โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

โครงการเพชิญความตายอย่างสงบ


ขอขอบคุณทีมวิทยากรที่นำสิ่งดีๆมาให้เราชาวโรงพยาบาลแม่สอดครับ

เมื่อวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลแม่สอดร่วมกับ -เสมสิกขาลัย และ พุทธิกา ได้จัดการอบรม "เพชิญความตายอย่างสงบ" โดยทีมวิทยากรนำโดย พระไพศาล วิสาโล- อาจารย์เต็มศักดิ์- อาจารย์กานดาวศรี- อาจารย์ทวัชชัย โตสิตระกูล และพี่สุ้ย (วรรณา) ที่ วัฒนาวิลเลจ อ.แม่สอด จ. ตาก

 

 พิธีเปิดโดยท่านผู้อำนวยการ รพ. แม่สอด (พญ. กนกนาถ พิศุทธิกุล)

มีผู้เข้าร่วมอบรม 36 คน ประกอบด้วย พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และ อาสาสมัครจิตอาสาเข้าร่วม 5 ท่าน (บุคคลภายนอก) ลักษณะการอบรมเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการยกประเด็นเกี่ยวกับความตายในทัศนะของแต่ละคน พูดคุยกับทีมวิทยากรอย่างเป็นกันเอง

 มีการจับคู่กันเล่น role play โดยสลับกันเป็นคนไข้ ได้ประสบการณ์ดีเพราะ ผมเองก็ไม่เคยเป็นคนไข้ (เลยได้รู้ถึงความรู้สึกเวลาที่ป่วย)

มีการทำภาวนาทำจิตให้สงบ ถึงแม้จะมีหลายศาสนา ทั้งพุทธ-คริสต์-อิสลาม แต่ไม่เป็นอุปสรรค เพราะเราเน้นที่ใจสงบ เพื่อให้จิตใจนิ่ง

มีการเขียนพินัยกรรมชีวิต - ปรากฏว่ามีการเปิดใจถึงความรู้สึกที่ผิดกับคนที่ผ่านมา เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า "การยกโทษให้อภัยตัวเองมันยากขนาดไหน"

ในคืนสุดท้ายมีการทำจิตเสมือนตาย และทางทีมวิทยากร ได้ปิดไฟมืด โดยมีเพียงเสียงของทีมวิทยากรที่น้อมนำจิตเราให้สงบ "เป็นการที่ให้เราได้รู้ว่า เวลาใกล้ตายการที่เราช่วยเหลือผู้ป่วยนั้นเหมือนเป็นการนำทางให้เขาผ่านพ้นความมืดมนไปได้"

การประชุมวันสุดท้าย เราลงเยี่ยมผู้ป่วยจริง ทุกคนได้ประสบการณ์ที่ดีมากมายครับ จนหลายคนเรียกร้องขอให้มี "เพชิญความตายอย่างสงบ advanced course "

ขอขอบคุณทีมวิทยากรที่นำสิ่งดี ๆ มาให้เราชาวโรงพยาบาลแม่สอดครับ

หมายเลขบันทึก: 165635เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2008 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ฟังชื่อเรื่องแล้วน่ากลัว  แต่ดูกระบวนการแล้วน่าสนน่าสนครับ

ขอบคุณลุงเอกที่สนใจครับ

P    ประชุมนี้ดำเนินการมาหลายปี ทั้งกลุ่มที่เป็นกลุ่มเฉพาะ เช่น รพ. และบุคคลทั่วไป มุง่เน้นพัฒนาตน เข้าใจชีวิต ถ้ามีโอกาสสแนะนำร่วมครับ

 P    ทีมเยี่ยมบ้าน รพ.ตสม.

ในเดือนเมษายน ผมเตรียมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่ รพ. แม่สอด 29 เมษายน ถ้าสนใจเข้าร่วมได้ครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  เคยมีประสบการณ์จริง ส่วนตัว ส่งคนที่กำลังจะสิ้นใจ มาแล้ว หลายคนเป็นความรู้สึกที่ดี ในฐานะผู้บอก เพราะเขาคงจะได้น้อมใจตามที่เราบอกเขาไป บอกเขา ว่ากำลังจะเดินทางไกล ถ้ามีคนถาม ถึงความดีงาม ให้ตอบแบบนี้( ถามญาติว่า งานบุญใด ที่เขาปิติใจมาก) บางคนก็ยังพยักหน้ารับปากกับเราได้

 เห็นด้วยกับโครงการนี้ ผลัดกันตาย ผลัดกันบอกทาง ดีค่ะ ขอสนับสนุน

สวัสดีครับน้องโรจน์

เป็นโครงการที่ยอดเยี่ยมมากเลยครับ

พี่เคยอบรม ผ่อนพักตระหนักรู้กับ เสมฯ  ดีมากๆเลยครับ

พี่สนใจทุกคอสเลยนะครับ...

เนี่ยถ้าชวนพี่ด้วยรับรองไปแน่นอนเลยนะครับ

เสียดายจัง ^_^

 

มีโครงการว่าจะจัดสักครั้งเมือนกันครับ

แต่ว่าตอนนี้ติดงบประมาณ...

คงต้องรอปีหน้าครับผม....

สวัสดีอาจารย์ค่ะ...กำลังจะมีโอกาสเข้าร่วมอบรม"การเผชิญความตายอย่างสงบ" ที่จะจัดโดย เสมสิขาลัย ช่วง 18-20 เมษายน 51 นี้ ที่กำแพงแสนค่ะ...คงจะได้พบประสบการณ์ดีๆจากทีมวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมด้วยเช่นกัน...เป็นกำลังใจให้กับทีมกัลยาณมิตร รพ.แม่สอดนะคะ... 

การเขียนพินัยกรรมชีวิต - ปรากฏว่ามีการเปิดใจถึงความรู้สึกที่ผิดกับคนที่ผ่านมา เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า "การยกโทษให้อภัยตัวเองมันยากขนาดไหน

อยากทราบรายละเอียดส่วนนี้เพิมขึ้นค่ะ

ว่าทำอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำไมจึ้งรู้สึกแบบนั้น น่าสนใจมาก ขอบคุณค่ะ

 ขอบคุณ

"ส่งคนที่กำลังจะสิ้นใจ มาแล้ว หลายคนเป็นความรู้สึกที่ดี ในฐานะผู้บอก เพราะเขาคงจะได้น้อมใจตามที่เราบอกเขาไป บอกเขา ว่ากำลังจะเดินทางไกล ถ้ามีคนถาม ถึงความดีงาม ให้ตอบแบบนี้( ถามญาติว่า งานบุญใด ที่เขาปิติใจมาก) บางคนก็ยังพยักหน้ารับปากกับเราได้"

ชอบครับ น้อมนำกุศลจิต พูดคล้ายกับท่านอาจารย์ไพศาลที่ว่า "กุศลจิตจะทำให้ผู้ป่วยสงบ นอกจากนี้ท่านยังแนะนำว่า " บางครั้งอาจให้ลูกหลานพูดถึงคุณงามความดีของผู้ป่วยที่เลี้ยงดูผู้ป่วยมาก็ได้" ก็ได้เหมือนกันครับ

สวัสดีครับพี่สุพันธ์

P 

ถ้าพี่สนใจลองเข้าไปติดต่อโดยตรงที่คุณสุ้ย (วรรณา) ตามเบอร์ติดต่อใน web site ของพุทธิกา http://www.budnet.info/

และยินดีกับ

P คุณ ไพรินทร์

ที่จะได้เข้าร่วมโครงการเพราะเป็นประสบกาณ์ที่ดีมากและขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้เราครับ

ทีมเราก็ขอเป็นกำลังใจให้คนที่มีความตั้งใจอย่างคุณไพรินทร์เช่นกันครับ 

 

P 
กระบวนการเรื่องนี้ เริ่มด้วยการสร้าง safe zone ทุกคนรู้สึกปลอดภัยที่จะพูด  หรือแสดงออกได้อย่างเต็มที่ มีการน้อมนำให้จิตสงบด้วยสมาธิ พูดประเด็นนอกตัว ก่อนที่จะเข้าถึงประเด็นอ่อนไหว (กระบวนกร มีส่วนช่วยอย่างมาก)
ในวันต่อมาเมื่อจิตสงบ พระอาจารย์ไพศาลให้พวกเราทำสมาธิ นึกถึงคนที่เราอยากจะพบมานั่งตรงหน้ารเ และ นิมิตถึง "ความดี" "ความไม่ดี" ของเขา แผ่เมตตาให้กับเขา เมื่อทำสมาธิเรียบร้อย ก็ให้เขียนถึงคนที่เรานึกถึง
เมื่อเขียนเสร็จ คนที่อยากจะอ่านให้เพื่อฟัง ก็อ่าน ใครอยากจะพูดถึงคนๆนั้นก็พูดถึง "โดยไม่บังคับ" คนครึ่งหนึ่งที่ร่วมกิจกรรมยอมเปิดเผย 100% เป็นความรู้สึกผิดและต้องการขอโทษ
ความยากเกิดขึ้นคือ แค่จะอ่านสิ่งที่ตัวเองเขียนให้จบก็แทบจะไม่ได้เพราะร้องไห้ตลอดเลย (ผมเองก็เช่นกัน) ทำให้ย้อนรำลึกเวลาที่เราดูคนไข้ก็เช่นกัน ที่จะให้คนไข้พูดถึงจุดที่เปราะบางของชีวิตมันยากจริงๆ
พอสุดท้ายทุกคนแสดงความรักต่อกันด้วยการ "กอด"
 พอตอนบ่ายก็กลับมาเล่าว่าตัวเองตอนเช้าเป็นอย่างไร
"เราลงลึกถึงจิตใต้สำนึกที่เก็บกดมานานได้จริงๆครับ"

นึกถึงคนที่เราอยากจะพบมานั่งตรงหน้าเรเและ นิมิตถึง "ความดี" "ความไม่ดี" ของเขา แผ่เมตตาให้กับเขา เมื่อทำสมาธิเรียบร้อย ก็ให้เขียนถึงคนที่เรานึกถึง

เมื่อเขียนเสร็จ คนที่อยากจะอ่านให้เพื่อฟัง ก็อ่าน ใครอยากจะพูดถึงคนๆนั้นก็พูดถึง "โดยไม่บังคับ" คนครึ่งหนึ่งที่ร่วมกิจกรรมยอมเปิดเผย 100% เป็นความรู้สึกผิดและต้องการขอโทษ

ถ้านึกถึงความดี  แต่ความไม่ดี  ที่เรานึกถึงด้วย แล้วเขียน

แล้วให้เราพูดถึงส่วนดีและส่วนไม่ดีด้วย โดยเปิดเผย คนที่นั่งฟังเราเป็นใครคะ จะรู้สึกอย่างไร เราจะกล้าพูดไหม

ขอบคุณค่ะ 

ขอบคุณน้องโรจน์สำหรับ ประสบการณ์ที่แลกเปลี่ยน และ การต้อนรับที่อบอุ่น จาก กัลยาณมิตร นะครับ

 

 

ขอบคุณอาจารย์เต็ม P     สำหรับประสบการณ์อันล้ำค่าครับ

หมายเหตุ : กอดครั้งที่ 2 ของอาจารย์อบอุ่นกว่าครั้งแรกเยอะเลยครับ

ขอบคุณอุบล สำหรับคำถามที่ดี ทำให้ผมได้ตกตะกอนความคิดออกมาเป็นบทเรียนครับ
หัวใจสีขาว(ลิสซี่)

สวัสดีค่ะ หมอโรจน์

ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการเผชิญความตายอย่างสงบของรพ.มหาวิทยาลัยนเรศวรและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากหมอโรจน์และเครือข่ายพุทธิกา ขอบคุณมากค่ะสิ่งดีๆเหล่านี้สามารถช่วยคนอื่นๆได้ค่ะ

สวัสดีครับ

คุณลิสซี่ ดีใจครับที่ได้รับประสบกาณ์จากโครงการนี้ ผมก็ได้รับประสบการณ์ที่มีค่าเช่นกันครับ

ปาริชาติ RN ศูนย์สุขภาพชุมชนหัวนา หนองบัวลำภู

อยากได้ตัวอย่างโครงการบ้างจัง เผื่อจะได้จัดอบรม เพราะเพิ่งได้รับงานดูลแผ้ป่วยระยะสุดท้าย ดูเป็นเรื่องเศร้า สำหรับทุกคน แต่มีคุณค่าเหลือเกินนะคะ ถ้าอาจารย์จำกรุณา หนูขอไฟล์โครงการเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานด้วยนะคะ

เพราะทำงานที่สถานีอนามัย ข้อมูลข่าวสารต่างๆมีน้อยค่ะ

สนใจลองติดต่อ มูลนิธิพุทธิกาได้ครับ เข้า webside http://www.budnet.org/ มีเบอร์ติดต่อได้ครับ(ติดต่อคุณอุ๋ย)

อบรมเพชิญความตายอย่างสงบมีทุกเดือนครับ

ยินดีส่ง file ให้ครับ แต่ให้ e-mail address ผมด้วยครับ

การอบรมนี้ ท่าทางน่ากลัวครับ ดูรูป

สวัสดีค่ะคุณหมอโรจน์ มาชมกิจกรรมดีๆ ที่เดี๋ยวนี้ไม่กลัวแล้วค่ะ ถ้าพูดถึงเรื่อง ความตาย

คิดถึงบรรยากาศแม่สอด ยิ่งวัฒนาวิลเลจนี่แบบ ยังจำภาพได้ติดตาแม้ไปเพียงครั้งเดียว ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท