เปิดประตูชุมชน (๑) เรียนรู้ร่วมกับชุมชน


เริ่มบันทึก ระบบข้อมูลชุมชน ในบันทึกก่อนหน้านี้ คิดว่าพอเห็นภาพแล้วว่าเดินเข้าไปในชุมชนในฐานะนักวิจัย หรือนักพัฒนาที่ต้องการนำข้อมูลเพื่อการศึกษา พัฒนาชุมชน เราเห็นภาพกว้างของของระบบชุมชนอย่างไรบ้าง แต่กระบวนการเก็บข้อมูลนั้นมีหลากหลายวิธีการครับ...จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป

งานวิจัยและพัฒนา กลายเป็นการขับเคลื่อนชุมชนที่อาศัยรูปแบบการเรียนรู้คู่กับการพัฒนาที่ได้ผลดี ผลลัพธ์ที่ได้นอกจากเป็นการพัฒนาชุมชนในรูปแบบการมีส่วนร่วมแล้ว เรายังได้พัฒนาศักยภาพทั้งคนในชุมชนและนักวิจัยเอง

ก้าวแรกในการเปิดประตูชุมชนกับงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) 

คงคุ้นชินกันนะครับสำหรับการวิจัยแบบ PAR ที่เรียกกัน การวิจัยแบบนี้เหมาะสำหรับการเรียนรู้และจักเก็บข้อมูลร่วมกับชุมชน ในกระบวนการมีทั้ง การเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ และแสวงหาข้อมูล นำไปสู่การเชื่อมโยง สังเคราะห์ ให้เห็นในภาพองค์รวมของชุมชน

ถามว่ามุมมองที่เป็นองค์รวม คืออย่างไร? <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">มุมมองที่เป็นองค์รวมหมายความถึง </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p>กิจกรรมเรียนรู้ ถ่ายทอด ปรับตัวและพัฒนาตามรูปแบบที่เกิดขึ้น (การออกแบบการวิจัย+วิถีการเรียนรู้ธรรมชาติของชุมชน) <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">กิจกรรมการวิจัยที่ศึกษาปรากฏการณ์ภายใต้บริบทและมิติต่างๆของชุมชน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ในประสบการณ์ของผู้เขียนที่ทำงานพัฒนาร่วมกับชุมชน มีความเห็นว่า  การทำงานพัฒนากับชุมชน ต้องมีความยึดหยุ่นสูง ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีเวลาที่เหมาะสม ที่สำคัญคือ ความเป็นธรรมชาติ ของวิถีชนบท เป็นพลวัตรที่เปลี่ยนไปอย่างช้าๆ ตามเหตุปัจจัยที่มี</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กับการศึกษา เรียนรู้ ชุมชน  จะขอแบ่งเป็นประเด็นใหญ่ๆ ๓ ประเด็นครับ  </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J การใช้กระบวนการวิจัยทางสังคมศาสตร์</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ในบันทึกนี้ขอเปิดพื้นที่เรียนรู้ ประเด็นแรก  เป็นการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ความสำเร็จของการการเรียนรู้ชุมชนได้แก่ การเรียนรู้ ที่เนียนไปกับวิถีชีวิตชุมชน ที่เป็นธรรมชาติ นักวิจัยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สัมผัสปรากฏการณ์ร่วมกัน กระบวนการเก็บข้อมูลที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ตามเงื่อนไขเวลาของชุมชน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ในช่วงที่ทำวิทยานิพนธ์ ประเด็น สมุนไพรลีซู ใช้เวลานานทีเดียวในการเข้าถึงข้อมูล กว่าจะใช้เวลาสร้างความสัมพันธ์กับหมอยาลีซู ที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะประเด็นความรู้ท้องถิ่นบางเรื่อง มีการปกปิดมีเงื่อนไขด้วยความเชื่อต่างๆ เข้าไปเก็บสมุนไพรกับหมอยาลีซู แต่ละชนิดในป่าลึกซึ่งก็ลำบาก ทุลักทุเลพอสมควร พบว่ากว่าจะได้สมุนไพรที่ต้องการก็ต้องเดินทางไกล มีกระบวนการมากมายในการเก็บสมุนไพร นับตั้งแต่การทำพิธี แนจึเดี๊ยะ เป็นพิธีขอยาจากเจ้าป่า การเก็บสมุนไพรที่ แบ่งตัดเพียงชิ้นส่วนเดียวเพื่อให้ต้นสมุนไพรนั้นได้เติบโตต่อไป  สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ความรู้อันเป็นภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรของคนภูเขา และการนำสมุนไพรมารักษาก็มีขั้นตอนของพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"><div style="text-align: center"></div> <div style="text-align: center">ภาพร่างพืชสมุนไพรที่ผมเก็บข้อมูลพร้อมหมอยาชาวลีซู</div> <div style="text-align: center">————————————————</div></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">จากเรื่องราวการเก็บข้อมูลที่เล่ามานั้น การเรียนรู้ชุมชน เพียงประเด็นเดียว มีปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องมากมาย ที่พอประมวลได้ดังนี้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J มนุษยสัมพันธ์ของนักวิจัย กับชุมชน (ความเคารพ ความนอบน้อมถ่อมตนรวมถึง ให้เกียรติผู้อื่น)</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J ความพยายาม - ความอดทนในการเข้าไปร่วมกระบวนการเรียนรู้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J เวลาที่เหมาะสมในการเข้าถึงการเรียนรู้ และระยะเวลาการเรียนรู้ตามกระบวนการ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J ภูมิปัญญาที่แทรกอยู่ระหว่างกิจกรรม การเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าไปด้วยกัน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J อาศัยทักษะต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ พูดคุย การจดจำ และการบันทึกสิ่งที่เห็นโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">เราพอที่จะถอดบทเรียนในมิติของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เหล่านี้ได้โดยการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยตนเองการวิเคราะห์ภูมิปัญญาจำเป็นต้องอาศัยการตีความจากข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่จัดเก็บได้ เป็นการค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ โดยการอาศัยการมองแบบเป็นองค์รวม แล้วหาความเชื่อมโยงเข้าหากันอย่างมีเหตุผล อาจเกิดภาพได้หลากหลายมิติ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ประเด็น การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน  อาศัยความคุ้นเคย และการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับชุมชน  ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว แล้วแต่กลวิธี ศิลปะของนักวิจัยแต่ละท่าน สิ่งที่อยากฝากไว้ก็คือ การทำใจให้เป็นกลาง ไปเพื่อจะเรียนรู้ศาสตร์ที่เป็นของชุมชน อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่อหังการ์ เราจะได้เรียนรู้ภูมิปัญญาในเชิงลึก เพื่อไปเชื่อมต่อกับองค์ความรู้ข้างนอก เชื่อมโยงเพื่อต่อภาพ เนื้อหาความรู้ใหม่ๆ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ในบันทึกต่อไปผมจะนำเสนอ การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น  ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการศึกษาชุมชน  เดินเข้าหา องค์ความรู้ ที่มีคุณค่าของชุมชน  เป็นเรื่องยาก หากเราไม่เข้าใจ และเป็นเรื่องไม่ยากหากเราเข้าถึง</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"><hr></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">บันทึกที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการศึกษาชุมชน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogลีซู...ราชินีแห่งขุนเขาู : เริ่มแรกงานวิจัยในหมู่บ้าน </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogงานวิจัย การจัดการความรู้ท้องถิ่น "กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู" </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogไปเก็บสมุนไพรกับพ่อเฒ่าลีซู...กิจกรรมเก็บข้อมูลงานวิจัย </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogวิจัยเพื่อท้องถิ่น กับวิธีวิทยาการวิจัย...ถอดบทเรียนงานติดอาวุธทางปัญญาให้ชุมชน </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frogต้มเหล้าข้าวโพด : กิจกรรมการเก็บข้อมูลนักวิจัยคนจน </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">Frog “โลว์เทค” วิธีเก็บข้อมูลของนักวิจัย “คนจน” : Life on the Mountain </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">________________________</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">[email protected]</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 158992เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การนำเสนอบันทึก "เปิดประตูเข้าสู่ชุมชน"

เป็นการเขียนเพื่อเป็นข้อมูลเพื่อเรียนรู้สำหรับ นศ.ปริญญาโท สาขา "การส่งเสริมสุขภาพ" มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำหรับผู้ที่สนใจ เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ๆร่วมกันครับ

เป็นการเริ่มต้นเข้าไปทำงานชุมชน โดยใช้ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)ในที่นี้ผมจะเขียนในหัวข้อนี้ ๓ ประเด็นหลักก่อน

J การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน (ในบันทึกนี้)   New!!!

J ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

J การใช้กระบวนการวิจัยทางสังคมศาสตร์

ผมมีความสนใจ งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เหมือนกันโดยผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาชุมชนในการแก้ปัญหา และตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีการพูดถึงกันมานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือแหล่งถ่ายทอดความรู้กันอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

ขอติดตามต่อเนื่อง

และวิธีการการเก็บข้อมูลที่นักวิจัยทำในชุมชนนั้น อย่างให้อาจารย์เขียนแบบละเอียดเลยนะครับ

ตอนนี้ผมกำลังร่างโครงร่างวิทยานิพนธ์อยู่  ขอรบกวนปรึกษาครับผม 

ขอบคุณครับอาจารย์

สวัสดีครับ อ.พีรฉัตร

------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนใหญ่งานที่ทำในชุมชน เป็นรูปแบบของ PAR แทบทั้งนั้นครับ อยู่ที่ว่า เราให้ความสำคัญมุมไหน

บางงานก็ ตัว P ใหญ่ บางงานก็เน้น A เช่น งานพัฒนา  ส่วนงานวิจัยที่เน้นมากๆก็ ตัว R มากหน่อยครับ

อย่างไรก็แล้วแต่ กระบวนการตามการศึกษาวิจัยเราได้ใช้เสมอ โดยเฉพาะการพัฒาบนฐานของความรู้

ส่วนประเด็น "การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น" นั้น ผมจะนำมาเขียนบันทึกต่อจากนี้ครับ ติดตามนะครับ

 

Bon Voyage

มีประเด็นไหน ...ที่จะขยายต่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้เลยครับผม

 

คุณgrad

บันทึกในช่วงนี้ ผมจะเขียนเรื่องราวของ กระบวนการเก็บข้อมูล ให้ครบถ้วน ก่อนเปิดคลาสในวันที่ ๑๙ หรือ ๒๐ นี้ครับ

จะมีบันทึกที่ให้โหลด "How to" เครื่องมือการเก็บข้อมูล จุ ใจ  รอสักพักใหญ่ๆครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท