มอญ : ชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า
มอญเป็นชนชาติที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เมื่อเอ่ยถึงชนชาติ “มอญ” ในประเทศพม่า พม่าจะถือว่ามอญเป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินเมียนมา
มอญ :
ชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า
มอญเป็นชนชาติที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร
เมื่อเอ่ยถึงชนชาติ “มอญ” ในประเทศพม่า
พม่าจะถือว่ามอญเป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินเมียนมา
และแม้ว่าภาษามอญนั้นจะแตกต่างกับภาษาพม่าโดยสิ้นเชิงก็ตาม
(พม่าพูดภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต)
แต่พม่ากลับเห็นว่าชนชาติมอญสืบเชื้อสายมาจากมองโกลอยด์เช่นเดียวกับชนชาติพม่า
อีกทั้งรูปร่างหน้าตาของชาวมอญกับชาวพม่าแทบจะแยกกันไม่ออก
ด้วยชาวมอญกับชาวพม่าได้อยู่ร่วมผสมสายเลือดกันมานับแต่ยุคพุกาม
จนปัจจุบันแยกไม่ออกได้ง่ายว่า ใครเป็นมอญ หรือ ใครเป็นพม่า
ดังนั้น พม่าจึงสรุปว่าชาวมอญกับชาวพม่าต่างย่อมมีความใกล้ชิดสนิทสนม
ด้วยพม่า-มอญนั้นสืบเชื้อสายและร่วมประวัติศาสตร์กันมายาวนาน
ในทางวิชาการ
เคยมีข้อสรุปไว้ว่าชนชาติแรกที่เคยปรากฏอยู่ในประเทศพม่าคือชนเผ่ากัปปะลี(dx»]u)
หรือ นิกริโต(ou8iu96b) จากนั้นในราว ๔ พันปีก่อน
จึงมีชนชาติมอญอพยพลงมาอาศัยเป็นหลักแหล่งในรูปแบบสังคมกสิกรรม
และเรียกแผ่นดินแรกของมอญนี้ว่า รามัญเทสะ(ik,Pgml)
ส่วนชนเผ่ากัปปะลีนั้นก็เคลื่อนย้ายไปอาศัยอยู่ตามเกาะภีลู หรือ
บะลู(4u]^td°oNt)และเกาะกัปปะลี(dx»]ud°oNt)
และเชื่อว่าชนเผ่านี้น่าจะเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าซมีง(0,'N) หรือ
เซมัง(gC,oN)ในปัจจุบัน
เกาะบะลูนั้นเป็นเกาะใหญ่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองเมาะลำไย
ชาวมอญเรียกว่า ตะเก๊าะขมาย(9gdkH-,6b'Nt) คำว่า ตะเก๊าะ
แปลว่า “เกาะ” ส่วนคำว่า ขมาย
นั้นสันนิษฐานตามตำนานพื้นเมืองว่าอาจจะเป็นที่มาของชื่อเผ่าซมีง
(ตามตำนานขมายเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง
มีอมนุษย์เกิดจากนกเหยี่ยวคู่หนึ่งที่อาศัยอยู่บนต้นขมายนั้น)
และเชื่อว่าชนเผ่านี้ก็คงจะเคยอาศัยบนเกาะบะลูมาก่อน
โดยอยู่อย่างคนเปลือย แต่ด้วยหน้าตาน่ากลัว มีริมฝีปากหนา ผมหยิก
ผิวดำ มีนิสัยกระด้าง แถมว่ายน้ำเก่ง จึงถูกมองว่าเป็นพวกยักษ์
แล้วเรียกเกาะที่พวกนี้อาศัยอยู่ว่า เกาะยักขะ(pd¢d°oNt)
ซึ่งสอดคล้องกับการที่พม่าก็เรียกเกาะนี้ว่า เกาะบะลู เพราะ
บะลู ก็แปลว่า “ยักษ์” เช่นกัน
ในทางภาษาศาสตร์
เคยมีการวิจัยพบว่าภาษาชาวซมีงมีคำศัพท์ร่วมกับคำศัพท์ของภาษามอญโบราณ
จึงพอจะบอกได้ว่าชาวมอญเคยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวซมีงมาก่อน
นอกจากนี้ในพงศาวดารมอญ ก็กล่าวไว้ว่าเมื่อปี ๒๕๐ ก่อนคริสต์ศักราช
พระโสณะเถระ(glkIg5iN) และพระอุตตระเถระ(f9µig5iN)
ได้เดินทางมาประกาศพระศาสนา ณ
ดินแดนสะเทิม-สุวรรณภูมิ(l6;I³46,Ábl56"exPN)
แล้วสวดพระปริตรเพื่อขับไล่เหล่ายักษ์น้ำหรือผีเสื้อสมุทร(gil^ic4u]^tpd¢)มิให้มาเป็นอันตรายแก่ชาวมอญ
จึงสันนิษฐานว่าพวกยักษ์ในตำนานภาษามอญนั้นน่าจะหมายถึงชนเผ่าซมีงนั่นเอง
ส่วนชาวมอญจะมาจากไหนนั้น ยังคงตอบให้ชัดได้ยาก
บ้างก็มีความเห็นว่าน่าจะอพยพมาจากมองโกเลีย
บ้างเชื่อว่ามอญมีถิ่นกำเนิดจากที่ราบโตนกีง(96oNd'N)ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน
และก่อนที่มอญจะมาอาศัยอยู่ที่เมืองสะเทิมในประเทศพม่านั้น
ก็เคยตั้งอาณาจักรทวารวดี(m:ji;9u)
ในพื้นที่ตอนล่างของประเทศไทย
ดังปรากฏเป็นหลักฐานเป็นจารึกมอญที่นครปฐม หรือ ประปโทม(xix56")
และที่ลพบุรี
จารึกนั้นเก่าแก่กว่าจารึกภาษามอญที่สะเทิมและพุกามถึงราว ๕๐๐ ปี
ต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐
อาณาจักรทวารวดีของมอญก็ถูกพวกเขมรหรือขมา(-,k)โจมตีจนต้องย้ายขึ้นเหนือไปตั้งเมืองหริภุญไชย(skiur6f¨)
ซึ่งปัจจุบันคือลำพูน จากนั้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒–๑๓
ชาวไทยก็อพยพจากตอนบนลงมาตีอีก ทวารวดีจึงถึงกาลล่มสลาย
ส่วนนาม รามัญ พบเก่าสุดในมหาวังสะ(,sk;"l)ของสิงหล
ในสมัยพระเจ้าจันสิตตาแห่งพุกามพบคำนี้ในศิลาจารึกมอญ เขียนว่า g,
หรือ g,PN ออกเสียงว่า รมีง(i,'Nt)
ซึ่งในจารึกนั้นก็พบคำเรียกพม่าว่า ,b, อ่านว่า มิรมา อีกด้วย
ส่วนในสมัยหงสาวดี พบจารึกแผ่นทอง เขียนว่า ,oN อ่าน
รมัน(i,oN) คล้ายกับที่ไทยเรียก รามัญ ส่วนในเขตรามัญเทสะ
จะเรียกว่า มัน(,oN) หรือ มูน(,:oN) ซึ่งใกล้กับคำว่า มอญ
ในภาษาไทย
อันที่จริง พม่าเคยนิยมเรียกมอญว่า ตะลาย(9]6b'Nt) หรือ ตะเลง
คำเรียกนี้ พบในศิลาจารึกพุกาม
และบางจารึกที่น่าจะจารึกในต้นสมัยอังวะ
อีกทั้งในพงศาวดารมอญกล่าวถึงเจ้าชายจากเมืองกาลิงคะ(dk]b8§)-ติลิงคนะ(9b]b8§o)แห่งมัชฌิมเทสะเสด็จมายังสะเทิม-สุวรรณภูมิเพื่อปกครองชาวมอญโดยมีท้าวสักกะอุปถัมภ์
เป็นไปได้ว่าชาวติลิงคนะคงจะเดินทางมาสู่รามัญเทสะอยู่เรื่อยๆ
จึงเรียกเหมาชาวมอญว่าเป็นชาวติลิงคนะไปด้วย จนที่สุดก็เพี้ยนมาเป็น
ตะลายในภายหลัง แต่เนื่องจากคำว่า ตะลาย นั้น
ชาวมอญเห็นว่าเป็นคำดูหมิ่น มีความหมายไปในทาง
“พันธุ์ทางไร้พ่อ” (v,y7bt,00Nvz,cH)
ชาวมอญจึงไม่อยากให้ใช้ชื่อนี้มาเรียกชาวมอญอีกต่อไป
ซึ่งรัฐบาลพม่าก็ได้เคยประกาศห้ามใช้ชื่อ ตะลาย เรียกชาวมอญ
และกำหนดให้เรียกว่า มูน(,:oN) หรือ มอญ เท่านั้น
เรื่องราวของมอญยังมีกล่าวในศิลาจารึกเจดีย์ชเวดากองไว้ว่า
คราที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ได้มีพ่อค้าชาวมอญสองพี่น้อง นามว่า
ตผุสสะ(9z6Ê) ภัลลิกะ(4]bÅd)
ได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้ามาประดิษฐาน ณ เจดีย์ชเวดากอง พอราวปี
๒๕๐ ก่อนคริสต์ศักราช
พระเจ้าอโศกได้ส่งพระโสณะเถระและพระอุตตรเถระมาเผยแผ่พระศาสนาในหมู่ชาวมอญ
ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมาคริสต์ศตวรรษที่ ๔
พระพุทธโฆสะ(r6m¸gSkl)ได้เดินทางไปยังเกาะสิงหลเพื่อคัดลอกพระไตรปิฎกเป็นอักษรมอญ
ซึ่งหากศึกษารูปอักษรมอญโบราณ
ก็จะพอจะเชื่อได้ว่าอักษรมอญนั้นมีเค้ามาจากอักษรอินเดียตอนใต้ คือ
อักษรปัลลวะ(x]Å;)และอักษรกทัมพะ(dm"r)
ในประเทศไทย เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ๕-๖ ปรากฏศิลาจารึกมอญที่นครปฐม
ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๗-๘ มีจารึกมอญที่ลพบุรี
และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑–๑๓ มีจารึกมอญที่ลำพูน
ส่วนในประเทศพม่านั้น พบศิลาจารึกมอญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ ณ
ถ้ำเก๊าะกูม(gdkH8:,Nt8^)ใกล้เมืองบาอัง(4ktv")ในรัฐกะเหรี่ยง
และพบที่เจดีย์ชเวซายัง(gU0ki"46ikt)ในเมืองสะเทิม
ส่วนศิลาจารึกมอญที่เมืองพุกามซึ่งพบมากที่สุดนั้นจารึกขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่
๑๑ นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกมอญประปรายตามเมืองต่างๆ อาทิ
เจาก์แซ(gdykdNCPN) แปร(exPN) พะโค(xc-^t)
ชเวนั่งต่าตะวันออก(gUo"hlk) และสะเทิม(l56") ส่วนในยุคหงสาวดีนั้น
พบศิลาจารึกมอญและจารึกบนองค์ระฆังที่พะสิม(x6lb,N) ย่างกุ้ง(ioNd6oN)
พะโค(xc-^t) พุกาม(x68") สะเทิม(l56") ดอยเกลาสะ(gd]klg9k'N)
เมาะตะมะ(,69µ,) ไจก์มะยอ(dy7bdN,gik) และทวาย(5kt;pN)
ด้านจารึกภาษามอญบนใบลานนั้น พบมากมายตามหมู่บ้านมอญในประไทย
ส่วนที่ประเทศพม่าพบมากตามหมู่บ้านมอญในเมืองสะเทิมและเมืองไจก์ขมี(dy7bd¢,u)
ซึ่งมีการคัดลอกและรวบรวมนำมาเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติเมืองย่างกุ้ง
และที่ห้องสมุดมอญเมืองเมาะลำไย นอกจากนี้กองโบราณคดีและกองวัฒนธรรม
ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรม ชาดก ตำรามอญ
และเคยมีการริเริ่มจัดพิมพ์พจนานุกรมมอญ-พม่าอีกด้วย
ในด้านตัวอักษรนั้น
อักษรมอญถือเป็นต้นแบบให้กับอักษรพม่าตามที่พบเป็นหลักฐานจากศิลาจารึกมยะเซดี(e,g09ugdykdN0k)
และจากการที่พระชินอรหันต์(ia'Nvis")ภิกษุมอญได้นำพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาเผยแผ่ยังเมืองพุกามในสมัยพระเจ้าอโนรธานั้น
จึงได้พบจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรมอญบนด้านหลังพระพิมพ์อีกด้วย
ที่จริงในยุคนั้นก็มีอักษรพยูหรือปยู(xy&)ใช้เช่นกัน
แต่ชาวพม่ากลับนิยมอักษรมอญมากกว่า
โดยเฉพาะตลอดสมัยของพระเจ้าจันสิตตา
วรรณคดีสมัยนั้นต่างเขียนด้วยภาษามอญ
ก็ด้วยที่พระองค์มีพระอาจารย์เป็นภิกษุมอญนั่นเอง
นอกจากนี้ยังพบจารึกมอญบนแผ่นกระเบื้องเคลือบ(0fNHd:'Nt)มากมายกว่าพันชิ้นที่เจดีย์อนันดา(vkoO·k46ikt)
อีกทั้งพบจารึกมอญ(,'N0k)ตามเจดีย์ในเมืองพุกามหลายแห่ง อาทิ
มยีง-ปยะ(e,'Ntex) อะแปรัตนา(vxpNi9ok) ผยะซะชเว(ez9N0gU)
โลกะเทะปัน(g]kd5bxNxoN) ปะโทตา-มยา(x656btlkt,ykt) นคาโยง(o8jtU6")
คู-ปเย่าจี(8^gexkdNWdut) และอโล-ปยิ(v]6bexPNH)
ในสมัยจันสิตตานั้น ไม่พบจารึกภาษาพม่าเลย จนในปี ค.ศ. ๑๑๑๒
ราชบุตรของพระองค์ นามว่า ราชกุมาร(ik=d6,kiN)
ได้ทำจารึกมยะเซดี(e,g09ugdykdN0k)เป็นภาษาพม่า
แล้ววรรณคดีภาษาพม่าก็ค่อยๆรุ่งเรืองเรื่อยมา
จนในสมัยพระเจ้านรปติ(oix9b) ภาษามอญก็เสื่อมความนิยม
จนถึงสมัยหงสาวดี วรรณคดีมอญกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง
โดยเฉพาะในสมัยของพระนางชินซอปุ(ia'Ng0kx6)
และพระเจ้าธรรมเซดี(T,Ág09u)
แต่ในที่สุดวรรณคดีมอญก็มีอันต้องเสื่อมลงอีก
หลังจากที่มอญพ่ายแพ้ต่อพม่าในยุคของพระเจ้าอลองพญา(vg]k'Nt46ikt)
ในด้านประวัติศาสตร์การสร้างอาณาจักรของชนชาติมอญนั้น
อาจจำแนกตามวงศ์กษัตริย์ได้ ๓ ยุค
ยุคแรกคือยุคราชวงศ์สะเทิม-สุธรรมวดี มีกษัตริย์ปกครอง ๕๗ พระองค์
เริ่มจากสมัยพระเจ้า
สีหราชา(lusik=k)มาจนถึงสมัยพระเจ้ามนูหา(,O6sk)
เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ทั้งอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรสะเทิม
ยุคแรกสิ้นสุดลงด้วยพระเจ้าอโนรธาแห่งพุกามยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหา
ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอโนรธาน่าจะยกมาตีถึงนครปฐม
ยุคที่สอง เป็นยุคราชวงศ์พะโค-หงสาวดี มีกษัตริย์ปกครอง ๑๗ พระองค์
องค์แรกๆคือ พระเจ้าสมละ(l,])และพระเจ้าวิมละ(;b,])
และสิ้นสุดในสมัยพระเจ้าติสสะ(9bÊ) ส่วนยุคที่ ๓
คือยุคราชวงศ์เมาะตะมะ-พะโค เริ่มจากสมัยพระเจ้าวารีรู(;jiuU^)
หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของกษัตริย์ไทย
ต่อมาในสมัยพญาอู(rPktFt) ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ
เมืองพะโคหรือหงสาวดี ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย(rPktOc:h)
ซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้าราชาธิราช(ik=kTbik=N)
ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าในสมัยพระเจ้าซวาส่อแก(,'NtWdut0:kg0kNdc)
กับพระเจ้ามีงคอง(,'Ntg-j'NWdut) ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช
ก็คือ สมิงพระราม(l,boNri,Nt) ละกูนเอง(]8:oNvboN)
และแอมูน-ทยา(vc,:oNmpk) กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอญคือ
พระเจ้าพยะมองธิราช(erg,k'NTbik=N)
ซึ่งพระเจ้าอลองพยาปราบมอญจนพ่ายในปี ค.ศ. ๑๗๕๗
พม่ามองว่าชาวมอญและชาวพม่านั้นมีความสัมพันธ์กันมานานนับแต่สมัยพุกามเรื่อยมา
จึงมีความเกี่ยวดองมาตลอด และแม้ว่ามอญกับพม่าจะพูดต่างภาษากันก็ตาม
แต่ต่างก็มีเชื้อสายมองโกลอยด์เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม
ชาวมอญรุ่นหลังหันมาใช้ภาษาพม่ากันมาก และมีจำนวนมากที่เลิกใช้ภาษามอญ
จนคิดว่าตนเป็นพม่า อีกทั้งไม่ทราบว่าตนมีเชื้อสายมอญ
จากการสำรวจประชากรมอญในปี ค.ศ. ๑๙๓๑ พบว่ามีจำนวนแค่ ๓ แสน ๕ หมื่นคน
ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๓๙ ได้มีการก่อตั้งสมาคมชาวมอญ
และมีการสำรวจประชากรมอญอีกครั้ง พบว่ามีราว ๖ แสนกว่าคน
พอต้นสมัยสังคมนิยมสำรวจได้ว่ามีชาวมอญราว ๑ ล้านกว่า ในปัจจุบัน
หากต้องการพบชาวมอญที่ยังพูดภาษามอญในชีวิตประจำวันอยู่
ก็ต้องไปเยือนหมู่บ้านต่างๆในเมืองไจก์ขมี(dy7bd¢,u)
และเมืองสะเทิม(l56")
กระนั้นในเขตเมืองก็จะพบแต่ชาวมอญที่พูดภาษาพม่าเป็นส่วนมาก
วิรัช
นิยมธรรม
เรียบเรียงจากข้อเขียนของหนั่ยปันหละ(O6b'NxoNt]a)
พิมพ์ในสารานุกรมพม่า ฉบับที่ ๑๐ ,
๑๙๖๖