หลักการเขียน...คู่มือการปฏิบัติงาน


หลักการเขียน...คู่มือการปฏิบัติงาน

จากบทความที่เขียนเรื่อง

เมื่อฉันได้เป็นคุณครู...สอนการเขียนคู่มือการทำงานของพยาบาล

ขอบอกวิธีการเขียนให้คร่าวๆนะคะ

เพื่อจะได้เป็นประโยชน์สำหรับพยาบาลที่จะเขียนคู่มือการทำงานของหน่วยงานของตนเองได้ค่ะ

หลักในการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน

      เขียนให้เฉพาะเจาะจงกับหน่วยงานของตนเอง

      ไม่ใช่คู่มือสำหรับหน่วยงานทั่วไป

      ดังนั้นรายละเอียดปลีกย่อยในการทำงานมีความแตกต่างกัน

 

การวางแผนการเขียน   ต้องตอบคำถาม 3 ข้อ

      ทำไมต้องเขียน

      สามารถพัฒนางานที่ปฏิบัติอยู่ได้จริงหรือ

      เขียนให้ใครอ่าน

 

การดำเนินการ

      กำหนดหัวเรื่อง

      กำหนดเค้าโครงของคู่มือ

      กำหนดวัตถุประสงค์

 

กำหนดหัวเรื่อง

      หัวเรื่องต้องสื่อความหมายได้ กระชับ ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดและน่าสนใจ

      ผู้อ่านเห็นชื่อเรื่องแล้ว จะต้องคาดคะเนได้ว่า เนื้อหาภายในจะกล่าวถึงอะไรบ้าง

 

หลักการกำหนดโครงเรื่อง

      นำเนื้อหามาวิเคราะห์ว่าจะประกอบด้วยกี่แนวคิดใหญ่

      เมื่อได้แนวคิดใหญ่ เราก็นำมาแบ่งเป็นแนวคิดย่อย

      บอกให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อหาสาระในคู่มือจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

 

กำหนดวัตถุประสงค์

      เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

 

การเริ่มลงมือเขียน

      ประมวลความรู้

      เทคนิคการเขียน

      การสร้างบรรยากาศในการเขียน

 

ประมวลความรู้

         เอกสารที่ใช้ได้ทั้งหนังสือ บทความในวารสาร

         ค้นด้วยมือ(Hand search) ดูจากเอกสารอ้างอิงท้ายบท

         ค้นจาก ฐานข้อมูลทางการพยาบาล เช่น

         Cochrane Collaboration http://wwwcochrane.org/cochrane/resource.htm

vThe Joanna Briggs Institute (JBI)

            http://www.joannabriggs.edu.au

·      อ่านตำรา/บทความที่ค้นมาได้  อ่านเอาเรื่อง เป็นการจับประเด็นสำคัญให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการ   อย่างน้อยให้รู้ว่า ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไรและเกิดผลอย่างไร

·      บันทึกสรุปใจความที่อ่านไว้ทันทีบันทึกในแผ่นกระดาษ ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย  เป็นการรักษาจรรยาบรรณของผู้เขียน โดยไม่แอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน

 

เทคนิคการเขียน

·      ความถูกต้อง ชัดเจน มีเหตุผล น่าเชื่อถือ เป็นรูปธรรม ถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้เขียนออกมาเป็นตัวหนังสือ  ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจ โดยไม่ต้องตีความอีกมีภาพหรือตารางประกอบจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

·      ความกลมกลืน เนื้อหาที่ได้มาจากเอกสารหลายเล่ม นำมาวิเคราะห์ เขียนเรียบเรียงใหม่ ไม่ควรคัดลอกงานของผู้อื่นมาทั้งหมด หรือนำมาจากหลายเล่มแล้วนำมาเขียนต่อๆกัน  อย่าลืมสอดแทรกความคิดเห็นจากประสบการณ์ของผู้เขียนลงไปด้วย   ความรู้จากประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญและมีคุณค่ามาก ให้สอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาอย่างกลมกลืน

·      ความทันสมัย   สถิติทันสมัย   น้ำหนักเนื้อหา ควรเน้นการปฏิบัติการพยาบาลมากกว่าการปฏิบัติทางการแพทย์

·      การแบ่งหัวข้อการแบ่งด้วยตัวเลขหรือตัวอักษร ให้ใช้แบบเดียวกันทั้งเล่ม  ถ้าใช้ตัวเลขไม่ควรใช้เกิน 3  หลัก

·      การใช้ภาษา  ง่าย สื่อได้ตรงประเด็น   ใช้ภาษาราชการ ไม่ใช้ภาษาพูด  ถ้ามีภาษาอังกฤษ ให้เขียนภาษาไทยก่อน วงเล็บภาษาอังกฤษประกอบคำแรก หลังจากนั้นให้ใช้เป็นภาษาไทย   ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย  ใช้คำให้คงเส้นคงวา

 

สร้างบรรยากาศในการเขียน

·      จัดห้องทำงานให้เป็นสัดส่วน  หรือหามุมที่เป็นสัดส่วน ดัดแปลงเป็นที่ทำงาน

·      โต๊ะทำงานสะอาด อุปกรณ์มีพร้อม ถ้ามีคอมพิวเตอร์เองจะดีมาก

·      จัดแบ่งเวลาหรือจัดตารางเวลาทำงานไว้

·      ควบคุมตนเองทำตามเวลาและต่อเนื่อง

 

การตรวจสอบความเรียบร้อยของต้นฉบับ

      พิสูจน์อักษร

      การเว้นวรรค การย่อหน้า

      ความสม่ำเสมอของการเรียงหัวข้อใหญ่/หัวข้อย่อย

      แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนเข้าปก

 

หมายเลขบันทึก: 169651เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 04:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ฐานข้อมูลทางการพยาบาล มีมากมายค่ะ

ลองค้นหาดูนะคะ

ถ้าพยาบาลท่านใดต้องการเขียนคู่มือ

สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในบันทึกนี้ได้ค่ะ

  • ดีจังเลยครับพี่บล
  • มาแต่เช้า
  • การเขียนหนังสือแต่เช้าๆๆทำให้เขียนได้ดีเพราะสมองแล่น นอกจากนี้ยังเงียบสงบด้วยครับ
  • พี่บลเริ่มเขียนได้มากหรือยังครับ
  • เขียนแล้วลองให้ผู้ปฏิบัติงานอ่านว่าจุดไหนเข้าใจหรือไม่เข้าใจแล้วปรับปรุงเป็นตำราได้เลยครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณค่ะพี่แก้ว

แม้จะไม่ได้อยู่ตำแหน่งพยาบาล  อิอิ ตอนนี้เป็นพญามาร  เอ๊ย...ไม่ใช่ๆ  ^__*

ก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างดีเลยนะคะเนี่ย...

ชอบครับ ปรับใช้ได้กับทุกงานเลย ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ อ.อุบล

  • มาเก็บความรู้ก่อน ยังไม่มีอะไรจะแลกเปลี่ยนเลยค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

กำลังจะยื่นทำเรื่องชำนาญการ ...
ผมเลยต้องการแนวทางในการเขียนคู่มือจากผู้ชำนาญการอยู่พอดีเลยครับ

....

ที่นี่ ...
แปลกแต่ก็จริง   ผลงานของผู้ชำนาญการหลายท่าน  ถูกขึ้นหิ้ง ไม่มีใครรู้เลยว่า  เรื่องอะไร,  มีอะไรต่อยอดได้บ้าง ?

ผมงงมากเลยครับ

P

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แนะนำ กำลังคิดจะปรับคู่มือที่เขียนนานแล้วให้ทันสมัยและทำเป็นตำราที่ใช้และอ้างอิงได้ค่ะ

พี่ชอบเขียนหนังสือตอนเช้าๆ มีสมาธิและเขียนได้เร็วค่ะ

P

สวัสดีค่ะหนิง

ลองเขียนดูนะคะ

ถ้ามีอะไรให้พี่ช่วยเหลือ ยินดีค่ะ

P

ถ้าสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ทุกงานก็ยินดีค่ะ

P

สวัสดีค่ะป้าแดง

ลองแนะนำน้องๆพยาบาลเขียนคู่มือการทำงาน   ตามหลักง่ายๆเหล่านี้ก่อนก็ได้ค่ะ

P

สวัสดีค่ะคุณพนัส

บทความนี้...สามารถใช้เป็นคู่มือประกอบการเขียนคู่มือการทำงาน เพื่อยื่นขอชำนาญการได้ค่ะ

ถ้ามีอะไรจะช่วยได้ก็ยินดีค่ะ

เรียนพี่อุบล

คุ่มือปฏิบัติงานคือคู่มือการพยาบาลโรคต่างๆ ใช่หรือไม่

และโครงงานคืออะไรคะ งงมากเลย ก่อนนี้อยู่ สธ.คะเพิ่งมาสังกัด มศว.

ช่วยหน่อยนะคะ

คุณกัณจนา แสนไชยวงษา

คุ่มือปฏิบัติงานคือคู่มือการพยาบาลโรคต่างๆ ใช่หรือไม่  ใช่ค่ะ

โครงการ คือ โครงการพัฒนางานเพื่อดูแลผู้ป่วย เช่น โครงการดนตรีบำบัดเพื่อลดปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เป็นต้น

สวัสดีคะ อ.แก้ว

ดิฉันมีความสนใจในการทำคู่มือปฏิบัติงานอย่างมากแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรช่วยชี้แนะหน่อยนะคะ

คุณนิภาพรคะ

เริ่มจากถามตัวเองก่อนว่าจะเขียนอะไร เขียนให้ใครอ่าน

แล้วร่างดูว่าจะเขียนอะไรบ้าง

แล้วหาข้อมูลร่วมกับประสบการณ์

ลองเขียนนะคะ

สวัสดี ค่ะ พี่แก้ว

ขออนุญาต เรียกแบบนี้ค่ะ กำลังจะทำพยาบาลชำนาญการ ที่จะมีเงินประจำตำแหน่งเพิ่ม 3500 บาท หลังปรับเป็นระบบแท่ง แล้วเข้าชำนาญการอัตโนมัติ แต่ ไม่ได้เงินประจำตำแหน่ง มหาวิทยาลัย เปิดให้ส่งขอตำแหน่งภายใน เดือนธันวาคม 2554 เพื่อขอแต่งตั้ง ต้องเขียนคู่มือ ปฎิบัติงานหลัก หรืองานสังเคราะห์ ยังไม่ค่อยเข้าใจ ความแตกต่างค่ะ

พี่แก้วคิดว่าเราสามารถทำทันในเวลา ประมาณ 5 เดือน ไหมค่ะ เป็นพยาบาลอายุรกรรมชาย ทำงานประมาณ 17 ปี ค่ะ

ขอความกรุณา ชี้แนะด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เริ่มตั้งแต่วันนี้น่าจะทันนะคะ คุณน้อง Subah

พิรมขวัญ เหมทานนท์

ขอบคุณพี่แก้ว สำหรับคำแนะนำดีๆ ยังมีข้อคำถามพี่แก้วว่า ถ้าในหน่วยงานเดียวกัน มีหลายคนในระดับเดียวกันที่ต้องเขียนคู่มือปฏิบัติงานแล้วจะเขียนอย่างไร เพราะทำงานหน้าที่เดียวกัน เหมือนๆกัน ขอบคุณพี่แก้วมากๆค่ะ

คุณพิรมขวัญ

ในหน่วยงานเดียวกัน เราก็ต้องแบ่งภาระกิจคนละด้าน เราก็เขียนเชิงลึกด้านใครด้านตัวค่ะ

ส่วนใหญ่เราต้องรับผิดชอบเหมือนกัน แต่หัวหน้าจะมอบหมายให้แต่ละคนคอยพัฒนาระบบคนละอย่าง เช่น พยาบาลได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยคนละโรคที่อยู่ในตึก

  • เวลาทำงานเราจะมาแยกดูเฉพาะกลุ่มโรคเราไม่ได้ เราต้องดูทั้งหมด
  • แต่เวลาทำคู่มือ หรือพัฒนางาน พยาบาลแต่ละคนต้องงพัฒนาระบบเฉพาะกลุ่มโรคที่ตัวเองรับผิดชอบค่ะ

เรียนพี่แก้วค่ะ เคยคุยกะพี่แก้วเมื่อ มิ.ย. ครั้งหนึ่งค่ะ ดิฉันเป็นพยาบาล ให้ยาเคมีบำบัดแผนกผู้ป่วยนอก ได้ศึกษาคู่มือที่อาจารย์เสถียรและอาจารย์เรืองชัยสอน รวมทั้งของพี่แก้ว ที่อุดหนุนมาเป็นลัง ๆ ทั้งหน่วยงานค่ะ แต่ยังเขียนไม่ถึงไหน ได้รับประโยชน์จากคู่มือของพี่แก้วมาก ๆ ค่ะ

ตอนนี้ กำลังเขียนคู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัด แบบผู้ป่วยนอกโรง

พยาบาลสงขลานครินทร์ ค่ะ เรียนถามอาจารย์แก้ว ดังนี้

บทที่ 3 ต้องเขียนบอกถึงพยาธิสภาพ มาตรฐาน หรือแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำ

เหลือง มาตรฐานการใช้สูตรยา หรือชนิดยาที่ใช้รักษาโรคนี้ และมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด ตามที่

สภาการพยาบาล และกระทรวงศึกษาฯ กำหนดไว้ หรือ ที่พบว่าใช้ในโรงพยาบาลเรา ใช่หรือไม่คะ

บทที่ 4 เทคนิคการปฏิบัติงาน ตามคู่มือนี้ คือเทคนิคบริหารยาในผู้ป่วยโรคนี้ให้ปลอดภัย ถูกต้อง รวดเร็วทันเวลา

เทคนิคการให้บริการที่สร้างความประทับใจ พึงพอใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เทคนิคการสอนผู้รับบริการให้เข้า

ใจง่ายและให้ความร่วมมือปฏิบัติตามได้ ใช่หรือไม่คะ ต้องเขียนยกตัวอย่างลงไปถึงโครงการต่าง ๆที่มีอยู่

ในหน่วยงานเลยหรือเปล่าคะ เพื่อให้น้อง ๆ ที่อ่านคู่มือแล้วทำงานได้มีประสิทธิภาพ บทนี้เข้าใจยากจริง ๆ ค่ะ

ขอขอบพระคุณพี่แก้วล่วงหน้า ถ้ามีโอกาส ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดอยากเชิญพี่แก้วมาเป็นวิทยากรสอนทำคู่มือ

เพราะพยาบาล ย่อมเข้าใจว่าพยาบาลทำอะไร มากกว่าวิชาชีพอื่น ๆ และขออนุญาต มีชื่อพี่แก้วไว้เป็นเกียรติในกิติกรรมประกาศนะคะ หากเขียนคู่มือสำเร็จค่ะ

ขอให้พี่แก้วมีสุขภาพที่แข็งแรง ตลอดไปค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ

น้องพิมลขวัญ

คู่มือของ มอ มี 5 บท

บทที่ 3 น่าจะเป็นบทเหมือน ทบทวนเรื่องการรักษา  การใช้ยา อาการข้างเคียง การพยาบาล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 4 เป็นขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่โรงพยาบาลเราใช้ การนำไปใช้ ประเมินผล

บทที่ 5 ปัญหาและอุปสรรคที่นำคู่มือหรือแนวปฏิบัติไปใช้

ลองเขียนหัวข้อย่อยในบทมาดูอีกทีนะคะ

 

อยากเขียนคู่มือปฏิบัติงานคลินีกเคมีบำบัดสำหรับผู้ช่วยพพยาบาล แบบผู้ป่วยนอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท