การคิดเชิงสังเคราะห์ : แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ นศ.นานาชาติ ที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


หลักการแบบนี้ไม่ง่ายและก็ไม่ยากมากเกินไป หากเราฝึกฝนวิธีคิด การเขียน การเรียบเรียง การนำเสนอ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเติมเต็มสิ่งที่เราคิด ผมว่าพื้นที่เสมือนใน Gotoknow นี่หละครับ เป็นพื้นที่เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ของเรา

  <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การคิดเชิงสังเคราะห์ : แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ นศ.นานาชาติ ที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p>ผมอยากให้คุณช่วยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาให้หน่อย <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ดร.แสวง รวยสูงเนิน จาก ม.ขอนแก่น บอกให้ผมในระหว่างเดินทางไปมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเชียงราย พร้อมกับท่านอาจารย์เพื่อไปสอนนักศึกษานานาชาติในกลุ่ม GMS- Greater Maekong Sub-region ทั้งหมดเป็นเพื่อนบ้านของเราเอง </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">นับว่าเป็นโชคดีที่ผมได้มีโอกาสติดตามไปสังเกตการณ์การเรียนการสอน รวมถึงได้แลกเปลี่ยนกับ นศ.กลุ่มนี้ นอกจากที่จะได้เรียนรู้โดยตรงกับ อ.ดร.แสวง รวยสูงเนิน แบบใกล้ชิดแล้ว การแลกเปลี่ยนกับ นศ. ยังทำให้เราได้เห็นกระบวนการคิดของพวกเขาเหล่านั้น</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">นศ.กลุ่มนี้รับทุนของ ADB (Asian Development Bank) เข้ามาทำงานและศึกษาในประเทศไทยภายใต้การเรียนการสอนพร้อมโครงการที่จะต้องดำเนินการภายใต้ The NREM. Center (Natural Resources and environmental management) ตามลักษณะของงานที่ นศ.รับผิดชอบเป็นงานพัฒนาที่เน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ส่วนหนึ่งของงานที่ทำด้วยจะถูกพัฒนาขึ้นเป็น Thesis ในระดับปริญญาโทของพวกเขา</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ผมชื่นชอบการเรียนการสอนลักษณะแบบนี้ ผมมองว่าเป็นอิสระในการคิด เป็นอิสระในการค้นหาความรู้ เพียงแต่เราต้องเติมหลักการในการทำงานพัฒนาระดับชุมชนเข้าไปให้ชัด จากนั้นก็ประยุกต์ศาสตร์เหล่านี้ไปกับบริบทในประเทศของพวกเขา ซึ่งเรื่องของพื้นฐานก็ไม่ต่างจากประเทศไทยเรามากนัก</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า เราจะจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ นศ.กลุ่มนี้อย่างไร ให้พวกเขาได้ใช้หลักการวิธีการในการเข้าถึงชุมชน การเรียนรู้ชุมชน พัฒนาชุมชนโดยการนำเอาความรู้ขับเคลื่อน สร้างศักยภาพชุมชน (Empowerment) โดยทั้งหมดก็เป็นงานวิจัยและพัฒนาที่ผมทำอยู่ ในส่วนของ CBR (Community Based Research) </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ในช่วงค๊อฟฟี่เบรค ผมได้สนทนากับ นศ. ทั้ง ๕ คน (ลาว  ๒ คน เวียดนาม ๒ คน และ กัมพูชา ๑ คน) ได้รับทราบปัญหาของพวกเขาว่า ตอนนี้เขาได้เก็บข้อมูลพื้นฐานจากประเทศของพวกเขา จากชุมชนที่เป็นชุมชนเป้าหมายมาเรียบร้อยแล้วและได้ข้อมูลดิบมาส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ทราบวิธีการจัดการข้อมูล ตรงนี้สำคัญมากเพราะข้อมูลทั้งหมดจะต้องถูกนำมาเป็นรายงานเสนอให้กับแหล่งทุน ADB.</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การจัดการข้อมูลนั้นสำคัญมาก ใช้ความสามารถของ นศ. ในการ วิเคราะห์ (analysis) และ สังเคราะห์ (Synthesis) ระดับการจัดการข้อมูลที่เราใช้ส่วนใหญ่เป็นงานวิเคราะห์ให้เห็นรายละเอียด  ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลจึงไม่ยุ่งยากมาก ตรงไปตรงมาตามวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อมูล  แต่หากเป็นการสังเคราะห์เป็นเรื่องที่ยุ่งยากขึ้นมาทันที เพราะการสังเคราะห์เป็นการประมวลเอาข้อมูลทั้งหมดมาสร้างเพื่อเป็นโครงร่างใหม่ นักวิจัยจำเป็นต้องเป็นผู้ที่อ่านมาก มีความรู้มาก มีความสามารถในการเชื่อมโยงและจับประเด็น รวมถึงทักษะความสามารถในการเขียนความเรียงให้สละสลวย ถูกหลักวิชาการ อ่านง่าย นำไปใช้ได้  ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้ Blogger Gotoknow หลายๆท่านแสดงได้ถึงทักษะในการสังเคราะห์ข้อมูล(ถักทอ หรือ หลอมรวม)</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">นักศึกษาปริญญาโทของเมืองไทยเรามีปัญหามาก ในส่วนของการ สังเคราะห์ เพราะเมื่อได้ข้อมูลมามากมายแต่กลับไม่ได้นำข้อมูลมา ถักทอ+หลอมรวม ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆได้อย่างที่ควรจะได้ ข้อมูลจึงถูกนำมาเสนอแค่ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล เท่านั้น</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ถามว่า การคิดเชิงสังเคราะห์คืออะไร??  การคิดเชิงสังเคราะห์ คือความสามารถในการคิด ที่จะดึงองค์ประกอบต่างๆมาหลอมรวม หรือถักทอภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ถามว่า เรามีปัญหาในการคิดเชิงสังเคราะห์หรือไม่ ผมตอบได้เลยว่าถูกต้องเลยครับ …เราขาดทักษะตรงนี้เพราะระบบการศึกษาที่มีอยู่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพิการทักษะการคิดดังกล่าว </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ช่วงหลังๆผมก็ได้ทำงานรูปแบบสังเคราะห์บ่อยครั้งขึ้น เพื่อการจัดการข้อมูล จัดการความรู้เพื่อนำไปตอบโจทย์ใหม่ๆ จาก ทุนที่เรามีอยู่ โดยใช้หลักการสังเคราะห์ ตามขั้นตอนดังนี้ครับ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J กำหนดวัตถุประสงค์ของการสังเคราะห์</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J กำหนดขอบเขตเนื้อห(โครงร่าง) หรือประเด็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J กำหนดวิธีการ,กระบวนการ,แหล่งข้อมูล (จากไหนบ้าง เท่าใด อย่างไร กี่วิธีการ)</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J การคัดกรอง ดึงข้อมูล เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J จัดเรียงเข้าโครงร่าง หรือ ปรับโครงร่างใหม่</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J ทดสอบโครงร่างใหม่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลซ้ำอีกรอบ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J การนำไปใช้ประโยชน์ ในรูปแบบของการจัดทำหลักสูตร หรือบทเรียนในการทำงาน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">หลักการแบบนี้ไม่ง่ายและก็ไม่ยากมากเกินไป หากเราฝึกฝนวิธีคิด การเขียน การเรียบเรียง การนำเสนอ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเติมเต็มสิ่งที่เราคิด ผมว่าพื้นที่เสมือนใน Gotoknow นี่หละครับ เป็นพื้นที่เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ของเรา</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ ม.แม่ฟ้าหลวงวันนั้น ปัญหาใหม่ของผมกับ นศ. จึงอยู่ที่ การสื่อสาร ค่อนข้างมาก แต่ก็อยู่ในระดับที่พัฒนาได้ เข้าใจได้ ในวงการเรียนการสอนผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ นศ. บ้าง แต่ก็ลำบากพอสมควร(สำหรับผม) เพราะการเรียนการสอนที่นี่ใช้ภาษาอังกฤษล้วน ผมจึงได้โอกาสอีกช่องทางหนึ่ง(ที่ท้าทาย) โดยการใช้ภาษาอังกฤษแบบอะลิตเติ้ล Snake snake fish fish ของผมในการสื่อสาร ซึ่งก็ราบรื่นไปด้วยดี เพราะเราทั้งหมดใช้ภาษาอังกฤษแบบสำเนียง Asia ส่วนผมออกสำเนียงภาษาอังกฤษแบบ Asia + Lanna style อีกต่างหาก J</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p>        

หมายเลขบันทึก: 165077เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • การทำวิจัยของนักศึกษาป.โทมีปัญหาเรื่องการสังเคราะห์จริงๆค่ะ ตอนเรียนก็มีปัญหาตรงการเชื่อมโยงหรือการหลอมรวมเนื้อหาให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่นี่แหละ  อาจารย์ต้องอธิบายให้ฟังหลายเที่ยวแต่ก็ยังไม่ได้ดี ต้องแก้ไขอยู่หลายรอบ
  • พี่คิดว่าเราไม่ค่อยเข้าใจการเรียบเรียงเนื้อหา  ภาษาที่ใช้ และ  หลักการสังเคราะห์ที่นำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยของเรา  ส่วนใหญ่จะขียนกว้างเกินไป หรือบางที่ก็ไม่ครอบคลุม 
  • คุณเอกเขียนหลักการวิเคราะห์ให้เห็นชัดๆแบบนี้ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ให้รุ่นน้องที่กำลังเรียน Research ได้ศึกษาและปรับใช้
  • ขอบคุณค่ะ
  • โอ้วว พระเจ้ายอดดด มานนจอร์จจมากเล้ยยย
  • ข้อมูลแน่นมากครับพี่
  • ขอบคุณคร้าบบบ
  • ขออนุญาตนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางนะครับ
  • อิอิ

สวัสดีครับ อาจารย์จุฑารัตน์

ประเด็นการสังเคราะห์นี้ นอกจากหลักการที่ผมเขียนมาแล้ว (อาจยังไม่เคลียร์) เราคงต้องฝึกเป็นคนที่อ่านมาก เขียนมาก และ นำเสนอข้อมูลให้คนรอบข้างได้แลกเปลี่ยนด้วย อย่างที่ผมบอกว่าใน Gotoknow เป็นพื้นที่ที่ดี

ที่นี่ทำให้ความคิดเราตื่นอยู่เสมอ ที่นี่ทำให้เราอ่านมาก คิดมากขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล พร้อมสังเคราะห์ได้โดยไม่รู้ตัว

"เขียนงานสังเคราะห์ได้ดี อาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ"ครับ

ส่วนใหญ่บทที่ ๕ (ของ format การเขียนงานวิจัย) เป็นบทที่วัดกึ๋น นศ.ที่ทำ Thesis ครับ ว่ากันว่าปราบเซียน เป็นการประมวลทุกบทลงมาสรุป สังเคราะห์ให้เห็นภาพ

การเขียนหนังสือขึ้นมาสักเล่มก็เช่นเดียวกันครับ ใช้ทักษะการสังเคราะห์ ค่อนข้างมากโดยเฉพาะ งานเขียนที่เป็นเเบบถอดประสบการณ์

ขอเป็นกำลังใจให้ นศ.ที่กำลังเรียนอยู่ทุกคนครับ

-----------------

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับ น้องนายสายลม อักษรสุนทรีย์

ยินดีครับสำหรับการแลกเปลี่ยนและนำไปใช้

อย่างที่ผมเขียนไปนะครับ ต้องอาศัยการฝึกฝนครับ หลักการก็คงเป็นหลักการ เหมือนเขียนวิธีว่ายน้ำเก่งแต่ทฤษฏี หากไม่ฝึกว่ายน้ำ ว่ายไม่เป็น จมน้ำแน่ๆครับ

ขอบคุณมากครับ

จะสังเคราะห์ได้คงต้องมีฐานความรู้นั้นๆมาในระดับหนึ่ง ร่วมกับการคิดเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผมชอบคำว่า ถักทอ+หลอมรวมจริงๆครับ เห็นภาพเลยครับ --- เรื่องการสื่อสารกับชาวต่างชาติแบบ snake snake fish fish นี่ผมทำทุกวันเลยครับ เพราะต้องติดต่อกับลูกค้า จากพื้นฐานความเชื่อแบบห่ามๆของผมที่ว่า...ถ้าเราสื่อสารกันด้วยใจ ชาติไหนๆก็คุยกันรู้เรื่อง...ผมยอมรับเลยว่า Deep reading and Deep listening ช่วยผมได้มากจริงๆครับ

สวัสดีครับ คุณเอก

  • มหาวิทยาลัยของสมเด็จย่า ... ภูมิสถาปัตย์สวยไม๊ครับ :)
  • มีเวลาไปแวะที่ศูนย์จีนสิริธรหรือเปล่าครับ ฝึกวิทยายุทธกลับมาดูแข็งแรงขึ้นเยอะทีเดียว
  • นักศึกษาบ้านเรา ... ไม่ชอบอ่านหนังสือครับ โดยเฉพาะแถว ๆ ที่ทำงานผมเนี่ย
  • อ่านไม่เยอะ ก็รู้ไม่เยอะ ตอบก็ตอบไม่ได้ วิเคราะห์สังเคราะห์ยังคงห่างไกลครับ
  • ถ้าไม่มีใครมาช่วยฝึกฝน ... ตัวนักศึกษาเอง ถ้าใฝ่รู้จริง ทำไมจะลองฝึกด้วยตัวเองไม่ได้ใช่ไหมครับ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ เนี่ย
  • โห .. ข้อมูลแน่น จนผมปวดตับอีกแล้วครับ อิ อิ
  • แวะมาบอกว่า พรุ่งนี้ผมไปบรรยายให้กับครูเด็กเล็กฟังที่ อบจ.ลำพูนครับ ชีพจรลงเท้าเหมือนกันแฮะ

บุญรักษา ครับ :)

  • น่าสนใจมากเลยค่ะน้องเอก
  • ว่าแต่...หาเวลาส่วนตัวบ้างนะคะ อิอิ เป็นห่วง เดี๋ยวจะเป็นเหมือนพี่ๆอีกหลายคน

หวัดดีค่ะ.....มาแวะเป็นกำลังใจให้สนุกกับงานต่อไปนะคะ

Valentine

ขอบคุณครับสำหรับบันทึกนี้  ที่มีใคร ๆ ว่าคุณเอกไม่ได้เขียนอะไรที่เป็นระบบ  คงได้สมใจ

        ก็ดีนะครับ ผมก็เข้าใจหลักการคิดสังเคราะห์มากขึ้น แล้วก็เห็นด้วยจริง ๆ ว่าต้องอ่านมาก ต้องมีความรู้จากหลากหลายสาขา และหลายช่วงเวลาด้วย  กว่าจะสังเคราะห์เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ ไม่ง่ายนักนะครับ

             ชุดข้อมูลที่มีหากมีในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว  การสังเคราะห์ ออกมาก็ได้ในช่วงเวลาขณะนั้นด้วยใช่หรือไม่ครับ ( อันนี้เป็นคำถามครับ ) หรือว่าจำเป็นไหมครับว่า การสังเคราะห์ในข้อมูลชุดใด ต้องมีช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง  อย่างประวัติศาสตร์ของพื้นที่   ขั้นตอนการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของ สภาวะต่าง ๆ ในส่วนบุคคล หรือสังคม

            ขอบคุณมากครับ

สวัสดีวันแห่งความรักค่ะ

ความรักทำให้ หัวใจคนพองโต สร้างรอยยิ้ม ความสดใสทำให้คนแก่กลายเป็นหนุ่มได้นะค่ะ ไม่ต้องพอกหน้า คิคิ

 

 

สวัสดีครับคุณกบ ข้ามสีทันดร

เรื่อง "การสื่อสาร" ของผม คงต้องใช้ บ้างแล้ว แต่ก็เป็นอะไรที่ท้าทายดีนะครับ ผมมองว่าเป็นโอกาสที่ผมจะได้เรียนรู้ ใช้ ภาษาต่างด้าว

การสังเคราะห์ อยากให้มองเห็นเป็นแบบ ถักทอ และหลอมรวม จะเห็นชัดๆครับ การถักทอเหมือนเส้นด้ายแต่ละเส้นถักเข้าหากันเกิดลาย เกิดผ้าผืนใหม่ การหลอมรวม การนำส่วนผสมมามิกซ์รวมกันเป็น น้ำผักปั่นแบบนั้นครับ

ผมมักเปรียบให้เห็นแบบง่าย เช่น H2O ที่หมายถึง "น้ำ" เกิดจาก H 2 ตัว มาจับกับ O 1 ตัว  วิเคราะห์สูตรได้ดังนี้ H-O-H เมื่อสังเคราะห์เป็น H2O หรือ Water

ง่ายๆดี

 

 

สวัสดีครับ อ.Wasawat Deemarn

ม.แม่ฟ้าหลวงสวยด้วยภูมิสถาปัตย์ที่โดดเด่น สวยงามด้วยบรรยากาศที่สวยงามแวดล้อม แต่ผมมองว่าสิ่งอำนวยความสะดวกน้อยไปหน่อย เพราะอยู่นอกเมืองไปไกลพอสมควร ...แต่ก็ดีครับ เงียบและสงบดี

ส่วนศูนย์จีนสิริธรนั้นผมนั่งรถผ่านไปผ่านมา ผมชอบครับแต่ไม่มีโอกาสได้เข้าไปชม ตอนนี้กำลังแสดงนิทรรศการ"แสงหนึ่ง คือ รุ้งงาม" อยู่ครับ

เรื่อง นศ.ไม่ชอบอ่านหนังสือนี่เป็นปัญหาของเมืองไทยเลยครับ ไม่ใช่เฉพาะมหาวิทยายที่อาจารย์สอนอยู่ มีปัจจัยสาเหตุจากหลายๆอย่าง และรวมถึง ระบบการศึกษาของเราที่ไม่เอื้อให้คนได้คิดนอกกรอบ และตอนนี้หนังสือดีๆก็แพงนะครับ

น่าท้าทายดีเหมือนกันนะครับว่า เราจะมีกระบวนการให้เด็กรักการอ่านได้อย่างไร?

ทั้งมวลเป็นวัตถุดิบของการสังเคราะห์ อ่านมาก วิเคราะห์มาก คิดให้มาก ไม่ขัดสนถ้อยคำ ฝึกทักษะการเขียนไปด้วย แบบนี้ทำงานสังเคราะห์ก็ง่ายนิดเดียวครับ

ขอบคุณครับที่มาเติมเต็มนะครับ

หากอยู่ไม่ไกลจาก อบจ.ลำพูน อยากแอบไปฟังบรรยายด้วยจังครับ

:)

นำบรรยากาศมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับผม

 

 

 

 

 

happy วันแห่งความรักนะครับ

มีความสุขนะครับ 

 

นิยาม ความรัก

ดิน : ฝากอวยพรวันวาเลนไทน์  ขอให้ลุงเอกมีความสุขมาก ๆ ครับ

น้องแดน : เอาหมี และดอกไม้มาฝากลุงเอกนะครับ  (เป็นคำพูดหลาน ๆ ที่บอกให้พิมพ์)

การวิเคราะห์นั้น แยกแยะหาสาระสำคัญ ว่าอยู่ตรงไหน กวาดขยะออกไป ค่อนข้างตรงไปตรงมา

แต่ ก็อาจไม่ง่ายนักสำหรับบางคน

สำหรับการสังเคราะห์นั้น ผมยังมองว่ามีความหมายไกลกว่าการถักทอครับ

ถ้าจะเทียบไป ในประเด็นการถักทอ น่าจะกินความตั้งแต่

  • ปั่นด้าย ควั่นเกลียว ให้เชื่อมโยงเส้นใย ที่ได้จากการ "สังเคราะห์" ให้มาเป็นเส้นเดียวกัน
  • คัดเลือก แยกแยะ "ด้าย" มาทอเป็นผ้า
  • คัดเลือกผ้า มาทำเป็นของใช้ เครื่องนุ่งห่ม หรือเครื่องมือ
  • นำเสื้อผ้ามาตกแต่งให้พร้อมกับการใช้จริง จนเหมาะกับคนที่จะใช้

ขั้นตอนจริงๆ อาจมากน้อย กว่านี้ขึ้นอยู่กับระดับการใช้งาน

เราจึงเรียกว่า "ชั้น" ของการสังเคราะห์

ถ้ามองเป็นอาหารจะเห็นขั้นตอนที่ชัดเจนกว่า แต่จะมองการสังเคราะห์ยากนิดหนึ่งสำหรับบางคน

เช่น จะเป็นไข่ลูกเขย ต้องผ่านการเป็นไข่ต้มมาก่อน แล้วนำมาทอด ที่ในทุกขั้นตอนก่อนสำเร็จนั้น บริโภคได้ทั้งนั้น

แต่ทำไมต้องทำต่อ

นี่คือ ศิลปะ และเป้าหมายของการวิเคราะห์

เสร็จ ไม่เสร็จ อยู่ที่เป้าหมาย (ที่แตกต่างกัน)

เราจึงมีหลายระดับการวิเคราะห์ ตามระดับความคิด หรือการศึกษา

เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้.........

 

สวัสดีครับ คุณเอก

บุญรักษา ครับ :)

ขอบคุณ ท่าน ดร. แสวง รวยสูงเนิน ครับ ที่มาช่วยเติมเต็ม ขยายความ "การสังเคราะห์" ให้เห็นภาพชัดมากขึ้น

ถักทอ เป็นการเปรียบการสังเคราะห์ระดับหนึ่ง

หลอมรวม ก็เป็นการสังเคราะห์ที่เป็นอีกระดับที่ต่างกันในการได้โครงร่างใหม่

ขอบคุณมากครับผม

สวัสดีครับวันแห่งความรัก และทุกๆวันขอให้เรามอบความรักให้แก่กันและกัน

วันแห่งความรักปีนี้ ผมไปทำงานอีกเช่นเคย ไปเป็นวิทยากรกระบวนการที่โครงการหลวงแห่งหนึ่งครับ ...คงจะได้แต่งกับงานแล้วครับ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขมากๆครับPน้องมะเดี่ยวPพี่ อ.ลูกหว้าPครูแอนPพี่ อ.ธวัช Pคุณสุดทางบูรพา

 และครูเอ , คุณสุมิตรชัย

และ Pพร้อมกับหลานของผมทั้งสองคน (แผ่นดิน และแดนไท)

 

-------------

คุณสุมิตรชัย ครับ

คำถามที่คุณถามมานั้น ผมขอให้ความเห็นต่อดังนี้ครับ งานสังเคราะห์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ครับ หากเป็นงานที่ต้องสังเคราะห์มีบริบทของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง จำเป็นอย่างยิ่งครับ ที่ต้องสังเคราะห์ตามนั้น ไม่งั้นแล้วข้อมูลสังเคราะห์นั้นก็จะตอบคำถามวัตถุประสงค์ไม่ได้

เป็นงานสังเคราะห์ที่มีชีวิตและพัฒนาการครับ

 

สวัสดีครับ อาจารย์ Wasawatdemarn

P

ในโลกเสมือน และโลกแห่งความจริง ...ด้วยความจริงใจ สายใยมิตรภาพจึงยึดโยงกันได้ อย่างสนิทใจ เราล้วนได้สัมผัสสัญญะอันอ่อนโยนจากความรู้สึกข้างใน

มิตรภาพที่ผมได้รับจากเพื่อนในโลกเสมือน ประจักษ์กับผมครั้งแล้วครั้งเล่า ...ส่วนหนึ่งติดตามอ่านได้จากบันทึกของผม

ผมไม่รู้ว่าใครเขาจะคิดยังไงกับการโลดเเล่นในโลกเสมือนโดยเฉพาะที่ Gotoknow  สำหรับผมแล้ว ที่นี่เป็นห้องเรียนให้ผมได้เรียนรู้ที่กว้างใหญ่ ผมเติบโตขึ้นเรื่อยๆอย่างมีพัฒนาการ โดยมี "มิตรภาพ" เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงระหว่างทาง

ขอบคุณครับ...ผมขอขอบคุณ

ผมได้ติดตามข้อเขียนอาจารย์อยู่เสมอ ...ผมมักบอกกับเพื่อนผม หรือคนที่ผมรู้จักหลายๆคนว่า บันทึกของอาจารย์เป็นการแสดงความเป็นตัวตนผ่านความคิด ลงสู่การเขียนที่มีชีวิต มีเสน่ห์และผมสัมผัสความจริงใจในแต่ละช่องไฟของอักษร

ดีใจ และ ได้เกียรติ

ผมเขียนบันทึกมานานพอสมควรครับ และการถ่ายทอดความรู้ ผ่านประสบการณ์ เป็นการเล่าเรื่องผ่าน สถานที่ บุคคล และบริบทแวดล้อมที่ผ่านเข้ามาแต่ละช่วง เพื่อให้เป็นข้อมูลในการเติมเต็มจากผู้ที่เข้ามาอ่าน หากบันทึกของผมมีประโยชน์บ้างไม่ว่าจะในแง่ใดก็ตาม ...ผมมีความสุขมากครับ เป็นอีกภารกิจในการช่วยเหลือสังคมของผม

เรื่องที่คาดไม่ถึง

วันนี้มีผู้อ่านที่ติดตามอ่านบันทึกผมมานาน โดยใช้นามแฝงไม่ลงทะเบียน ท่านผู้อ่านคนนี้ได้โทรศัพท์มาพูดคุย ...หลายเรื่องราว ทราบว่าท่านเป็นทหาร และเป็นพี่ลูกช้างที่รหัสห่างกับผมหลายสิบปี ในระหว่างการสนทนา ท่านได้เขียนกลอนและได้อ่านบทกลอนนั้นผ่านโทรศัพท์ให้ผมได้ฟัง ด้วยน้ำเสียงที่ดังกังวาน...

ยังมีอีกหลายเรื่องราว

ที่คิด (ไม่)ถึง ...และจะเราจะพบความหัศจรรย์ของคนเขียนบันทึกเรื่อยๆไป

และวันนี้เอง 

บันทึก คิด(ไม่) ถึง  ของ อาจารย์   ก็ทำให้ผมมีความสุขมากครับ

-------------------------------------------------------------

พร้อมกันนี้ผมขอขอบคุณ Blogger ที่ได้ให้เกียรติ Tag ผมมา ณ บันทึกนี้ด้วยครับ

PP 

  • เดี๋ยวนี้จะมาเยี่ยมเยือนห่างหน่อยนึงนะคะ ...แต่ก็ต้องมา ..รู้ว่ามีอะไรดีๆ รออยู่
  • ได้ประโยชน์มากๆลย คุณเอกสรุปได้ดีมาก เข้าใจง่าย แหววชอบมาก เพราะรู้สึกว่า ในระดับคนทำงานแม้แต่ระดับสูงบางครั้งยังขาดทักษะนี้เลย นับประสาอะไรกับเด็กๆ  แถมบางคนถามอีก ว่าการคิดสังเคราะห์คืออะไร (ผู้ใหญ่นะคะ) แหววเลยถึงบางอ้อ! ซึ่งทุกครั้งก็อธิบายไปตามความเข้าใจ ซึ่งดูไม่เป็นวิชาการเลยแฮะ เนื่องจากว่า ต้นฉบับที่อ่านและจดจำมานั้นไม่รู้ไปไหนแล้ว...เลยอธิบายจากประสบการณ์ ....คราวหนี้เลยต้องขอนำไปใช้ด้วยคนนะคะ..ขอบคุณคุณเอกผู้เป็นตัวอย่างของคนที่มีทักษะด้านนี้เป็นอย่างดีทีเดียวค่ะ...

สวัสดีครับคุณแหวว พชรวรัตถ์ แสงทองชนาพงศ์ ครับ

มาเยือนกันบ่อยๆนะครับ เดี๋ยวความคิดถึงทำงานหนัก :)

สวัสดีวันวาเลนไทน์ด้วยครับ

ตามจริงการสังเคราะห์ใช้ทักษะผ่านประสบการณ์ อาศัยการเขียนเป็นหลัก และ วิธีการคิด การอ่าน การเชื่อมโยง

จะว่ายากก็ยากหากไม่ฝึกฝนครับ

ขอบคุณครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท