การศึกษากับธุรกิจ


หากย้อนเวลาได้อยากให้ประเทศไทยย้อนเวลากลับไป

         สมัยตอนเป็นนักเรียน  ดูเรามีความสุขกับการอยู่ที่โรงเรียนเราได้เล่นที่สนามหญ้าที่ค่อนข้าวรกหน้าโรงเรียน  หิวขึ้นมาบางวันไม่รู้ไปหาที่ไหนก็นึกสนุกวิ่งไปที่วัด  ไปที่โรงครัวหาข้าวก้นบาตร ขนมกินและได้อิ่มท้อง  วัน ๆ ไม่เห็นต้องจ่ายค่าอะไร  ช่วงเวลาทำนาโรงเรียนก็ปิดให้ 10 วัน เพื่อให้เราเด็ก ๆ นักเรียนได้เฝ้าดูเลี้ยงน้อง  เฝ้าบ้านเพราะพ่อแม่ออกนา  เป็นความสุขที่อยู่บนฐานของการให้และความเป็นจริง   ให้ความรู้  ให้เวลา  ให้กับสังคมความเป็นอยู่   ให้โอกาส  ไม่ต้องเรียนพิเศษเราไม่จ่ายค่าอะไร  เวลาทำงานฝีมือเราไม่รู้จักดินน้ำมัน  เรารู้จักแต่ดินเหนียว  ไม้ไผ่  ทางกล้วย  ใบตอง  เหล่านี้ไม่แน่ใจว่าหลงเหลืออยู่ที่ไหนบ้าง

         งง ๆ  กับระบบการศึกษาปัจจุบัน  จนอาจเรียกได้ว่าเป็นคนโง่ไปแล้วก็ได้  ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมเป็นแบบที่เป็นอยู่  มีแต่เรื่องต้องจ่าย   จ่ายค่าเรียนพิเศษเด็กบอกว่าที่เด็ดอยู่ที่ที่เรียนพิเศษ  ถ้าที่โรงเรียนไม่บอกไสอนแต่ที่เรียนพิเศษบอกและสอน(งงอีก)  จ่ายค่าอุปกรณ์การฝึก  จ่ายค่ากิจกรรม  และไม่กลมกลืนกับความเป็นจริงของชุมชน ไม่คำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ส่วนใหญ่ต้องซื้อ  ที่เคบทำงานกับชุมชนได้ข้อมูลส่วนใหญ่ครอบครัวจะหาเงินมาเพื่อการศึกษาของลูก  รักลูกก็ต้องจ่าย  ถ้าลูกเรียนหลายคนเป็นหนี้เป็นสินเยอะ  และเด็กตัวเล็ก ๆ เรียนชั้นประถมทำไมต้องให้พาหนังสือไปเยอะ ๆ(สงสาร) สะพายหลังจนเกือบพาไม่รอด และเห็นบางคนหิ้วอีกใบในมือ  เด็กตัวใหญ่เรียนระดับสูงถือไปเล่มเดียว(งง)

         ดูหนังตะลุง  นวนิยายในหนังยังสะท้อนถึงความเป็นคนไทยที่แท้จริงในอดีต  ลูกเติบโตในวัยเรียนส่งเล่าเรียนที่วัดกับฤาษี(ไม่มีค่าเทอม)  อยู่เรียนกับพระซึมซับเรื่องดี ๆ  แต่แปลกของดี ๆ เก่า ๆ ใครเข้าไปยุ่งเกี่ยวสังคมให้เกณฑ์ชี้วัดว่าเป็นคนเชยไม่ทันสมัย(งง ไม่รู้ใครตั้งเกณฑ์) 

         เสียดายสังคมเก่าแก่ที่มีแต่เรื่องของการให้  ให้ความเห็นอกเห็นใจ  ไม่มีใครแข่งขันกันเรื่องเรียน   ใครไม่เข้าใจเพื่อนก็ช่วยสอนให้  รุ่นพี่แนะนำให้  เป็นเสน่ห์ของสังคมที่มีความเอื้ออาทร  เช้า ๆ เดินไปโรงเรียนก็รอเดินไปพร้อม ๆ กัน  ไม่ได้แย่งที่นั่งบนรถเหมือนสมัยนี้  แย่งที่นั่งบนรถไม่พอแย่งที่จอดรถกันอีก  แล้วแข่งเรียนหนังสือกันอย่างเดียว  ไม่เรียนรู้วิถีชีวิตของความเป็นจริงอย่างอื่นกันด้วยจะอยู่กันอย่างไร   

         มีหลายท่านบอกว่าการศึกษาปัจจุบันผสมบนเปกับการทำธุรกิจ   เพราะธุรกิจด้านนี้พ่อแม่ไม่ปฏิเสธที่จะจ่าย  แสดงว่าจุดเปราะบางที่นักธุรกิจมองเห็นและเจาะก็คือความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกนั้นเอง  เจาะช่องนี้ได้ก็ใช้ได้อย่างยั่งยืนเลยจริง ๆ  แต่การสูบรายได้ทางนี้มีผลกับสังคมชนบทมากเลย  บางรายที่ดินหายไป  ทรัพยากรถูกทำลายใช้อย่างรวดเร็ว  มีความขัดแย้งในการหารายได้ของสังคมมากขึ้น  ความเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้นรวดเร็ว  พร้อม ๆ กับน้ำใจ  ความเอื้ออาทรลดลงไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน   หากย้อนเวลาได้อยากให้ประเทศไทยย้อนเวลากลับไป

หมายเลขบันทึก: 169996เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2008 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ พี่ชาญวิทย์
  • อ่านแล้วกำลังคิดว่า "บ่น" อิอิ แต่เรื่องจริงค่ะ และเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ก็ปลงแล้วค่ะ
  • พยายามทำให้คนรอบข้างเรามีความสุขกายสบายใจ นั่นเป็นสิ่งที่กำลังทำและจะทำต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณมากๆ ค่ะ

สวัสดีครับ  น้องปลาเค็ม

          ตอนแรกที่บันทึก  ก็คิดว่าบันทึกไปตามที่เห็น  แต่ดู ๆ ก็เหมือนบ่นจริง ๆ ด้วย อิอิ 

สวัสดีค่ะ...คุณชาญวิทย์-นครศรีฯ

  • ใช่จริง ๆเลยค่ะ ปัจจุบันเป็นธุรกิจการศึกษาไปแล้ว
  • อย่าว่าแต่น้อง ๆ มอปลายที่เตรียมตัวสอบ O-net/A-net ค่าติววิชาละเป็น..หมื่น ๆ...
  • ในซอยบ้านสาวหละปูนอยู่ติดโรงเรียน...เป็นแหล่งเรียนพิเศษ(สอนการบ้านเด็ก)..ก้อครูที่โรงเรียนนั่นแหละ...หลังเลิกเรียนให้เด็กเข้าแถวมาเรียนพิเศษที่บ้านเช่า(เพื่อการนี้โดยเฉพาะ)
  • รถก้อติดเพราะผู้ปกครองมารับ..พ่อค้าแม่ขายก้อเยอะ
  • เฮ้อ...ขอบ่นด้วยคน..

                     สาวหละปูนเจ้า

สวัสดีครับ สาวหละปูน

  • เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน กับที่เป็นอยู่ปัจจุบัน  ขอบอกว่าเสียดายสิ่งที่มันหายไปครับ
  • ขอบคุณที่มาร่วม ลปรร. ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท