พยาบาลขาดแคลน..เร่งผลิตพยาบาลดีไหม


ฝ่ายการศึกษาคิดอย่างไร..กับการเร่งผลิตพยาบาล
หลังจากที่ดิฉันได้เขียนเรื่อง พยาบาลขาดแคลน..มีคนช่วยคิดแล้วค่ะ
ฝ่ายบริการพยาบาลจากทุกที่  ก็พยายามหาทางแก้ไข ในเรื่อง..การแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล
บางหน่วยงานน้องพยาบาลจะต้องทำงานต่อเนื่องกัน ประมาณ 12-16 ชั่วโมง แทบไม่มีวันหยุด มีเวลาพักเพียง 8 ชั่วโมงต่อวัน 
จนพี่พยาบาลเคยพูดกันเล่นๆว่า... อยากคลอดลูกเป็นพยาบาลเหลือเกิน จะได้มีพยาบาลมาทดแทนพยาบาลที่ลาออกไป
มีผู้สนใจแลกเปลี่ยนแนวคิดมากมาย
แต่ดิฉันก็ได้รับอีเมล...จากนักศึกษาพยาบาลหลายคน
มาถามความเห็น เรื่อง  การเร่งผลิตพยาบาลและคุณภาพบัณทิตจะเป็นอย่างไร
จุดประกาย..ให้ดิฉันได้เขียนเรื่องนี้อีกครั้ง ในมุมมองของการผลิตพยาบาลของสถาบันการศึกษา
และเป็นนิมิตรหมายอันดี....   ที่แม้แต่นักศึกษาพยาบาลก็มีความสนใจประเด็นปัญหานี้เช่นเดียวกัน
จากที่ดิฉันไปประชุมพยาบาลแห่งชาติครั้งที่ 13 มีฝ่ายการศึกษาจากหลายสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน ก็มาอภิปรายกันหลายท่าน
ในประเทศไทย ปัจจุบันมีพยาบาลที่มีใบประกอบวิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์ 118,087 (ข้อมูลสภาฯ กันยายน 2550)
ในขณะที่มีความต้องการพยาบาลทั่วประเทศ ประมาณ130,237 คน(สัดส่วน 1:500ตามเกณฑ์ของอนามัยโลก) 
ทำให้ขาดพยาบาลอยู่ 11,913 คน
ด้วยการผลิตพยาบาลในปัจจุบัน ปี 2558 จึงจะมีพยาบาล 1: 526 ตามที่ต้องการ
ดังนั้นฝ่ายผลิต..จึงหาวิธี
  • เร่งผลิตพยาบาล
  • พัฒนาพยาบาลในระบบให้มีศักยภาพสูงทั้งด้านวิชาการและทักษะการพยาบาล
  • เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาอื่นเปลี่ยนเส้นทางชีวิตก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง
  • การเร่งผลิตพยาบาลจะต้องทำควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพยาบาลด้วย เพราะการเร่งผลิตทำให้ปริมาณเพิ่มขึ้น
แต่อาจเกิดปัญหาใหม่ คือ...วิกฤติทางคุณภาพตามมาในอนาคต
ดังนั้น... การควบคุมคุณภาพขององค์กรที่รับผิดชอบ   ในการรับรองหลักสูตรพยาบาลจะต้องเข้มแข็งและรักษามาตรฐานของการศึกษาพยาบาลไว้ให้ได้ เพื่อไม่ให้วัตถุประสงค์ของการผลิตเบี่ยงเบนไป
กฤษฎา แสวงดี ได้ให้ความเห็นว่า... ควรต้องมียุทธศาสตร์กำลังคนด้านการพยาบาลในระดับชาติ  รวมทั้งพัฒนากลไกการผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์ผ่านรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีการเพิมศักยภาพการผลิตและพัฒนากำลังคน
ปัจจุบันก็มี  สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ที่ได้การรับรองจากสภาฯ หลายสถาบัน มีการผลิตพยาบาลเพื่อให้ทันกับความต้องการพยาบาลในประเทศไทย
ลองช่วยกันคิด..ว่าฝ่ายการศึกษาจะช่วยปัญหาการเร่งผลิตพยาบาลและอย่าลืมมองดูผลกระทบที่จะตามมา
เพราะพยาบาลจะต้องทำงานกับคน ที่ไม่ใช่เครื่องจักร ดังนั้นไม่อาจทำงานผิดพลาดได้ค่ะ
 เอกสารอ้างอิง 

ดรุณี รุจกรกานต์.2550. นวตกรรมการจัดการศึกษาพยาบาลเพื่อสุขภาพประชาชาติ.ในเอกสารประกอบการประชุมพยาบาลแห่งชาติครั้งที่ 13.สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย.

หมายเลขบันทึก: 150644เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2007 06:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับอาจารย์ อุบล จ๋วงพานิช

  • ถ้าผมจำไม่ผิด เมื่อ2-3ปีก่อน มีการเรียกร้องหรือประท้วงของนักศึกษาพยาบาล เกี่ยวกับการรอ บรรจุงานเมื่อศึกษาจบ
  • ไม่ทราบว่าปัจจุบันเรื่องนี้เป็นเช่นไรครับ เดี๋ยวนี้ยังต้องรออยู่หรือไม่ครับ
  • เพราะว่าหลานสาวเรียนพยาบาลมหิดลอยู่หนึ่งคนครับ

ขอบคุณครับ

P สวัสดีค่ะ

ตอนนี้พยาบาลที่จบ โดยเฉพาะจบจากมหาวิทยาลัย

ส่วนมากจะได้เป็นพนักงาน โดยใช้เงินรายได้ของคณะฯจ้างก่อน

ถ้ามีตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้บรรจุค่ะ แต่ไม่มีข้าราชการแล้วค่ะตอนนี้

การขาดแคลนเป็นปัญหาที่ใช้เวลาพอสมควร+ต้องลงทุนมาก เพราะ ทรัพยากรมนุษย์สำคัญที่สุดและบริหารจัดการยากที่สุด

1.การกระจายตัวที่ควบคุมได้ยาก ใครก็อยากอยู่ที่เงินดี สาธารณูปโภคดี ลูกได้เรียนโรงเรียนดีๆ คงต้องพัฒนาประเทศในทุกมิติ เช่น การศึกษา คมนาคม คุณภาพสถานพยาบาล อาจแก้ได้ด้วยส่งคนพื้นที่ไปเรียน ให้แรงจูงใจด้านต่างๆกับพยาบาลที่อยู่ที่ห่างไกล

2.ยุทธศาสตร์การพลิตที่ต้องรุกมากขึ้น เน้นสร้างพยาบาลชุมชนเพื่อเน้น ส่งเสริมป้องกัน รักษาเบื่องต้น และเน้นพัฒนาความรู้ในการดูแลตนเองในบริบทไทยๆ

3.เปิดโอกาสให้ CNE ให้ทั่วถึง

และอื่นๆคงจะตามมา สิ่งที่ผมเขียนน่าจะมีหมดแล้ว แต่ขอให้ทำต่อเนื่องจริงจังในทุกภาคส่วน

บทบาทของอาจารย์พยาบาลก็สำคัญมากครับ เพราะว่า หากฝ่ายการศึกษาเข้าใจบริบทสาธารณสุขไทยเป็นอย่างไรในอนาคตก็จะตอบสนองความต้องการของสังคมได้เป็นอย่างดี นั่นคือรับใช้สังคมได้ตรงตามความต้องการครับ

P สวัสดีค่ะ

ขอบคุณคุณหมอโรจน์ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนแนวคิดค่ะ

เป็นเรื่องจริงที่ปัจจัยในการขาดแคลนพยาบาลมีหลายสาเหตุ การแก้ไขก็จะต้องมีหลายวิธีช่วยกัน

สำหรับ CNE ในปัจจุบันสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและสมัครทำข้อสอบสภาฯก็ได้ ค่ะ

อาจารย์พยาบาลก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างจิตสำนึกในการบริการพยาบาลได้จริงค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาเป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • ขอให้ได้พยาบาลดี ๆ มีฝีมือนะค่ะ
  • หน้าหนาวแล้ว...รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

P สวัสดีค่ะ

สบายดีค่ะ

หนาวนี้ ยังไม่เป็นหวัด ถือว่าเป็นโชค

ขอบคุณที่มาให้กำลังใจค่ะ

ทำงานพยาบาลคนหนึ่ง

เร่งผลิตพยาบาลอย่างเดียวไม่ได้หรอก แล้วขวัญกำลังใจจากภาระงานที่หนัก

การบรรจุพยาบาล และรักษาพยาบาลให้อยู่ในระบบของรัฐเพื่อพัฒนาประเทศมีส่วนสำคัญมากกว่า ที่จะเร่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสายบุคลากรทีมแพทย์

เนื่องจากเงินเดือน ค่าตอบแทน ต่อมิอะไร เหมือนพยาบาลไม่มีความสำคัญแล้วด้วยซ้ำ

คุณคนทำงานพยาบาลคนหนึ่ง

ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ค่ะ

ข้อมูล 2550 ว่ามีพยาบาลขึ้นทะเบียน 118,087 คน แต่จริงๆแล้ว พยาบาลอยู่ในระบบบริการน่าจะน้อยกว่านี้มาก เพราะเปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่น บางคนก็เป็นแม่บ้านอย่างเดียว และเหตุผลอีกหลายๆอย่าง

ตอนนี้อายุ31แล้วกำลังเรียนผู้ช่วยพยาบาลที่ราชเวชไม่ทราบว่าเรียนจบจะสามารถเรียน ต่อพยาบาลได้หรือเปล่าและเรียนอีกกี่ปี เรียนที่ไหนดีจะมีสถาบันไหนในอุบลรับบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท