โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

คนเป็นครู


" เหมือนเวลาน้องเล่นบอล ถ้ามีคนบอกน้องให้สับขาหลอก 2 ที วิ่ง 4 ก้าวแล้วยิงประตู ถามว่า เป็น style ที่น้องถนัดหรือเปล่า น้องจะเล่นไม่ดี ดังนั้นจงเล่นบอลให้เป็นธรรมชาติของตัวเอง "

ช่วงเดือน ม.ค.51-ก.พ 51 ผมได้รับนิสิตแพทย์ปี 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)  เพื่อเรียนวิชา เวชศาสตร์ครอบครัว-เวชศาสตร์ชุมชน วันนี้สอนเรื่อง communication skils

ผมให้เอกสารอ่านก่อน 1 คืน และตอนเช้าผมพาเด็กไปที่ PCU แม่กิ้ดหลวง วันนี้คนไข้เยอะครับ (90 คน) ผมให้เด็กผลัดกันฝึก approach คนไข้โดยให้อีกคนสังเกตว่าเพื่อนพูดคุยกับผู้ป่วยเป็นอย่างไร (สลับกัน ได้คนไข้คนละ 1 ราย) ช่วงบ่ายผมให้เด็กมานั่ง comment ตัวเอง - เพื่อน comment และสุดท้าย ผม comment

บรรยากาศสนุกมากครับ เพราะทุกคนตื่นเต้นและสนใจมาก ว่าตัวเองได้ comment แบบไหน

สรุปข้อ comment ที่เด็กทุกคนมีปัญหาคล้ายๆ กันคือ

1.เด็กมักจะพยายามถามให้ได้มากที่สุดมากกว่าการฟัง (มีน้องคนหนึ่งพยายามถามเรื่อง ความดันโลหิต แต่ผู้ป่วย สนใจเรื่องปวดท้องกลัวเป็นมะเร็ง) ถามคำถามแรกไป แล้วก็เตรียมคำถามสองในใจ ถามแต่ไม่รอคำตอบว่าอย่างนั้นเถอะ

2. เด็กรู้สึกคนไข้พูดนอกเรื่อง (ทั้งๆที่เรื่องนั้นผู้ป่วย concern) ผมเลยบอกว่า "น้องต้องเข้าใจวาระประชาชน (ทั้งกลุ่มก็ ฮา )"

3. เด็กพยายามจะใช้ technique แต่สนใจแก่นของเรื่องราวผู้ป่วยน้อยเช่น

น้องถามว่า "จะต้องสัมผัสผู้ป่วยเมื่อไหร่"

 ผมถามว่า "แล้วน้องจะสัมผัสเพื่ออะไร"  

เด็กก็บอกว่า "แสดงความเห็นใจ"  

เด็กยื่นมือไปแสดงตัวอย่างโดยสัมผัสไหล่น้องอีกคน

ผม "ความเห็นใจเริ่มที่ไหน"

เด็ก "เริ่มที่ใจครับ"

 ผม "ถ้าเห็นใจเขาจริง ก็จะทำไปเองตามธรรมชาติ" ผมเลยหันไปถามน้องที่ถูกสัมผัสไหล่แล้วถามน้องว่าเป็นอย่างไรเมื่อถูกสัมผัส

น้องอีกคนตอบว่า "รู้สึกแปลกๆ อึดอัด"

ผม " เหมือนเวลาน้องเล่นบอล ถ้ามีคนบอกน้องให้สับขาหลอก 2 ที วิ่ง 4 ก้าวแล้วยิงประตู ถามว่า เป็น style ที่น้องถนัดหรือเปล่า น้องจะเล่นไม่ดี ดังนั้นจงเล่นบอลให้เป็นธรรมชาติของตัวเอง "

สรุปท้าย (ห้าโมงเย็น) active listennig +empathy  เป็น key สำคัญ

หมายเหตุ " topic หัวเรื่องทำให้ผมเข้าใจหัวอกคนเป็นครูแล้วว่า สอนเด็กมันเหนื่อยขนาดไหนครับ"

คำสำคัญ (Tags): #communication skill#empathy
หมายเลขบันทึก: 158332เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2008 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

การสร้างเด็กเป็นงานยิ่งใหญ่ค่ะ

การสร้างเขาให้เป็นคนดีได้ ต่อไปเขาก็จะไปสร้างคนต่อ

เราก็จะได้สบายขึ้นค่ะ 

คุณอุบล เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

"จงเป็นธรรมชาติของตัวเอง" ประโยคนี้ใช้ได้ดีในการทำงานทุกๆเรื่องครับ

ความจริงใจสัมผัสได้จากใจที่จริง ใจที่แท้ เป็นความราบรื่นในการปฏิสัมพันธ์ครับ

บรรยากาศการเรียนรู้แบบสบายๆของหมอ น่าสนใจมากๆครับ

สวัสดีครับ

P  คุณ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
 

จริงๆแล้ว ผมได้ประโยคนี้มาจากประสบการณ์ของตัวเอง สิ่งที่เด็กๆ ทำผิดพลาด หรือดูไม่ work ผมก็เป็นมาก่อน แต่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่นมากกว่า เรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งาบงครั้งก็เจ็บปวดครับ

 

พี่โรจน์มีสไตล์การสอนที่เป็นธรรมชาติดีค่ะ

.....ทำให้นึกถึงตอนที่ไปเรียนกับพี่โรจน์... ...แต่ว่าคุณพี่สอนถึงสามโมงพอแล้วค่ะ ตอนหนูเรียนนี้ พอสามโมงกว่าหนูก็หัวตื้อ ตาพร่า hypoglyแล้วค่ะ

(เอ...หรือว่าเราเริ่มแก่แล้วรึเปล่าหนอ เหอ เหอ) 

ปล.น้องๆน่ารักกันมั้ยคะ นี่จะกลายเป็นอาจารย์หมอไปแล้วนะคะเนี่ย เริ่มมีลูกศิษย์เป็นของตัวเอง อิ อิ

สวัสดีครับน้องอิน

น้อง นิสิตแพทย์ ตั้งใจและกระตือรือร้นทุกคนครับ

ความคล้ายกันของน้อง resident กับ นสพ. คือ พอถามมากๆ ก็ทำหน้ามึนเหมือนกัน :)

ความต่างกันคือ

resident มี adttitude ที่สนใจ fAMMED+ความรู้พื้นฐานแล้ว หน้าที่พี่ คือพาไปพบประสบการณ์ทำงาน

นสพ. ต่างกันคือ ยังว่างเปล่าในทุกเรื่องเกี่ยวกับ FM หน้าที่พี่ คือ สอนให้น้องคิดเป็น+เรียนเป็นด้วยตัวเอง เพราะความรู้เปลี่ยนทุกวัน/สิ่งที่เราสอนวันนี้อาจเป็นวิชาประวัติศาสตร์ในอนาคตก็ได้ สิ่งเดียวที่ผมบอกน้อง นสพ. คือ "จงเรียนอย่างมีจุดหมาย และจุดหมายที่ควรเป็นคือ เป็นแพทย์ที่ดี- แพทย์ที่ดี คือ แพทย์ที่รักษาคนไข้หาย / คนไข้มีความสุขเมื่อได้พบแพทย์ และ แพทย์มีความสุขเมื่อได้พบคนไข้"

สวัสดีค่ะคุณหมอโรจน์

เห็นด้วยกับคุณหมอว่า การสอนคนนั้นเหนื่อย  ถ้าอยากให้เขาเก่งให้เขาเข้าใจ

สิ่งที่เราสอน เราอาจจะต้องสอนให้เขามีเป้าหมายระหว่างการเรียนว่า เขากำลังจดจ่อต้องการ skills อะไรแน่ในสิ่งที่เขากำลังจะปฏิบัติ (BAR) เขาจึงจะสามารถนำเอาความรู้พื้นฐานมาประยุกต์เข้ากับทัศนคติส่วนตนได้นะน้อง  เขาจึงจะค้นพบ style ของตนเองและนำมาใช้ หรือปรับมันให้เหมาะกับกาละเทศะ

ส่วนใหญ่พวกเรา ไม่เคยตั้งจุดหมายหรือเป้าหมายของ communication ให้ชัดว่า ต้องการผลอะไรในแง่ skills ของตนเอง และ ผลต่อผู้ป่วยที่กำลังดูแล จึงทำให้บางครั้งได้ของแถมในสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาตามมาเพราะเอา style มาใช้ผิดกาละเทศะ

คุณหมอสอนแบบเป็นธรรมชาติดีค่ะ

 

ขอบคุณอาจารย์หมอเจ๊

สำคัญอย่างมากครับเรื่องกรเรียนที่มีจุดหมาย เพราะ ตอนที่ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ก็มุ่งเน้นที่คะแนน ปัญหาคือ เด็กก็เรียนแบบแข่งขันมากกว่าเรียนเพื่อพัฒนาปัญญา ซึ่งพระพรมคุณาภรณ์เคยกล่าวไว้ว่า "การศึกษาคือการที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงาม"

มายกมือเป็นกำลังใจให้คุณครูคนใหม่ แต่เทคนิคท่ใช้ถูกใจครู อาวุโส มาก

ความที่ผมเดี๋๋ยวนี้ ต้องไปเป็น facilitator  กับกลุ่มนักศึกษามากกว่า ไม่ใช่ lecturer ผมจึงรู้สึกว่า ผมไปเรียนรู้จากเขาด้วยซ้ำ หลายครั้งผมรู้สึกว่า เขาพูดได้ดีกว่าผมซะอีก

หน้าที่ของครูอันหนึ่งที่ผมคิดว่าเรามักจะละเลย คือ ให้ศิษย์ของเราค้นหาความสามารถของตนเองที่มีอยูู่่ ถ้าทำให้เขาได้รู้ว่า ความรู้เหล่านี้ได้มาจากพวกเขาช่วยกันด้วย จะทำให้เขาภูมิใจแล้วมีแรงบันดาลใจต่อไปครับ

เยี่ยมมากครับ 

ขอบคุณครับ อาจารย์เต็ม

เป็นข้อคิดที่ดีมากครับ "ให้ศิษย์ของเราค้นหาความสามารถของตนเองที่มีอยูู่่ ถ้าทำให้เขาได้รู้ว่า ความรู้เหล่านี้ได้มาจากพวกเขาช่วยกันด้วย จะทำให้เขาภูมิใจแล้วมีแรงบันดาลใจต่อไปครับ"

เห็นด้วยกับความคิดเห็น "การสอนให้คิดและมองภาพชีวิตของคน" มากกว่า "การจดจำเทคนิคการรักษา"

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ดีและมีประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงวิธีการสอนบุคลากรทางการแพทย์ต่อไปครับ

ขอบคุณอาจารย์ POP ที่แวะเข้ามาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท