สู่เสียมเรียบ อลังการประวัติศาสตร์ภูมิภาค


ชาวเขมรโบราณหรือขอม ตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้มาร่วม 2 พันปี มีวิวัฒนาการเจริญทีละขั้น ด้วยอิทธิพลของอินเดียและชวา

เล่าเรื่อง ตนเลสาป ชีวิตริมน้ำชาวเขมรไว้อีกบล็อกหนึ่ง(Riverlife) แต่ขอนำประสบการณ์ส่วนอื่นๆที่ได้ไปพบเห็นและรับรู้มาจากการไปเยือนกัมพูชามาเล่าไว้ที่นี่นะคะ

การได้ไปเห็นและอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่สร้างจินตนาการย้อนกลับไปได้เป็นพันปีนั้นน่าตื่นเต้น และทำให้เมื่อกลับมาเมืองไทยต้องไปขุดหนังสือ Angkor: Cities and Temples โดยCluad Jacques and Michalel Freeman เล่มหนาปึ้ก หนักมากที่อยู่ในคลังหนังสือของคนข้างกายขึ้นมาอ่านและค้นคว้าต่อ ยิ่งทำให้รู้สึกมหัศจรรย์กับความอลังการของดินแดนแห่งประวัติศาสตร์นี้เป็นทวีคูณ

เสียดายที่ไม่ได้ทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวเชิงวิชาการที่ดี คือค้นคว้า อ่านเรื่องราวไปก่อนแล้วเมื่อไปเห็นของจริงจะทำให้เข้าใจและซาบซึ้งยิ่งขึ้น ยอมรับว่าพอไปถึงสถานที่จริงของนครวัด นครธม ออกจะเหนื่อยและร้อน บางทีขี้เกียจฟังไกด์(หนุ่มเขมรแต่พูดภาษาอังกฤษดีมาก ที่จริงสามารถหาไกด์ท้องถิ่นที่พูดไทยได้คล่องแต่เราไม่ทันคิด) ไปนั่งหลบเอาเงาร่มบ้าง พักเมื่อยขาบ้าง คราใดที่ได้ฟังคำบรรยายก็จะได้รู้เรื่องดีๆ และคำอธิบายที่สร้างความประทับใจในความช่างคิด ความอุตสาหะเกินกว่าคนยุคนี้จะเข้าใจ ก็คิดดูนะคะ เล่นขนหินมาสร้างวัด สร้างปราสาทเป็นร้อยแห่ง แถมแกะสลักเรื่องราวถ่ายทอดตำนาน ความคิด ความเชื่อและชีวิตในยุคสมัยนั้นให้พวกเราที่มาทีหลังเป็นพันปีได้รับรู้

เรื่องราวที่นำมาเล่าต่อไปนี้จึงมีที่มาทั้งจากไกด์ จากหนังสือดังกล่าว และจากบล็อกของบริษัททัวร์ที่ค่อนข้างวิชาการ และเป็นมืออาชีพ คือสวัสดีฮอลิเดย์ทัวร์ ไม่ได้โฆษณานะคะ เขาเขียนละเอียดยิบ แต่นำมาเล่าต่อบางส่วน ผู้สนใจก็ตามไปอ่านไปดูภาพสวยๆได้ค่ะที่http://my.opera.com/sawasdeeholidays/blog/show.dml/287657 <p>เอาล่ะค่ะ เริ่มด้วยจากเมืองไทย บินด้วยบางกอกแอร์เวย์ แค่ ๓๕ นาทีก็ถึงเสียมเรียบ</p><p></p><p>(จะลงภาพให้ชม ระบบไม่รับค่ะ จะลองทีหลังนะคะ)</p><p>เราพักที่โรงแรม Prince D’Angkor </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เมืองเสียมเรียบ (ประชากรประมาณ 8 แสนกว่าคน)
ที่ออกเสียงแบบเขมรและแปลแบบเขมร มีความหมายว่า เมืองที่สยามแพ้ราบเรียบ” </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ความจริงมีทั้งแพ้และชนะ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และเมื่อเราเคยชนะ ทางไทยก็เรียกว่า “สยามรัฐ” ความหมายคือ “รัฐของไทย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่เรานิยมก็เรียกแบบผสมไทย-เขมร ว่า เสียมราฐ

ไหนๆมาถึงบ้านพี่เมืองน้อง ก็ต้องทักทายกันด้วยการสวัสดี </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ซัวสะเดย เป็นรากคำใช้ทักทายทั่วไปว่า สวัสดี แล้วก็เติมช่วงเวลาไว้ข้างหน้า </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เช่น อรุณซัวสะเดย, ทิเวีย (ทิวา) ซัวสะเดย, สายันซัวสะเดย, ระเตีย (ราตรี) ซัวสะเดย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">น่ารักดีนะคะคำดูคุ้นๆ คำในภาษาเขมรจำนวนมากที่คนไทยรับมาใช้และคุ้นหู ค้นตา มักเป็นศัพท์สูงและราชาศัพท์</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">
สถานที่เที่ยวซึ่งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ต้องออกจากตัวเมืองเสียมเรียบ
ที่ที่จะไปเที่ยวชมกันเป็นอาณาจักรโบราณของชาวขอม (เขมร)
เขมร เรียกว่า นอกอร์ และ นอกอร์ธม

ไทย เรียกว่า นครและ นครธม (นครหลวง)

ฝรั่ง เรียกว่า อังกอร์ (Angkor) และ อังกอร์ธม (Angkor Thom)

สำเนียงแบบฝรั่งเศส เพราะว่าพวกฝรั่งเศสเข้ามาศึกษา ค้นและคว้าก่อน ฝรั่งอื่น

ชาวเขมรโบราณหรือขอม ตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้มาร่วม 2 พันปี มีวิวัฒนาการเจริญทีละขั้น ด้วยอิทธิพลของอินเดียและชวา </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">
จนมีความเจริญรุ่งเรืองก่อตั้งเป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจในพื้นที่ ก็เมื่อพันกว่าปีที่แล้ว (ราวพุทธศตวรรษที่ 14) เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พศ.1345-1393) มารวบรวมชุมชนต่างๆและก่อตั้งเป็นอาณาจักรที่มีความเป็นปึกแผ่นขึ้น </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">
และต่อมาอีกเกือบร้อยปีให้หลัง พระเจ้ายโสธรวรมันที่ 1 (พศ.1432-1443) ก็ให้กำเนิดเมืองยโสธรปุระ ที่รู้จักกันในปัจจุบันกว่า นอกอร์ หรือ เมืองพระนคร หรือ อังกอร์ Angkor 
 
</p>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากนั้นพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1659-1688) ก็ได้สร้าง นครวัด หรือ Angkor Wat </p>

และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1744) ได้สร้าง นครธม Angkor Thom อันถือเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายในอาณาจักรเขมรโบราณ หลังจากนั้นอาณาจักรเขมรโบราณอันรุ่งเรืองนี้ก็ต้องพบกับความตกต่ำจนถูกลืมเลือน แม้ในหมู่ชาวเขมรเอง

กษัตริย์เขมรในช่วงพันกว่าปีนั้นที่จริงมีมากมายจำไม่หวาดไม่ไหวค่ะ แต่ทั้งสี่พระองค์ที่เขียนมาข้างต้นนั้นถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์เขมร จัดว่าเป็น The Four Great Inventors ซึ่งการจัดแสดงเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่เสียมเรียบนี้ มีห้องจัดแสดงเฉพาะเรื่องนี้ เป็นหนึ่งในเจ็ดของห้องจัดแสดง

ฝรั่งชาติต่างๆพากันเข้ามาสำรวจ ขุดค้นหาซากเมืองและซากอารยธรรมโบราณตามคำบอกเล่า หรือคำเล่าลือ และ อองรี มูโอท์(Henri Mouhot) ชาวฝรั่งเศส พาคณะมาขุดสำรวจพบ นครวัด ในปีพ.ศ. 2403 (ชาวเขมรนั้นรู้สึกว่าจะกล่าวถึงเขาอย่างยกย่อง เหมือนคนเนปาลยกย่องเซอร์ ฮิลารี่ที่พิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ได้เป็นคนแรก) ทำให้เกิดความสนใจทางวิชาการและความโลภนำนักสำรวจและนักแสวงโชคมากมายมาสู่เขมร <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p></span>  <p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 159499เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2008 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีครับคุณพี่นุช

  • ประวัติศาสตร์ อารยธรรมเขมรหรือขอมโบราณ น่าศึกษาค้นคว้ายิ่งนัก
  • ผู้คนพลเมือง เมื่อพันกว่าปีที่แล้ว ที่มีความเชื่อและศรัธธากับผู้นำเยี่ยงเทพเจ้า  นั่นแสดงว่าความรัก ความผูกพัน ย่อมก่อเกิดให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
  • จากผู้คนร่วมกันสร้างปราสาทหินไว้อย่างมากมาย และบางแห่งใหญ่โต งดงาม  มนุษย์เราในสมัยนี้คงสร้างเลียนแบบไม่ได้ ถ้าจะให้ก่อสร้างด้วยมือเปล่า โดยไม่มีเครื่องทุ่นแรงหรือเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

ตอนนี้ การท่องเที่ยว ของกัมพูชากำลังเฟื่องฟูมากนะคะ

แม้ว่าในปัจจุบัน จะยังไม่พัฒนาเท่ากับการท่องเที่ยวของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการ การบริการ

แต่เขาก็มีแผน และศักยภาพที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวได้ไม่น้อย

โดยคงมุ่ง พัฒนาบุคลากร และการให้การบริการให้มากขึ้น

หากไทยต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยว จากพื้นที่ทางใต้ของเวียดนาม มาที่เรา ก็ต้องผ่านมาทางกัมพูชา ไม่ว่าจะทางบกหรือทางทะเลก็ตาม

ไทย เวียดนาม  และกัมพูชา คงจะมีการร่วมมือ กันมากขึ้นแน่นอนค่ะ

สวัสดีครับ

นครวัด นครธม และแหล่งปราสาทหินในกัมพูชาเป็นที่นิยมท่องเที่ยวมาช้านาน แต่ก็ไม่ค่อยได้ข่าวเรื่องเสียๆ หายๆ อาจจะเป็นเพราะมีมาตรการดูแล และระเบียบการท่องเที่ยวที่ดีก็ได้นะครับ

เคยเห็นภาพเก่าๆ เกี่ยวกับการบูรณะปราสาทแต่ละหลังดูยิ่งใหญ่มโหฬารมากทีเดียว น่าเสียดายว่าบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไม่ค่อยจะปะติดปะต่อกัน เราเคยได้ทราบประวัติกระท่อนกระแท่นเต็มที แต่ก็ดีไปอีกอย่าง ทำให้ได้สนุกกับการสืบสาน ค้นหา และจินตนาการ จริงไหมครับ

มาเยี่ยม...

ได้เห็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ - พุทธอยู่ในบันทึกนี้ครับ...

พึ่งมากระจ่างคำว่า Ankor ก็วันนี้ล่ะค่ะ เดารากศัพท์มานานนม ไม่คิดว่าจะเป็นคำว่า "นอกอร์" หรือนครนั่นเอง ตอนนี้เริ่มวางแผนเที่ยวเขมรต่อแล้วค่ะ นัดพี่ที่อยู่ฮาวายไว้ว่าจะไปด้วยกัน รอเขากลับมาก่อน จะได้มีโอกาส "See Ankor and die" ตามที่ตามูโอต์เขากล่าวไว้

พี่นุชได้ไปดู Ankor national museum ที่เสียมเรียบหรือเปล่าคะ ที่เขาพึ่งเปิดไปเมื่อสิ้นปี หนูอยากไปดูมากเลย ดูจากในทีวีเห็นเขาทำได้ดีมากทีเดียว

สวัสดีค่ะคุณP สะ-มะ-นึ-กะ ค่ะประวัติศาสตร์อารยธรรมขอมโบราณน่าศึกษามาก ยิ่งไปเห็นกับตาและทราบเรื่องราวแค่บางส่วนก็ยังทำให้เกิดจินตนาการเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประเทศของเรา

อาณาจักรขอมนั้นยิ่งใหญ่และกว้างไพศาลไม่ใช่อยู่แค่เฉพาะในประเทศกัมพูชาอย่างที่คุณเองก็ได้เขียนเล่าเรื่องปราสาทขอมในเมืองไทยนะคะ ซึ่งอิทธิพลขอมมีไปถึงตอนกลางแม่น้ำโขงในลาวและตอนใต้ของภาคอีสานของไทยเรา

นักวิชาการเขียนไว้ว่าสิ่งที่ก่อสร้างและพิธีกรรมทั้งหลายในยุคเขมรโบราณถูกทำขึ้นเพื่อตอบสนองความเชื่อที่มีต่อเทพเจ้าต่างๆนั่นเอง

ขอบคุณเช่นกันที่มาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์P 

Siem+reap+airport

ด้านหน้าสนามบินนานาชาติของเสียมเรียบ อาคารเขามีเอกลักษณ์มากเลยนะคะ แม้ว่าจะเป็นสนามบินที่ค่อนข้างใหม่แต่ก็มีขนาดไม่ใหญ่โตนักค่ะ ไม่มีงวงให้ออกจากเครื่องเข้าตัวอาคาร แต่น่ารัก เป็นระบบที่ใช้ความสัมพันธ์กับคนมาก ยิ่งไปเจอระบบ Visa on Arrival มีเจ้าหน้าที่นั่งเรียงกันกว่าสิบคนแล้วรับคำร้องช่องเดียว คนแรกเก็บเงิน ส่งต่อตนที่สองเปิดหน้าที่จะประทับตรา คนต่อไปเช็คคำร้องที่เขียน คนต่อไปหยิบสติกเกอร์ที่ต้องติดในพาสปอร์ตของเราเสียบในเล่ม คนต่อไปลอกแปะสติกเกอร์. ...กว่าจะเสร็จราวสิบขั้นตอน มาที่สุดท้ายคนเรียกชื่อให้เรารับเล่ม อ่านชื่อเพี้ยนมั่ง จนฝรั่งผิดคนออกไปรับ ดูรูปแล้วรู้ว่าไม่ใช่ เรียกใหม่ ไม่มีแจกเบอร์ก่อนหลังค่ะ...แต่เชื่อมั้ยคะว่าทั้งหมดนี้เขาทำอย่างยิ้มแย้มอารมณ์ดี จนเราหากตั้งสติได้ไม่รีบร้อน เหมือนได้ดูการแสดง กว่าจะผ่านแดนวีซ่ามากระเป๋าก้รออยู่วนหลายรอบบนสายพาน

การท่องเที่ยวของเขาเฟื่องฟูมากจริงๆค่ะ และเขาจัดระบบค่อนข้างดีโดยเฉพาะเรื่องไกด์ เห็นไกด์ทุกคนแต่งเครื่องแบบ กางเกงน้ำตาลเข้ม เสื้อสีครีม มีตรานครวัดปักติดที่แขนเสื้อ เมืองเสียมเรียบก็มีการก่อสร้างโรงแรมมากมาย แต่ละแห่งที่มีอยู่ก็สวยงามมีลักษณะของศิลปะขอมเป็นองค์ประกอบชัดเจน ถนนหนทางที่ไปสู่อุทยานประวัติศาสตร์ก็สะดวกสภาพดีค่ะ แต่เกรงว่าเขาเห็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวแบบไทยแล้วนึกว่าดีจะพาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเสียหายได้ เช่นมีสนามกอล์ฟ

ไทยนั้นเข้าไปมีบทบาทกับการพัฒนาของเขมรมากอย่างที่พอทราบกันอยู่ และจะเล่าเพิ่มเติมค่ะ

การร่วมมือกันระหว่างบ้านพี่เมืองน้องในเรื่องของการท่องเที่ยวและเรื่องอื่นๆเป็นสิ่งต้องทำจริงๆค่ะ ขอแต่พี่ไทยซึ่งขณะนี้แข็งแกร่งกว่าควรมีความจริงใจในความร่วมมือนะคะ

สวัสดีค่ะคุณP ธ.วั ช ชั ย เข้าใจว่ารัฐบาลเขมรยุคปัจจุบันตระหนักดีว่าโบราณสถานเหล่านี้คือขุมทรัพย์อันยิ่งยวดที่กินไม่หมด จึงมีการดูแลจัดการโบราณสถานและการไปเที่ยวชมอย่างดี มีระเบียบที่เข้มงวดพอสมควร เช่นต้องจอดรถไกลแล้วเดินเข้าไป การบูรณะ ศึกษาค้นคว้าก็ได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติโดยเฉพาะฝรั่งเศส (ซึ่งมาหยิบฉวยของเขาไปก็มาก) และจากอินเดียด้วยค่ะ

หนังสือที่รวบรวมการค้นคว้าที่ทำอย่างละเอียดเป็นระบบมักเป็นโดยฝรั่งทำ เช่นหนังสือที่พี่กล่าวถึงในเรื่อง และยังมีอีกเล่มที่ทำดีมากเช่นกัน คือ

Palaces of the Gods: Khmer Art&Architecture in Thailand มีทั้งภาพและเรื่องปราสาทเขมรในไทย สารภาพว่าเพิ่งไปหยิบหนังสือนี้ขึ้นมาดูจริงๆจังๆก็ตอนกลับมาจากเขมรนี่แหละค่ะ

เพิ่งอ่านหนังสือพิมพ์มติชนเช้านี้ว่ากำลังมีหนังสือศิลปะเขมรออกใหม่เล่มหนึ่งคือ Khmer Gold:Gifts for the Gods เป็นเรื่องของทองคำโบราณของเขมร เขียนโดยฝรั่งชาวอังกฤษที่มาอยู่เมืองไทยกว่าห้าสิบปีชื่อว่า Douglas A.J.Latchford ทำให้มีโอกาสพบเห็นและครอบครองวัตถุโบราณทำด้วยทองคำ อายุกว่าพันปีของเขมร กล่าวว่าบางชิ้นนั้นแม้แต่รัฐบาลกัมพูชาก็ยังไม่เคยเห็น และเร็วๆนี้เขาจะนำวัตถุทองคำโบราณของกษัตริย์สองชุดส่งมอบคืนให้ชาวกัมพูชา น่าสนใจมากนะคะคงต้องไปหาซื้อหนังสือนี้มาศึกษาบ้าง

สวัสดีค่ะอาจารย์ยูมิP ค่ะเขมรนั้นมีความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากพราหมณ์-ฮินดู และพุทธ และยังมีความเชื่อในเทพเจ้าอีกมากที่ไม่ใช่ทั้งพุทธ ทั้งฮินดู อาจารย์คงมีความรู้เรื่องนี้ดีกว่าดิฉันแน่ๆค่ะ และความเชื่อเหล่านี้ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ไปเที่ยวครั้งนี้เลยทำให้ได้รู้เรื่องเทพเจ้าฮินดูหลายองค์เพราะมีบทบาทชัดเจนมาก และยังได้รู้เรื่องการกวนเกษียรสมุทรอีกด้วย สนุกดีค่ะ

สวัสดีค่ะน้องซูซาน ไปตามอ่านชุดผจญภัยในลาวแล้ว ตื่นเต้น รสชาติดุเด็ดเผ็ดมันมาก

พี่ได้ไปที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งใหม่ที่เสียมเรียบด้วยค่ะ ยังไม่เสร็จหมดเลย เรามีเวลาไปดูแค่ชั่วโมงเดียวก่อนไปขึ้นเครื่องไปพนมเปญ

National+museum

รูปร่างหน้าตาสวยงามดีค่ะ ตอนไปก็มีคนบอกว่าคนไทยไปทำไว้ เพิ่งทราบชัดเจนก็ตอนชมข่าวลุ่มน้ำโขงนี่แหละค่ะ ว่าเป็นบริษัทคนไทยไปสร้าง โดยมีสัญญากับรัฐบาลกัมพูชาว่า เราสร้างให้ บริหารแบ่งผลประโยชน์ให้บ้างในสามสิบปีแรก จากนั้นบริษัทที่สร้างก็จะส่งมอบทั้งหมดให้กับกัมพูชา ข้างในก็ค่อนข้างดีทีเดียวค่ะ โดยเฉพาะระบบจัดการเรื่องตั๋วและการฝากของก่อนเข้าชมค่ะ

ยังมีเขียนอีกหลายตอน ตามอ่านนะคะ แต่กำลังมีปัญหาเรื่องใส่ภาพ ก็ทำอย่างที่เคยทำ ไหงภาพมันไม่ยอมไปปรากฏก็ไม่ทราบค่ะ

 

ตามมาเที่ยวเขมรค่ะพี่นุช

ศิลปะขอมยังเหลือร่องรอยให้เห็นในประเทศไทยหลายแห่งนะคะ

พระปรางค์สามยอดที่ลพบุรีก็เช่นกัน

ยังไม่เคยไปนครวัดเลยค่ะ เคยไปแต่เขาพระวิหาร

คงอลังการมากนะคะ

  • อ่านที่นุชเล่า
  • แล้วอยากไปบ้างแล้วครับ
  • อยากไปๆๆๆ

น่าเที่ยวจังค่ะ

แหะ ๆ ขนาดคุณนายด๊อกเตอร์ฟังมั่ง  ไม่ฟังมั่ง

ยังได้ขนาดนี้ อิอิอิ

ถ้าฟังตลอด มีหวังเป็น series ขนาดยาวแน่ค่ะ

อยากเห็นรูปมั่งจัง

สวัสดีค่ะอาจารย์นารีรัตน์P ตามประวัติศาสตร์เขากล่าวถึงสองอาณาจักรใหญ่คือฟูนันกับเจนละซึ่งอาณาเขตมีเข้ามาถึงเมืองไทยที่เป็นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาและทางอีสานตอนใต้ แล้วยังไปถึงลาวและเวียดนามตอนใต้ที่ถูกกษัตริย์เขมรรวบรวมเป็นปึกแผ่น ดังนั้นพวกวัดและปราสาทเขมรในเมืองไทยจึงมีเยอะมากจนเขียนหนังสือเล่มยักษ์ได้เลยค่ะ  พี่มีหนังสือนี้ที่บ้าน เปิดดูภาพแล้วเห็นพวกภาพสลัก งดงามมากในปราสาทหลายแห่ง นักวิชาการเขากล่าวว่า เดิมการขุดค้น จำแนกและอธิบายศิลปโบณสถานและโบราณวัตถุไทยทำตามระบบของฝรั่งเศสที่ศึกษาอย่างเอาจริงเอาจังมาก่อนเป็นเวลานาน การอ้างจึงมักอ้างจากสิ่งที่พบในเขมร ทำให้พากันคิดว่าสิ่งที่สวยที่สุด ดีที่สุดอยู่ในเขมร แต่ปัจจุบันนักสำรวจนักโบราณคดีไทยมีความเป็นวิชาการของเราเองสูงขึ้น ไม่ได้ยึดแบบเดิม เลยทำให้คิดว่าศิลปะเขมรที่พบในบ้านเรานั้นที่จริงก็มีความเป็นเลิศ แต่เรามักไม่ค่อยรู้หรือไม่ได้สนใจนะคะ

เขาพระวิหารพี่ยังไม่เคยไปเลยค่ะ และพระปรางค์สามยอดก็แค่ผ่าน นี่ใกล้เกลือกินด่างนะคะ ต้องถ่อไปถึงกัมพูชา แต่เนื่องจากนครวัดยังสมบูรณ์อยู่มากและได้รับการบูรณะดีมากๆ ก็คุ้มค่าแก่การไปเห็นค่ะ

อาจารย์ขจิตPไปอีสานบ่อยๆ ชมปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้งก็พอจะได้ความรู้สึกถึงศิลปะสถาปัตยกรรมเขมรโบราณนะคะ ลองซ้อมอ่านลวดลายของเขมรที่เห็น พอไปเห็นนครวัดนครธมและปราสาทอื่นที่ร่วมสมัยกับปราสาทเขมรในเมืองไทยคงจะสนุกดี

อิ อิ ได้อ่านแค่เกร็ดๆยังชอบใจ อย่างนี้สมควรได้ไปเห็นเอง ขอให้มีเวลาเถอะค่ะ

สวัสดีค่ะP coffee mania ช่วงนี้อากาศกลับมาหนาวอีก ทำให้ดื่มกาแฟเช้าแล้วคิดถึงคุณบ่อยเลยค่ะ

ที่จริงตัวเองก็ไม่ใช่คนรู้เรื่องประวัติศาสตร์นัก พยายามไม่พูดมาก อิ อิ เดี๋ยวเจอผู้รู้ตัวจริงจะอายเขาเปล่าๆ อยากเล่าว่าได้ไปเจออะไร รู้สึกอย่างไรมากกว่า กลัวต้องเล่าเป็นซีรี่ส์เหมือนกันค่ะ เอาแค่เบาะๆก็พอนะคะ

ตอนต่อไปจะพยายามใส่รูป หวังว่าคงสำเร็จค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์คะ

เราไปเที่ยว ไปเห็น ไปชม ก็เล่าอย่างที่เราเห็นจริงๆ รายละเอียดก็มีในbrochureมั่ง  หนังสือที่เขาแจกบ้าง นำมาเล่าต่อ มีที่อ้างอิงอยู่แล้วค่ะ

ถ้าใครสนใจในเชิงลึก อาจต้องศึกษาค้นคว้าเอง

จะบอกว่า เล่าเถอะค่ะ และบางที เราก็ไม่ได้อยากรู้ลึกซึ้งมากมายนักนะคะ

Coffee+and+cakesมีกาแฟและขนมมาฝากค่ะ

  • สวัสดีเจ้า พี่นุช..

หลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ นับว่ามีผลต่อมวลมนุษยชาตินะคะ   ไม่ว่าจะของบ้านเมืองไหน    เหมือนที่เขาว่าไว้ "รู้อดีต เพื่อสร้างอนาคต"

คิดถึงพี่นุช..แต่เมลพี่นุชเป็นภาษาอะไรก็ไม่รู้ TT_TT

ขอบคุณคุณพี่ศศินันท์Pค่ะที่มาพร้อมกำลังใจและกาแฟยามบ่ายพร้อมขนม กาแฟใช่คาปูชิโนมั้ยคะ ชื่นใจจริงๆค่ะ

สุดสัปดาห์นี้มีแขกมาค้าง กว่าจะได้เขียนตอนต่อไปคงเป็นวันจันทร์ค่ะ ดีใจที่นุชก็คิดตรงกับคุณพี่ค่ะ

สวัสดีเจ้าคุณต้อมP เสียดายที่เราไม่ค่อยได้ปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้เห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์นะคะ การสอนในระบบโรงเรียนไม่สามารถทำให้ผู้เรียน"อ่าน"สิ่งที่เกิดในประวัติศาสตร์เป็นว่าเกี่ยวข้องกับปัจจุบันอย่างไร

พี่ก็เวียนศีรษะกับการเขียนเมล์ภาษาไทยที่มันกลายเป็นภาษาอวกาศไปได้โดยที่ตอนเราเขียนมันก็ไม่ได้มีอะไรผิดปกติ พี่ถึงมักเขียนอีเมล์ด้วยภาษาอังกฤษค่ะ

สวัสดีค่ะพี่นุช

นครวัด นครธมเป็นสิ่งที่เบิร์ดอยากไปเห็นกับตามากค่ะ เห็นเค้าบอกว่าต้องไปช่วงเย็นถึงจะสวยแล้ว นั่งชมบรรยากาศตอนกลางคืนที่พระจันทร์ขึ้น (ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่น่าจะยอม อิ อิ ) โชคดีอาจได้เห็นหรือยินเสียงกระบวนพยุหยาตราขององค์จักราในอดีตท่านบวงสรวงปวงเทวาเบื้องบน  แค่จินตนาการก็นึกเห็นถึงความอลังการของปราสาทหินทั้ง 2 แห่งนี้แล้วนะคะ

เห็นด้วยกับน้องซูซานว่า  ซักวันจะต้อง "See Ankor and die" ^ ^

ขอบพระคุณสำหรับเรื่องเล่าที่ทำให้คิดว่าเค้ามีวิธีในการจัดการมรดกของแผ่นดินได้ดีเพียงใดนะคะ เพราะดูเหมือนเราจะทำได้ไม่ดีเท่า..ขอบพระคุณมากค่ะ 

 

สวัสดีค่ะคุณเบิร์ดP ไปนครวัดช่วงใกล้ๆพระอาทิตย์ตกก็จะสบาย ไม่ร้อนเกินไป ที่จริงอยู่ข้างนอกตอนพระอาทิตย์ตกดินก็คงจะได้ เพราะบริเวณที่เป็นคูน้ำนั้นกว้างมาก ด้านนอกที่ติดถนนเขาก็ทำดี หากอยู่กันเป็นกลุ่มก็คงไม่มีอันตราย พี่ไม่ได้ไปไหนเองเลยเพราะเรามีไกด์ดูแล และนครวัด นครธมอยู่นอกเมืองเสียมเรียบ ไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยค่ะ

พี่ได้เข้าไปในนครวัดตอนกลางคืนด้วยเพราะไปชมการแสดงแสงเสียงค่ะ เขาจัดยาวหลายเดือน คงหมดตอนใกล้หน้าร้อนเพราะท่าทางจะร้อนมาก และเขามีจัดดินเนอร์เป็นโต๊ะหรูด้วยนะคะ แต่พวกเราไม่สนใจ คือดินเนอร์เสร็จก็เดินเข้าไปชมการแสดงที่อยู่ใกล้ปราสาทเข้าไปอีก

รู้สึกว่าอะไรที่ทำแบบโลกาภิวัตน์นี้คนไทยเป็นผู้เข้าไปจัดการค่ะ เป็นบริษัทของคนไทยที่ไปจัดกิจกรรมยามค่ำในนครวัด เหลือเชื่อนะคะ

พี่นุชขา....

  • ห่างหายไปเสียนาน มีอะไรดีๆ น่าสนใจไปหมดเลยค่ะ
  • แหววอยากบอกว่า ตั้งแต่เด็ก เวลาเห็นภาพปราสาท นครวัด กับ นครธม จนถึงบัดนี้ แหววก็ยังมีความคิดที่จะอยากไปเยือน รู้สึกว่า "ดูมีมนต์ขลัง ยังไงก็ไม่รู้" ..อยากไปจริงๆค่ะ...แต่ยังหาโอกาสเหมาะๆ กับสหายไม่ได้เลย ที่สำคัญนะคะ แหววจะจินตนาการว่าจะใส่ชุดโบราณๆ อยู่ในสถานที่แห่งนั้นแล้วถ่ายรูปกลับมาด้วยนะคะ แบบว่า..ได้อารมณ์เข้ากับบรรยากาศค่ะ...

หากน้องแจ๋วแหววP ได้ไปเยือนนครวัด นครธมแล้วใส่ชุดโบราณคงเข้าบรรยากาศเป็นเทวดาผู้หญิงหรือนางอัปสราเลยค่ะ พี่เห็นที่ปราสาทบายน มีสาวๆเขมรแต่งกายแบบอัปสรามาให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปด้วย รับรองไม่มีใครมองน้องแจ๋วแหววแปลกๆ แค่นึกก็น่าสนุกนะคะ ดูแลสุขภาพให้ดี และหาโอกาสไปนะคะ จะรอชมภาพงามค่ะ

ปราสาทหินที่เห็นแล้วรู้สึกมีมนตร์ขลังก็คงเพราะว่าเป็นศาสนสถาน กระแสจิตแห่งการสวดมนต์ ทำพิธีกรรมต่างๆคงยังอยู่ให้เราได้รู้สึก ส่วนพระราชวังที่อยู่กษัตริย์มักทำด้วยไม้จึงผุพังตามกาลเวลา ไม่เหลือซากให้เห็นค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อ.พี่นุช
  • ตามมาเก็บรายละเอียด เสียบเรียบค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท