การจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งเพื่อความมั่งคงในอาหารและอาชีพ


การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งเพื่อความมั่งคงในอาหารและอาชีพ:กรณีศึกษาชุมชนประมงชายฝั่ง บ้านบางหละ หมู่๓ และ หมู่ ๑๐ ซอยสุเหร่า ต.คุระบุรี อ.คุระบุรี จ.พังงา

รวบรวมโดย - ชาญยุทธ เทพา  เจ้าหน้าที่สนับสนุนวิชาการ  มูลนิธิรักษ์ไทย -----------------------------------------ชุมชนประมงชายฝั่งในซอยสุเหร่า อยู่ติดกับถนนเพชรเกษม ก.ม.ที่ ๗๑๕ ในอำเภอ มีคลองจอดพักเรือมีประชากรกว่า ๔๐๐ คน ๘๐ ครัวเรือน ประกอบอาชีพหลักทำการประมงอวนปูม้าทะเลเปิดร้อยละ๘๐ ที่เหลือทำการประมงในคลองเช่น ไซปูม้าและปูดำ อวนปลากระบอกบริเวณในคลอง ตัวอย่างครอบครัวของนายอนิรุต นิเด ประธานกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูไข่ ในหมู่บ้าน ให้ข้อมูลว่าการประมงปูม้ามากว่า ๑๕ ปีแล้ว รายได้เฉลี่ย ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน ๑๘๐,๐๐๐ บาทต่อปี รายจ่ายรวมทั้งสิ้น ๑๙๐,๐๐๐ บาทต่อปี เป็นค่าใช้จ่ายการกินอยู่พื้นฐานและดูแลลูกรวมทั้งการเรียนลูก รวมทั้งค่าน้ำมันและซ่อมบำรุงเรือจำนวน ๑๔๐,๐๐๐ บาท และ แยกเฉพาะค่าอวนอีก ๕๐,๐๐๐ บาท ลงทุนมากต้องออกไปวางในพื้นที่เรือประมงพาณิชย์และถูกลากไป ซึ่งยอมเสี่ยง เพราะปูม้ามีน้อยลงใกล้ชายฝั่ง ไม่คุ้มค่าน้ำมัน อีกทั้งมีจำนวนผู้ทำประมงเพิ่มขึ้น มีอุปกรณ์ไซพับจับปูม้าจับตัวเล็กทิ้งและขายในมูลค่าที่ต่ำ อีกทั้งไม่มีการอนุรักษ์ปูม้าไข่และขายในราคาถูก ส่งผลต่อความมั่นคงในการประกอบอาชีพการประมงปูม้า ซึ่งก็มีตัวอย่างอาชีพดังกล่าวนี้ต้องยุติลงในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชที่เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ ๒๐ ปีที่ผ่านมา

กลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูไข่ บ้านบางหละซอยสุเหร่า เกิดขึ้นจากสมาชิกกองทุนฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัยสึนามิ  ในหมู่บ้านตั้งแต่ กันยายน ๒๕๔๘ กับมูลนิธิรักษ์ไทย ได้ริเริ่มการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า จากการร่วมมือกับมูลนิธิรักษ์ไทยในงานด้านชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการศึกษาดูงาน ธนาคารปู ที่เกาะเตียบ อ.ประทิว จ.ชุมชน ในช่วงต้นปี ๒๕๕๐ และ ก่อตั้งกลุ่มฯขึ้น เสนอกิจกรรมการฟื้นฟูปูไข่เพื่อสวัสดิการสมาชิกและสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพประมงปูม้า โดยสร้างระบบการพักปูไข่นอกในกระชังที่ซ้อนด้วยผ้าโพลีนอีก ๑ ชั้นเพื่อรองรับและรักษาไข่ พร้อมกับได้ประสานความร่วมมือวิชาการกับสถานีวิจัยระนอง มหาวิทยาลัยเกษตร ระยะแรกมีสมาชิกแกนนำทำกันอยู่แค่ ๔ คน ไม่ได้รับความร่วมมือกับผู้นำชุมชน และใช้เวทีประชุมกองทุนเสนอผลงาน ปรับเปลี่ยนวิธีการระดมปูไข่นอก เป็นการรับฝากพักปูไข่ ไม่ต้องเป็นสมาชิกแต่บริจาคเป็นค่าจัดการผลปรากฏว่ามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น ๕๐ คนในปัจจุบัน ปัจจุบันมีกระชังที่ทำงานได้ประมาณ ๒๐ กระชังจากที่มีอยู่เก่า ๒๙ กระชังซึ่งต้องซ่อมแซมอยู่ คาดว่า ๑ กระชังจะมีปูไข่มาพักไว้อย่างน้อยกระชังละ ๘๐ ตัว ต่อ เดือน และ ตัวปูม้าไข่ ๑ ตัว จะมีไข่ประมาณขั้นต่ำ ๕ แสนฟอง และ มีอัตรารอดชีวิตโตเป็นปูม้ามาให้จับได้ร้อยละ ๑ จำนวน ๕ พันตัว ซึ่งถ้าคำนวณทั้งหมดแล้วจะดำเนินการได้ตลอดปีหน้าแล้งลดหรือร้อยละ ๕๐ ก็จะสามารถมีปูม้าให้จับได้จากระบบการฟื้นฟูปูไข่นี้จำนวน ๗๒ ล้านตัว มูลค่าตัวละ ๒๕ บาท คิดเป็นเงินประมาณ ๑.๘ พันล้านบาท เมื่อครบระยะอีก ๑ ปีข้างหน้า จากการความร่วมมือกับมูลนิธิรักษ์ไทยที่ที่เป็นงบประมาณจำนวนไม่เกิน ๑ แสนบาทเท่านั้น เป็นแค่เพียง ๑ จุด กลุ่มและชุมชนต้นแบบในพื้นที่อำเภอคุระบุรี 

ด้วยปัจจัยหนุนอื่นๆถึงความพยายามของกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูไข่นอกกระดอง เชื่อมความร่วมมือกับสถานีวิจัยชายฝั่งระนอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าเป็นสมาชิก ๑ ใน ๔ สมาชิกของเครือข่ายชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอำเภอคุระบุรี ภายใต้ศูนย์เตรียมความพร้อมจัดการภัยพิบัติสึนามิอำเภอคุระบุรี ขยายความร่วมมือผ่านเวทีเครือข่ายฯสร้างความสนใจให้กับศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต สถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ ๑๗ สมัครเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของกรมประมง ส่งผลให้เกิดการขยายรูปแบบนี้ ดังนี้ เกิดโครงการที่๒ในพื้นที่สนับสนุนจากมูลนิธิพระพรชัย ชุมชนซอยสะอาดที่ทำประมงไซพับปูม้าสนใจที่จะเริ่มโครงการฯ อีกทั้งกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูไข่ดังกล่าวนี้ได้เสนอโครงการขยายผลให้มีพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำเพื่อรองรับที่ที่เพาะเลี้ยงลูกปูม้าและสัตว์น้ำอื่นๆ ในพื้นที่หัวหาดและหญ้าทะเลกว่า ๓๐ ไร่ ที่เกาะนกฮูก ใกล้ๆ กระชังฟื้นฟูปูม้าไข่นอกกระดองร่วมกับสถานีป่าชายเลนที่ ๑๗ และ ศูนย์อนุรักษ์ฯภูเก็ตดังกล่าวต่อเนื่อง อีกทั้งจะได้เสนอให้สมาชิกกลุ่มเข้ารับการอบรมหลักสูตรอาสาสมัครการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รสทช.)เพื่อติดตามเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างมีประสิทธิภาพป้องกันการประมงเชิงทำลายล้างทุกรูปแบบ และ ที่สำคัญกำหนดแนวทางเตรียมการดำเนินการทำให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน วิจัยชุมชน การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น  รวมทั้งการรณรงค์การใช้ไซพับปูแบบไม่ทำลายล้างร่วมกับเครือข่ายฯอำเภอคุระบุรีในช่วงระยะตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

จากการดำเนินงานเริ่มต้นด้วยแกนนำเพียง ๔ คน ของกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปู บ้านบางหละ ซอยสุเหร่า ตำบลคุระบุรี อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย รวมทั้ง เครือข่ายชุมชนฯอำเภอคุระบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลคุระ และ หน่วยงานรัฐรวมทั้งสถาบันวิชาการดังกล่าว ย่อมจะมองเห็นและสร้างความภูมิใจให้กับการเสียสละและความมุ่งมั่นของกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรประมงชายฝั่ง สามารถสร้างสวัสดิการและร่วมกลุ่มซื้อขายอุปกรณ์ประกอบอาชีพ สร้างความมั่นใจความมั่งคงในอาหารและการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งในที่สุด รวมทั้งเป็นต้นแบบและร่วมมือกับ เครือข่ายชุมชนฯอำเภอคุระบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงานรัฐและองค์กรเอกชนขยายผลไปสู่ระดับนโยบายและชุมชนจัดการทรัพยากรชายฝั่งทั้งในชายฝั่งอันดามันและชายฝั่งอ่าวไทยในระยะยาวต่อไป แหล่งข้อมูลอ้างอิง:๑.       นายนิรุต นิเด ประธานกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูบ้านบางหละ ซอยสุเหร่า ต.คุระบุรี ๐๘ ๗๘๘๗ ๓๑๗๘๒.    นายประชา คาวิจิตร ประธานเครือข่ายชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติฯ ๐๘ ๙๔๗๕ ๑๕๓๗๓.     นายสมพงษ์ บุตรเรือน ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต ๐๘ ๑๙๔๐ ๑๒๖๖๔.     นายพวงเพชร เล็งเจริญสุข สถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ ๑๗ อำเภอคุระบุรี ๐๘ ๖๕๙๓ ๗๕๔๘๕.    นักวิชาการ สถานีวิจัยชายฝั่งจังหวัดระนอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์๖.      รายงานการศึกษาดูงาน ธนาคารปู เกาะเตียบ อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร มกราคม ๒๕๕๐ ของสมาชิกกองทุนฟื้นฟูสึนามิบ้านบางหละ ซอยสุเหร่า
หมายเลขบันทึก: 158759เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท