สนุกกับภาษาไทย – ภาษาอัชฌาไศรย ๓๙. ชายคาภาษาไทย (๑๘)


ตราสิน

          คำว่า ตราสิน พบคู่กับ “พิพากษา” ในสำนวน พิพากษาตราสิน ในประกาศพระราชปรารภของกฎหมายตราสามดวง คำนี้ใช้กันมาจนถึงในสมัยหลัง คำว่า ตรา แปลว่า (1) “กำหนด, ตรวจ” เช่น ในการใช้คำว่า ตรวจตรา (เป็นคำซ้ำความหมาย); (2) มีความหมายตรงกับ ตรึง เช่น ในสำนวน ตรึงตรา คือ จำ, ติดยึดไว้กับที่ ส่วนคำว่า สิน แปลว่า “สินทรัพย์” เพราะฉะนั้น ตราสิน จึงแปลว่า “ตรวจทรัพย์” หรือ “กำหนดทรัพย์” หรือ “จำทรัพย์ไม่ให้เคลื่อนย้าย” ความหมายทั้งหมดนี้รวมอยู่ในตราสิน ซึ่งเป็นศัพท์นีติศาสตร์เรียกเอกสารของทางราชการ ซึ่งผู้มีอำนาจ เช่น นายอำเภอ ออกเป็นหลักฐานบอกรูปพรรณของทรัพย์สิ่งสินของกลางที่เจ้าของแจ้งว่าสูญหายหรือโดนขโมยไป ณ วันเวลาใด ผู้ได้ไว้ในครอบครองด้วยวิธีใดก็ตาม ต้องตรึงทรัพย์นั้นไว้ ห้ามซื้อขาย เพราะจะมีความผิดในฐานะโจรหรือสมโจรหรือรับซื้อของโจร
          เกี่ยวกับ ตราสิน นี้พระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้แต่งคำประพันธ์อธิบายไว้ดังนี้
    คนเข้าของหาย
   ไปทำกฎหมาย                ตราสินตามเคย
   คือจำทรัพย์ไว้                บ่อให้ลืมเลย
   อ้างอำเภอเนย                นับเป็นพยาน


          ตัวอย่างการใช้คำ “ตราสิน” ในกฎหมายตราสามดวงมีมากมาย เช่น ในสำนวนและความต่อไปนี้
1 “ใส่ด้วยตราสิน” (ตรวจดูด้วยใบตราสิน)
2 “ถ้าต้องด้วยตราสิน” (ถ้าถูกต้องตรงกับลักษณะในใบตราสิน)
3 “ให้ใส่ดูกับตราสิน” (ให้ตรวจดูกับรูปพรรณที่แจ้งไว้ในใบตราสิน)
4 “ให้กระลาการเอาตราสีนรูปประพรรณสิ่งของมาใส่กันดู”
5 “เอารูประพันทรัพยของเจ้าทรัพยซึ่งตราสีนไว้”
 ทั้งหมดนี้ทำให้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตราสิน คือ เอกสารราชการอย่างหนึ่งซึ่งราชการเป็นผู้ออกและมีอำนาจในการ “จำทรัพย์”

 

หมายเลขบันทึก: 153504เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท