งานของมูลนิธิรักษ์ไทยในภาคใต้


เคียงบ่า เคียงไหล่ สังคมไทยยั่งยืน

มูลนิธิรักษ์ไทยได้เริ่มดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ภาคใต้ในปี 2542 ภาคใต้โครงการช่วยเหลือและป้องกันเอดส์โดยชุมชน ครอบคลุมทั้ง 14 จังหวัดในพื้นที่ ปัจจุบันโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่แบ่งออกเป็นประเด็นหลักๆคือ โครงการด้านเอดส์และอนามัยเจริญพันธ์ในกลุ่มผู้หญิง เด็ก และเยาวชน โครงการด้านการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี โครงการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติ  และโครงการด้านการฟื้นฟูชุมชนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ สึนามิ  

ปัจจุบันมีจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำ 39 คน และเจ้าหน้าที่สัญญาจ้าง 38 คน ประจำสำนักงานในพื้นที่ที่มีอยู่ทั้งหมด7 สำนักงาน ได้แก่

สำนักงานหลัก

สำนักงานย่อย

  1. สำนักงานหาดใหญ่ จ.สงขลา
  2. สำนักงานพัทลุง
  3. สำนักงานสุราษฎร์ธานี
  4. สำนักงานขนอม จ.นครศรีธรรมราช
  5. สำนักงานระนอง
  6. สำนักงานกระบี่
  7. สำนักงานคุระบุรี จ.พังงา
  1. สำนักงานย่อยกันตัง จ.ตรัง
  2. สำนักงานย่อยดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี
  3. สำนักงานย่อยตะกั่วป่า จ.พังงา
 จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่รับผลประโยชน์จากโครงการที่มูลนิธิรักษ์ไทยดำเนินการในปี 2549 (ภาคใต้) 
ผู้ได้รับผลจากโครงการ
 ทางตรง  ทางอ้อม
 หญิง  ชาย  เด็ก  หญิง  ชาย  เด็ก
       16 877        39 297        29 581        14 718        23 039        12 536
 จำนวนครัวเรือนและพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการที่ดำเนินการในปี 2549 (ภาคใต้) 
จำนวนครัวเรือน  จำนวนหมู่บ้าน    จำนวนตำบล    จำนวนอำเภอ    จำนวนจังหวัด  
     18 208         319            272               99           12
 

โครงการที่ดำเนินการในปี 2550

ชื่อโครงการ

พื้นที่ดำเนินการ

สำนักงานที่รับผิดชอบ

โครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

ปัตตานี / สุราษฎร์ธานี / ตรั้ง / นครศรีธรรมราช

สำนักงานหาดใหญ่

โครงการดูแลผู้หญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี และครอบครัว

สงขลา / พัทลุง / ตรัง / นครศรีธรรมราช / พังงา / สุราษฎร์ธานี /

สำนักงานสุราษฎร์ธานี

โครงการใส่ใจและพัฒนาเด็กก่อนวันเรียน

ปัตตานี / ยะลา / นราธิวาส / สงขลา / สตูล / ตรัง / กระบี่ / ภูเก็ต / พังงา / ระนอง

สำนักงานสุราษฎร์ธานี

โครงการลดเหล้าลดความรุนแรงความเสี่ยงต่อเอชไอวี และส่งเสริมสุขภาพทางเพศในครอบครัวและชุมชน พัทลุง สำนักงานพัทลุง
โครงการเสียงและทางเลือกของผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี พัทลุง / นครศรีธรรมราช / สุราษฎร์ธานี / ระนอง สำนักงานพัทลุง
โครงการช่วยเหลือและฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยสึนามิ กระบี่ / พังงา / ระนอง สำนักงานพังงา
โครงการฟื้นฟูและพัฒนาแบบยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ
และสังคม ชุมชนประสบภัยสึนามิ
พังงา / ระนอง

สำนักงานพังงา

สำนักระนอง 
 

สำหรับโครงการช่วยเหลือและฟื้นฟูในพื้นที่ประสบภัยสึนามิได้เริ่มดำเนินการหลังวันเกิดเหตุ 1 วัน ในปี 2547 โดยระยะแรกในให้การช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน โดยเน้น เวชภัณฑ์  เครื่องอุปโภคที่จำเป็น ที่พักอาศัยชั่วคราวรวมทั้งการจัดกิจกรรมฟื้นฟูสภาพจิตใจควบคู่กันไป ในขณะเดียวกันได้มีการสำรวจพื้นที่ และวิเคราะห์ปัญหาเพื่อวางแผนในการทำงานโดยเน้น การสร้างศักยภาพของชุมชนในการช่วยเหลือและฟื้นฟูชุมชนตนเอง ผ่านกิจกรรมหลายด้านได้แก่

  • การจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพ
  • การสนับสนุนกลุ่มอาชีพ
  • การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและจิตสังคม
  • การพัฒนาศักยภาพเยาวชน
  • การสนับสนุนชุมชนในประเด็นการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ
  • และการก่อสร้างบ้านพักถาวร รวมทั้งสถานศึกษา

โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมในชุมชนที่ประสบภัย และมีวัตถุประสงค์รองได้แก่

·        13,970 ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ มีรายได้เพิ่ม หรือเริ่มมีรายได้จากกิจกรรมอาชีพ หรือธุรกิจชุมชน·        กลุ่มด้อยโอกาสใน 23 ชุมชนตระหนักในสิทธิของตนเอง และสามารถเข้าบริการของรัฐ ·        เกิดการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนรวมทั้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่สามารถดำเนินงานเพื่อการพัฒนาชุมชนของตนเองให้ดีขึ้นได้·        ผู้ที่ประสบภัยสึนามิที่มีอาการ Pot Traumatic Stress (PTS) ใน 3 จังหวัดมีสุขภาพทางใจที่ดีขึ้น·        ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิมีแผนการเตรียมความพร้อมในระดับชุมชนที่คำนึงถึงแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ในการทำงานยังเน้นให้เกิดการทำงานในรูปแบบเครือข่าย เช่น เครือข่ายกลุ่มอาชีพ จ.กระบี่ เครือข่ายสิ่งแวดล้อมอ.คุระบุรี .พังงา รวมทั้งเครือข่ายกองทุนฟื้นฟูอาชีพในแต่ละอำเภอ การทำงานในประเด็นการเตรียมความพร้อมของชุมชนต่อการรับมือภัยพิบัติ ถือเป็นประเด็นการทำงานที่สำคัญ รักษ์ไทยได้ร่วมมือกับชุมชนที่ประสบภัย และอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะจากสึนามิ เช่น ชุมชนบ้านน้ำเค็ม ชุมชนเกาะปันหยี จ.พังงา ชุมชนบ้านท่าคลอง บ้านท่าเลน บ้านบากัน จ.กระบี่ ชุมชนบ้านบางเบน บ้านเกาะหาดทรายดำ จ.ระนอง ในการพัฒนาคู่มือการจัดการความเสี่ยงของชุมชนขึ้น โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือการ จัดทำฐานข้อมูลของชุมชน โดยใช้เครือมือแผนที่ชุมชนในการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลประชากร กลุ่มเปาะบาง พื้นที่เสี่ยง เส้นทางหนีภัย  การจัดทำแผนของชุมชน เช่นการฝึกอบรมการกู้ภัย การซ้อมแผน รวมทั้งเครื่อมือในการสื่อสารต่างๆ ทั้งนี้จากเหตุการณ์แผนดินไหวเมื่อในที่ 12 กันยายน 2550 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ชุมชนตระหนักมากขึ้นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือ เพือบรรเทาการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
หมายเลขบันทึก: 158764เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท