อมีนา : หญิงไร้รัฐไร้สัญชาติ ความจริงในสังคมไทย


นี่คือความเป็นจริงในสังคมไทยที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ณ ปัจจุบันยังมีคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติอยู่ในประเทศไทย

-------------------------------------------

อมีนา : หญิงไร้รัฐไร้สัญชาติ

ข้าพเจ้าเริ่มเขียนและรวบรวมข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550

-------------------------------------------------------------------------          

                          จากคำบอกเล่าของอมีนาหญิงสาววัย 28 ปี ผู้ที่บอกว่าเกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดินไทย เธอเล่าให้เราฟังว่าเธอเป็นบุตรสาวคนเดียวของครอบครัวชาวโรฮิงยาที่อพยพหนีภัยจากการกวาดล้างของรัฐบาลทหารพม่าเมื่อราวๆ 30 ปีก่อน พ่อกับแม่เล่าให้เธอฟังว่าท่านทั้งสองหนีจากการกวาดล้างของทหารพม่าโดยเดินเท้าผ่านเข้ามาประเทศไทยทางด่านแห่งหนึ่งบริเวณชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2519แล้วเดินทางต่อมาปักหลักประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้างทั่วไป บริเวณใกล้ๆสุเหร่าบางกะปิ พ่อและแม่ต้องเผชิญกับความยากลำบากไม่น้อยเนื่องจากตอนที่อพยพมานั้นท่านไม่มีทรัพย์สิน หรือแม้แต่เอกสารใดๆติดตัวมาด้วย

                 หลังจากท่านทั้งสองมาปักหลักในประเทศไทยไม่นานนักใน พ.ศ. 2521แม่ก็ให้กำเนิดเด็กหญิงตัวน้อยมีนามว่าอมีนา จริงๆแล้วเธอมิใช่ลูกคนแรกและคนเดียวของครอบครัวแต่ด้วยความลำบากทำให้แม่ต้องแท้งพี่ๆของเธอไปหลายคน มีแต่เธอเท่านั้นที่เข้มแข็งพอที่จะคลอดออกมาเพื่อเผชิญชะตากรรมบนโลกใบนี้ และแล้วเด็กน้อยอมีนาก็ถือกำเนิดมา เธอถือเป็นของขวัญชิ้นเอกที่องค์อัลเลาะห์ทรงประทานให้ครอบครัวนี้ 

              และเนื่องจากอมีนาเกิดที่บ้านโดยการทำคลอดของหมอตำแยชาวมุสลิม ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมอมีนาถึงไม่มีหนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล 

                          นอกจากนี้อมีนายังไม่มีสูติบัตร หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด ด้วยเหตุผลที่พ่อและแม่ของเธอเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายท่านทั้งสองจึงไม่กล้าไปแจ้งเกิดลูกน้อยกับนายทะเบียนเพราะกลัวว่าจะถูกจับตัวส่งตำรวจ ต่อมาเมื่อถึงวัยที่เด็กน้อยจะได้ศึกษาเล่าเรียน เธอก็ต้องพบกับความเสียใจครั้งแรกเมื่อถูกทางโรงเรียนปฏิเสธที่จะรับเธอเข้าเรียนโดยให้เหตุผลว่า เธอและครอบครัวไม่มีหลักฐานใดๆไปยื่นกับทางโรงเรียน ครอบครัวเธอจากเดิมที่ไม่มีปากไม่มีเสียงในสังคมอยู่แล้วก็ได้แต่ยอมรับแล้วก้มหน้าเผชิญกับชะตากรรมที่ถูกหยิบยื่นให้ต่อไป

                           หลังจากนั้นไม่นานเมื่ออมีนาอายุได้ 7 ขวบเธอก็พบกับความเสียใจอีกครั้งเมื่อพ่อมาด่วนจากไป ปล่อยให้เธอกับแม่ต้องอยู่กันตามลำพัง  ไม่นานนักแม่ก็แต่งงานใหม่เหมือนว่าโชค(ร้าย) จะเข้าข้างเธออีกครั้ง เพราะพ่อใหม่มีเรื่องทะเลาะกับแม่แทบทุกวัน เด็กน้อยวัย12 ปี ไม่อาจทนต่อสภาพเช่นนั้นได้อีกต่อไปจึงหนีออกจากบ้านมาใช้ชีวิตเร่ร่อน ค่ำไหนนอนนั่นอาศัยนอนตามป้ายรถเมล์บ้าง ตามที่นั่งรอของผู้โดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิตบ้าง และยังชีพด้วยการรับจ้างล้างจานเพื่อแลกกับอาหารพอประทังชีวิตไปวันๆ  ชีวิตยังคงดำเนินวนเวียนไปเช่นนี้ได้ประมาณเดือนเศษในขณะที่นั่งอยู่ที่สถานีขนส่งหมอชิตเธอก็ได้เจอกับป้าใจดีท่านหนึ่ง (มีต่อ)

                         อมีนาตามคุณป้าท่านนั้นไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่เพชรบูรณ์ ณ ที่นี้เธอมีทั้งพ่อ แม่ พี่ น้อง และญาติ ครอบครัวใหม่ที่เพชรบูรณ์ช่วยเติมเต็มชีวิตวัยเด็กที่ขาดหายไปให้กลับมาอบอุ่นอีกครั้ง

                        หลักจากอยู่ที่เพชรบูรณ์ได้ไม่กี่ปีเธอและครอบครัวของป้าก็อพยพเข้ามาทำงานรับเหมาก่อสร้างในกรุงเทพ อาศัยอยู่ที่นนทบุรี อยู่มาได้ประมาณ 5-6 ปี เธอก็แต่งงานอยู่กินกับลูกคนกลางของป้า และให้กำเนิดทายาทตัวน้อยแก่ครอบครัวนี้หนึ่งคน  ในช่วงก่อนที่จะมีลูก อมีนาได้เข้ามาขอคำปรึกษาทางกฎหมายที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์แล้วครั้งหนึ่งเมื่อราวๆพ.ศ. 2545 และได้มาขอคำปรึกษาครั้งล่าสุดในปี 2550 ในงานวิชาการประจำปีของคณะนิติศาสตร์  ครั้ง ที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่  17 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา การปรากฎตัวของเธอและครอบครัวในวันนั้นเป็นการแสดงตนให้สังคมไทยได้เห็นว่ายังมีคนไร้รัฐไร้สัญชาติอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านสถานะบุคคล เพื่อที่พวกเขาและครอบครัวจะได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างสงบสุข ไม่ต้องกังวลว่าเมื่อไรจะถูกตำรวจเรียกดูบัตรประชาชน

บทวิเคระห์ทางกฎหมาย

สถานะบุคคลทางกฎหมายของอมีนา

                         อมีนาที่เกิดในราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. 2521  ไม่มีเอกสารรับรองการเกิด (ไม่มีหนังสือรับรองการเกิด ไม่มีหนังสือรับรองสถานที่เกิดว่าเธอเกิดในประเทศไทย ไม่มีสูติบัตร) อมีนาเคยขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว

                       

สถานะบุคคลทางกฎหมายของบิดาและมารดาของอมีนา

                          บิดาและมารดาของอมีนาเกิดนอกราชอาณาจักร(เกิดในพม่า) เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายคนเข้าเมือง ไม่ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิอาศัยในราชอาณาจักร  ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนใดๆทั้งที่ออกโดยพม่า และที่ออกโดยรัฐไทย

อมีนาเป็นคนไร้รัฐ หรือไม่ ? 

                       อมีนาเป็นคนไร้รัฐ เนื่องจากไม่มีรัฐใดในโลกรับรองความเป็นบุคคลของอมีนาเลย ขอขยายความว่าปกติแล้วบุคคลทุกคนจะได้รับการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายแพ่ง  นับตั้งแต่คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกตามบทบัญญัติ มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงได้รับการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายแพ่งเสมอ

                       ณ ปัจจุบันนี้ถือว่ารัฐไทยเป็นรัฐที่มีจุดเกาะเกี่ยวใกล้ชิดกับอมีนามากที่สุดเนื่องจากเป็นรัฐที่อมีนา 

อมีนาเป็นคนไร้สัญชาติหรือไม่ ? 

                          การพิจารณาว่าอมีนาเป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือไม่นั้นต้องพิจารณาจากกฎหมายสัญชาติที่มีผลใช้บังคับในขณะที่บุคคลนั้นเกิด กล่าวคือ ต้องพิจารณาจาก พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

                         มาตรา

----------------------------------------------------

อมีนามีสัญชาติพม่าหรือไม่ ?

หมายเลขบันทึก: 156326เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2007 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ คุณ กิติวรญา

  • ติดตามอ่านครับ
  • ขอให้กำลังใจในความดีของท่านด้วยครับ

บุญรักษา คนดี :)

ในฐานะที่ดูแลภาพใหญเรื่องการศึกษา โรงเรียนไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธเด็กเข้าเรียน ไม่ว่ากรณีใด เพราะสนธิสัญญา และสิทธิเด็กของสหประชาชาติคุ้มครองเด็กอยู่ แต่ในทางปฏิบัติเด็กเราก็ถูกทำร้ายเพราะช่องว่างทางกฎหมาย

เมืองไทยมีเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ และเด็กกลุ่มพิเศษอื่นที่ต้องดูแล แต่คนไม่ค่อยสนใจนัก เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว  แต่ถ้าเขาคิดว่าเด็กเหล่านั้นเป็นลูกลานตัวเอง เขาคงไม่ทำเช่นนั้น

 คิดถึงที่ท่านนัช ฮันห์ สอนไว้ว่า "มนุษย์ไม่ใช่ศัตรูของเรา จำไว้น้องชาย ความโกรธ เคียดแค้น ชิงชัง ในใจของคนต่างหากคือศัตรูของเรา" 

ขอความรักและกรุณา เบ่งบานในใจของผู้คนครับ

รออ่านตอนต่อไปอยู่จ๊ะ

ไหมให้ภาพของอมีนาชัดเจนมากค่ะ  เป็นคนเกิดในไทยที่ตกหล่นจากทะเบียนราษฎรของรัฐไทย

ไม่ได้รับการรับรองความเป็นบุคคลตามกฎหมาย จึงไร้รัฐ

และเพราะไร้รัฐ จึงถูกปฏิเสธสิทธิทางการศึกษา ในยุคที่แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนทางการศึกษายังไม่ชัดเจนในประเทศไทย

นึกเอาไว้นะ เรื่องของอมีนาจะไปอยู่ในส่วนใดของวิทยานิพนธ์ของไหม

ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

และขอให้มีความสุขนะครับ

ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน

ดั่งที่ตั้งใจหวังนะครับ

 

ต้องบอกอีกอย่าง

ในการเขียนวิชาการสมัยนี้ อาจเขียนเป็นบทความที่ดูจะสื่อสารอารมณ์ได้ด้วย แต่ต้องไม่ลืมประเด็นทางวิชาการ

ในบันทึกนี้ ขาดข้อมูลว่า อมีนาเกิดที่ไหน ? และเมื่อไหร่ ? ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ส่งผลกระทบทางกฎหมายมากๆ

นอกจากนั้น บทความต้องพยายามสื่อสารว่า พ่อแม่เข้าเมืองมาเมื่อไหร ?

ทุกข้อเท็จจริงที่มีผลในการพัฒนาสถานะ ต้องพยายามใส่ลงไปค่ะ

สวัสดีครับ...

แวะมาสวัสดีปีใหม่และเป็นกำลังใจในโลกแห่งชีวิตและการงาน

ขอพรุ่งนี้เป็นวันใหม่ดังใจคิด
เปี่ยมพลังแห่งชีวิตดังคิดฝัน
เปี่ยมความรักนานาสารพัน
เปี่ยมความฝัน,  การแบ่งปัน, นิรันดร์ไป

 

 

  

เป็นอะไรก็ได้ดังใจคิด
เถอะมิ่งมิตรก้าวย่างสู่ทางใหม่
ฝากแต่เพียงความหวังกำลังใจ
และฝากความเป็นไทยไว้ติดตัว
!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท