ตามรอยโบราณสถานจากโบราณคดี (๓) : อโรคยาศาล


จากบันทึกที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นจาก

ตามรอยโบราณสถานจากโบราณคดี (๑) : อโรคยาศาล

ตามรอยโบราณสถานจากโบราณคดี (๒) : อโรคยาศาล

อโรคยาศาล หรือ โรงพยาบาลขอม

    สิ่งก่อสร้างนี้จะถูกสร้างขึ้นทั่วราชอาณาจักรขอมตามตำราได้กล่าวไว้ว่า ที่ค้นพบจะสร้างระยะห่างกันประมาณ 30 กิโลเมตรในเส้นทางจากปราสาทหินต่างๆ เชื่อมต่อกับนครธม ซึ่งรวมทั้งในไทยภาคอีสาน ลพบุรี และเลยเข้ามาถึงปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรีล้วนอยู่ใต้อิทธิพลของขอม ผู้สร้างอโรคยาศาลจำนวนถึง 102 แห่งนี้คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างนครธม (อยู่ที่เสียมราฐใกล้ๆกับนครวัด)

Woramon7%5b1%5d

  รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งพระเจ้าชัยวรมันที่7ในพิพิธภัณฑ์ในเมืองเสียมเรียบ

    อโรคยาศาลนั้นสร้างขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 1724-1758

Page008

ปราสาทหินที่พบในจังหวัดร้อยเอ็ด

 

<p style="text-align: center">Page007</p> <h5 style="text-align: center">ปราสาทหินที่พบในจังหวัดสุรินทร์</h5> <p style="text-align: center"> </p><div style="text-align: center">Page009</div><h5 style="text-align: center">ปราสาทหินที่พบในจังหวัดศรีสะเกษ</h5><p style="text-align: center"> </p><h4> อโรคยาศาล  จะมีลักษณะคล้ายๆกัน ประกอบด้วย</h4><p align="center">Cats001</p><h5 align="center">รูปปั้นเทพเจ้าและแท่นบูชาที่มักพบในปรางค์ประธาน</h5><h4> ปรางค์ประธาน ภายในอาคารมีแท่นประดิษฐานรูปเคารพหมายถึงเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาของพราหมณ์มี ๓ องค์ คือ พระพรหม พระอิศวรหรือพระศิวะ และพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ในการรับรู้โดยภาพรวมเทพเจ้าทั้งสามมีหน้าที่ต่างกัน คือ การให้กำเนิดชีวิตและสรรพสิ่งต่างๆ การปกป้องคุ้มครองดูแลรักษา และการทำลายล้างสรรพสิ่งทั้งปวงเมื่อสิ้นยุค จากนั้นก็สร้างขึ้นอีกเมื่อเข้าสู่ยุคใหม่ อาคารด้านหน้าที่เรียกว่า บรรณาลัย จะตั้งอยู่ด้านหน้าและใช้เป็นห้องเก็บคัมภีร์ตำราที่ใช้ในพิธีกรรม
 ล้อมรอบด้วย กำแพงแก้ว  มีประตูทางเข้าที่เรียกว่า โคปุระ ทางด้านหน้าเพียงแห่งเดียว บริเวณด้านนอกกำแพงมี บารายหรือสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ กรุด้วยศิลาแลงจะอยู่บริเวณด้านหน้าภายนอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ</h4><div style="text-align: center"> 1178590467sn </div><h4>    การสร้างปราสาทหินและอโรคยาศาลสมัยขอมนั้น กษัตริย์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7  เป็นนักสร้างชั้นยอด สร้างจนขอมอ่อนกำลัง ได้ถอยกลับไปสร้างพระราชวังอยู่ที่นครธมและอีกไม่กี่รัชสมัยก็หมดอำนาจ ซึ่งเปลี่ยนฐานความเจริญและฐานอำนาจมาอยู่ด้านไทยตรงกับสมัยสุโขทัยเริ่มรุ่งเรืองและมีอำนาจเหนือขอมและพระพุทธศาสนาได้แพร่ขยายมาครอบคลุมพื้นที่ในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงยุคปัจจุบัน </h4><h4>ที่มา: บุหลง ศรีกนก.,พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ,www.bloggang.com/mainblog.php?id=derek
</h4>

หมายเลขบันทึก: 158766เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตามอ่านเรื่องราวของโบราณสถานขอมในเมืองไทย ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ เอามาต่อกับที่ได้มีโอกาสไปชมนครวัด นครธมและปราสาทตาพรหมที่เสียมเรียบ

ขอบคุณนะคะที่ค้นคว้ามาให้อ่านกัน

สวัสดีเจ้าค่ะ พ่อสมนึก 

              ไม่ติดอ่ะ  สอบนิติไม่ติด อดเป็นทนายน้อยเลย แงๆๆๆๆ http://gotoknow.org/blog/nongji/158757  เข้าไปให้กำลังใจหนูด้วยนะค่ะ แงๆๆ

           จะเป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ------> น้องจิ ^_^

สวัสดีครับคุณพี่นุช คุณนายดอกเตอร์

  • ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจ อยากศึกษาเรียนรู้เรื่องนี้ครับ
  • อยากมีโอกาสได้ไปสัมผัสและเรียนรู้จากสถานที่จริงด้วยตนเอง แต่จำกัดด้วยเวลาและโอกาส
  • บอกได้เลยครับว่า ผมเป็นคนหนึ่งที่เติบโตมาบนกองหินที่ทรงค่าด้านโบราณสถาน แต่กลับกัน หารู้ว่ามีคุณค่าไม่
  • อยากย้อนอดีตได้จะดูแลโบราณสถานที่กองอยู่หน้าบ้านให้เป็นอย่างดี ไม่ให้ใครมาลักขุด หรือขนย้ายวัตถุที่ทรงคุณค่านั้นไปไหนครับ
  • ตอนนี้ขอเพียงศึกษาค้นคว้า จากแหล่งอื่นๆไปก่อน เดี๋ยวมีโอกาสกลับไปบ้านเกิด จะต้องคุยกับคนที่อยู่ที่นั่นดูอีกทีครับว่าจะทำอย่างไรกันต่อไปกับกองซากวัตถุโบราณกองนั้น

ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีครับท่านพ่อครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

  • คงต้องขอบคุณท่านพ่อครูบาฯ ที่ได้นำพาผมไปสู่จุดเริ่มต้นของ อโรคยาศาล เมื่อครั้งได้ไปกราบพระบรมเจดีย์ธาตุ ที่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ครานั้น
  • จากการที่ได้รับฟังการอธิบายเกี่ยวกับโบราณวัตถุและโบราณคดี ทำให้หวนคำนึงถึง เรื่องราวในอดีต ที่อยู่ใกล้ตัว และแทบไม่มีใครหยิบยกขึ้นมาเปิดประเด็น
  • หากมีโอกาสก็อยากจะศึกษาเรื่องนี้เป็นกาลเฉพาะ เผื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อบ้านเกิดของเราบ้าง
  • อยากมีตอนต่อไปครับ แต่เกรงว่า ข้อมูลอาจจะไม่ถ่องแท้เท่าไหร่นัก แต่ก็จะพยายามศึกษามาบันทึกไว้นะครับ

ขอบคุณครับที่เป็นกำลังใจ

 

สวัสดีครับน้องจินางสาว จิราภรณ์ น้องจิ กาญจนสุพรรณ

  • เข้าไปให้กำลังใจ และทั้งช่วยปลอบใจให้แล้วนะครับ
  • คนเก่งๆอย่างน้องจิ พ่อว่าไม่ต้องห่วงหรอกเรื่องที่เรียน มีแต่ว่าจะเลือกที่ไหนเท่านั้นแหละ..ใช่ไหม..อิอิ
  • หากเลือกเรียนประวัติศาสาตร์ อย่าลืมบอกด้วยละ จะขอไปเป็นลูกศิษย์ด้วยสักคน

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท