>27< สมาธิสั้นหรือเปล่า


โรคสมาธิสั้น

 

 

                   วันนี้ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรื่องเครียด ๆ ซักหน่อย ไม่ว่ากันนะ เพื่อเด็ก ๆ   ที่จะเป็นกำลังสำคัญในวันข้างหน้า เหตุเนื่องมาจาก พบนักเรียนที่มีปัญหาคล้าย ๆ โรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ                   

                   เด็กจะอยู่ไม่นิ่ง   อารมณ์ฉุนเฉียว   ไม่ชอบการรอคอย   โมโหง่าย    ใจลอย     แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กซนทุกคนจะเป็นเด็กสมาธิสั้น    เพราะเคยทราบมาว่า    มีประมาณ ร้อยละ    3   ถึง   5     และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง    2-3 เท่า                    

                   จากการศึกษาข้อมูล    โรคสมาธิสั้น    คือ     เด็กที่มีอาการให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้นไม่นานก็รู้สึกเบื่อ ไม่อยู่นิ่ง    พูดคุยตลอดเวลา     ความสนใจจะถูกเบี่ยงเบนได้ง่าย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยไม่คิด     หากเป็นเด็กเล็ก ๆ มักจะร้องไห้มาก     งอแง    เพราะเป็นโรคที่เป็นปัญหาทางด้านพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก    ไม่ทราบสาเหตุการเกิดของโรคที่แน่ชัด     พบมากในเด็กที่มารดาสูบบุหรี่     ดื่มสุรา     เสพสารเสพติด     หรือได้รับสารเคมี ที่มีผลต่อการพัฒนาการของเด็กที่เกิดมา 

               แพทย์จะวินิจฉัยต้องมีการเปรียบเทียบกับเด็กวัยใกล้เคียงร่วมกันด้วยและต้องมีปรากฏการณ์อื่น ๆ   อีก ได้แก่

 พฤติกรรมควรเกิดก่อน อายุ   7   ปี

เกิดติดต่อกันนานกว่า   6    เดือน

แตกต่างจากเด็กวัยเดียวกันอย่างชัดเจน

เกิดทุกสถานการณ์ ไม่ว่าที่บ้าน โรงเรียนหรือที่อื่น ๆ       

          

                     ผู้เขียนเห็นว่าโรคนี้ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือกัน    เด็ก ๆ ที่เราสงสัยว่าจะสมาธิสั้น     ทางด้านครู     ที่ทำในตอนนี้     คือ     แจ้งผู้ปกครอง      ประสานงานกับนักวิทยามาศึกษาเด็กเป็นกรณีพิเศษ      มีการเยี่ยมบ้าน      ให้ความรักความเข้าใจ     ดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ      นำผลที่ศึกษามาร่วมกันอภิปรายและหาแนวทางแก้ไขร่วมกันหากนักจิตวิทยาวินิจฉัยว่าเข้าข่ายสมาธิสั้น ก็จะมีการส่งต่อเพื่อให้เด็กได้รับการรักษา       ใครเคยพบปัญหาเหล่านี้บ้าง       มีวิธีการแก้ปัญหาแบบไหนแลกเปลี่ยนกันนะคะเพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับเด็ก ๆ   ที่น่าสงสาร

ขอบคุณค่ะ 

        

คำสำคัญ (Tags): #โรคสมาธิสั้น#27
หมายเลขบันทึก: 153514เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • ดีจังเลย
  • สงสัยผมไฮเปอร์
  • อิอิอิอิอิๆ

อ่านแล้วเข้าข่ายทุกข้อ สงสัยครูต๊กแกจะสมาธิสั้นแถมขาดกำลังใจ จะมีใครช่วยรักษาไหมเนี่ย(วันนี้อ้อนมาแต่วันเชียว) ........

  • ที่ ร.ร.เคยมีเด็กสมาธิสั้น เหมือนต้องทานยาด้วย(ครูพี่ๆเขาเล่าให้ฟัง) แต่สามารถสร้างปัญหาให้ปวดหัวได้ทุกวัน
  • สบายดีนะคะ  คิดถึงที่สุดค่ะ
  • ทั้งสมาธิสั้นและความจำสั้นคะ น้องรักษ์
  • จำอะไรไม่ค่อยจะได้เลยช่วงนี้ หัวหมุน  อิอิ

P

 

  • ขอบคุณอาจารย์ขจิตมากค่ะ
  • เอ...ถ้าอาจารย์มาสอนเป็นวิทยากรพิเศษท่าจะดี
  • เด็กจะได้ซึบซับความไฮเปอร์
  • พักผ่อนบ้างนะคะวิทยากรคนเก่ง
  • ครูตุ๊กแกคะ
  • เอ ...คุณครูแก้ปัญหาเด็ก  แต่ตอนนี้คุณครูมีปัญหา  ขาดกำลังใจ
  • ใครจะช่วยบ้างน้า.....
  • งั้น  ยกให้สองดวงเลยค่ะเก็บไว้สำรองอีกหนึ่งดวง  อิอิ
  • ขอบคุณครูตุ๊กค่ะ

P

 

  • พี่อ๊อดคะ
  • พักผ่อนบ้างนะพี่สาว 
  • ความจำสั้นไม่ว่า   แต่อย่าลืมน้องก็แล้วกันเน้อ
  • ไม่งั้นละก็  ฮึ..จะตามไปคิดถึงทุกวันเล้ย 
  • สวัสดีค่ะ นู๋รักษ์
  • แก้ตามนู๋รักษ์บอก น่าจะใช้ได้ดี
  • ส่วนป้าแดง คงแก้ไขไม่ทันแล้วละค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

P

 

  • สวัสดีค่ะป้าแดง
  • เย้..คุณพยาบาลมาเอง
  • ไม่แนะนำเหรอคะเผื่อจะนำไปใช้แก้ปัญหาทั้งครูและเด็กไปพร้อม ๆ กัน
  • ป้าแดงสบายดีนะคะ 
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีจ้ะ...น้องรักษ์ ที่คิดถึง
  • ไม่ได้แวะมาหลายวัน พอดีช่วงนี้งานยุ่ง ๆ และเน็ตที่บ้านมีปัญหานะจ้ะ...ตอนนี้ดีแล้วล่ะ อิอิ
  • สงสัยช่วงนี้...พี่คงเข้าข่ายสะแล้วล่ะมั่งนี่
  • "สมาธิสั้น...หลง ๆ ลืม ๆ "....เอ้ เกี่ยวกันไหมนี่ อิอิ
  • เป็นห่วงหลาน ๆ เหมือนกัน...เพราะเจ้าตัวเล็ก ซนมาก ๆ ขี้โมโหด้วยล่ะ แต่ความจำดีแฮ่ะ เข้าข่ายหรือเปล่านี่
  • น้องรักษ์ค่ะ

คุณครูคนสวยท่านนี้สนใจ ใส่ใจติดตามพฤติกรรมเด็ก ๆ เป็นการช่วยผู้ปกครองและเด็ก ๆ  ที่จะเข้าข่าย ใจดี น่ารักมากคะ

โอ้โฮ!!! ถ้าเป็นประเด็นนี้จริงๆแล้วจะยาวมากๆ คงไม่นำวิชาการมากล่าวแน่ๆ แต่ก็รู้ว่า คุณครูคงจะมีทฤษฎีในเรื่องโรคสมาธิสั้นของเด็กๆ อยู่ในมือ ซึ่งถ้าเป็นจริงๆ คงต้องเป็นคุณหมอเป็นคนวินิจฉัยซึ่งส่วนใหญ่ก็ต้องรักษา หลายๆคนต้องได้ยาด้วย แต่...กรณีที่ไม่ใช่โรคสมาธิสั้นโดยแท้ แต่มีลักษณะพฤติกรรมบางอย่างเข้าข่ายนี่สิ...สำคัญที่ทุกคนต้องช่วยกัน ทั้งครอบครัวและคุณครู ซึ่งถ้าไม่รู้สาเหตุ ก็จะไม่ได้ช่วยอะไร มีหลายอย่างจริงๆค่ะ..เท่าที่รู้มาก็เช่น

  • เด็กบางคนที่รับประทานหวานมาก ก็มีผลต่ออาการ Hypper ได้มากโดยเฉพาะถ้าเขามีสิ่งอื่นเป็นสิ่งกระตุ้นอยู่แล้ว  ซึ่งถ้ารู้แล้วลดลง ก็ดีขึ้น อาทิ เช่นเคยกินนมรสหวานก็เป็นนมรสจืด หรือใช้นำตาลเทียมถ้าติดจริงๆ
  • เด็กที่มีภาวะแพ้สารอาหารแบบแอบแฝง (อันนี้ประสบการณ์จากลูกสาว) จะ Hyper ตั้งแต่แรกเกิด เลี้ยงยาก ร้องง่าย(เพราะมีปัญหาไม่สุขสบายทางกาย ซึ่งบางทีก็บอกยากเพราะไม่ชัดเหมือนคนที่แพ้ฉับพลันและรุนแรง คนเลยไม่รู้และไม่เข้าใจ ) สนใจสิ่งต่างๆไม่นาน หงุดหงิดง่าย ความจำและสมาธิมีไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีผลให้เกิดปัญหาทั้งระบบทางกายเช่น ระบบไหวเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารระบบประสาท ระบบฮอร์โมนในร่างกายซึ่งสำคัญมาก) ถ้ารักษาถูกทางก็จะดีขึ้น หรือถ้ายังไม่รู้สาเหตุ พยายามช่วยด้วยเรื่องการสร้างสมาธิ การสั่งจิต ก็พอช่วยได้บ้าง พวกนี้จะสังเกตจากมีปัญหาด้านภูมิแพ้บ้าง อาทิระบบทางเดินหายใจ ผื่น ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา
  • หรือเด็กที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมทั้งด้านสังคม(พฤติกรรมศาสตร์) และด้านกายภาพ ที่เอื้อให้เกิดพฤติกรรมแบบนั้น (เช่นการปล่อยให้เด็กนั่งอยู่กับสิ่งเร้า อาทิ ทีวี บ่อยๆ) ซึ่งข้อนี้มักจะไปรวมกับข้ออื่นๆ ทำให้เป็นปัญหามากยิ่งขึ้น
  • ซึ่งไม่ว่าแบบไหนก็ควรหาสาเหตุและรักษาที่สาเหตุรากเหง้า ตามด้วยความรัก ความเข้าใจ เด็กบางคน เป็นเพราะโรคทางกายพอมีพฤติกรรมแบบนี้ คนไม่เข้าใจ แล้วสะท้อนด้วยพฤติกรรมที่เป็นด้านลบ ปัญหาก็ตกอยู่กับเด็ก  น่าสงสาร ซึ่งคนที่มีผลมากๆ ก็ไม่พ้น พ่อ แม่หรือผู้ปกครองที่ดูแล และคุณครู ถ้าจะร่วมด้วยช่วยกัน
  • ทั้งหมดนี้เป็นเพียงประสบการณ์ตรง และความคิดเห็นที่เก็บเล็กผสมน้อย จึงไม่อ้างวิชาการจากที่ใดจ้า....

คิดถึงนะจ๊ะ...น้องรัก...

P

 

  • ขอบคุณพี่อ้อยค่ะ
  • พักผ่อนบ้างนะคะ
  • หลาน ๆ ซนตามวัยไม่น่าห่วง แถมคงเป็นเด็กฉลาดอีกนะคะ

 

P

 

  • พี่หมูคะ
  • ปัญหาเด็กมีมากมาย
  • นักเรียนมาจากพื้นฐานทางครอบครัวที่แตกต่างกันมาก
  • ต้องยอมรับว่าบางครั้งเราก็ไม่สามารถที่เข้าถึงเด็กทุกคนได้
  • แต่ก็พยายามที่จะดูแลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ
  • ขอบคุณพี่หมูมากค่ะ

P

 

  • ขอบคุณพี่แหววมากๆ ค่ะ  สำหรับคำแนะนำและเล่าประสบการณ์ที่ดีและมีประโยชน์มาก ๆ
  • สำหรับครูคงต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและผู้มีประสบการณ์อย่างพี่แหววมาช่วยชี้แนะซึ่งเราพร้อมที่จะดูแลและทำตามคำแนะนำ 
  • ขอบคุณพี่แหววอีกครั้งค่ะ
  • ครูรักษ์ค่ะ
  • เด็ก ปอสี่ ห้องครูหญ้าบัวก็พบปัญหาสมาธิสั้นเช่นกันค่ะ   จนครูจะสมาธิสั้นไปด้วยแล้วนะนี่ 
  • กลัวครูรักษ์จะสมาธิสั้นแล้วพลอยลืมพี่ๆ นะซิ จึงมาคอยเตือนว่ามีพี่อยู่นี่อีกคนจ้า....
  • แล้วจะมาบ่อยๆ นะค่ะ

 

P

 

  • ขอบคุณค่ะที่มาเตือนความจำ
  • โรค  ไฮเปอร์  กำลังถามหา  แต่ยังไงก็ไม่ลืมพี่ ๆ หรอกค่ะ
  • น่ารักกันซะขนาดนี้ม่ายลืมแน่ค่ะ  อิอิอิอิ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

อ่านแล้วได้ข้อคิดเตือนใจมาก  โดยเฉพาะกับลุกชายสองคนนั้น  คงต้องดูแลเรื่องเหล่านี้ ...

การเสาะแสวงหาพื้นที่คุณภาพให้ลูก ๆ  ได้ใช้ชีวิตท่องเล่นและเรียนรู้การเติบใหญ่นั้นเป็นเรื่องหนักหนาเอาการดูทีเดียว  แต่นั่นก็คงมิใช่เหตุผลที่เราจะหยุดที่จะแสวงหา...  ซึ่งบางครั้งก็ยังต้องสอนให้เขาแสวงหาด้วยตนเองบ้างเหมือนกัน

ขอบคุณครับ

P

  • สวัสดีค่ะ
  • สิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
  • แต่หลาน ๆ สองหนุ่มน้อย น่ารักน่าชัง  อยู่ในสภาพแวดล้อมและแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นต้นแบบ ที่ดี
  • คงจะทำให้สบายใจได้ว่าเขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ในอนาคต
  • ขอบคุณค่ะ
  • P
  • อ่านแล้วหวาดเสียว
  • พฤติกรรมใกล้เคียงลูกชายเลยค่ะ
  • จะเป็นเด็กสมาธิสั้นมั๊ยนี่
  • สวัสดีค่ะพี่อ้อด
  • นำวีรกรรมแสนซนมาเล่าให้ฟังบ้างก็ได้นะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท