หน้าที่ของอธิการบดีที่กล่าวไว้ใน พ.ร.บ.ในกำกับ


          ขอให้ พ.ร.บ.มน. ในกำกับ เข้าแก๊บสุภาษิต "ช้าๆ ได้พร้า เล่มงาม" เถิด

          ดิฉันยังไม่ละความพยายามที่จะศึกษาทีละมาตรา  ทีละมาตรา อยู่นะคะ แม้จะเว้นช่วงไประยะหนึ่ง (ไปเครียดเรื่องอื่นแทน) แต่ก็จะไม่ละความพยายามต่อไป

          วันนี้ลองดูมาตราที่เกี่ยวกับ หน้าที่ของอธิการบดี ในร่าง พ.ร.บ. ในกำกับแก้ไขล่าสุด  ยังพบข้อบกพร่องต้องแก้ไข (ถึงว่า ว่า ดีนะ...ช้าๆ อาจได้พร้าเล่มงาม)

          ตามตารางเปรียบเทียบข้างล่าง พ.ร.บ. มน. มาตรา ๓๐ วรรค ๓ กล่าวว่า

          ในกรณีที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งหรือกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการ อนุกรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาการแทนหรือผู้ปฏิบัติการแทนทำหน้าที่กรรมการ อนุกรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ในระหว่างที่รักษาการแทนหรือปฏิบัติการแทนด้วยแล้วแต่กรณี เว้นแต่ผู้มอบอำนาจจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในคำสั่งมอบอำนาจ

          คำว่า ตำแหน่งใด หมายถึงตำแหน่งอธิการบดี  จะเป็นตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากอธิการบดีไปไม่ได้  เพราะยังไม่มีมาตราใดก่อนหน้านี้  ที่กล่าวถึงตำแหน่งอื่นเลย ในขณะที่ มาตรา ๓๑  ๓๒  ๓๓  ถ้ดมาใน พ.ร.บ.มน. กล่าวถึงตำแหน่งอื่นๆ ที่รองจากอธิการบดีลงมาเป็นลำดับ  ดังนั้น มาตรานี้  ควรเปลี่ยนคำว่า ตำแหน่งใด  เป็น ตำแหน่งอธิการบดี  ให้ชัดๆ อย่างของ ม.มหิดล

          เข้าใจว่า วรรคดังกล่าว ล้อมาจาก พ.ร.บ. จุฬา  ซึ่งเรียงลำดับเนื้อความของมาตราต่างกับของ มน. โดยของ จฬ. จะกล่าวถึง ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่ อธิการบดี  รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี  รองคณบดี ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้าและรองหัวหน้าส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น..... จนหมดก่อน  แล้วจึงมาขึ้นมาตราที่ว่าด้วยการรักษาราชการแทน ซึ่งมีเนื้อความเหมือน มาตราที่ ๓๐ ของ พ.ร.บ.มน. ดังกล่าวข้างต้น หากเป็นเช่นนี้ ก็ไม่มีอะไรต้องกังขา ใช้คำว่า ตำแหน่งใด ได้อยู่แล้ว

 

พ.ร.บ. มน. 

พ.ร.บ. ม.มหิดล 

มาตรา ๒๙
    อธิการบดีเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยในกิจการทั้งปวง และโดยเฉพาะ ให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

มาตรา ๓๔
    อธิการบดีเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยในกิจการทั้งปวง ให้มีอํานาจและหน้าที่ ดังนี้

  (๑)  บริหารกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศ รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย

  (๑)  บริหารกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และนโยบายของมหาวิทยาลัย
  (๒)  บริหารงานบุคลากร การเงิน การคลัง การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของมหาวิทยาลัย   (๒)   บริหารการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินอื่นของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัย
    (๓)  แต่งตั้งและถอดถอนผู้ช่วยอธิการบดี รองคณบดี รองผู้อํานวยการ รองหัวหน้าส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น หัวหน้าหน่วยงานภายในของส่วนงานตามมาตรา ๑๐ วรรคห้า รองหัวหน้าหน่วยงานภายในของส่วนงานตามมาตรา ๑๐ วรรคห้า ผู้อํานวยการโรงพยาบาล รองผู้อํานวยการโรงพยาบาล และอาจารย์พิเศษ
  (๓) บรรจุ แต่งตั้ง และถอดถอนพนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัย รวมทั้งดำเนินการบริหารงานบุคคลตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย   (๔)  บรรจุ แต่งตั้ง ดําเนินการทางวินัย และถอดถอนพนักงานมหาวิทยาลัย รวมทั้งดำเนินการบริหารงานบุคคลตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย  
  (๔) จัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยและดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแผนงาน รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย   (๕) จัดทําแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ โดยปฏิบัติตามนโยบายและแผนงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดําเนินงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย 
  (๕) จัดหาทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุความเป็นเลิศทางวิชาการ   (๖)  จัดหารายได้ และทรัพยากรอื่นจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดําเนินภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และจัดทํางบประมาณรายรับและรายจ่ายเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย  
  (๖) จัดทำงบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย  
  (๗) เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยต่อสภามหาวิทยาลัย   (๗)  เสนอรายงานประจําปีเกี่ยวกับกิจการด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยต่อสภามหาวิทยาลัย 
  (๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของมหาวิทยาลัย หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย (๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัย หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย 

มาตรา ๓๐
    ในกรณีที่อธิการบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองอธิการบดีเป็นผู้รักษาการแทน ถ้ามีรองอธิการบดีหลายคนให้รองอธิการบดีที่อธิการบดีมอบหมายเป็นผู้รักษาการแทน ถ้าอธิการบดีมิได้มอบหมาย ให้รองอธิการบดีที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้รักษาการแทน 

มาตรา ๔๑
     ในกรณีที่ ผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองอธิการบดี เป็นผู้รักษาการแทน ถ้ามีรองอธิการบดีหลายคนให้รองอธิการบดีที่ อธิการบดีมอบหมายเป็นผู้รักษาการแทน
ถ้าอธิการบดีมิได้มอบหมาย ให้รองอธิการบดีที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้รักษาการแทน
    ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี หรือไม่มีผู้รักษาการแทนอธิการบดีตามความในวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ เป็นผู้รักษาการแทน      ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี หรือไม่มีผู้รักษาการแทนอธิการบดีตามวรรคหนึ่งหรือมี่แต่ไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้  ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง เป็นผู้รักษาการแทน ให้ผู้รักษาการแทนมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดํารงตําแหน่งนั้น
   ในกรณีที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งหรือกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการ อนุกรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาการแทนหรือผู้ปฏิบัติการแทนทำหน้าที่กรรมการ อนุกรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ในระหว่างที่รักษาการแทนหรือปฏิบัติการแทนด้วยแล้วแต่กรณี เว้นแต่ผู้มอบอำนาจจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในคำสั่งมอบอำนาจ      ในกรณีที่มีกฎหมายแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตําแหน่งอธิการบดีเป็นกรรมการหรือให้มีอํานาจและหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาการแทนมีอํานาจและหน้าที่ เป็นกรรมการ หรือมีอํานาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดํารงตําแหน่งนั้นในระหว่างรักษาการแทนด้วย 
หมายเลขบันทึก: 162198เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท