ชาติพันธุ์พม่าและชาวพม่าท้องถิ่น


ประเทศพม่าเป็นดินแดนแห่งชาติพันธุ์ ในจำนวนพลเมืองของพม่าทั้งหมด ๔๒.๒ ล้านคน(ค.ศ.๑๙๙๓) มีสองในสามเป็นชาวพม่าโดยเชื้อสายซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆ ๗ จังหวัด
ชาติพันธุ์พม่าและชาวพม่าท้องถิ่น
ประเทศพม่าเป็นดินแดนแห่งชาติพันธุ์ ในจำนวนพลเมืองของพม่าทั้งหมด ๔๒.๒ ล้านคน(ค.ศ.๑๙๙๓) มีสองในสามเป็นชาวพม่าโดยเชื้อสายซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆ ๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดย่างกุ้ง (ioNd6oN96b'Nt) จังหวัดพะโค (xc-^t96b'Nt) จังหวัดเอราวดี(Vik;9u96b'Nt) จังหวัดมะเกว (,gd:t96b'Nt) จังหวัดสกาย (00Nd6b'Nt96b'Nt) จังหวัดมัณฑะเล(,Oµg]t96b'Nt) และจังหวัดตะนาวศรี (9ol§kiu96b'Nt) และมีประชากรอีกหนึ่งในสามเป็นชนส่วนน้อยหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในรัฐชนบทห่างไกลจากลุ่มแม่น้ำเอราวดี รัฐดังกล่าวมี ๗ รัฐ คือ รัฐกะเหรี่ยง (di'NexPNopN) รัฐคะยา (dpktexPNopN) รัฐฉาน (ia,NtexPNopN) รัฐกะฉิ่น (d-y'NexPNopN) รัฐฉิ่น(-y'NtexPNopN) รัฐยะไข่(i-6b'NexPNopN) และรัฐมอญ(,:oNexPNopN)
ปัจจุบันรัฐบาลพม่าประกาศเรียกชื่อชนชาติและรัฐ ๗ รัฐเป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่ Kachin, Kayah, Kayin(<Karen), Chin, Bamar(<Burmese), Mon, Rakhine(<Arakanese) และ Shan นอกจากนี้รัฐบาลพม่าได้ประกาศชื่อเรียกเมืองสำคัญๆใหม่โดยเขียนยึดตามสำเนียงพม่า ได้แก่ Yangon(<Rangoon), Bago(<Pegu), Bagan(<Pagan), Mawlamyine(<Moulmein),Sittwe(<Akyab), Pathein(<Bassein), Pyi(<Prome) และ Pyin Oo Lwin(<Maymyo) ส่วนเมืองตองจี และมัณฑะเล ยังคงเขียนอย่างเดิมคือ Taunggyi และ Mandalay นอกจากนี้ยังกำหนดเรียกชื่อแม่น้ำสำคัญบางสายใหม่ ได้แก่ Ayeyarwady(<Irrawaddy), Thanlwin(<Salween) และ Sittoung(<Sittang) แต่ยังคงให้เรียกชื่อแม่น้ำชินด์วินตามเดิม คือ Chindwin
หากพิจารณากลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในพม่าทั้งหมด อาจจำแนกตามกลุ่มภาษาได้ ๓ กลุ่มหลัก คือ กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า กลุ่มภาษาไท และกลุ่มภาษามอญ-เขมร แต่ละกลุ่มภาษาประกอบด้วยภาษาต่างๆ ดังนี้ กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า เช่น พม่า, มูเซอ-ลีซอ-อีก้อ, ฉิ่น-กะฉิ่น-นาคา, กะเหรี่ยงสะกอ-กะเหรี่ยงโป-ตองสู-คะยา-ปะด่อง; กลุ่มภาษาไท เช่น ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทยอง ไทคำตี่ ไทมะริด; กลุ่มภาษามอญ-เขมร เช่น มอญ ว้า ปะหล่อง นอกจากนี้ยังมีภาษาในกลุ่มภาษามาเลย์อาศัยทางตอนใต้ เช่น ภาษาสะลนและภาษาปะซู เป็นต้น
ในบรรดาชนชาติต่างๆที่กล่าวมานี้ ชนชาติที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์พม่ามีเพียง ๔ เผ่า คือ มอญ พม่า ยะไข่ และฉาน(ไทใหญ่) กลุ่มพม่าได้รบพุ่งกับมอญ ฉาน และยะไข่ตลอดมา  จนที่สุดพม่าแห่งลุ่มน้ำเอราวดีได้ชัยเหนือชนเผ่าทั้งปวงนับแต่สมัยราชวงศ์ของพม่า
ชาวมอญรบพุ่งกับพม่ามาแต่สมัยพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม และล่มสลายลงในสมัยพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์คองบอง(ค.ศ.๑๗๕๗) มรดกทางวัฒนธรรมของมอญถูกหลอมรวมอยู่ในวัฒนธรรมพม่าโดยเฉพาะในด้านศิลปะ ศาสนา และภาษา ปัจจุบันชาวมอญในพม่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐมอญและกระจายอยู่ตามดินแดนพม่าตอนล่าง และมีชาวมอญอีกเป็นจำนวนมากที่ทยอยอพยพมาอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยเพราะหนีภัยพม่า จนต้องกลายเป็นคนสองแผ่นดินในที่สุด
ส่วนไทใหญ่นั้นเคยรุกพม่าเข้าปกครองเขตเจ้าก์แซ (gdykdNCPN) ทางตอนกลางของลุ่มน้ำเอราวดี ตั้งแต่คราวที่อาณาจักรพุกามล่มลงด้วยกองทัพมองโกลในราวปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๓ แต่ที่สุดไทใหญ่ก็ต้องพ่ายต่อราชวงศ์ตองอูในกาลต่อมา ปัจจุบันไทใหญ่ในพม่าอาศัยอยู่ในรัฐฉานเป็นส่วนมาก และมีบางส่วนได้กระจายสู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำเอราวดีตอนบน
สำหรับชาวยะไข่นั้น เป็นชนร่วมเชื้อสายกับพม่า มีประวัติราชวงศ์ร่วมสมัยกับพุกามเรื่อยมา จนถึงปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๘ จึงถูกผนวกอยู่ใต้อำนาจของพม่าโดยสมบูรณ์ในสมัยพระเจ้าปะดุงแห่งราชวงศ์คองบอง (ค.ศ.๑๗๘๙) และถูกอังกฤษยึดครองเมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๙ โดยทั่วไปชาวยะไข่มีความแปลกแยกจากชาวพม่าแห่งลุ่มน้ำเอราวดีทั้งทางการเมือง วัฒนธรรมและภาษามาแต่อดีต
ในสมัยที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีพวกแขกและชาวจีนจำนวนมากได้เข้ามาเป็นลูกจ้างของชาวอังกฤษและเป็นพ่อค้าอยู่ในบริเวณเมืองใหญ่ๆของพม่า โดยเฉพาะเมืองย่างกุ้งในสมัยนั้นน่าจะได้รับฉายาว่าเป็น กะลาซิตี้ (กะลา คือ กุลา หมายถึงแขก) ในยุคนั้นชาวต่างชาติต่างมีฐานะและโอกาสดีกว่าชาวพม่าท้องถิ่น จนถึงสมัยสังคมนิยมชาวจีนและแขกได้ลดจำนวนลงไปมาก คงเหลือเป็นย่านชุมชนอยู่ตามเมืองใหญ่ๆของพม่า
ชนเชื้อสายพม่า
จากการเปรียบเทียบภาษาตามแนวภาษาศาสตร์เปรียบเทียบเชิงประวัติ นักภาษาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่าภาษาพม่าเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาเบอร์มิส (Burmish) ของสายโลโล-พม่า (Lolo-Burmese) ในสาขาทิเบต-พม่า  (Tibeto-Burman) ที่แยกเชื้อสายมาจากตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) ภาษาพม่าจึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาทิเบตมากกว่าภาษาจีน และแตกต่างกับภาษาไทย ภาษามอญ ภาษาเขมร และภาษามาเลย์โดยสิ้นเชิง ขณะเดียวกันก็มีความใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาโลโล ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นชาวเขาอยู่ในประเทศไทย อาทิ มูเซอ ลีซอ และอีก้อ ส่วนพม่าจะมีความใกล้ชิดทางเชื้อสายกับกะเหรี่ยงมากน้อยเพียงใดนั้น ปัจจุบันยังไม่อาจหาข้อยุติได้อย่างแน่ชัด แต่โดยลักษณะทางภาษานั้น พบว่าภาษากะเหรี่ยงมีโครงสร้างประโยคที่ต่างไปจากภาษาในกลุ่มทิเบต-พม่า คือเป็นแบบ ประธาน-กริยา-กรรม แทนที่จะเป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา อย่างภาษาต่างๆในสาขาทิเบต-พม่า แรกๆนักภาษาศาสตร์จึงเสนอให้ภาษากะเหรี่ยงอยู่นอกสาขาทิเบต-พม่า แต่ต่อมามีการจัดภาษากะเหรี่ยงไว้ในกลุ่มสาขาทิเบต-พม่าด้วย เพราะเห็นว่าภาษากะเหรี่ยงมีความคล้ายคลึงกับภาษาอื่นๆของกลุ่มทิเบต-พม่าในด้านศัพท์ แต่ใกล้ชิดกับภาษาพม่าน้อยกว่าภาษาในกลุ่มโลโล เช่น มูเซอ ลีซอ และอีก้อ  สำหรับภาษาที่อยู่ในกลุ่มเบอร์มิสและมีความใกล้ชิดกับภาษาพม่ามากยิ่งกว่าภาษาในกลุ่มโลโลได้แก่ ภาษามะยู(,U^) หรือมารู และภาษาอะซี(v=ut) ซึ่งพูดอยู่ในรัฐกะฉิ่น บริเวณพรมแดนพม่า-จีน
ชนร่วมเชื้อสายใกล้ชิดพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า
ในประเทศพม่ามีชนร่วมเชื้อสายพม่าอยู่หลายกลุ่ม ทั้งที่ร่วมเชื้อสายอย่างใกล้ชิดและที่ห่างออกไปจนส่งภาษากันไม่รู้เรื่อง กลุ่มที่ใกล้ชิดกับพม่าได้แก่ชนชาติพม่าที่พูดภาษาพม่าสำเนียงท้องถิ่นต่างๆตามชนบทและในรัฐที่อยู่รอบนอก ในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีเพราะเคยสร้างบ้านแปลงเมืองเป็นของตนเอง คือชาวพม่าในรัฐยะไข่หรือรัฐอาระกัน นอกจากพม่าที่ยะไข่แล้ว ชนที่มีเชื้อสายเดียวกับพม่าและยังคงหลงเหลืออยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ เป็นเพียงชาวพม่าท้องถิ่นที่ไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองอย่างเด่นชัดในอดีต ได้แก่ อิงตา ทวาย  ยอ และต่องโยง เป็นอาทิ สำหรับชนที่มีเชื้อสายห่างไกลชนเผ่าพม่าออกไปนั้น เป็นเพียงชาวเขาหรือชนส่วนน้อย ได้แก่ มูเซอ ลีซอ อีก้อ ฉิ่น กะฉิ่น นาคา กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยงโป ตองสู คะยา และปะด่อง เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชนส่วนน้อยที่ร่วมเชื้อสายกับพม่าเหล่านี้ ต่างก็มีกองกำลังอิสระต่อสู้กับรัฐบาลกลางของพม่ามาเป็นเวลานานหลายสิบปีนับแต่ได้รับเอกราช (ค.ศ.๑๙๔๘) และสืบเนื่องเรื่อยมาในยุครัฐบาลทหารของนายพลเนวิน(ค.ศ.๑๙๖๒-๑๙๘๘)
ชนส่วนน้อยในไทยที่มีเผ่าพันธุ์ใกล้ชิดกับพม่า
ในประเทศไทยมีชนเผ่าที่ร่วมเชื้อสายใกล้ชิดกับพม่าในทางภาษาอยู่หลายเผ่า ได้แก่ อีก้อ(อะข่า) มูเซอ (ละหู่) ลีซอ(ลีซู) อูก๋อง(พวกละว้าที่อุทัยธานี) บิซู(พวกละที่เชียงราย) อึมปี(พวกก้อที่เมืองแพร่) นอกจากนี้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงหรือยางเผ่าต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยงสะกอ(ยางขาว) กะเหรี่ยงโป(ยางแดง) ปะโอ(ตองตู, ตองสู หรือต้องสู้) บเว(คะยาหรือกะเหรี่ยงแดง) และปะด่อง(กะเหรี่ยงคอยาว) กลุ่มชนร่วมเชื้อสายกับพม่าที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาหรือเป็นเพียงชนส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือและตลอดแนวภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย สำหรับในประเทศพม่าพบชนกลุ่มดังกล่าวกระจายอยู่ทั่วไปต่อจากชายแดนไทยด้านตะวันตกจนจรดลุ่มแม่น้ำสาละวินหรือที่เรียกชื่อตามภาษาไทใหญ่ว่าแม่น้ำคง
การที่พม่ามีความคุ้นเคยกับชนส่วนน้อยบางเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นอย่างดีนี้ จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาพม่าด้วยเช่นกัน ดังเช่น พม่าเรียกอีก้อว่าก่อ(gdkN) หรืออี่กอ(vugdk) เรียกมูเซอว่าหมู่โซ(,^C6bt) เรียกลีซอว่าหลี่ซอ(]ugiak) เรียกกะเหรี่ยงว่ากะยิง(di'N) และเรียกตองสูว่าต่องตู่(g9k'Nl^) ด้วยเหตุที่ชนเผ่าเหล่านี้อพยพมาจากพม่า คนไทยจึงเรียกชื่อตามพม่าไปด้วย ส่วนพวกอูก๋อง บิซู และอึมปีนั้น เป็นชนส่วนน้อยจากพม่าที่น่าจะเข้ามาอยู่ในไทยนานแล้วจนเป็นชนพื้นเมืองของไทยไปจนเกือบสิ้น และไม่ปรากฏชื่อเรียกชนเผ่าเหล่านี้เป็นภาษาพม่า ยกเว้นเผ่าบิซูอาจเป็นเผ่าเดียวกับเผ่าปเยน(Pyen) หรือปยิน(Pyin) ตามที่เคยมีผู้พบว่าอยู่แถบเมืองเชียงตุงของพม่าในสมัยที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ข้อมูลคำศัพท์ภาษาปเยนมีตัวอย่างใน Gazetteer of Upper Burma and the Shan States โดย J.G Scott และ J.P. Hardiman พิมพ์ที่ย่างกุ้งเมื่อปี ค.ศ.๑๙๐๐ และที่ว่าภาษาบิซูน่าจะใกล้ชิดกับภาษาปเยนนั้นเป็นคำกล่าวของนักวิชาการชาวญี่ปุ่นชื่อ Nishida
ในเรื่องของชื่อชนเผ่าบางกลุ่มที่พบในพม่ามีข้อน่าสนใจอยู่มาก กล่าวคือ พม่ารู้จักมูเซอในนามละหู่หรือล้าหู่(]kts^)ด้วย และที่พม่าเรียกว่าหมู่โซ(,^C6bt)นั้นเข้าใจกันว่าน่าจะมาจากคำพม่าว่า มุโซ (,6C6bt) ออกเสียงว่า / mo?sho^ / แปลว่า "นายพราน" และคำมุโซนี้อูโพลัต(๑๙๖๓-หน้า๑๕๒)กล่าวว่าพบในจารึกที่พุกามหลายหลักเขียนเป็นภาษาพม่ายุคเก่าว่า ,6C6b;N มีความหมายแต่เฉพาะ "นายพราน" และบางทีก็เป็นชื่อหมู่บ้าน เช่นหมู่บ้านมุโชโบ(,6C6b;Nx6b;N) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับบ้านเดิมของพระเจ้าอลองพญา ปัจจุบันก็คือเมืองชเวโบ และมีจารึกหลักหนึ่งเขียนด้วยสระอูเป็นมูโซ(,^C6b;N)ด้วยเช่นกัน แต่ด้วยไม่อาจแยกศัพท์หาความหมายเดิมของคำมุโซในภาษาพม่าได้อย่างชัดเจน อูโพลัดจึงเทียบเคียงคำนี้กับภาษาอื่นๆ เช่น กะเหรี่ยง มูเซอ จีน ทิเบต ฉิ่น กะฉิ่น และภาษาอื่นๆที่พูดอยู่ในพม่า พออนุมานได้ว่าน่าจะมีความหมายเดิมเป็น "(คน)ล่าเนื้อ" (lktiakv,c]6bdN) หรือ "(คน)หาของป่า" นั่นคือ คำว่า มุ น่าจะแปลว่า "สัตว์ป่า,ไม้ป่า" และคำว่า โซ น่าจะแปลว่า "ไล่ล่า,เสาะหา" ดังนั้นคำว่ามุโซ(นายพราน) จึงอาจเป็นที่มาของคำว่า หมู่โซ(ละหู่) และถ้าจะพยายามเทียบกับคำพม่าที่ใกล้เคียงทั้งเสียงและความหมาย คำมุโซอาจจะเพี้ยนมาจากคำ อะแมส่า v,ciak / Q@mE^3Sa / "หาเนื้อ<เนื้อ-หา" นอกจากนี้ภาษาพม่ายังมีคำว่ามุโซ(,6C6bt)ที่คล้ายกับชื่อเผ่ามูเซอในภาษาพม่า แต่มีความหมายว่า "พ่อหม้าย,แม่หม้าย" ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับคำเรียกมูเซอ นอกจากนี้ พม่าเรียกเผ่าลีซออีกชื่อหนึ่งว่า ยอยิง (gpkp'N) ฝรั่งมักเขียนว่า Yawyin, Yaw-yen หรือ Yaoyen เป็นชื่อที่เรียกตามพวกกะฉิ่น ส่วนคำว่าตองสู หรือที่พม่าเขียนว่า g9k'Nl^ / tGLOu / นั้น มีความหมายตามศัพท์ว่า "ชาวดอย<ดอย,ภูเขา+ผู้" แต่จะหมายถึง "ชาวไร่ผู้ปลูกงา ถั่ว ข้าวโพด และฝ้าย" ด้วย
ชาวพม่าและประเทศเมียนมา
อันที่จริงเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะตอบให้ชัดเจนว่าชนเชื้อสายพม่าต่างจากคนเผ่าอื่นอย่างไร เพราะประเทศพม่ามีชนหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันและมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมต่อกันมายาวนาน ทั้งที่เป็นผู้รับมาแต่แรกและเป็นผู้ให้ในภายหลัง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้เพียงว่า คนพม่าคือคนที่มีเชื้อสายพม่าและพูดภาษาพม่าเป็นภาษาแรกมาแต่กำเนิด และหากพิจารณาจากวิถีชีวิตของชาวพม่าในปัจจุบัน พม่ามีธรรมเนียมนิยมอันเนื่องด้วยพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นส่วนใหญ่ (ประเทศพม่ามีผู้ถือพุทธราว ๘๕ %) มีความเชื่อเรื่องเทพนัต(o9N)อย่างฝังแน่น และดำรงความเป็นอยู่อย่างพม่าไว้ได้อย่างมั่นคง เช่น ชาวพม่านิยมนุ่งโสร่ง นุ่งซิ่น โพกผ้า พกลูกปะคำ ทาแป้งตะนะคา นิยมกินถั่ว ดื่มน้ำชา กินหมาก และชอบอาหารรสมัน ดังนี้เป็นต้น
ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาของพม่า กล่าวว่ากษัตริย์พม่าสืบเชื้อสายมาแต่ศากยวงศ์ และเชื่อว่าเมืองแห่งแรกของชนเผ่าพม่าในแผ่นดินเมียนมา เริ่ม ณ เมืองตะกอง(9gdk'Nt) ดังคำกล่าวว่า e,oN,kv0 9gdk'Ntd แปลว่า “จุดเริ่มของเมียนมา  มาแต่ตะกอง” อย่างไรก็ตามนักวิชาการ อาทิ ศาสตราจารย์ลูช (G.H. Luce) สันนิษฐานว่า ชนเผ่าพม่าน่าจะเริ่มรกราก ณ พื้นที่เจ้าก์แซ ซึ่งอยู่ตอนล่างเมืองมัณฑะเล จึงอาจกล่าวขัดกับความเชื่อเดิมของพม่าได้ว่า e,oN,kv0 gdykdNCPNd ความว่า “จุดเริ่มของเมียนมา อยู่ที่เจ้าก์แซ” เป็นไปได้ว่าคนเชื้อสายพม่าคงเริ่มตั้งหลักแหล่งอยู่ทางตอนกลางของประเทศตามแถบลุ่มแม่น้ำเอราวดี แล้วจึงค่อยๆแพร่กระจายไปสู่ดินแดนรอบนอกโดยเฉพาะทางตอนใต้และทางตะวันตกเฉียงใต้ และจากหลักฐานทางภาษา พออนุมานได้ว่าบรรพบุรุษของพม่ามีหลักแหล่งดั้งเดิมอยู่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งเป็นบริเวณที่ยังคงมีพวกโลโลหรือพวกยี (Yi) กลุ่มชนร่วมเชื้อสายกับพม่าอาศัยอยู่ จากนั้นชาวพม่าจึงอพยพไปทางตะวันตก แล้วค่อยๆเคลื่อนย้ายลงมาตามลุ่มแม่น้ำเอราวดี และรวมตัวกันจนเป็นปึกแผ่น โดยสร้างเมืองพุกามขึ้นที่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเอราวดีตอนกลาง ประวัติศาสตร์พม่าได้เริ่มปรากฏเป็นหลักฐานชัดเจน ณ ที่แห่งนี้ เมื่อราวต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๑ เป็นต้นมา อารยธรรมพม่าเจริญมาด้วยการหลอมรวมมรดกจากชนหลายเผ่าพันธุ์ ศาสตราจารย์ลูช(๑๙๘๕)กล่าวว่าชนชาติฉิ่น แตะ และกันตู ถือเป็นสหายของชนชาติพม่า มอญมอบอารยธรรมด้านพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและตัวอักษร พยูถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ปะหล่องกับละว้าแถบเจ้าก์แซและมีนบู รวมถึงกะเหรี่ยงให้ความรู้แก่พม่าในด้านชลประทานและการทำนา และพม่าสืบศาสนาพุทธและพราหมณ์จากอินเดีย ดังนั้นพม่าจึงเป็นดุจรูปธรรมของร่องรอยความหลากหลายทางอารยธรรมจากชนหลายเผ่าพันธุ์
ประวัติศาสตร์พม่าจำแนกได้ ๓ สมัย คือ สมัยราชวงศ์ สมัยอาณานิคม และสมัยเอกราช ในสมัยราชวงศ์เป็นสมัยที่พม่าปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ ซึ่งมี ๓ ราชวงศ์คือราชวงศ์พุกาม (ค.ศ.๑๐๔๔-๑๒๘๗) ราชวงศ์ตองอู(ค.ศ.๑๔๘๖-๑๗๕๒) และราชวงศ์คองบอง(ค.ศ.๑๗๕๒-๑๘๘๕) ในสมัยราชวงศ์นั้น ราชธานีของพม่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเขตเจ้าก์แซมากนัก ได้แก่ เมืองพุกาม อังวะ รัตนสิงห์(ชเวโบ) อมรปุระ และมัณฑะเล มีเพียงในสมัยราชวงศ์ตองอูเท่านั้นที่พม่าเคยย้ายเมืองหลวงมาอยู่ทางตอนใต้ คือที่เมืองตองอูบนลำน้ำสะโตงและเมืองหงสาวดีบนลำน้ำพะโค เพราะในชั้นต้นพม่าต้องหนีภัยจากพวกไทใหญ่ที่เข้ามาครอบครองดินแดนเจ้าก์แซตั้งแต่ครั้นพุกามล่มลง ต่อมาชาวพม่าได้มารวบรวมซ่องสุมผู้คนอยู่ที่เมืองตองอูอันเป็นเมืองชัยภูมิสำคัญใกล้เขตแดนของชาวกะเหรี่ยง จนสามารถปราบได้มอญทางตอนใต้และย้ายราชธานีจากเมืองตองอูมาตั้งที่กรุงหงสาวดีอันเป็นราชธานีของมอญมาก่อนและเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเลที่สำคัญในขณะนั้น ภายหลังราชวงศ์ตองอูพยายามขยายอำนาจเข้าครอบครองเมืองท่าสำคัญบนฝั่งตะวันออกของทะเลอันดามัน อันมีเมืองเยและเมืองทวายเป็นอาทิ ซึ่งส่งผลให้เกิดกรณีพิพาทกับกรุงศรีอยุธยา ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้าบุเรงนอง ไทยได้ประกาศอิสรภาพจากพม่า ประกอบกับสถานการณ์ไม่สงบภายใน เป็นเหตุให้ผู้นำพม่าราชวงศ์ตองอูต้องย้ายราชธานีจากหงสาวดีกลับคืนตองอู และคืนสู่เขตเจ้าก์แซอีกครั้งหนึ่ง ราชธานีพม่าจึงอยู่แถบนั้นเรื่อยมาจนสิ้นสมัยราชวงศ์คองบองในปลายคริสตศตวรรษที่๑๙
ก่อนที่พม่าจะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษทั้งประเทศนั้น พม่าได้ทำสงครามกับอังกฤษถึง ๓ ครั้ง คือ ค.ศ.๑๘๒๔, ๑๘๕๒ และ ๑๘๘๕ จากสงครามครั้งแรกทำให้พม่าสูญเสียอัสสัม มณีปุระ ยะไข่ และตะนาวศรี ครั้งที่สองเสียเมืองพะโคและย่างกุ้งแก่อังกฤษ และต้องเสียดินแดนทั้งประเทศพร้อมกับอวสานของราชบัลลังก์พม่าหลังจากพ่ายสงครามกับอังกฤษในครั้งที่สาม พม่าเพิ่งมาได้รับเอกราชเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองในปีค.ศ.๑๙๔๘ แต่ก็นับเป็นเอกราชที่ไร้เอกภาพ เพราะพม่าต้องประสบกับปัญหาสงครามกลางเมืองจากกองกำลังอิสระของชนส่วนน้อยที่ต้องการปกครองตนเอง และจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้พม่าจึงได้ลิ้มรสประชาธิปไตยเพียงแค่ ๑๔ ปี ก็ถูกทหารทำการปฏิวัติเมื่อปี ค.ศ.๑๙๖๒ สภาปฏิวัติของนายพลเนวินปกครองพม่าราว ๑๓ ปี จากนั้นจึงนำพม่าฟูมฟักอยู่ในระบอบสังคมนิยม นับแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๔ กินเวลาราวอีก ๑๔ ปี พม่าจึงห่างหายไปจากสายตาชาวโลกนับเนื่องราว ๒๖ ปี จนมีการเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญเมื่อปี ค.ศ.๑๙๘๘ พม่าจึงหวนมาปรับท่าทีในทางการเมืองใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการประกาศเปิดประเทศรับการลงทุนจากภายนอก และดำเนินวิถีเศรษฐกิจตามกลไกตลาด ขณะเดียวกันยังให้ความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ และเอกภาพของชนในชาติ อีกทั้งต่อต้านการแซกแซงทางการเมืองจากภายนอก
ปัจจุบันประเทศพม่าได้ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Union of Myanmar หรือ "สหภาพเมียนมา" ซึ่งเขียนด้วยอักษรพม่าเป็น exPNg5k'N06e,oN,kO6b'N'"g9kN อ่านว่า ปยี่ถ่องซุ เมียนหม่า นัยหงั่งด่อ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์รุนแรงในการเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๘ และเหตุที่รัฐบาลได้ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่นี้ก็คงเพื่อสร้างเอกภาพขึ้นในนาม  และยังเป็นการแสดงท่าทียึดมั่นในแนวทางชาตินิยม ด้วยเห็นว่า Burma เป็นคำที่ต่างชาติกำหนดเรียกกันเอง จึงถือเป็นสำเนียงต่างด้าว  ชื่อประเทศใหม่ของพม่าคือเมียนมานั้นจะใช้บ่งชี้ทั้งดินแดน ประชาชน และวัฒนธรรมของประเทศโดยส่วนรวม ในขณะที่คำว่า "พม่า" หรือที่กำหนดใหม่ว่า Bamar แทนคำ Burman จะหมายถึงเฉพาะชนเชื้อสายพม่าที่ต่างจากชนเผ่าอื่นๆ  คำ Burma, Burmese และ Burman จึงเป็นคำที่พม่าขอเลิกใช้
ชาวพม่าท้องถิ่น
ในประวัติการสร้างชาติของสหภาพพม่านั้น คนเชื้อสายพม่านับว่าได้รับสำคัญมากที่สุด และถือเป็นชนพื้นเมืองที่กลุมอำนาจรัฐไว้อย่างเบ็ดเสร็จ สำนึกของความเป็นสหภาพพม่านั้นจึงเป็นสำนึกของชนที่ร่วมเชื้อสายพม่าเป็นหลัก ชื่อประเทศจึงหนีไม่พ้นที่จะใช้นามที่บ่งชี้กลุ่มชาติพันธุ์พม่าดังกล่าวมาข้างต้น แต่ถ้าพิจารณาในความเป็นพม่าที่ถือเป็นแม่แบบทางวัฒนธรรมหลักของพม่าแล้ว มักจะหมายเอารูปแบบชีวิตของชนชาติพม่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตอนกลางตลอดลำน้ำอิระวดี หากพ้นจากพื้นที่ดังกล่าว ก็จะเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชนเชื้อชาติอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่รอบนอกของลำน้ำอิรวดีนั้น ยังมีชนพื้นเมืองเชื้อสายพม่าอาศัยอยู่เช่นกัน หากแต่ว่าชนเหล่านั้นพูดสำเนียงท้องถิ่นของตนต่างไปจากสำเนียงภาษาพม่ามาตรฐาน  ซึ่งก็อยู่ในระดับที่สื่อสารกันได้ไม่ยากนัก
หากจำแนกชนชาติพม่าตามสำเนียงภาษาแล้ว อาจจำแนกได้ ๘ กลุ่มหลักๆ ได้แก่ ชาวพม่าที่พูดภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้ง ภาษาพม่าสำเนียงนี้มีจำนวนผู้พูดมากที่สุด และถือว่าสำเนียงย่างกุ้งเป็นสำเนียงแม่แบบหรือสำเนียงมาตรฐาน ส่วนมากพูดกันในแถบลุ่มน้ำเอราวดีตอนล่าง นอกจากชนพม่าที่พูดสำเนียงย่างกุ้งแล้ว ก็มีชนเชื้อสายพม่าที่พูดสำเนียงต่างๆกันไปอีก ๗ สำเนียง ได้แก่ สำเนียงยะไข่(i-6b'N) สำเนียงอิงตา(v'Ntlkt) สำเนียงทวาย(5kt;pN) สำเนียงยอ(gpk) สำเนียงตองโย(g9k'NU6bt) สำเนียงดะนุ(TO6) และสำเนียงโพน(z:oNt)
ชนพม่าพื้นเมืองที่พูดสำเนียงท้องถิ่นที่รู้จักกันดีคือ ชาวพม่าสำเนียงยะไข่ ชาวพม่าสำเนียงทวาย และชาวพม่าสำเนียงอิงตา ทั้งสามกลุ่มมีจำนวนผู้พูดค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับชาวพม่าสำเนียงท้องถิ่นอื่นๆ (ยกเว้นสำเนียงย่างกุ้ง) สำเนียงยะไข่พูดกันในรัฐยะไข่ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของพม่า สำเนียงทวายพูดอยู่ทางจังหวัดตะนาวศรี ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของพม่า และสำเนียงอิงตาพูดอยู่ทางภาคตะวันออก รอบๆทะเลสาปอินยาทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฉาน เชื่อกันว่าชาวทวายคือชาวพม่าที่มาจากยะไข่ ส่วนชาวอิงตาเป็นพวกทวายที่อพยพขึ้นไปอยู่ทางตอนบน สาเหตุที่มีการอพยพย้ายถิ่นกันนี้ยังไม่อาจยืนยันได้ แต่มีการสันนิษฐานกันว่า ชาวทวายคือพวกยะไข่ที่เดินทางข้ามทะเลมากว้านซื้อมีดแถบตะนาวศรี เพราะคำว่า ทวายหากเขียนเป็นภาษาพม่าจะเขียนว่า 5k;pN / thawE ~ d@wE / คำนี้อาจมาจากคำว่า Tkt;pN / da^wE / ซึ่งแปลตามศัพท์ว่า "(ผู้)ซื้อมีด" อย่างไรก็ตามทางฝ่ายไทยก็สันนิษฐานตามภาษาไทยว่าคำนี้น่าจะมาจาก "ท่าหวาย" ซึ่งหมายถึงถิ่นที่มีการขนส่งหวายข้ามทะเลอันดามัน  นับเป็นชื่อหนึ่งที่พม่าลากไปไทยลากมา ส่วนชาวอิงตานั้นเข้าใจว่าอาจเป็นพวกทวายที่หนีภัยสงครามจากกรุงศรีอยุธยา แล้วอพยพขึ้นไปทำมาหากินที่ทะเลสาปอินยา หรือไม่ก็อาจเป็นพวกที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเชลย ลักษณะเด่นของชาวอิงตาคือปลูกบ้านและเพาะพืชสวนในทะเลสาป คัดพายเรือด้วยเท้า ส่วนชื่ออิงตาจะเขียนเป็นภาษาพม่าว่า v'Ntlkt / Qi^LOa^ / แปลว่า "ชาวทะเลสาป" และชาวไทใหญ่มักเรียกพวกอิงตาว่า "ม่านหนอง"
ในด้านภาษานั้น ภาษาพม่าสำเนียงยะไข่ สำเนียงทวาย และสำเนียงอิงตา ยังหาหลักฐานยืนยันความเกี่ยวพันกันได้ไม่ชัดเจน พบเพียงว่าภาษาทั้งสามต่างมีร่องรอยของภาษาพม่ายุคโบราณอยู่บ้าง คือยังคงรักษาเสียงบางเสียงที่สูญหายไปแล้วในภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้ง เช่น พยัญชนะ ร / r / พบเฉพาะในสำเนียงยะไข่ และพยัญชนะควบกล้ำ ล / l / จะพบในสำเนียงทวายและอิงตา
อันที่จริงภาษาพม่าท้องถิ่นต่างๆมีความแตกต่างกันไม่มากนัก และสามารถสื่อความหมายเข้าใจกันได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวว่าภาษาพม่าท้องถิ่นใดมีความแตกต่างจากภาษาถิ่นอื่นมากที่สุดนั้น เมื่อพิจารณาระบบเสียงแล้วคงอาจสรุปได้ว่าภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งนี่เองที่ต่างจากภาษาพม่าท้องถิ่นอื่นๆ เพราะสำเนียงย่างกุ้งได้สูญเสียและแปรเปลี่ยนเสียงบางเสียงไปมาก ในขณะที่ภาษาพม่าท้องถิ่นอื่นยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมไว้ได้มากกว่า ส่วนภาษาพม่าท้องถิ่นที่มีความแตกต่างจากภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งมากจนยากต่อการสื่อความหมายนั้นน่าจะเป็นภาษาพม่าสำเนียงยะไข่ เพราะภาษายะไข่ยังคงรักษาเสียง / r / ไว้ได้เกือบทุกตำแหน่ง ทั้งในตำแหน่งพยัญชนะต้นและในตำแหน่งพยัญชนะควบกล้ำ ดังเช่นคำว่า iab / Si# / แปลว่า "มี" และคำว่า e-'N / chiL / แปลว่า "ยุง" ทางยะไข่จะออกเสียงตรงตามตัวเขียนเป็น / hri# / และ / khrGL / ตามลำดับ ซึ่งถ้าไม่มีภาษาเขียนหรือกฎการปฏิภาคเสียงมายืนยัน ก็คงต้องเข้าใจว่าเป็นคำต่างภาษาเลยทีเดียว
ด้วยเหตุที่ภาษาพม่าสำเนียงยะไข่ยังคงเสียง ร / r / ไว้ได้ จึงกล่าวได้ว่า หากต้องการสะกดคำที่มีอักษร / r / และ / y / อย่างถูกต้อง ก็ควรดูที่การออกเสียงของชาวยะไข่ และจากการที่ภาษาพม่าสำเนียงยะไข่มีความแตกต่างจากภาษาพม่า อีกทั้งการที่ยะไข่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจรัฐโดยมีเทือกเขาอาระกันโยมากั้นแยกจากแผ่นดินพม่าตอนกลาง ประกอบกับยะไข่เคยมีอิสระในทางการเมืองและเคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่สมัยที่พม่าเสียดินแดนครั้งแรก ยะไข่จึงถูกมองว่าเป็นชนเผ่าที่อยู่นอกกลุ่มพม่า ในสมัยสังคมนิยมยะไข่จึงถูกกำหนดให้เป็นรัฐหนึ่งของสหภาพพม่าเฉกเช่นรัฐชนส่วนน้อยอื่นๆ
ด้วยเหตุที่สำเนียงพม่ามาตรฐานเป็นสำเนียงที่พูดกันทางตอนล่างซึ่งไม่ใช่ศูนย์กลางของอารยธรรมพม่ามาแต่เดิม จึงเชื่อกันว่าสำเนียงพม่าแท้ๆน่าจะอยู่ทางตอนบนของประเทศ ณ บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเอราวดีที่โอบอ้อมเขตเจ้าก์แซ คือนับแต่เมืองพุกามขึ้นไปจนถึงเมืองมัณฑะเลซึ่งเป็นราชธานีสุดท้ายของพม่า ชาวพม่ามักบอกว่าหากต้องการฟังสำเนียงพม่าขนานแท้ก็ให้ไปฟังชาวบ้านแถบมัณฑะเลพูด อย่างไรก็ตามภาษาพม่าที่มัณฑะเลกลับฟังดูไม่ต่างไปจากภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งมากนัก ที่พอสังเกตเห็นความแตกต่างได้บ้าง เช่น ภาษาพม่าที่มัณฑะเลฟังดูเหน่อๆและนุ่มนวลกว่าภาษาพม่าที่ย่างกุ้ง เช่น คนย่างกุ้งจะพูด 0ktxj "โปรดกิน<กิน+ปัจจัยแสดงความสุภาพ" ว่า [ซาบ่า] แต่คนมัณฑะเลจะพูดแบบเอื้อนท้ายเสียงฟังเป็น [ซาบ๊า] ดังนี้เป็นต้น ซึ่งถ้าเทียบความเหน่อกับภาษาท้องถิ่นในประเทศไทย ก็ยังเทียบไม่ได้กับเวลาคนภาคกลางฟังคนสุพรรณบุรีพูด เพราะคนสุพรรณเหน่อในระดับคำ แต่คนมัณฑะเลมักจะเหน่อที่การลากเสียงท้ายประโยคจึงฟังดูไพเราะและนุ่มนวลกว่าภาษาพม่าตอนล่าง
อาจกล่าวได้ว่าภาษาพม่าท้องถิ่น มีความแตกต่างกันที่วรรณยุกต์ไม่มากนัก ความแตกต่างระหว่างถิ่นที่เห็นได้ชัดมักจะเป็นที่เสียงพยัญชนะต้นและเสียงสระ  อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างภาษาพม่าท้องถิ่นคงจะดำรงอยู่ได้อีกไม่นาน เพราะอิทธิพลของภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งได้ทำให้ภาษาท้องถิ่นหลายแห่งแปรเปลี่ยนไปสู่สำเนียงมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนชนเชื้อสายพม่าที่พูดภาษาพม่าสำเนียงท้องถิ่นอีก ๔ สำเนียง ได้แก่ สำเนียงยอ สำเนียงตองโย สำเนียงดะนุ และสำเนียงโพน นั้น อาศัยในพื้นที่ตอนบนของพม่า นับจากภาคมะเกวทางด้านตะวันตกของแม่น้ำอิรวะดี ผ่านภาคมัณฑะเลตอนกลาง ไปจนถึงรัฐฉานทางด้านตะวันออก ที่จริงชาวพม่ากลุ่มเหล่านี้มีจำนวนไม่มากนัก และอยู่กระจายเฉพาะพื้นที่เท่านั้น แต่ก็เป็นกลุ่มที่น่าสนใจ เพราะอยู่ในพื้นที่ชายขอบของราชธานีโบราณของพม่า ซึ่งได้แก่ อังวะ และมัณฑะเล ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ และนักมานุษยวิทยาน่าจะให้ความสนใจศึกษากลุ่มชนเหล่านี้ เพราะในภาษาท้องถิ่นดังกล่าวพบว่ามีร่องรอยของภาษาพม่าโบราณอยู่ด้วย และอีกประการหนึ่งบางกลุ่มมีสถานภาพอย่างชนกลุ่มน้อย เพราะอาศัยอยู่ท่ามกลางชนพื้นเมืองกลุ่มอื่น ๆ
การทำความเข้าใจลักษณะทางวัฒนธรรมพม่า และความเป็นมาทางชาติพันธุ์ของชนชาติพม่าที่แท้จริงนั้น นอกจากจะศึกษาร่วมไปกับชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆในสหภาพพม่าและประเทศไทยแล้ว จึงยังสามารถศึกษาจากชนพื้นเมืองเชื้อสายพม่าสำเนียงต่างๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศสหภาพพม่าได้อีกทางหนึ่งด้วย
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15496เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

อยากรู้เรื่องของชนเผ่าระวาง ทั้งวิถีชีวิตและภาษา

ผมอยากรู้จักเผ่าปาโอในพม่า

อยากทราบเกี่ยวกับภาษากระแซ อ่าค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู็ค่ะ แต่สงสัยนิดนึงว่า "ปัจจุบันรัฐบาลพม่าประกาศเรียกชื่อชนชาติและรัฐ ๗ รัฐเป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่ Kachin, Kayah, Kayin(<Karen), Chin, Bamar(<Burmese), Mon, Rakhine(<Arakanese) และ Shan" ที่ว่า 7รัฐ แต่ทำไมมี ชื่อ 8 ชื่อละคะ มีชื่อไหน รวมเป็นรัฐเดียวกันเหรอคะ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหานะครับ ผมขอเอาเนื้อหาบางส่วนไปอ้างอิงในรายงานของผมนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท