บทเรียนในอดีต ทบทวนปัจจุบัน เตรียมการณ์อนาคต : บทบาทสถาปนิกสังคม (Social architecture)


ผมให้ความมั่นใจกับคนท้องถิ่นเสมอในทุกเวที ถึงสิทธิที่พวกเขาพึงมี ในการดูแลบ้านเมืองของเขา ทุกคนมี สิทธิอันเท่าเทียม(Human Right) แม้ว่ากระบวนการบางอย่างของรัฐจะลดทอนสิทธิเหล่านั้นอย่างจงใจ และความมั่นใจเหล่านี้ ผมเชื่อว่าจะไปเร่งเร้าให้คนท้องถิ่นเกิดจิตสำนึกที่เป็นพลังทางสังคม (Social force) ในการปกป้องมาตุภูมิของพวกเขา

เราไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไรมาก เพียงแต่มีเพียง หนึ่งสมองและสองมือของคนเล็กๆคนหนึ่ง ที่เป็นนักพัฒนาบ้านนอกที่เดินทางตามวิถีความเชื่อของตนเอง

แม้ว่าสิ่งที่มากระแทกหลากหลายมากมาย แต่นั่นก็คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น สุดท้ายได้ผลึกผลของประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งของผมเอง

 

ป่าสนสวยงามที่บ้านวัดจันทร์

อ้างอิงภาพจาก : http://www.rpst-digital.org/forum/showthread.php?p=19571

-------------------------------- 

ด้วยตระหนักและเจียมตัว สิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ตั้งใจ จะส่งผลอย่างไรในอนาคต อยู่ที่การทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ทำมหภาคไม่ได้ ก็ทำสิ่งเล็กๆ เล็กนั้นงาม (small is beautiful)  เหมือนนิทานที่ผมเคยฟังบ่อยๆเรื่อง นิทานปลาดาว เชื่อว่าทุกท่านคงเคยได้ยินมาบ้าง

มูลนิธิโครงการหลวงติดต่อมาเรื่อง ให้ช่วยเป็นวิทยากรกระบวนการในการเตรียมชุมชน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวของบ้านวัดจันทร์  อ.แม่แจ่ม ...ยังไม่ทันได้รับรู้ในรายละเอียด การพูดคุยของผมทางโทรศัพท์วันนั้น ผมตอบรับในทีอยู่แล้ว ผมตกลงทันทีที่พูดคุยเสร็จ แม้ว่าวันที่ทำกิจกรรมผมมีงานอื่นอยู่บ้างแต่พอสับหลีกได้ และที่สำคัญเป็นวันหยุดปลายปีด้วย

การเปิดเวทีแรกในพื้นที่ใหม่ ส่วนใหญ่ไม่ได้เจาะลึกในกระบวนการมาก เพียงแต่ให้ชัดเจนในส่วนของ การศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกับชุมชน (Completing a Feasibility) ประเด็นการท่องเที่ยวในเบื้องตน โดยมีมูลนิธิโครงการหลวงเป็นหน่วยงานที่ดูและกระบวนการในส่วนการสนับสนุน มีชุมชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผมมีหน้าที่ไปสร้าง commitment รูปแบบของการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี ต่อจากนั้นก็ยังมีกระบวนการอีกมากที่จะทำต่อ

บ้านวัดจันทร์เป็นพื้นที่ในความทรงจำผมมานานแล้ว ด้วยระยะทางไม่ไกลจากเมืองปาย เพียงเจ็ดสิบกว่ากิโลเมตร

พื้นที่ธรรมชาติ วันจันทร์ที่ผมเคยรู้จัก เป็นหมู่บ้านกระเหรี่ยงท่ามกลางดงดอย มีต้นสนที่สวยงาม เรียงรายเต็มพื้นที่ ยามนี้พญาเสือโคร่งคงบานสีชมพูแต่งแต้มทั่วหุบเขาแถบนั้น บรรยากาศที่เงียบสงบ คุ้งน้ำที่สวยงามพร้อมไองามยามเช้า ใบเมเปิลเริ่มเปลี่ยนสีบ้างแล้ว ...ไม่น่าเชื่อเลยว่าพื้นที่ที่มีทรัพยากรสมบูรณ์ งดงามเช่นนี้อยู่กลางป่า แถบเทือกเขาถนนธงชัย

ช่างน่าหวงแหนยิ่งนัก..ผมรำพึงกับตัวเองเบาๆ เมื่อทุกอย่างประจักษ์แก่สายตา เดินทางจากปายเพียงอึดใจเดียว แต่ความเงียบสงบนั้นแตกต่างกัน เพชรมณีที่แทรกตัวงดงามกลางป่า ผมหวั่นใจเหลือเกินในในการเปลี่ยนแปลงที่ผมพอจะคาดเดาออก ที่กำลังคืบคลานมาในไม่ช้านี้

ผมตอบรับการเชื้อเชิญจากมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อมาเตรียมพื้นที่ในการสร้างจิตสำนึกร่วมของชุมชน (ผมขอใช้คำนี้) พร้อมผู้ช่วยซึ่งเป็นหนุ่มปกาเกอญอจากอินทนนท์ผู้ช่วยกระบวนกรในครั้งนี้  อย่างน้อยผมขอเป็นกลไกเล็กๆที่เริ่มต้นชวนคนท้องถิ่น คิดเรื่องอนาคตของบ้านของพวกเขา ออกแบบอนาคตที่จะมาถึงด้วยความระมัดระวัง เรามีบทเรียนอยู่หลากหลายในพื้นที่อื่น เราอยากใช้บทเรียนนั้นมาถอดกระบวนการเพื่อเรียนรู้พัฒนาพื้นที่แห่งใหม่...

กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง (fact) ที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว ในขณะเดียวกันการทำความเข้าใจอดีต หรือ make sense of the past  จาก จุดเรียนรู้ ที่อยู่ไม่ไกลเลย ผมหมายถึงเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นบ้าเป็นหลังเช่น เมืองปายของผมที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำไปตอบสนองกับการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ (Commercialized Tourism) อย่างเต็มที่ และเพื่อการเรียนรู้ผลลัพธ์ที่เกิดจากการวางแผนพัฒนาเมืองที่รู้ไม่เท่าทันนั้นเป็นเช่นไร 

กรณีบ้านวัดจันทร์นั้นเตรียมไว้ก่อนดีกว่ามีปัญหาแล้วค่อยแก้ จะไม่ทันการเหมือนเมืองข้างเคียง

ผมให้ความมั่นใจกับคนท้องถิ่นเสมอในทุกเวที ถึงสิทธิที่พวกเขาพึงมี ในการดูแลบ้านเมืองของเขา ทุกคนมี สิทธิอันเท่าเทียม(Human Right) แม้ว่ากระบวนการบางอย่างของรัฐจะลดทอนสิทธิเหล่านั้นอย่างจงใจ และความมั่นใจเหล่านี้ ผมเชื่อว่าจะไปเร่งเร้าให้คนท้องถิ่นเกิดจิตสำนึกที่เป็นพลังทางสังคม (Social force) ในการปกป้องมาตุภูมิของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม ผมทราบว่ากลุ่มเป้าหมายทั้ง ๓๐ คนที่จะเข้ามาร่วมในเวทีเตรียมความพร้อมประเด็นการท่องเที่ยวที่มูลนิธิโครงการหลวงจัดนั้น เป็นบุคคลสำคัญ (Key informant) ของท้องถิ่นที่นั่น ...ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าภูมิใจนี้ ทำให้ผมต้องเตรียมการบ้านที่เข้มข้นและผ่อนคลายในขณะเดียวกัน คิดในเวลาไม่กี่วันว่า ผมน่าจะมีกระบวนการอย่างไรกับเวลาเพียงวันสองวันที่ผมจะเดินทางไปในครั้งนี้

วันนี้ที่ปาย ผมก็กำลังคิดกระบวนการอย่างเป็นบ้าเป็นหลังเช่นกันครับ J    

หมายเลขบันทึก: 155986เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2007 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ข้อมูลและเวปไซต์ที่เกี่ยวข้อง

"ท่องเที่ยวโครงการหลวง 36 ดอย 365 วัน"

จากอดีตเส้นทางที่ยากลำบากเมื่อครั้งพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เสด็จเยี่ยม เยือนพี่น้องชาวไทยภูเขาบนดอยที่มีอาชีพ หลัก เพียงการปลูก ฝิ่น

พระองค์ฯทรงมีพระราชดำริ ให้มีการทดลองปลูกพืชเมือง หนาวไม้ดอก ไม้ประดับเพื่อให้พี่น้องชาว ไทยภูเขาได้ปลูกพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นอัน เป็นที่มาของ โครงการหลวงในอดีต. ปัจจุบัน ภาพของทุ่งดอกฝิ่น ในอดีต ถูกแทนที่ด้วย พืชผั กเมืองหนาว นานา พันธุ์

 ที่วันนี้โครง การหลวงพร้อม ที่จะให้นัก ท่องเที่ยวได้เข้า มาสัมผัสบรรยากาศความงด งามของพันธุ์พืช อากาศที่หนาวเย็นและพร้อมที่จะเป็นแหล่ง เรียนรู้ของทุกคน...

 

แผนที่บ้านวัดจันทร์ ที่อยู่ไม่ไกลจาก อ.ปาย เลย

พี่เก็บแผนที่ไว้นะ

จะหาโอกาสมาสัมผัสธรรมชาติและชีวิตแถบนี้บ้างครับ

สวัสดีครับ พี่บางทราย 

ครับยินดีครับ ผมติดต่อให้ข้อมูลได้ในทุกจุดโดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทย

บรรยากาศในช่วงปลายปีที่นี่น่าเที่ยวครับ อากาศใสๆผู้คนใจดี ดอกไม้สวย พญาเสือโคร่งคงบานทั่วดอย ต้นสนใกล้น้ำรูปทรงสวย ผมชอบมากเลย

พ่อครูบาได้ไปเยี่ยมมาแล้วครับผมที่นี่ ป่าสน ออป.บ้านวัดจันทร์

 

  • แวะมาเป็นกำลังใจให้น้องเอกค่ะ
  • อยากให้การจัดการท่องเที่ยวในชุมชนเป็นแบบที่ยั่งยืน ให้ชาวบ้านได้พึ่งพิงตนเองได้ หากภาครัฐถอยห่าง
  • น่าเสียดายที่แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมองแต่เชิงธุรกิจเกินไปนักท่องเที่ยวเลยเข็ดจะมาแบบครั้งเดียวเลิก ความประทับใจและการบอกต่อๆกันก็สำคัญมากทีเดียว บ้านเรายังทำเรื่องนี้ได้ไม่ถาวรค่ะ

อ้ายเอก

  • เมื่อสัปดาห์ก่อนดูสารคดีประพาสต้นบนดอย ทำได้ดีมาก
  • เป็นสารคดีที่ทำเกี่ยวกับคนดอยกับการพัฒนาอาชีพ
  • โดยเฉพาะงานของโครงการหลวง กับชาวบ้าน

 

กระผมเห็นด้วยครับว่าอดีตเป็นบทเรียน ที่มีคุณค่า อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่ปัจจุบันอาจเป็นตัวบ่งชี้ความน่าจะเป็นของอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง ถ้าไม่ป้องกันไว้บ้างสิ่งต่างๆอาจถูกครอบงำไปโดยไม่รู้ตัว

กระผมได้ไปเที่ยวบ้านแม้วดอยสุเทพครั้งแรกเมื่อประมาณต้นปี 50 กระผมคิดว่าคงไม่ใช่ตัวตนของเค้า แต่เป็นวิถีชีวิตใหม่เชิงธุรกิจท่องเที่ยวที่ดำเนินการโดยนักธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสังคม จนกระผมคิดว่าการที่เราอยากไปเรียนรู้ก็คงได้แค่สิ่งภายนอก  ไม่สามารถเรียนรู้ธรรมชาติเดิมของเขาได้ จึงเป็นแค่การได้ไปชมตลาดแม้วมากกว่าชมธรรมชาติดั้งเดิมซึ่งเป็นสิ่งมีทรงคุณค่าทั้งทางวัฒนธรรมและสังคม การที่เราเข้าไปคงมีทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบแต่จะทำอย่างไรให้ผลกระทบด้านลบน้อยที่สุดเป็นสิ่งสำคัญ ขอเป็นกำลังใจให้คุณจตุพรและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านโดยเฉพาะชาวไทยกระเหรี่ยงแห่งบ้านวัดจันทร์นะครับ 

สวัสดีครับพี่นารีnaree suwan

เป็นงานที่ส่งท้ายปลายปี นายเอกขอฝากฝีไม้ลายมือให้เต็มที่ครับ กับการทำกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ชุมชนได้ เรียนรู้ตัวเอง ถามตัวเองให้แน่นอน ก่อนเดิน หรือเคลื่อนงานพัฒนา

เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การศึกษความเป็นไปได้ของชุมชน ที่ผมกำลังจะบอกว่า มันเป็นไปแล้วครับ เพียงแต่เราจะวางแผนรับมืออย่างไร

เมื่อครู่ทาง จนท.โครงการหลวง โทรมาเชื้อเชิญให้ผมเข้าร่วม นับถอยหลัง (เคาดาวท์) ที่บ้านวัดจันทร์ด้วย งานนี้ไปรับอรุณปีใหม่ที่บนดอย กลางป่าสนผืนใหญ่ที่สุดของประเทศ ...ดูดีจังครับ

ผมใจง่ายครับ ตอบตกลง อีกแล้วครับ :) )

เคยไปวัดจันทร์ครั้งหนึ่งครับ

สมัยเป็นนักเรียนที่มช. อาจรย์ที่ปรึกษา(ดร.สุชาติ) เป็นคนดูแลที่นั่น

บรรยากาศท่ามกลางสายหมอกทึบหนา ท่ามกลางป่าสน ยังประทับใจ ตอนเช้าไปเดินเยี่ยมพี่น้องปะกากะญอ ในหมู่บ้าน

ได้ข่าวว่าเดี๋ยวนี้มีบ้านรับรองสวยงาม น่าจัดเฮฮาศาสตร์ปายที่นี่เนาะ

สวัสดีค่ะ คุณเอก

  • ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ  เป็นคนหนึ่งที่ชอบสัมผัสกับธรรมชาติ แต่ในภาคกลางมีโอกาสได้สัมผัสน้อย  ถ้ามีเวลาว่างตอนเย็นๆ ชอบไปตามทุ่งนา (บรรพบุรุษเป็นชาวนาค่ะ)
  • เคยไปเที่ยว งานราชพฤกษ์2007 เดินทางตอนกลางคืนเห็นไฟไหม้ป่าบนภูเขารู้สึกเสียดาย  กว่าต้นไม้จะโตต้องใช้เวลานานมาก
  • ทุกวันนี้ก็สอนนักเรียน ปลูกจิตสำนึกให้ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชี้ให้เห็นโทษและผลเสีย ที่ธรรมชาติถูกทำลาย ซึ่งเด็กๆก็รู้และเข้าใจมากขึ้น 

สวัสดีครับ

ช่วงนี้เหนื่อยทั้งงานส่วนตัวและงานหลวง

มี Pre-ICV จาก HACC เชียงรายมา

บ่ายเดินทางไปบ้านในของปิดกีฬาแทนท่านสมคบ

กลับถึงบ้านทุ่ม พรุ่งกะไปงานที่ศูนย์โอทอปกับเอกเสียหน่อย  เจอกันพรุ่งนี้ (27)นะ

  • ในบรรดาเมืองเหนือทั้งหมด  ก็มีแม่ฮ่องสอนนี่แหละครับที่ไปไม่ถึงสักที ....  ได้ยินการเล่าขานอยู่บ่อยครั้งว่างามยิ่งนัก 
  • จะหาโอกาสไปในไม่ช้าครับพี่....

สวัสดีครับน้องออต

การประชาสัมพันธ์ของมูลนิธิโครงการหลวงทำได้ดีครับ

การท่องเที่ยวของโครงการหลวงก็เป็นอีกกลุ่มงานที่สร้างรคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องบนภูเขา

ผมช่วยในภารกิจนี้ครับ

--------------------------------------------

สวัสดีครับคุณครูวุฒิชัย สังข์พงษ์

ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญครับ เพราะเป็นที่มาของปัจจุบัน และปัจจุบันเองก็ทำให้ดีเพื่ออนาคต เกี่ยวเนื่องกันไปแบบนี้

เราจำเป็นต้องยอมรับความจริงในส่วนของการเปลี่ยนแปลง ผมคุยกับ จนท.โครงการหลวงวันนี้ว่า กระแสการท่องเที่ยวนั้น เราต้องทำความเข้าใจ และชุมชนเองก็ต้องรู้เท่าทัน ถ้าอนุรักษ์อย่างเดียวไม่เปิดใจสิ่งใหม่ ก็อยู่ลำบาก พัฒนายาก อุดมการณ์มากเกินไปไม่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ

การดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างหากที่ท้าทาย เพื่อหาจุดดุลยภาพ

-------------------------------------------------

อ้ายเปลี่ยนpaleeyon

วัดจันทร์ตอนนี้เข้าถึงไม่ยากครับ ทางดีมากจากปายไปไม่นาน ถนนลาดยางมะตอย

บรรยากาศชนบทของบ้านวัดจันทร์มีเสน่ห์มาก ส่วน ออป.วัดจันทร์ มีที่พักที่สวยมาก บรรยากาศดีมากๆด้วยครับ

คิดว่าอ้ายคงประทับใจ

สวัสดีครับ คุณครูจุฑารัตน์

  • ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจที่ดี
  • บรรยากาศชนบทมีเสน่ห์ ทำให้เราคิดถึงอดีตดีๆได้
  • การอนุรักษ์ธรรมชาติ จำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกคนรุ่นใหม่ด้วยครับ
  • การกระทำที่ไร้จิตสำนึกนั่นเองครับที่เป็นตัวการดูด กลืน กิน ทรัพยากรอย่างไม่รู้ค่า
  • ไว้ผมจะมาเล่าบรรยากาศที่บ้านวัดจันทร์ให้อ่านครับ :)

สวัสดีครับพี่ Mr. Kraton Pai

  • ให้กำลังใจคนทำงานด้วยคนครับ
  • ผมเองก็ไม่ใคร่จะได้ไปติดต่อพี่บ่อยครั้ง ด้วยภารกิจที่ต้องทำหลากหลาย ต้องขออภัย
  • เรื่อง การออกพื้นที่ เพื่อนำของไปบริจาคเป็นอันว่าตกลงแล้วนะครับ วันที่ ๓ ม.ค.๕๑  ผมจะได้เตรียมตัว
  • พรุ่งนี้ ที่ลานโอทอปครับ อยากให้พี่ช่วยประสาน ปายเคเบิ้ล ทีวีไปถ่ายทอดสดงานพรุ่งนี้ด้วย ต้องประสานที่ใครครับ??~
  • ผมคุยกับ อ.หมอ อุทัยวรรณ แล้วมีประเด็นหนักใจที่ต้องหารือด้วยครับ พรุ่งนี้ (๒๗ )เจอกันครับ เวลา ๑๓.๐๐ น.ที่ลานโอทอป ปาย
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ อ.ย่ามแดง

  • มีโอกาสมีเวลาเรียนเชิญมาแอ่วครับ ปายไม่ไกลจากเชียงใหม่ครับ
  • ช่วงนี้อากาศหนาวเย็น ดอกไม้สวย หากพาใครบางคนมาด้วย จะดีมากๆครับ
  • หาโอกาสมาให้ได้ครับ...มาเมื่อไหร่บอกด้วยนะครับผม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท