กับดัก KM ที่กำลังกลายเป็น Deadlock : หลุมพรางจากแบบฟอร์มที่4 (ฉบับ ก.พ.ร. )


"การจัดการความรู้ภาคราชการ(ฉบับ ก.พ.ร.) กำลังมุ่งหน้าสู่ กับดักKMที่จะกลายเป็น deadlock ในที่สุด"

            จากการแลกเปลี่ยนในการประชุม KM  ภาคีภาคราชการ ของสคส. ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่ห้องประชุมจุฬาภรณ์   โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 49 ที่ผ่านมา  มีการตั้งข้อสังเกตจากอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ว่าให้ระมัดระวัง ในการกรอกเอกสารตามแบบฟอร์มที่ 4 (ฉบับ ก.พ.ร. )  และหลังการประชุมในการพูดคุยกันผมได้ฝากกับท่านอาจารย์ประพนธ์ให้ช่วยคิดดังๆด้วยว่าจะเตือนกันอย่างไรถึง  กับดักKM :หลุมพรางจากแบบฟอร์มที่4 (ฉบับ ก.พ.ร. )ดังนั้นขอคิดดังๆดังนี้นะครับ
            เนื่องจากกรอบการคิดแผนปฏิบัติการKMปี2549  ใน Model ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ  เป็นการวิเคราะห์และเชื่อมโยงแบบฟอร์มต่างๆจนกระทั่งลงสู่แบบฟอร์มงบประมาณในที่สุด   ในแบบฟอร์มดังกล่าวมีจุดเสี่ยง( Critical point ) อยู่ที่แบบฟอร์มที่ 4 ทั้งในส่วนของขอบเขต KM (KM Focus Area) และเป้าหมาย KM  (Desired State)  และองค์ความรู้ที่จะใช้ในขอบเขตKM ดังกล่าว(ทั้งEKและTK)โดยจุดเสี่ยงดังกล่าวอยู่ที่ทั้งในส่วนขอบเขตKMและองค์ความรู้ (ทั้งExplicit Knowledge และTacit Knowledge) ว่ามีการตรวจสอบความถูกต้องทางเนื้อหา (Content Analysis )จากผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาดังกล่าวหรือไม่ (ไม่ใช่ตรวจสอบด้านกระบวนการนะครับ)  เพราะหากในแบบฟอร์มที่ 4 กำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ผิดพลาด ก็จะเกิดปรากฏการณ์  สร้างบ้านได้ดีตามแบบ(ที่ผิดพลาด) หรือ มีประสิทธิภาพแต่ขาดประสิทธิผล ขึ้นด้วยเหตุเพราะ   ในแบบฟอร์มที่ 11(แผนการจัดการความรู้)  แบบฟอร์มที่ 12(แผนบริหารการเปลี่ยนแปลง)    แบบฟอร์มที่ 13(แผนโครงการ/กิจกรรม/งบประมาณ) จะถูกยึดโยงมาจากแบบฟอร์มที่ 4(ที่ผิดพลาด) แล้วทั้งนั้น  ดังนั้นโครงการ/กิจกรรมที่กำหนดขึ้น(บนพื้นฐานที่ผิดพลาด)และเมื่อนำไปสู่การปฏิบัติย่อมจะไม่สามารถส่งผลให้เกิดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ในระดับยุทธศาสตร์ได้เลย  (จากการจัดการความรู้ที่ขาดพลังขับเคลื่อน) 
  
             ด้วยบริบทของระบบราชการไทย    คงไม่สามารถคาดหวังว่าการจัดความรู้ภาคราชการจะมุ่งหวังได้ทั้งระดับoutput(ระดับคะแนน)  และได้ระดับOutcome(ระดับผลสัมฤทธิ์มุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้(LO.)อย่างแท้จริง)   เพราะการจัดการความรู้ภาคราชการจะถูกยึดโยงเข้ากับระบบประเมินผล(ระดับคะแนน)ตามกรอบการปฏิบัติในแบบฟอร์มดังกล่าวและผ่านวิธีปฏิบัติด้วยระบบคิด(ด้วยการปฏิบัติงานผ่านโครงการ/กิจกรรมตามแบบฟอร์มต่างๆ)แบบระบบราชการ   

            ด้วยเหตุข้างต้นตามปรากฏการณ์ดังกล่าว    จากนี้ต่อไป    การจัดการความรู้ภาคราชการ(ฉบับ ก.พ.ร.) กำลังมุ่งหน้าสู่  กับดักKMที่จะกลายเป็น  deadlock ในที่สุด    และต่อจากนี้  การจัดการความรู้ภาคราชการจะก้าวต่อไปอย่างไร  เชิญร่วมกันแลกเปลี่ยนและขอช่วยกันคิดดังๆนะครับ

                                                  พรสกล  ณ ศรีโต

                                                  20/2/2549

หมายเลขบันทึก: 16113เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท