สภาวะโลกร้อน กับคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย


สภาวะโลกร้อน คาร์บอนเครดิต

วันนี้จะคุยเรื่อง HOT ซะหน่อยเพราะสัปดาห์นี้ ดิฉันได้รับคำสั่งให้เตรียมเรื่องสำหรับบรรยายให้เจ้านาย "สภาวะโลกร้อน กับคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย"  โจทย์ข้อนี้ทำให้ดิฉันต้องนั่งนิ่งเลยหละ   เรื่องโลกร้อนนะเคยฟังมาบ้างตอนอบรม Newwave แต่คาร์บอนเครดิตนี่ซิผ่านหูแค่ 2 ครั้งได้มั้ง..  ทำไงดี... มีทางเดียวใช้แนวทางของสมเด็จพระเทพฯดีกว่า พระองค์ทรงตรัสว่า อยากรู้อะไรให้พึ่ง คุณGoo ก็แล้วกัน.. Google ไง.. ดิฉันใช้เวลา 2 วันท่องโลกหาข้อมูล แล้วนำมาร้อยเรียง  เสนอเจ้านาย..เพื่อไปบรรยายที่คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น(วิชาสัมมนาของภาควิชาชีววิทยา) ในวันนั้นได้มีโอกาสติดตามไปฟังวิทยากรท่านอื่นบรรยายด้วย ประกอบด้วยดร.ชนาธิป  ผาชิโน จากม.จุฬา  และผู้บริหารโรงงานน้ำตาลขอนแก่น คุณพรศิลป์ แต้มศิริชัย ..   เราได้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้..และเป็นเรื่องใหม่ที่ใกล้ตัวเรามากเลย..

   ไอ้เรื่องโลกร้อนเนี่ย  ทุกคนคงตะหนักดีแล้วนะ เกิดภาวะเรือนกระจกอุณหภูมิสูง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย  น้ำทะเลสูงขึ้น  ภูมิอากาศแปรรปรวน  โรคภัยจะระบาด ..  จนคนทั้งโลกเริ่มตื่นตัวก็จากผลงานของอดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐนายอัลกอร์ ที่ได้รางวัลโนเบล..

   สืบเนื่องจากเรื่องนี้โลกได้ทำข้อตกลงพิธีสารเกียวโต ขึ้นพื่อกำหนดกลไกที่จะรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย มีประเทศที่ร่วมภาคีสมาชิกพิธีสารนี้ 163ประเทศยกเว้นสหรัฐอเมริกา(ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด)และออสเตรเลีย   สาระสำคัญของพิธีสารนี้คือประเทศพัฒนาแล้วซึ่งปล่อยก๊าซมากจะต้องรับผิดชอบลดปริมาณการปล่อยลงร้อยละ 5.2 ของระดับก๊าซที่เคยปล่อยในปี 2533

  แต่ถ้าประเทศพัฒนานั้นไม่สามารถลดการปล่อยได้  พิธีสารนี้สร้างโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด(CDM:Clean Development Machanism) เพื่อเป็นกลไกช่วยให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขพันธกรณีนี้ได้โดยนำเงินไปลงทุนโครงการที่ก่อให้เกิดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศที่กำลังพัฒนา และนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่จะลด ได้จากโครงการเหล่านี้ไปขอใบรับรองในรูปของ CERs (Certified Emission Reduction ดำเนินการโดยสหประชาชาติ ) ซึ่งใบCERs นี้เองที่มีการซื้อขายในตลาดคาร์บอนและประเทศพัฒนาแล้วสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซตามพันธกรณี

     ค่าใช้จ่ายในการขอใบ CERs นี้ประมาณ 200,000ดอลล่าห์สหรัฐ หรือ 7 ล้านบาทไทย ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิต ขายเป็นตัน(คาร์บอนไดออไซด์เทียบเท่า) ราคาตอนนี้เฉลี่ย 7 เหรียญต่อตันและเขาว่าราคาจะพุ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

     มีหลายบริษัทของไทยทำโครงการลดการใช้พลังงาน และขอใบรับรอง(เพื่อจะนำไปขายคาร์บอนเครดิต) ผ่านการรับรองแล้ว 7 แห่ง กำลังขออีก 8แห่ง.. ( โครงการที่จะผ่านไปขอใบCERs จากสหประชาชาติได้ ได้ต้องผ่านความเห็นชอบของ ครม.ก่อน)

    โรงงานน้ำตาลขอนแก่นเป็นโรงงานกลุ่มแรกที่ได้รับใบCERs ในการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อย  สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้ 60,000 ตันต่อปี  ราคาตันละ 14 เหรียญ(ฟังแล้วตาลุกเลย ได้เงินมาใช้เพิ่มขึ้นอีกเกือบ30 ล้านบาทต่อปี)

   และกำลังขอใบCERs สำหรับโรงงานการผลิตเอทานอลจากโมลาสอ้อย เพราะเอทานอลจะลดGreen house effect ลงร้อยละ 18  ลดคาร์บอนมอนดอกไซค์ (CO)ลงร้อยละ30 เอทานอลถ้าตกในดินแล้วจะสลายเร็วกว่าน้ำมัน  และลดการเกิดควันพิษในท้องถนน สามารถสร้างคาร์บอนเครดิตได้ 70,000 ตันต่อปี(ถ้าได้ใบรับรองแล้วเอาไปขายก็จะได้เงินเพิ่มมาใช้อีกเหมือนโรงไฟฟ้า) นี้แหละนักธุรกิจที่มองการณ์ไกล  ทันสมัย..

   มีข้อมูลจากกรมปศุสัตว์  ตอนนี้เขารวบรวมฟาร์มหมูขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ทำโครงการผลิตไบโอแก๊ซจากขี้หมู จำนวน 11 ฟาร์ม ร่วมกันขอใบCERs สามารถผลิตคาร์บอนเครดิตได้ 68,000 ตันต่อปี ขายได้..

    ตอนนี้ประเทศจีนและอินเดีย ตื่นตัว ทำโครงการเสนอขอใบCERsเป็นจำนวนหลายพันโครงการเพื่อเอาไว้ขาย...นักศึกษาถามว่า แล้วประเทศไทย..ภาคการเกษตร..จะปรับตัวอย่างไร..เพื่อให้เหมือนจีนกับอินเดีย... เงียบ..ยังไม่มีคำตอบ

 

หมายเลขบันทึก: 158758เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
กรรณิการ์ (คนมีคลื่น)

พี่อ้อ  คนเก่ง

             ภาวะโลกร้อน  เป็นเรื่องที่ดูเหมือนยิ่งใหญ่ที่เราคิดว่าจะแก้ไขได้ยาก  แต่ตัวเราสัมผัสได้ และต้องช่วยกันเลยนะวันนี้เลยเพราะทิ้งไว้นานจะยิ่งแก้ไขยาก  เริ่ทจากตัวเราและบอกต่อเหมือนที่พี่ทำอยู่ขณะนี้นี่แหละ

             ถูกต้องหละคร้าบ   ....................ปิ๊ด สุรินทร์

สวัสดีครับ

             พอดีผ่านมาแถวนี้เลยแวะอ่านซะหน่อย นับจากนี้ไปอีกไม่กี่ปีผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องคาร์บอน เครดิต จะเป็นผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งที่สามารถหางานทำได้ไม่ยาก เพราะฉะนั้นท่านที่สนใจเตรียมตัวเป็นแฟนพันธุ์แท้ คาร์บอน เครดิตไว้นะครับ

คงได้เจอกันอีกในอนาคตอันใกล้

วัชรพล ฯ

ช่วงนี้งานเบาบางนิดหน่อย เลยมาหาอาหารสมอง เพิ่มเติมซะหน่อย ต้องบอกว่าน่ายินดียิ่งที่ประเทศเราอยู่ในกลุ่มกำลังพัฒนา ขายคาร์บอนเครดิตได้ ไม่ใช่แค่อยากได้เงินเข้าประเทศนะครับ แต่ขณะที่เราขายคาร์บอนเครดิตไป ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ดีก็ยังอยู่กับเรา แล้วอีกอย่างนึงผมก็เห็นว่าในเมื่อประเทศเราอยู่กับการเกษตรมาตั้งแต่แรกเราก็ควรพัฒนาการเกษตรให้มากกว่าอุตสาหกรรม ไม่น่าที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม ถึงจะเป็นเกษตรอุตสาหกรรมก็ยังดีกว่า อุตสาหกรรมข้ามชาติจริงไหมครับ

แถมท้ายนิดนึงขอเล่าเรื่องตัวเองให้ฟังครับ คือผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม แต่พึ่งจะรู้ตัวก็เมื่อตอนเริ่มทำงานแล้ว ก็พยายามเดินงานแนวอนุรักษ์และพัฒนาในชุมชนบ้าง เคยคิดจะทำโครงการ"การจัดการขยะในชุมชน"(ที่คิดไว้คือใหญ่พอควรถึงจะเห็นผลกระทบ) ซึ่งเอาโมเดลมาจากธนาคารขยะมาปรับปรุงให้เข้ากับชุมชน แต่เนื่องจากงานที่ผมทำเป็นงานบริการใน รพ.ต้องอยู่เวรนอกเวลา จึงไม่มีเวลาลงไปทำได้ ตอนนี้ทำได้แค่การหาข้อมูล ความรู้สะสมไว้ก่อน ตั้งใจไว้ว่าสักวันถ้าอากาศ และโอกาสอำนวย จะพลิกสายงานสู่สิ่งแวดล้อมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท