ภาพจากวัดแถวลำลูกกา เมื่อคราปีใหม่


แต่พอมาถึงอีกวัดหนึ่ง ที่ชื่อวัดปรากฏอยู่ในภาพแล้ว ผมกลับรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนัก เหตุก็เพราะภาพต่อไปนี้แหละครับ

    วันที่ 1 มค. 2551 ผมขับรถผ่านไปทางถนนสายลำลูกกา  แวะวัดสามสี่วัด  ถ่ายภาพสิ่งที่พบเห็นไว้พอประมาณ 
    ภาพแรกนี้  จำไม่ได้ว่าวัดชื่ออะไร ... แย่มาก   แต่เชื่อว่าบางท่านอาจบอกได้  ชอบมากที่พระพุทธรูปองค์ใหญ่มาก  แต่ยังคงความงดงามได้ชนิดมองแล้วมองอีกก็รู้สึกได้ถึงความงาม  ไม่เหมือนพระใหญ่หลายองค์ที่มองแล้วเสียดายที่เขาทำได้แค่ขนาดที่ใหญ่โต  แต่ขาดความประณีต งดงามอย่างน่าเสียดาย  

       ลองชมดูสิครับ

               

    แต่พอมาถึงอีกวัดหนึ่ง  ที่ชื่อวัดปรากฏอยู่ในภาพแล้ว  ผมกลับรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนัก  เหตุก็เพราะภาพต่อไปนี้แหละครับ

               

   ท่านล่ะ รู้สึกอย่างไรกันบ้าง  ลองขยายความคิดต่อท้ายบันทึกนี้กันหน่อย ก็จะดีไม่น้อยครับ

คำสำคัญ (Tags): #ตะกรุด#วัด#ศาสนา
หมายเลขบันทึก: 158815เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ครับ

  • มันสะท้อนสำนึกของคนที่วัดนี้ สะท้อนสังคมพุทธส่วนหนึ่งว่าอยู่ในบรรยากาศอะไร
  • ที่ร้ายคือไปบิดเบือน ดัน ส่ง ทัศนะผิดๆต่อพุทธศาสนา ทำให้ศาสนาแปดเปื้อน ปนเป กับสิ่งที่ไม่ใช่แก่นสารของธรรม ของคำสอนของพระองค์
  • โอย ร้อยแปด....ครับอาจารย์
  • การปกครองของสงฆ์น่าจะเข้ามาทำอะไรสักอย่างครับ

สวัสดีครับพี่บ่าวที่เคารพ

ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งของท่านอาจารย์พุทธทาส  ที่เขาเอาคำบรรยายของท่านคราที่ไปบรรยายที่พุทธสมาคม เรื่อง ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

ถ้าเปรียบเหมือนแก่นของพระพุทธศาสนาเหมือนกับแก่นไม้  แต่เดิมมันมีเปลือก มีกระพี้ให้เข้าถึงได้ยากลำบากอยู่แล้ว  ตอนนี้เรากลับเอาผ้าผูก เอาทองมาปิด  เอาอะไรต่อมิอะไรมาพอกให้การเข้าถึงแก่นนั้นยากเย็นแสนเข็ญมากขึ้น

เมื่อมองเปลือกนอกเป็นแก่น (หรือบางคนก็ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ใช่แก่น)  สิ่งต่างๆ ที่ต้องการตามกิเลสสันดานก็ถูกปรุงแต่งขึ้นตามแต่สีสันของกิเลสแต่ละคน

ใช่อยู่ที่ว่าการได้มีสิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้นๆ  แต่ถ้าเทียบสิ่งของภายนอกเหล่านี้กับสมัยก่อนๆ แล้ว ผมว่าเทียบกันไม่ได้เลยแม้แต่น้อย

ถาวรวัตถุสมัยก่อนนั้นท่านเน้นเรื่องความพยายามในการสร้างมาก หรือแม้กระทั่งแกะสลักภูเขาทั้งลูกเป็นวัดยังทำได้  แล้วสมัยนี้เราทำอะไรกัน ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ใครจะสร้างอะไรให้ใหญ่โตแค่ไหนก็ได้ถ้ามีเงินพอ ไม่ใช่เพราะศรัทธาพอ

พระพุทธรูปจะสร้างให้สวยวิจิตรแค่ไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประดิษฐ์  ที่สำคัญให้ดูเบื้องหลังการทำมากกว่าว่าได้ใช้ความพยายามและศรัทธาแค่ไหน

ด้วยความไม่เคยสนใจ ไม่ใส่ใจ ไม่ศึกษาแก่นของพระพุทธศาสนา ความหลงบุญมั่วบาป ของผู้ใหญ่ที่เน้นแต่ความอร่อยทางผัสสะทั้งหลาย และนับวันก็พิศดารมากขึ้น ล้วนเป็นตัวอย่างที่เลวให้แก่เยาวชนอย่างยิ่ง

เมื่อเยาวชนไม่เห็นแบบอย่าง แล้วจะหวังให้เขาประพฤติให้ถูกต้องได้อย่างไร ไม่นานพระพุทธศาสนาก็คงกลายเป็นแค่นิทาน นิยาย ที่แต่งไว้หลอกเด็ก(หรือผู้ใหญ่) เท่านั้น

ผู้ชี้ทางยังมีอยู่ ผู้เดินตามทางก็ยังพอมีอยู่ มัวชักช้าจะตกรถไฟขบวนสุดท้ายนะครับ อิอิ

ถามมา ก็ตอบไปอย่างนี้แหละครับ....พี่บ่าว

ธรรมะสวัสดีครับ

สวัสดีครับอาจารย์Handy

                 รูปแรกเป็นวัดประชุมราษฎร์(คลองหก)ครับ

                 วัดที่สองวัดดอนใหญ่(คลองแปด)

                  ผมคิดว่า...น่าจะเอาความคิดจากวัดมาใช้กับโรงเรียน ทำอย่างไรโรงเรียนจะไม่ต้องรองบประมาณจากรัฐบาล ทั้งที่อยู่ในสังคมเดียวกัน...เพื่อชาวบ้านเหมือนกัน

                                     สวัสดีครับ

สวัสดีครับอาจารย์

พระพุทธรูปที่เห็นในภาพอยู่ที่วัดประชุมราษฏร์  งดงามจริง ๆ ครับดูแล้วรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของความเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน   แต่ภาพตะกรุตยักษ์ก็ยิ่งใหญ่เหมือนกันครับแต่คนละมุม คือ ยิ่งใหญ่ของ ความมืด ความอับทึบทางปัญญา ก็ไม่รู้จะบรรยายอย่างไรดีครับ หลวงพี่อ็อดวัดสายไหมเห็นเข้าจะต้องมองกลับไปเพื่อพัฒนาของท่านใหม่แน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท