ตอนที่ 23 การทำไร่นาสวนผสมเพียง 3 ไร่รายได้พอเพียง


ไร่นาสวนผสม,เศรษฐกิจพอเพียง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมขอขอบพระคุณมากที่ได้ติดตาม เพื่อทดแทนบุญคุณของทุกท่าน ผมจึงนำสิ่งดีๆ ที่เกษตรกรทำแล้วประสบผลสำเร็จมาฝาก  สำหรับเรื่องนี้  เป็นวิธีการบรรเทาความทุกข์ยากของการดำเนินชีวิตในช่วงเศรษฐกิจฝ่าวิกฤติน้ำมันแพง พาของใช้ของกินแพงไปหมด แต่เวลาเกษตรกรปลูกแล้วนำไปขายทำไมได้ไม่คุ้มทุน ทางเลือกเพื่อหาทางหลุดพ้นวงเวียนพิศวงของการเกษตรไทย ต้องทำไร่นาสวนผสม  ถ้าบอกว่าไม่มีทุนสำหรับหมุนเวียน ก็ตอบคอนนี้เลยว่าเริ่มเริ่มจากเล็กไปใหญ่ (ยืมคำพูดของคุณลุงบุญมีมาเขียน)  คือ แบ่งพื้นที่ที่มีแล้วทำ ถ้ามีที่น้อยก็ทำน้อย ครับ

                   

                ลองตามไปดูศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงตำบลเด่นใหญ่  นับว่าเป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนได้เดินทางไปหา คุณพี่สมบุญ เมฆอินทร์ เจ้าพนักงานการเกษตร 6  สำนักงานเกษตรอำเภอหันคา และได้นำพาไปเที่ยวชมไร่นาสวนผสมของคุณลุงบุญมี  โพโต บ้านเลขที่ 127 บ้านดงมะเขือ  หมู่ 10  .เด่นใหญ่ .หันคา จ. ชัยนาท ซึ่งมีพื้นที่เพียง 3 ไร่ ทำรายได้เข้าสู่ครัวเรือนถึงวันละ 300-400 บาท/วัน เป็นการดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  (น่าติดตามนะ อย่าเพิ่งคลิกหนี้ไปไหนล่ะ)คุณป้าบุญช่วย  โพโต เกษตรกรวัย 51 ปี เล่าให้ฟังว่า เดิมทีมีอาชีพรับจ้างในการทำการเกษตรของนายจ้าง แต่เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาได้ทำไร่นาสวนผสมในพื้นที่ 3 ไร่ อาศัยสระน้ำสาธารณะ เพราะเป็นเขตน้ำฝน และใช้สายยางรดน้ำต้นไม้

                     ปรับปรุงสภาพพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมาก่อน ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เป็นล่อนคลื่น อีกทั้งขาดแคลนเงินทุน ลุงบุญมี จึงต้องใช้จอบขุดขนดินตั้งแต่ตีสี่จนดึกและใช้รถสามล้อเครื่องขนปุ๋ยคอกมาใส่ปรับปรุงบำรุงดิน ก่อนที่จะอุดมสมบูรณ์เช่นนี้

                    การวางระบบงาน  ได้วางแผนปลูกพืชหลายชนิด เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนและลดต้นทุนการผลิต โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากกิจกรรมหนึ่งไปใช้กับกิจกรรมหนึ่ง มีการกระจายแรงงานตลอดทั้งปี  จึงปลูกไม้ผลหลายชนิดคือแก้วมังกร 60 หลัก(หลักละ 4 ต้น) องุ่นรวม 80 ต้น น้อยหน่า 50 ต้น ทับทิม 50 ต้น ฝรั่งแป้นสีทอง 80 ต้น มะละกอ 50 ต้น และกล้วยไข่ 50 ต้น  เพื่อเป็นพืชหลัก และปลูกพืชอายุสั้นแซมเพื่อเป็นรายได้ เช่น พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว และผักอื่นๆ ที่สามารถจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในหมู่บ้านและตามความต้องการของตลาด  อีกทั้งคำนึงถึงแรงงาน เพื่อใช้แรงงานในครอบครัวได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ  สามารถกระจายแรงงานตลอดทั้งปี ในด้านเงินทุน คำนึงอยู่เสมอว่า จะต้องเริ่มจากเล็กไปใหญ่สำหรับเรื่องตลาด คุณป้าบุญช่วยบอกอย่างมั่นใจด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสว่าไม่เป็นปัญหา เพราะได้วางแผนเอาไว้แล้ว เพื่อให้ผลผลิตออกตรงกับความต้องการของตลาด แหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่คือตลาดนัดในชุมชนนั่นเอง  เมื่อผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษแม้ว่าลักษณะของผลผลิตไม่ดีนักแต่ผู้ซื้อก็ชอบและเลือกซื้อไปบริโภค เพราะมีความมั่นใจในความปลอดภัย

การดูแลรักษา เพื่อให้สินค้าปลอดภัยจากสารพิษ และลดต้นทุนการผลิตจึงใช้การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ตั้งแต่การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยคอก  ซากพืชจะไม่นำไปเผาหรือนำไปทิ้งที่อื่นเลย เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน สนับสนุนการเจริญเติบโตให้กับพืช แข็งแรงต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชต่อไป ควบคู่กับการใช้ ไม่ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช แต่ใช้สารสกัดจากสะเดา  หนอนตายอยาก  และใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก ผัก เป็นต้น สามารถลดต้นทุนได้เป็นจำนวนมาก

                             สิ่งที่ได้รับ จากการจัดทำไร่นาสวนผสม และการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชที่กิน กินพืชที่ปลูก และทำในสิ่งที่ตนเองใช้ ใช้ในสิ่งที่ทำ เช่น ทำไม้กวาดจากดอกหญ้าในเวลาว่างงาน หรือยามค่ำคืน  มีของใช้ มีอาหารรับประทาน มิต้องพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกมากนัก  ทำงานโดยไม่ต้องเร่งรีบมากนัก แต่ทำอย่างสม่ำเสมอทำให้สุขภาพไม่ทรุดโทรม มีความสุขกับการทำงานและความเป็นอยู่อย่างแท้จริง

                             จากการดำเนินงานไร่นาสวนผสมของลุงบุญมี  ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบพอเพียง ต.เด่นใหญ่  คงจะเป็นเครื่องชี้นำให้นายรังสรรค์ กองเงิน เกษตรจังหวัดชัยนาท เกิดความมั่นใจในการดำเนินงานของน้องๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ได้จัดหาแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญนั้นยังต้องพึ่งพาความตั้งใจของเกษตรกรที่จะเข้าไปเรียนรู้และนำความรู้มาปฏิบัติสร้างรายได้จากการลดต้นทุน และลดรายจ่าย ในครัวเรือน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงครับผม

หมายเลขบันทึก: 153360เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2007 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

 จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา ผมเคยเห็นการเจริญเติบโตที่เป็นปกติของพืชมาแล้ว แต่นั่นเป็นการเกษตรแบบพึ่งพาสารเคมี

ในเมื่อเรารู้ว่าพืชที่เติบโตปกติมีหน้าตาเป็นยังไงแล้ว ผมนึกสนุกอยากลองทำเกษตรด้วยตัวเองแบบลดการพึ่งพาสารเคมี โดยอาศัยความเชื่อและสมมติฐานส่วนตัวว่า หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง ถ้าแมลงศัตรูทำลายพืชผลเราได้ พืชผลนั้นน่าจะสามารถป้องกันกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นได้ เพียงแต่ เรายังไม่เข้าถึงเคล็ดลับนั้นต่างหากล่ะ

บันทึกนี้ช่วยกระตุ้นแรงบันดาลใจและความฝันของผมให้ฟุ้งกระจายอีกครั้ง

ผมชอบคำพูดของคุณป้าบุญช่วย เรื่องการตลาด..."ไม่เป็นปัญหา เพราะได้วางแผนเอาไว้แล้ว เพื่อให้ผลผลิตออกตรงกับความต้องการของตลาด" ...สุดยอดครับป้า!!!

  • ขอพระคุณทุกท่านที่เข้าเยี่ยมชม
  • และขอขอบพระคุณพี่ ข้ามสีทันดร ที่ให้กำลังใจ
  • และแลกเปลี่ยนความรู้ครับ
ดีใจมากๆๆเลยที่เห็นเราทำงานเพื่อเกษตรกรดิฉันเป็นคลื่นลูกใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นแต่คงอีกนานแต่จะได้พวกพี่เป็นแบบอย่างที่อำเภอของดิฉันก็มีอยากให้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเหมือนกัน
นาย วันเฉลิม นิลสนธิ

ผมก็กำลังคิดที่จะทำครับ ตอนนี้กำลังหาทุนอยู่

ข้อยืมข้อมูลการทำไร่นาสวนผสมไปเป็นข้อมูลในการสร้างหนังสือการ์ตูนเพื่อให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าหน่อยค่ะ

สวัสดีครับ

ตอนนี้คิดแทบทุกวันเลยครับว่าจะเริ่มต้นยังไงดี ... แต่ก็เปรยเหมือนกันว่า  จากนี้ไม่เกินสิบปีก็อยากลาออกไปเป็นชาวสวน 

กินปลาเป็นหลัก  กินผักเป็นพื้น... และปลูกข้าวเป็นหลัก ปลูกผักเป็นยา

...

ขอบคุณครับ

 

ทำงานโดยไม่ต้องเร่งรีบมากนัก แต่ทำอย่างสม่ำเสมอทำให้สุขภาพไม่ทรุดโทรม มีความสุขกับการทำงานและความเป็นอยู่อย่างแท้จริง

ชอบมากเลย อาจเป็นเพราะเติบโตกับการเกษตรตั้งแต่เด็กๆจึงคิดอยากจะไปอยู่อย่างพอเพียงแต่ตอนนี้ยังไปอยู่แบบนั้นไม่ได้เพราะต้องทำงานเก็บตังค์ก่อนแต่เวลากลับบ้านทีนึงก็จะไปปลูกไม้ผลไว้ตลอดและทุกครั้งที่กลับต่างจังหวัดจนตอนนี้กลับบ้านทีนึงก็ได้กินมะม่วงที่ปลูกไว้แล้วต่อไปก็คงได้กิน ขนุน ชมพู่ พุดทรา มะพร้าว ครั้งหน้าก็วางแผนไว้แล้วว่าจะปลูก แอปเปิ้ล กับ ทุเรียน เพราะคุณแม่ที่บ้านชอบกินทุเรียนมากจะได้กินทุเรียนสดๆ จากต้น

ขอบคุณนะคะที่นำข้อมูลดีๆ อย่างนี้มาบอกต่อกัน...........

คุณ ค.ห.6 มีแนวความคิดเดียวกับผมเลยครับ ตอนนี้ผมทำอพาร์ทเมนท์ และกำลังศึกษาเกี่ยวกับไร่นาสวนผสมอยู่อย่างกว้างๆ กะว่าจะหาซื้อที่แถว ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี โคราช ที่ไหนซักแห่งประมาณ10ไร่ เพราะจะไปอยู่กับภรรยา 2 คน หนีความวุ่นวาย ที่กรุงเทพฯ กะว่าอีกซัก 2-3ปีทุกอย่างลงตัวก็จะไปทันที พร้อมทั้งศึกษารายละเอียดอย่างลึกซึ้ง

จะเริ่มต้นอย่างไรดีคะ มีที่ 12 ไร่ เป็นที่นาอยู่วังทอง พิษณุโลก มีอาชีพอิสระ ก็ว่างบ้างทำงานบ้าง ตัวคนเดียวไม่มีแรงงานด้วย จะปรึกษาได้ที่ไหน

เรียน คุณปุ้ย

ติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอวังทอง ได้เลยครับ เพื่อให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรแระจำตำบล ดูสถานที่และวางแผนการปลูกพืช ตามสภาพของพื้นที่ครับ

ขอบพระคุณมากที่เข้ามาเยี่ยมเยียน

อยากจะศึกษาดูงานไร่นาสวนผสมที่อยู่ใกล้ จ.เลย หรือเปล่าครับ

ทำเลยครับ เมือเม.ย ปีนี้ผมลงทุนขุดบ่อปลาในที่นาแล้วก็เลี้ยงปลานิลให้พ่อกับแม่ผมกลับบ้านเมื่อต้นเดือนพ.ย แม่กลับพ่อขายปลาได้วันละ400-500บาทนอกจากนี้ยังได้กุ้งฝอยที่อาศัยอยู่ในบ่อปลานิลเป็นของแถมด้วยขายได้กิโลละ100 คุ้มเลยครับ

เริ่มทำเกษตรผสมผสานมา 2 ปีแล้ว มีความสุขมาก หลังกลับจากทำงานราชการก็เข้าสวน ทานผักที่ปลูกทานปลาที่เล้ยง มีข้าวปลอดสารปีละ 9 -10กระสอบไว้ทาน จากเนื้อที่ 10 ไร่ มนุษย์เงินเดือนก็ไม่ต้องติดหนี้ใคร ว่าไหมค่ะ

ทุกวันนี้ผมกำลังศึกษาการทำเกษตรผสมผสานอยู่แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ผมมีที่ดิน 14 ไร่อยู่ที่ เชียงราย เชิงดอยปู่ไข่ อยากไปทำที่นั่นใช้ชีวิตพอเพียง ซึ่งผมไม่ทราบจะลงพืชชนิดใด บ้าง ที่ดินเป็นรูปพัด แนว Slope จากเชิงดอยลงมา ผมได้ปรับพื้นดินแล้ว ไม่ทราบรบกวนผู้รู้ด้วยครับหรือปรึกษาได้ที่ไหน ผมอยู่ กทม.ครับ

ดิฉันเป็นชาวนาโดยสายเลือดชอบการเกษตรและวิถีชีวิตเกษตรกรเป็นชีวิตจิตใจถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะทำงานในสำนักงานแต่ตอนนี้กำลังสร้างฝันให้เป็นจริงและกำลังแอบมองหาแนวทางและสะสมภูมิรุ้จากหลายๆท่านอยู่หวังว่าทุกท่านจะปล่อยภุมิรู้ออกมามากๆเพื่อคนหาฝันจะได้ไขว่คว้าไว้บ้าง

หาอ่านเรื่องเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบพอเพียง เพราะกำลังคิดว่าจะไปใช้ชีวิตยามเกษียณ แบบนั้น แต่ที่ยังห่วงอยู่คือ จะทำได้หรือ แล้วทำอย่างไร ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เคยแต่ปลูกไม้ใส่กระถาง รอดบ้าง ตายบ้าง

และอีกอย่างพออายุมาก ๆ แล้วไปทำเกษตร เกิดเจ็บไข้ได้ป่วยจะหามดหาหมอได้ทันไหมล่ะเนี่ย สารพัดที่กังวล

แต่ก็อยากนะครับ ฝันมาตั้งแต่เรียนหนังสือแล้ว อยากทำเกษตร เพราะเกิดในกรุงเทพ เรียนในกรุงเทพ ทำงานในกรุงเทพ อะไร ๆ ก็ กรุงเทพ

ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ก่อนละกัน คงได้ไปอาศัยไหว้วานแน่ครับ

สวัสดี

ขอบพระคุณทุกท่านครับที่ แวะมาเยี่ยนเยียน การทำการเกษตรแบบพอเพียงน่าสนุก เพราะเราไม่ต้องกังวลถึงผลกำไรที่จะเป็นตัวเงิน หรือในรูปธุรกิจ ลดรายจ่ายในครัวเรือนมากครับ มีที่ว่างอยู่ประมาณพอปลูกผักก็พอใช้ได้ครับ เรื่องสุขภาพ หรือหน่วยพยาบาลไม่ต้องกังวลครับ เพราะปัจจุบันสถานีอนามัย และโรงพยาบาลมีมาก อีกทั้งเราอยู่ชลบทสุขภาพดีครับ ปลูกสมุนไพรกินเองเลย แต่ถ้าทำที่กรุงเทพก็ดีครับ แต่ในมุมมองของผมผมชอบชนบทครับ สงบร่มเย็น

ดิฉัน ทำงานในกรุงเทพฯ แต่ก็เริ่มกลับบ้านต่างจังหวัดบ้าง เพื่อปลูกต้นไม้ อยากดำเนินชีวิตเรียบง่าย ร่ำรวยความสุข ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านีค่ะ

ดาวบ้านม่วง(คนอุบล)

ดีใจครับเห็นข้อความทุกคนผมก็มีทีนา16ไร่ผมก็ทำไร่นาส่วนผสมผมก็เป็นคนเงินเดือนเหมืนกัน

ผมแย่สุดเลยครับ เป็นคนกรุงเทพ

ตอนนี้กำลังเก็บเงินเพื่อหาที่สัก 10 ไร่

จะไปทำไร่นาสวนผสมตอนแก่ตัวเหมือนกัน

สวัสดี คุณนันท์นภัส ดาวบ้านม่วง(คนอุบล)และคุณโย

ดีใจครับที่ทุกท่านเห็นคุณค่าของการทำไร่นาสวนผสม ผมเองก็ขาดแคลนพื้นที่เหมือนกัน อาศัยข้างบ้านที่ทีเพียงประมาณ 10 กว่าตารางวา ปลูกจนจะเป็นป่าอยู่แล้ว

อาศัยพอกินบ้างก็สนุกดี แต่เวลาบิลน้ำประปามา ซึมไปเลย

ขอบพระคุณ

ยินดีด้วยครับ

ผมคนชัยนาท อำเภอสรรคบุรี หากมีโอกาสกลับบ้านจะแวะไปเยี่ยมคุณป้า

น่าสนใจมากครับ ผมคนหนึ่งที่สนใจเรื่องนี้มาก ผมศึกษาเกี่ยวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ

กำลังทศลองดูนะครับ และศึกษาการทำไบโอดีเซลด้วย

ที่ผมอยากได้มากที่สุดคือ ผังของไร่นาสวนผสม ว่าอะไรควรอยู่ตรงไหนนะครับ

ตอนนี้ผมมีที่นาอยู่แล้ว 14 ไร่ 1แปลง 11ไร่ อี่ก1แปลง 3 ไร่ อยู่คนละฝั่งถนนกัน

ที่ดินที่มีอยู่ตอนนี้ มันทำเลไม่ดี เลยอยากได้เพิ่ม ถ้าอีกประมาณ 10 ไร่ก็จะถึงห้วย

และทิศตรงข้ามก็จะเป็นที่ไร่ แต่ที่ไร่นี้ 4 ไร่ผมถามซื้อแล้ว เขาขายไร่ละ 150000

แพงมาก แต่ผมอยากได้ ผมจะทำไร่นาสวนผสม และปศุสัตว์ไปด้วยกัน เช่น

เลี้ยงปลา วัว หมู ไก่ และ จะทำโรงสี ขนาดเล็กด้วย ครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องซื้ที่ดินให้ได้พอสมควรก่อน

ตอนนี้ผมทำงานอยู่เมืองนอก เก็บเงินซื้อที่อย่างเดียวเลยครับ

ผมจึงอยากได้คำแนะนำ และข้อมูลต่างเพื่อเป็นแนวทางต่อไป

ขอบคุณมากถ้ากรุณาไห้ข้อมูลและคำแนะนำครับ

[email protected]

หนูสนใจ และคิดที่จะทำกำลังหาข้อมูล ช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่าจะเริ่มต้นยังไง

เป็นความสุขอย่างแท้จริงเลยนะคะ มีที่ดิน ของพ่อ และแม่ ไม่มากนัก พี่น้องไม่มีใครสนใจการเกษตร แต่เรา คือ อ้อ กะ สามี ชอบการเกษตรมาก สามีเป็น เชฟ จากโรงแรมระดับ 5 มาแล้ว บอกว่าเบื่อเลยลาออก มาทำสวน คนเค้าหาบ้า ใครว่าก็ยอม ตอนนี้ทำกำลังดำนา เสร็จจากการดำนา ก็จะเริ่มปลูกผัก และผลไม้ ส่วนที่ทำอยู่ตอนนี้คือการเลี้ยงกบ และปลาดุกอุย ได้ผลอย่างไรจะรายงานให้ทราบนะคะ และที่อยากทำมากที่สุดคือ การทำเตาแก๊สจากขี้วัว ใครที่รู้ ขอข้อมูลด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ

ขอบคุณ คุณphat และคุณอ้อแม่ออม มากครับที่ แวะเวียนมาเยี่ยม

เนื่องจากรายละเอียดมีมาก ติดต่อสอบถามได้ที่ 086-4455975 ยินดีครับ

ขอบคุณสำหรับการนำรูปแบบการเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีใหม่ แต่เป็นความรู้ที่เรามองข้ามไป ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำการเกษตรแบบพอเพียงเช่นกัน กำลังมองหาที่ดินสักประมาณ 4-5 ไร่ เพื่อเริ่มทำการเกษตรแบบพอเพียง ผมเองทำงานประจำแต่คิดว่าถ้าเราสามารถใช้หลักในการบริหารจัดการเกษตรแบบพอเพียงไปปรับประยุกต์ใช้ น่าจะเป็นวิธีการที่จะทำให้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  อย่างไรก็ขอเป็นกำลังใจให้สำหรับการนำเสนอแนวคิดดีดีอย่างนี้ตลอดไป

  • ขอบคุณกับบันทึกที่ดีมาก ๆ เลยนะครับ
  • เป็นกำลังใจนะครับ

เป้นกำลังใจไห้ทุกคนคับ สู้ๆๆๆ ไร่นาสวนผสม-เศฐกิจพอเพียง-อาชีพยั่งยืน ต้องใช้ความอดทนคับ ทำจากเล็กไปใหญ่ ที่สำคัญ ต้องขยันแล้วมีความสุขกับมันคับ แล้วสิ่งที่เราทำจะเห้นผลในไม่ช้า เราเลี้ยงปลา ปลาก็เลี้ยงเราเช่นกัน ขอไห้ประสบความสำเร้จทุกๆๆคนคับ

กำลังจะทำไร่นาสวนผสม มีที่ 31 ไร่ จำปลูกหลายอย่างมะพร้าวนำหอม กล้วย ไผ่ตง แก้วมังกร มะนาว จะขุดบ่อล้อมรอบที่

แล้วปลูกผลไม้ รอบๆ บ่อ ตรงกลางจะปลูกพืชหมุนเวียน ตอนนี้รับราชการ ตอนเย็นหลังเลิกงาน จะไปทำเอง คอยดูนะ เราจะทำให้ดี

idjhghksngj kdjagh;id jdgkaiotuehag iudgayhiutegjkjfhuurthdigjiug 254656545241

hjgudklsnfo,

hlksfguikfkjgiojkjkj 23151554455

;kjfghkjdhjkkmj

0858556110

เล็กไปใหญ่ตอนที่ 23 การทำไร่นาสวนผสมเพียง 3 ไร่รายได้พอเพียง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมขอขอบพระคุณมากที่ได้ติดตาม เพื่อทดแทนบุญคุณของทุกท่าน ผมจึงนำสิ่งดีๆ ที่เกษตรกรทำแล้วประสบผลสำเร็จมาฝาก สำหรับเรื่องนี้ เป็นวิธีการบรรเทาความทุกข์ยากของการดำเนินชีวิตในช่วงเศรษฐกิจฝ่าวิกฤติน้ำมันแพง พาของใช้ของกินแพงไปหมด แต่เวลาเกษตรกรปลูกแล้วนำไปขายทำไมได้ไม่คุ้มทุน ทางเลือกเพื่อหาทางหลุดพ้นวงเวียนพิศวงของการเกษตรไทย ต้องทำไร่นาสวนผสม ถ้าบอกว่าไม่มีทุนสำหรับหมุนเวียน ก็ตอบคอนนี้เลยว่าเริ่มเริ่มจากเล็กไปใหญ่ (ยืมคำพูดของคุณลุงบุญมีมาเขียน) คือ แบ่งพื้นที่ที่มีแล้วทำ ถ้ามีที่น้อยก็ทำน้อย ครับ

ลองตามไปดูศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงตำบลเด่นใหญ่ นับว่าเป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนได้เดินทางไปหา คุณพี่สมบุญ เมฆอินทร์ เจ้าพนักงานการเกษตร 6 สำนักงานเกษตรอำเภอหันคา และได้นำพาไปเที่ยวชมไร่นาสวนผสมของคุณลุงบุญมี โพโต บ้านเลขที่ 127 บ้านดงมะเขือ หมู่ 10 ต.เด่นใหญ่ อ.หันคา จ. ชัยนาท ซึ่งมีพื้นที่เพียง 3 ไร่ ทำรายได้เข้าสู่ครัวเรือนถึงวันละ 300-400 บาท/วัน เป็นการดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (น่าติดตามนะ อย่าเพิ่งคลิกหนี้ไปไหนล่ะ)คุณป้าบุญช่วย โพโต เกษตรกรวัย 51 ปี เล่าให้ฟังว่า เดิมทีมีอาชีพรับจ้างในการทำการเกษตรของนายจ้าง แต่เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาได้ทำไร่นาสวนผสมในพื้นที่ 3 ไร่ อาศัยสระน้ำสาธารณะ เพราะเป็นเขตน้ำฝน และใช้สายยางรดน้ำต้นไม้

ปรับปรุงสภาพพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมาก่อน ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เป็นล่อนคลื่น อีกทั้งขาดแคลนเงินทุน ลุงบุญมี จึงต้องใช้จอบขุดขนดินตั้งแต่ตีสี่จนดึกและใช้รถสามล้อเครื่องขนปุ๋ยคอกมาใส่ปรับปรุงบำรุงดิน ก่อนที่จะอุดมสมบูรณ์เช่นนี้

การวางระบบงาน ได้วางแผนปลูกพืชหลายชนิด เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนและลดต้นทุนการผลิต โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากกิจกรรมหนึ่งไปใช้กับกิจกรรมหนึ่ง มีการกระจายแรงงานตลอดทั้งปี จึงปลูกไม้ผลหลายชนิดคือแก้วมังกร 60 หลัก(หลักละ 4 ต้น) องุ่นรวม 80 ต้น น้อยหน่า 50 ต้น ทับทิม 50 ต้น ฝรั่งแป้นสีทอง 80 ต้น มะละกอ 50 ต้น และกล้วยไข่ 50 ต้น เพื่อเป็นพืชหลัก และปลูกพืชอายุสั้นแซมเพื่อเป็นรายได้ เช่น พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว และผักอื่นๆ ที่สามารถจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในหมู่บ้านและตามความต้องการของตลาด อีกทั้งคำนึงถึงแรงงาน เพื่อใช้แรงงานในครอบครัวได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ สามารถกระจายแรงงานตลอดทั้งปี ในด้านเงินทุน คำนึงอยู่เสมอว่า จะต้องเริ่มจากเล็กไปใหญ่สำหรับเรื่องตลาด คุณป้าบุญช่วยบอกอย่างมั่นใจด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสว่าไม่เป็นปัญหา เพราะได้วางแผนเอาไว้แล้ว เพื่อให้ผลผลิตออกตรงกับความต้องการของตลาด แหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่คือตลาดนัดในชุมชนนั่นเอง เมื่อผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษแม้ว่าลักษณะของผลผลิตไม่ดีนักแต่ผู้ซื้อก็ชอบและเลือกซื้อไปบริโภค เพราะมีความมั่นใจในความปลอดภัย

การดูแลรักษา เพื่อให้สินค้าปลอดภัยจากสารพิษ และลดต้นทุนการผลิตจึงใช้การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ตั้งแต่การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยคอก ซากพืชจะไม่นำไปเผาหรือนำไปทิ้งที่อื่นเลย เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน สนับสนุนการเจริญเติบโตให้กับพืช แข็งแรงต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชต่อไป ควบคู่กับการใช้ ไม่ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช แต่ใช้สารสกัดจากสะเดา หนอนตายอยาก และใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก ผัก เป็นต้น สามารถลดต้นทุนได้เป็นจำนวนมาก

สิ่งที่ได้รับ จากการจัดทำไร่นาสวนผสม และการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชที่กิน กินพืชที่ปลูก และทำในสิ่งที่ตนเองใช้ ใช้ในสิ่งที่ทำ เช่น ทำไม้กวาดจากดอกหญ้าในเวลาว่างงาน หรือยามค่ำคืน มีของใช้ มีอาหารรับประทาน มิต้องพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกมากนัก ทำงานโดยไม่ต้องเร่งรีบมากนัก แต่ทำอย่างสม่ำเสมอทำให้สุขภาพไม่ทรุดโทรม มีความสุขกับการทำงานและความเป็นอยู่อย่างแท้จริง

จากการดำเนินงานไร่นาสวนผสมของลุงบุญมี ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบพอเพียง ต.เด่นใหญ่ คงจะเป็นเครื่องชี้นำให้นายรังสรรค์ กองเงิน เกษตรจังหวัดชัยนาท เกิดความมั่นใจในการดำเนินงานของน้องๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ได้จัดหาแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญนั้นยังต้องพึ่งพาความตั้งใจของเกษตรกรที่จะเข้าไปเรียนรู้และนำความรู้มาปฏิบัติสร้างรายได้จากการลดต้นทุน และลดรายจ่าย ในครัวเรือน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงครับผม

ทำนาแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ป้องกันวัชพืช

ความหลากหลายของวิธีการปลูกข้าว

ชาวนามีวิธีการปลูกข้าวหลากหลาย ถือปฏิบัติตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ และปัจจัยการผลิตหลักคือน้ำ

1) ในพื้นที่สูงมีความลาดเทมากชาวไร่จะใช้วิธีหยอดโดยไถดะกำจัดวัชพืช 1 ครั้ง ไถพรวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นใช้แรงงานคนแรกใช้วัสดุปลายแหลมพอเหมาะกระทุ้งทำหลุม แล้วจึงหยอดข้าวแห้งและกลบหลุม

2) ในพื้นที่ดอนน้ำไม่พอเพียงในช่วงต้นฤด ูก็จะเตรียมแปลงเหมือนข้าวไร่แต่ปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง

3) ที่ลุ่มอาศัยน้ำฝนพื้นที่มีระดับแตกต่างกันมาก ชาวนาจึงทำคันดิน กั้นแบ่งเป็นกระทงนาเล็กๆให้มีระดับใกล้เคียงกัน ในแปลงเดียวกันคันดินนั้น ช่วยกักเก็บน้ำฝนไว้ในระยะเวลานานพอที่จะรอฝนครั้งต่อไป ชาวนาจึงเลือกปลูกด้วยวิธีตกกล้าให้ได้ต้นกล้าที่โตพอสมควรแล้วจึงปลูกด้วยวิธีปักดำ และหลังจากปลูกข้าวสามารถกักน้ำได้มาก

4) ที่ลุ่มมีระบบชลประทานชาวนาสามารถจัดหาน้ำได้ ตามต้องการจึงเลือกวิธีการทำนา โดยทำเทือก เหมือนนาดำ แต่ทำด้วยความปราณีตกว่าทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่นาผ่านการจัดรูปที่ดินหรือปรับระดับอย่างดีมาแล้ว ชาวนาจึงเลือกวิธีการปลูกแบบนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ที่มีการใช้เมล็ดข้าวงอกหว่านบนเทือก หลังหว่าน 2-3 สัปดาห์ข้าวตั้งตัวแล้วจึงเริ่มกักน้ำในระดับ 5-10 ซ.ม.

5) ในพื้นที่ลุ่มน้ำลึกมีน้ำขังลึก 1-2 เมตรในช่วงน้ำหลากชาวนาจะเตรียมดินในช่วงที่ดินยังแห้งอยู่โดยไถดะด้วยรถแทรคเตอร์ชุดไถผาล 7 อาจคราดอีก 1 ครั้งแล้วจึงหว่านข้าวแห้งรอฝนโดยกะให้ข้าวมีเวลาเจริญเติบโต 2-3 เดือนก่อนที่น้ำจะเพิ่มระดับสูง ระยะเวลาดังกล่าวจะมากพอให้ข้าวมีความสามารถยืดตัวหนีระดับน้ำลึกได้

วิธีการปลูกข้าวที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว หลังปลูกข้าวจะมีวัชพืชรบกวนมากน้อยจนต้องมีการกำจัดหลังปลูกข้าวแตกต่างกันไปตามความปราณีต และความพร้อมของปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือน้ำ การปลูกที่ไม่มีน้ำขังตั้งแต่ข้าวเริ่มงอกจะมีวัชพืชที่ชอบสภาพดินค่อนข้างแห้งขึ้นรบกวน หากแปลงข้าว ไม่มีน้ำขังเป็นเวลานานข้าวก็จะต่อสู้กับวัชพืชเป็นเวลานาน แต่หากมีน้ำขังเร็ววัชพืชหลายชนิดจะแพ้น้ำ และเจริญเติบโตในสภาพน้ำขังได้ไม่ดีเท่าข้าว การปลูกข้าวด้วยวิธีปักดำหากมีน้ำขังตลอดไปหลังปักดำหรือหลังข้าวตั้งตัวภายใน 1 สัปดาห์ก็คงมีปัญหาวัชพืชน้อย แต่ในความเป็นจริงชาวนามักปล่อยน้ำหลังปักดำเพื่อให้ข้าวตั้งตัวและป้องกันปัญหาปูกัดกินต้นกล้าหากทิ้งช่วงนานกว่า 1 สัปดาห์แล้วจึงมีน้ำขังก็คงมีปัญหา วัชพืชไม่แพ้วิธีการปลูกแบบอื่น การปลูกแบบหว่านน้ำตมแผนใหม่นั้นคล้ายกับว่าเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างวิธีหว่านข้าวแห้งกับวิธีปักดำเพราะมีการเตรียมดินอย่างปราณีตแล้วปลูกด้วยเมล็ดข้าวงอกหากมีการขังน้ำช้าก็จะมีปัญหาวัชพืชมากเช่นกัน

นาหว่านน้ำตม ( แบบเดิม )

ยังมีการปลูกข้าวที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งที่แม้ไม่แพร่หลายนักแต่มีชาวนาปฏิบัติมานานและยังคงทำอยู่ในปัจจุบันคือนาหว่านน้ำตม(แบบเดิม) คาดว่าคงจะเป็นต้นแบบของนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ ท่านผู้อ่านสามารถพบวิธีการปลูกข้าวแบบนี้ในชาวนาบางรายแถบอำเภอเมือง, ศรีมหาโพธิ์, ศรีมโหสภ และบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีก็ใช้วิธีการปลูกข้าว แบบนี้ด้วยเช่นกัน ชาวนาจะเริ่มฤดูทำนาในช่วงที่เริ่มเข้าหน้าฝนและมีน้ำเพียงพอ โดยทำเทือกแบบนาดำแล้วขังน้ำในระดับลึก 10-30 ซ.ม. หลังทำเทือกและ ปล่อยให้น้ำตกตะกอนใสพอสมควร แล้วจึงหว่านเมล็ดข้าวที่งอกน้อยกว่าหรือใกล้เคียงกับข้าวงอกในการทำนาหว่านน้ำตมแผนใหม ่ เมล็ดข้าวจะ งอกและเติบโตเป็นกล้าข้าวโผล่พ้นน้ำในระยะเวลา 5-7 วันแล้วแต่ความลึกของน้ำ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือข้าวสามารถงอกและ เจริญเติบโตจนโผล่ พ้นน้ำในสภาพน้ำลึกระดับนี้ได้อย่างไร ในสภาพอย่างนี้วัชพืชที่สำคัญเกือบทุกชนิดไม่สามารถเจริญเติบโตแข่งขันกับข้าวได้เลย

จากการสังเกตุวิธีปฏิบัติและการสัมภาษณ์ชาวนาหลายราย ตลอดจนการทดลองเบื้องต้นของผู้เขียนเองพบว่าชาวนาจะสามารถใช้วิธีการปลูก แบบนี้ในฤดูนาปีเท่านั้นเพราะใช้พันธุ์ข้าวนาสวนต้นสูง เช่น ขาวดอกมะลิ105, เหลืองประทิว123 และขาวหลวง ( พันธุ์พื้นเมือง ) พันธุ์ข้าวเหล่านี้ มีลักษณะต้นสูงและน่าจะมีความสามารถเติบโตใต้น้ำได้ดี จากการทดลองเบื้องต้นพบว่าข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ไม่สามารถเติบโตใต้ระดับน้ำลึก10 ซ.ม. ในขณะที่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 และพลายงามปราจีนบุรีเติบโตได้ดีในสภาพนี้ น่าจะเนื่องจากชัยนาท 1 เป็นข้าวนาสวนต้นเตี้ย หลังเตรียมดิน ชาวนาจะทิ้งให้น้ำตกตะกอนนานพอสมควรจึงหว่านข้าวงอกที่เตรียมไว้ ในบางพื้นที่ดินมีลักษณะเป็นดินเปรี้ยวน้ำจะตกตะกอนใสเร็วใช้เวลาไม่ กี่ชั่วโมงก็สามารถมองเห็นพื้นดินได้ แต่ในพื้นที่ไม่เป็นดินเปรี้ยวน้ำตกตะกอนช้า และน้ำไม่ใสมากหลังเตรียมดินแล้วชาวนาจะทิ้งไว้ข้ามคืนจึง หว่านข้าวงอกในวันรุ่งขึ้น ระดับน้ำที่ใช้อยู่ในระหว่าง 10-30 ซ.ม. หากเตรียมแปลงสม่ำเสมอดี ก็จะใช้ระดับน้ำเพียง 10 ซ.ม. หากเตรียมแปลงไม่ สม่ำเสมออาจต้องใช้ระดับน้ำลึกถึง 30 ซ.ม.น้ำจึงจะขังครอบคลุมแปลงได้ทั้งหมด ซึ่งระดับน้ำยิ่งลึกข้าวก็จะยิ่งใช้เวลานานกว่าจะงอกโผล่พ้นน้ำการ งอกเติบโตจากใต้น้ำจนโผล่พ้นน้ำชาวนาเรียกว่า " ลอยใบบัว " การเตรียมข้าวงอกก็เป็นเทคนิคของชาวนาแต่ละราย ข้าวงอกที่ใช้อาจเป็นข้าวที่ งอกเพียงเล็กน้อยผ่านการแช่น้ำเพียง 1 คืนและหุ้มอีก 1 คืน ข้าวงอกเพียงตุ่มตาขาวๆเล็กนิดเดียวและถูกเรียกว่า "ข้าวเบียม" หรือบางรายอาจ ใช้ข้าวที่งอกใกล้เคียงกับที่ใช้ในนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ทั่วไป

* ข้อดีและข้อเสีย

การปลูกข้าวด้วยวิธีนี้มีข้อดีและเสียตลอดจนข้อจำกัดหลายประการ

1. พันธุ์ข้าวที่ใช้ต้องเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความสามารถเติบโตใต้สภาพน้ำลึก 10-30 ซ.ม.ซึ่งพันธุ์ข้าวนาสวนต้นสูงทุกพันธุ์น่าจะมีลักษณะนี้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามในระดับน้ำที่ไม่ลึกนักข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 สามารถเติบโตใต้น้ำลึก 5 ซ.ม. จากการทดลองในถังซีเมนต์เส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซ.ม. ดิน ร่วนทรายชุดมาบบอนหลังตีเลน ทำเทือกเติมน้ำใสให้ได้ระดับ 5 ซ.ม. แล้วรักษาระดับน้ำนี้ไว้ 3 สัปดาห์ ข้าวเติบโตได้ไม่แตกต่างจากระดับน้ำ 0 ซ.ม.

2. การเตรียมดิน และการรอเวลาให้น้ำใสเป็นเทคนิคที่ต้องเรียนรู้เพื่อปฏิบัติให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ หากหลังทำเทือกแล้วดิน เละอ่อน นุ่มมากข้าวงอกที่ใช้ต้องงอกมากพอที่เมล็ดจะไม่จมลงไปในดินเลน เทือกที่แข็งตัวกว่าต้องใช้ข้าวที่งอกน้อยกว่าเพื่อเมล็ดที่งอกจะไม่หลุดลอยขึ้นมา บนผิวน้ำได้ การขังน้ำที่ไม่ลึกนักก็ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำใสจนมองเห็นพื้นดินชัดเจนเพียงมองเห็นเมล็ดข้าวงอกที่หว่านลงไปก็เพียงพอ

3. การเจริญเติบโตจากเมล็ดข้าวงอกใต้ระดับน้ำลึกเป็นต้นกล้าในระยะเวลา 5-7 วัน ข้าวจะมีลักษณะผอมและอ่อน กล้าข้าวบางต้นที่รากเกาะ ยึดดินไม่ดีอาจถูกกระแสลมที่แรงเกินไป ซัดทำให้กล้าเหล่านี้หลุดลอยขึ้นเสียหายได้ ในประเด็นนี้ชาวนาต้องมีความชำนาญใน การเตรียมแปลง ให้สม่ำเสมอเพื่อให้มีระดับน้ำน้อยที่สุด เมล็ดข้าวงอกที่ใช้ต้องงอกได้พอเหมาะกับสภาพเทือกและน้ำในแปลงนั้นเพื่อกล้าข้าวที่เติบโตมาจะไม่มีปัญ หาการหลุดลอยได้ กล้าข้าวที่ผอมและฉ่ำน้ำคงจะอ่อนแอต่อการทำลายของศัตรูข้าวหลายชนิด อย่างไรก็ตามจากการปฏิบัติของชาวนาไม่มีปัญหาใน เรื่องนี้

4. การปลูกข้าวด้วยวิธีนี้แทบจะไม่มีวัชพืชรบกวนข้าวเลย แต่สัตว์น้ำหลายชนิดอาจเป็นปัญหาได้เช่นหอยชนิดต่างๆ และปลากินพืช อย่างไร ก็ตามปัญหานี้ไม่เกิดในการปฏิบัติจริงของชาวนา

บทความโดย

พิสิฐ พรหมนารท

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร

ขอบคุณที่ให้ความรู้

มีที่ดิน2ไร่ทำเกษตรพอเพียงได้ไหมคะยังอยู่กทม

ให้ความรู้ดีมากเลยทั้งด้านทฤษฎีและการปฎิบัติ อยากให้ชาวบ้านฝึกทดลองผิดลองถูกอย่างนี้แหละจะได้เรียนรู้ เพราะการเรียนรู้คือการลองผิดลองถูกจะได้เกิดความจำ

อยากไปปรีกษาที่สำนักงานเกษตรหันคามีที่อยู่ไม่ไกลจากวัดเด่นใหญ่มากนักว่าจะลงอะไรดีเพราะแถบนี้น้ำไม่ค่อยดีเลยม่ที่อยู่ 30 ไร่ ได้ไหมครับ

อยากมีที่ดินจัง

เราเป็นคนหนึ่งที่มีความชอบ(มากกกกก)กับเศรษฐกิจพอเพียงแต่ก็ยังไม่มีโอกาสที่จะได้ทำตามความฝันที่ต้องการให้เป็นจริง และยังไม่มีโอกาสที่จะได้ไปดูพื้นที่จริงได้เขาทำเศรษฐกิจพอเพียงได้แต่ดูในอินเตอร์เนต แต่หวังว่าสักวันหนึ่งจะมีโอกาสทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริง

นั่งอ่านเพลินไปเลย ค่ะ ตอนนี้ ทำงานประจำอยู่ ค่ะ มีโครงการอยู่ค่ะ อยากมีชีวิตแบบพอเพียง

มีครอบครัว ลูก 1 คน ค่ะ อยากหนีความวุ่นวายไปค่ะ มีที่อยู่ที่สุพรรณบุรี 6 ไร่เป็นที่ นา ค่ะ

กำลังคิด จะเปลี่ยนชีวิต ซื้อบ้านน๊อคดาว 1 หลัง น่ารัก ๆ ปลูกผัก ขาย-กินเอง คงมีความสุขดี ค่ะ

ฝันไว้ ตอนนี้ กำลังเก็บเงินอยู่ค่ะ ไว้ลงทุน และมีเก็บไว้ใช้ นิดหน่อย ตอนนี้อายุ 40 ปี อีก ซัก 5 ปี

คงได้ทำตามที่คิด่ะ

เบื่อทำนาแล้วทำมาหลายปีไม่เห็นจะคุ้มค่าเลยเหมือนเราเอาเงินไปซื้อข้าวสารกินนั่นแหละ เลยคิดจะหันมาทำสวนีดีกว่า ปลูกแบบสวนผสมถ้าจะดีครับ

ขอบคุณความรู้ดีๆที่เอามาแชร์น่ะคะ่ ส่วนตัวชอบการเกษตรแบบผสมผสานมากๆค่ะ ที่บ้านเราก็ทำ ร่วมๆ 4-5 ปีแล้ว ติดที่เราเรียนอยู่เลยไม่ค่อยได้เต็มที่มากนัก แต่งานเกษตรทุกปีเราจะพาพ่อแม่มาซื้อต้นไม้ตลอด 4-5 ปี พอเวลาผ่านไป ก็เห็นผลจริงๆๆ ปลูกมันทุกอย่างเลยค่ะอย่างละ 4-5 ต้น ขนุน ส้มจี๊ด มะนาว กล้วย ทับทิม มะละกอ มะม่วง ปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา รายได้จะมาจากเลี้ยงไก่ไข่เป็นหลักค่ะ ปีแรกเลี้ยง 7 ตัวจำได้เลยค่ะ พ่อเป็นคนเอามา จนตอนนี้ผ่านมา 5 ปี มี 500 ตัว ด้วยพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ทำได้เท่านี้ก็มีความสุขมากๆแล้วค่ะ ถ้าจะถามว่าคุ้มไหม??? เราขอตอบว่าเกินคุ้มมค่ะ คุ้มทุน และได้กำไรเป็นเงินพอสมควร แต่มากกว่านั่นคือความสุข สิ่งเหล่านี้มันเปลี่ยนเป็นกิจกรรมยามว่างของครอบครัวไปแล้ว นี่ก็เพิ่งจะเรียนจบเลยคิดว่าจะลองจริงจังและจัดสรรพื้นที่ให้ลงตัว เผื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วย จะมากจะน้อยมันก็เป็นความสุขที่ได้ทำค่ะ ขอแนะนำว่าใครคิดอยากเริ่มทำ ให้ลงมือทำเลยค่ะ อยากปลูกอะไร จับโน่นใส่นั่นใส่นี่ไป เวลาผ่านไปพอเค้าออกดอกออกผลมาเราจะภูมิใจมากและอยากทำไปเรื่อยๆ ที่สำคัญเราอยู่กับความสุขที่แท้จริง พึ่งตัวเองได้ เลี้ยงครอบครัวได้ แถมยังได้แบ่งปันผู้อื่นอีก และอีกอย่างทุกวันนี้สินค้าเกษตรสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นรายได้อย่างงดงาม ถ้าเรามีความตั้งใจบวกกับศิลปะในกาลงมือทำอย่างจริงจังรับรอง เหลือเก็บเยอะค่ะ อันนี้จากประสบการณ์ตรง ถ้าหากท่านไหนมีไอเดียดีๆ รบกวนมาแชร์กันน่ะค่ะ ขอบคุณค่าาาาาาา


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท