“วิจัยท้องถิ่นกับการพัฒนาภาคใต้”


  

“วิจัยท้องถิ่นกับการพัฒนาภาคใต้”

                ภารกิจของหน่วยจัดการความรู้ฯในรอบสัปดาห์ที่ 18-22 กค.ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมเวที “วิจัยท้องถิ่นกับการพัฒนาภาคใต้”วันที่ 19-20 กค.48 ณ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เวทีนี้เป็นเวทีที่มุ่งนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เผยแพร่และสร้างความร่วมมือการดำเนินงานเพื่อท้องถิ่นกับฝ่ายต่าง ๆ อีกทั้งยังร่วมกันแสวงหาทิศทาง การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ด้วย
                เวทีในวันแรก

                ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีกล่าวเปิดงาน จากนั้นคุณประยงค์ รณรงค์ ได้ปาฐกถานำเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้” โดยท่านให้ข้อคิดว่า ในสังคมปัจจุบันควรจะเอาประสบการณ์ของผู้สูงอายุและเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาร่วมมือกันทำกิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนาท้องถิ่นของตน เนื่องจากภาคใต้มีทรัพยากร ที่อุดมสมบูรณ์ แต่ขาดความรู้ในการใช้ทรัพยากร ดังนั้นทุกคนควรจะให้ความร่วมมือกันเพื่อที่จะทำให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

                ฉันเข้าฟังการเสวนาห้องย่อยเรื่อง “ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น”

พูดถึงเรื่อง 1)การฟื้นฟูขนมพื้นบ้านมุสลิมบ้านท่ามาลัย ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล เพื่อเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า ให้คนได้เห็นคุณค่า และสร้างสายใยความผูกพันกันของคนในครอบครัวและชุมชน จึงก่อให้เกิดโครงการนี้ขึ้น ผลที่ได้ทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี(วามสัมพันธ์) คนทำงานมีประสบการณ์มากขึ้น ภูมิปัญญาได้สืบทอดให้ลูกหลาน

                  2)ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น “กรณีถังแดง”กิ่งอ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง เป็นการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนกับประชาชนในพื้นที่ภาคใต้อย่างรุนแรง มีการทารุณกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ “ถีบลงเขา เผาลงถังแดง”คนในชุมชนรับรู้เรื่องราวและสาเหตุแตกต่างกันก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งประชาชน รัฐ ผู้นำท้องถิ่นจึงมีการศึกษาเรื่องนี้ ผลที่ได้ทำให้รับรู้เรื่องราวเหตุกาณ์ “ถังแดง”อย่างถูกต้องชัดเจน สร้างทัศนคติที่ดีต่อ “คอมมิวนิสต์”ที่เคยมีในอดีต
                  3)อนุรักษ์ และส่งเสริมศิลปะการทำกริชรามันห์ ต.ตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา

                  4)อนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาลายผ้านาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง เนื่องจากคนรุ่นใหม่ของนาหมื่นศรีแทบจะไม่รู้จักชื่อลายผ้าดั้งเดิมของท้องถิ่นตัวเอง จึงได้ตระหนักและหาวิธีการที่จะสืบทอดอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับลายผ้าทอนาหมื่นศรีนี้ไว้จึงเกิดการศึกษา ผลที่ได้คือรู้สึกภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตนเอง สร้างสายใยกันในท้องถิ่น และสามารถอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาไปชั่วลูกชั่วหลาน

                  5)พลวัตวัฒนธรรมชาวสวนยางพารา ต.ท่ายาง อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีฯ
                จะสังเกตได้ว่าการศึกษาในแต่ละเรื่องของชาวบ้านเริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ และพยายามที่จะหาคำตอบและหาวิธีการแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการ/วิธีการและก็ถอดออกมาเป็นบทเรียนที่เกิดจากการปฏิบัติจริงของชาวบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญและควรสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยของชุมชนมีอย่างต่อเนื่อง นอกจากให้ชุมชนได้ปฏิบัติจริงแล้วยังทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนในชุมชน(ก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดี)และหน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการเชื่อมโยงการทำงานที่ดีและควรที่จะต่อยอดและขยายผลไปสู่วงกว้าง

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1614เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2005 07:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท