไทยจิม ทอมป์สัน

วิทยากรกิตติมศักดิ์: ฟูมิโกะ บุยจ์ และสมาคมพิธีชาอุระเซนคะตันโกไก (สชอต)

 

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรมพิเศษ พิธีชงชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการ ต้มยำ ปลาดิบ ดำเนินกิจกรรมโดยวิทยากรกิตติมศักดิ์ ฟูมิโกะ บุยจ์ ผู้เชี่ยวชาญในพิธีชงชาร่วมด้วยวิทยากรจากสมาคมพิธีชาอุระเซนคะตันโกไก(สชอต) ที่จะมาแนะนำข้อมูลและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับพิธีชงชาในแบบฉบับของคนญี่ปุ่น ผู้เข้าร่วมจะได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับพิธีชงชาพร้อมทั้งเพลิดเพลินกับขนมและชาเขียวแบบญี่ปุ่นอันลือชื่อ

 

กิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 รอบ และจะเริ่มต้นด้วยการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับพิธีชงชา

 

เนื่องจากที่นั่งมีจำนวนจำกัด  (30 ที่นั่ง) กรุณาติดต่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าเพื่อเข้าร่วมรายการ

 

(กิจกรรมดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษและบรรยายเป็นภาษาไทย)

Apichatpong on Videoworks

โดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

วันที่: พฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม

เวลา: 19.00 - 21.00น. 

สถานที่: ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน อาคารเฮนรี่ บี ทอมป์สัน

 

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล นักทำหนังสัญชาติไทย ที่เคยคว้ารางวัลจูรี่ ไพรซ์ จากเทศกาลหนังเมืองคานส์มาแล้ว หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับอภิชาติพงศ์ในฐานะผู้กำกับหนัง แต่ในครั้งนี้เขาจะเล่าถึงบทบาทอีกด้านหนึ่งในฐานะศิลปินที่ทำงานศิลปะวิดีโอเจ้าของผลงานชุดล่าสุด มรกต ที่จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการ ต้มยำ ปลาดิบ การสนทนาในครั้งนี้จะคาบเกี่ยวไปถึงอีกบทบาทหนึ่งของอภิชาติพงศ์ในฐานะผู้จัดเทศกาลหนังทดลองกรุงเทพ BEFF ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 25-30 มีนาคม 2551อีกด้วย

 

(กิจกรรมดำเนินรายการเป็นภาษาไทยพร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษ)

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการโดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

วันที่: เสาร์ที่ 29 มีนาคม 2551

เวลา: 10.00 - 18.00น. 

สถานที่: ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน อาคารเฮนรี่ บี ทอมป์สัน

วิทยากร: อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

 

ในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้ใช้จินตนาการส่วนตัวสร้างเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งตะโกนว่า"-uck the Fame, Hurray for Love!" ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ใช้จินตนาการในการแต่งเติมเรื่องราวของผู้หญิงคนนี้ ถึงเหตุผลและที่มาที่ไปของข้อความที่เธอเปล่งออกมา ด้วยเทคนิคการใช้คำพูดและภาพดิจิตอลในการสร้างเรื่อง การอบรมครั้งนี้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเพียง 10 ท่าน โดยต้องมีอายุ 15 ปี ขึ้นไปและมีกล้องดิจิตอลเป็นของตนเอง ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจะต้องเขียนรายละเอียดประวัติส่วนตัวและมุมมองส่วนตัวที่มีต่อภาพยนตร์เพื่อประกอบการพิจารณาเข้าร่วมโครงการ สามารถส่งได้ทั้งไปรษณีย์และอีเมล์ (ความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4) หมดเขตรับสมัครวันที่ 15 มีนาคม 2551

 

(กิจกรรมดำเนินรายการเป็นภาษาไทยพร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษ)

 

เมษายน

 

สัมมนา ต้มยำ ปลาดิบ

วันที่: พฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2551

เวลา: 10.00 - 16.30น. 

สถานที่: ห้องไอยรา บริเวณพิพิธภัณฑ์บ้านไทยจิม ทอมป์สัน

วิทยากร: อเล็กซ์ เคอร์, ยูโกะ ฮาเซกาว่า, มามิ คาตาโอกะ และไรจิ คุโรดะ

 

การสัมมนา ต้มยำ ปลาดิบ เป็นการสัมมนาหนึ่งวันเต็ม และจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2551 โดยแบ่งออกเป็นสองช่วงได้แก่

 

ช่วงที่หนึ่ง Lost Japan/Bangkok Found โดยวิทยากร อเล็กซ์ เคอร์ นักเขียนชาวอเมริกันเจ้าของผลงาน “Lost Japan” หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น จะนำเสนอและตีแผ่มุมมอง ข้อสังเกต รวมถึงการวิจารณ์ จากประสบการณ์ของตัวเขาเองที่เคยพำนักทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ในฐานะคนนอกที่มองเข้ามาในวัฒนธรรมประเพณีระหว่างสองประเทศซึ่งรวมไปถึงด้านเศรษฐกิจและบริบททางสังคมด้วย  

 

ช่วงที่สอง Japan Contemporary Art & Culture โดยภัณฑารักษ์ 3 ท่าน จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะชื่อดังในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ยูโกะ ฮาเซกาว่า จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย, โตเกียว, มามิ คาตาโอกะ จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ, โตเกียว และเฮวาร์ด แกลเลอรี่ (Hayward Gallery), ลอนดอน และไรจิ คุโรดะจากฟูกูโอกะ อาเซียน อาร์ต, ฟูกูโอกะ ทั้ง 3 ท่านจะนำเสนอปรากฏการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตลาดกำลังเติบโตและแนวโน้มทิศทางงานศิลปะญี่ปุ่นในปัจจุบัน

 

เนื่องจากที่นั่งมีจำนวนจำกัด (80 ที่นั่ง) กรุณาติดต่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าเพื่อเข้าร่วมรายการ

 

(กิจกรรมในครั้งนี้ส่วนหนึ่ง ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพ ดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษพร้อมแปลเป็นภาษาไทย)

 

 

รายการโปรแกรม:

 

9.30                       เริ่มลงทะเบียน

 

9.50                             กล่าวเปิดการสัมมนาโดยผู้อำนวยการมูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพ

 

10.00 – 12.00          การสัมมนา ช่วงที่ 1 Lost Japan / Bangkok Found

                             โดย อเล็กซ์ เคอร์

                                   

12.00 – 1.45            รับประทานอาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์

 

2.00 – 3.30                 การสัมมนาช่วงที่ 2 Japan Contemporary Art and Culture

                             โดย:

·         ยูโกะ ฮาเซกาว่า หัวหน้าภัณฑารักษ์จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย,

     โตเกียว

·         มามิ คาตาโอกะ ภัณฑารักษ์อาวุโสจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ, โตเกียว และเฮวาร์ด แกลเลอรี่ (Hayward Gallery), ลอนดอน

·         ไรจิ คุโรดะ หัวหน้าภัณฑารักษ์จากฟูกูโอกะ อาเซียน อาร์ต, ฟูกูโอกะ

 

3.30 – 3.45              รับประทานอาหารว่าง

 

3.45 – 4.15              ช่วงถาม-ตอบกับวิทยากร

 

4.15 – 4.30              กล่าวปิดการสัมมนาโดยผู้อำนวยการศิลปะ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน

 

พฤษภาคม

 

Weaving the unsolved riddles 

การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยจารุพัชร อาชวะสมิต

วันที่: เสาร์ที่ 10 พฤษภาคม

เวลา: 13.00 - 17.00น. 

สถานที่: ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน อาคารเฮนรี่ บี ทอมป์สัน

วิทยากร: จารุพัชร อาชวะสมิต

การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยจารุพัชร อาชวะสมิต ศิลปินสิ่งทอที่ร่วมแสดงงานในนิทรรศการต้ม-ยำ ปลาดิบ ที่เชิญชวนผู้เข้าร่วมโครงการร้อยเรียงความทรงจำลงในกระดาษ พับและถักทอร่วมกับเส้นด้ายขึ้นใหม่ลงบนแผ่นเฟรมขนาด A3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เลือก รูปทรง สีและขนาดของงานศิลปะชิ้นนี้ด้วยตนเอง โดยความทรงจำเหล่านี้จะถูกผนึกไว้ในกล่องแก้ว เก็บไว้บนแผ่นเฟรมนี้ตลอดไป

 

การอบรมครั้งนี้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไป ไว้ที่จำนวน 30 ท่าน (สมัครก่อนได้สิทธิ์ก่อน) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณโสมสุดา (ผู้ประสานงานฝ่ายกิจกรรมการศึกษา) ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-612-6741, 02-219-2911 อีเมล์ [email protected] หรือ [email protected]

 

(กิจกรรมดำเนินรายการเป็นภาษาไทยพร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษ)

 

 

เรียวตะ ปะทะ ปราบดา

บทสนทนาระหว่าง เรียวตะ ซูซูกิ และปราบดา หยุ่น

วันที่: เสาร์ที่ 24 พฤษภาคม

เวลา: 13.30 - 15.30น. 

สถานที่: ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน อาคารเฮนรี่ บี ทอมป์สัน

 

เรียวตะ ซูซูกิ นักเขียนชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ที่กรุงเทพฯ ผู้เขียนคอลัมน์ ทีมปลาดิบ ที่ตีพิมพ์อยู่ในนิตยสาร a day ซึ่งเป็นนิตยสารภาษาไทยรายเดือน และ ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 2545 และได้รับเชิญให้เขียนประจำในคอลัมน์ From a Tropical Storm ตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่น (แปลจากภาษาไทย) ลงในนิตยสารรายเดือนของประเทศญี่ปุ่นชื่อนิตยสาร Eye Scream การสนทนาครั้งนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมอง และความคิดเห็น ในฐานะคนญี่ปุ่นที่ชื่นชอบในประเทศไทย และคนไทยที่หลงใหลในประเทศญี่ปุ่น  

 

(กิจกรรมดำเนินรายการเป็นภาษาไทย)

 

 

กิจกรรมอื่นๆ ตลอดช่วงนิทรรศการต้มยำ ปลาดิบ 

 

กิจกรรมสำหรับเด็ก ‘ Everyone likes someone as you like someone’

โดย สึโยชิ  โอซาว่า

 

สึโยชิ โอซาว่า ศิลปินชาวญี่ปุ่นที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยการนำฟูกแบบญี่ปุ่นมาประกอบและติดตั้งเป็นรูปทรงของภูเขาภายในห้องแสดงนิทรรศการ ต้มยำ ปลาดิบ  จะเชื้อเชิญให้เด็กๆเข้ามามีส่วนร่วมกับผลงานศิลปะชิ้นนี้ด้วยการปีนขึ้นไปบนภูเขาเพื่อวาดรูปบุคคลที่ตนเองชอบลงบนไปรษณียบัตร Everyone likes someone as you like someone ที่ศิลปินได้ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เด็กๆจะต้องปีนไปบนยอดภูเขาเพื่อหย่อนไปรษณียบัตรลงบนกล่องและจะได้รับไปรษ-ณียบัตร Everyone likes someone as you like someone ที่วาดโดยเด็กๆ จากประเทศออส-เตรเลีย(จากเทศกาลศิลปะเอเชียแปซิฟิก เทรียนนาเล่ 2006 / APT2006) เป็นของที่ระลึกตอบแทน ซึ่งไปรษณียบัตรที่เด็กๆได้วาดขึ้นเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในผลงานศิลปะของศิลปินเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับเด็กๆในประเทศอื่นๆ ต่อไป

 

บริการนำชมนิทรรศการ

 

การนำชมนิทรรศการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้บริการข้อมูลและเสริมสร้างความเข้าใจให้กับผู้ชมภายในห้องแสดงนิทรรศการต้มยำ ปลาดิบ นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาที่สนใจในด้านศิลปวัฒนธรรมได้เข้าร่วมโครงการนำชมเพื่อรับทราบข้อมูลเชิงลึกของนิทรรศการและสามารถนำมาถ่ายทอดต่อเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ชมในวงกว้างอีกด้วย

 

ภัณฑารักษ์นำชม

 

นอกจากการบริการนำชมนิทรรศการโดยนักศึกษาแล้ว ยังมีวิดีโอบันทึกการนำชมนิทรรศการโดยภัณฑารักษ์ กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้คัดสรรผลงานศิลปะทั้งหมดที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ โดยภัณฑารักษ์จะได้กล่าวถึงรายละเอียดในการจัดนิทรรศการครั้งนี้ วิดีโอจะเปิดฉายทุกวันตลอดระยะเวลาของนิทรรศการต้มยำ ปลาดิบ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 171428เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 04:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาเยี่ยมค่ะ น่าสนใจมาก โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กๆ น่าเสียดายที่ไปไม่ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูเอ

ถ้ามีโอกาสไปดู (น่าจะได้ไปสักครั้ง หรือหลายครั้งสำหรับนิทรรศการนี้ค่ะ) จะนำเรื่องมาเล่าให้ฟังอีกทีนะคะ ขอบคุณที่แวะมาทักทายกันนะคะ

ฝากประชาสัมพันธ์นะครับ

คุยกับเรียวตะ ซูซูกิ “Culture Shock! อีกแง่มุมของญี่ปุ่นที่คุณอาจยังไม่รู้” :: 7 กุมภาพันธ์ โรงแรมอโนมา (ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิลด์)

JEDUCATION ขอเชิญชาวไทยหัวใจปลาดิบทุกท่านร่วมพูดคุยกับ “เรียวตะ ซูซูกิ” คอลัมนิสต์ชื่อดังจาก Team Pladib นิตยสาร A DAY พร้อมด้วยนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในหัวข้อ “Culture Shock! อีกแง่มุมของญี่ปุ่นที่คุณอาจยังไม่รู้” เปิดประเด็นสนทนา มองญี่ปุ่นในอีกมุมมองจากนักเรียนไทยที่เคยไปศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น เข้าฟังฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

วัน – เวลา วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 14.30 – 16.00 น.

(ภายในงานแนะแนวศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น JEDUCATION FAIR)

สถานที่ ชั้น 3 โรงแรมอโนมา (ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิลด์)

:: หัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจภายในงาน ::

6 ก.พ. / 14.00 น. “พนักงานแบบไหนที่บริษัทญี่ปุ่นต้องการ” โดยผู้จัดการฝ่ายบุคคล บริษัท ไทยกูลิโกะ จำกัด

6 ก.พ. / 15.00 น. “ทำความรู้จักการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นรูปแบบใหม่” โดยอาจารย์ฝ่ายภาษาญี่ปุ่น เจแปนฟาวน์เดชั่น

7 ก.พ. / 11.30 น. “เจาะลึกเรื่องทุนการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น” โดยเจ้าหน้าที่จากสถานฑูตญี่ปุ่น และนักเรียนทุนฯต่างๆ

:: งานแนะแนวศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น JEDUCATION FAIR ::

เปิดเส้นทางการศึกษา.. มุ่งไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ ด้วยข้อมูลครบครันในงานเดียว

6 – 7 กุมภาพันธ์ 2552 10.00 – 17.00 น. โรงแรมอโนมา (ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิลด์)

ลงทะเบียนออนไลน์เข้าร่วมงาน..

ลุ้นรับ BlackBerry Curve 8520 (มูลค่า 13,900 บาท) พร้อมของที่ระลึกอื่นๆ

www.jeducation.com/think

โทร. 0-2267-7726

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท