การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และสังคม ในชุมชนที่ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ


เศรษฐกิจชุมชน
การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และสังคม ในชุมชนที่ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ  ทุกวันนี้เรามีการออม เรามีทุนหมุนเวียนในชุมชนสำหรับการให้กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ มีแผนที่จะพัฒนาระบบสวัสดิการของชุมชน ที่สำคัญเราได้มีโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน และแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นๆจากการศึกษาดูงาน ปัจจุบันเรามีแผนที่จะสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการพัฒนาชุมชน โดยการกู้ยืมเงินกองทุนเราจะพิจารณาให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เข้าร่วมในการประชุม หากคุณเดือดร้อนทางด้านการเงิน แต่คุณไม่อยู่ในเกณฑ์ของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน กองทุนก็จะตอบสนองให้คุณไม่ได้ นั้นคือแผนของหมู่บ้าน  (อ่านบทสัมภาษณ์หน้า...)นี่คือเสียงของผู้นำกองทุนบ้านตลิงชัน  ตำบลตลิงชัน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความเข้มแข็งของชุมชนภายหลังได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยสึนามิได้เป็นอย่างดี  ปัจจุบันกองทุน 134 กองทุนภายใต้การสนับสนุนของโครงการช่วยเหลือและฟื้นฟูชุมชนในพื้นที่ประสบภัยสึนา ที่กำลังจะพัฒนาไปสู่สถานบันการเงินขนาดเล็กในชุมชน ที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับคนในชุมชน และการบริหารผลตอบแทนของกองทุนที่คืนสู่ชุมชน เป้าหมายของการสร้างสถาบันการเงินในระดับชุมชน คือการทำให้องค์กรหรือสถาบันที่มีการจัดตั้ง บริหาร และออกแบบโดยสมาชิกเพื่อการบริการด้านการเงินที่มีคุณภาพสูง บนพื้นฐานของการพัฒนาสถาบันทางการเงินในระดับชุมชนที่มีความยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ          มีวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ชัดเจน          มีคณะกรรมการที่มีความรับผิดชอบและทุ่มเทต่อการทำงาน          มีระบบการจัดทำบัญชีที่เข้าใจได้ง่าย และระบบการจัดการข้อมูลที่ใช้ได้จริง          มีกลไกการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ          มีระบบการออม และการให้สินเชื่อที่ตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิก          มีการตรวจสอบบัญชีประจำปี และนำเสนอผลการตรวจสอบให้สมาชิกทราบในที่ประชุม          มีการเชื่อมโยงกับสถาบันทางการเงินของรัฐบาล และกลุ่มอาชีพต่างๆ           มีระบบตรวจสอบผลการทำงานของตนเองที่เป็นระบบ และสม่ำเสมอทั้งนี้การสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน จำเป็นจะต้องควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้ การปรับปรุง การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และพื้นที่ชายฝั่ง โดยมี มาตรการแก้ไขและพัฒนาที่สำคัญๆคือ         การจัดการองค์ความรู้         การเสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)         การเสริมสร้างความร่วมมือ องค์กรชุมชนร่วมมือกับ อปท. รัฐและเอกชนอย่างไรก็ตามที่สำคัญที่สุดคือการเปิดโลกทัศน์ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระหว่างกลุ่มองค์กร และนำกลับมาปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน เพราะจุดมุ่งหมายของงานพัฒนาคือ การพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาสังคม  
หมายเลขบันทึก: 158760เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท