หาทางจัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชนอินทรีย์


รวบรวม ประมวลผล สังเคราะห์องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่และนำกลับเข้าสู่กระบวนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนายกระดับตามแนวทางการจัดการความรู้ รวมทั้งวางระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลความรู้บนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ด้วยได้รับแต่งตั้งจากจังหวัดนครศรีธรรมราชให้เป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลและบริหารจัดการองค์ความรู้และระบบสารสนเทศในการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน(ชุมชนอินทรีย์)
อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯดังกล่าวหนึ่งในห้าข้อคือ รวบรวม ประมวลผล สังเคราะห์องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่และนำกลับเข้าสู่กระบวนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนายกระดับตามแนวทางการจัดการความรู้ รวมทั้งวางระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลความรู้บนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
นั่งนึกอยู่ว่าจะทำอะไรและจะเสนอความเห็นอะไรในคณะอนุกรรมการชุดนี้ จึงจะทำให้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายในการเคลื่อนงานชุมชนอินทรีย์ได้รับการรวบรวม ประมวลผล สังเคราะห์ ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ของคุณกิจตัวจริงทั้งระดับครัวเรือน  กลุ่ม เครือข่าย คุณอำนวยท่านต่างๆหรือทีมต่างๆที่ได้ทำหน้าที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คุณเอื้อที่เสริมหนุนกลไกการขับเคลื่อนจนเกิดความรู้ประสบการณ์มากมาย หรือของตัวละคอนอื่นๆในโครงการฯชุมชนอินทรีย์
ได้อ่าน โครงการระบบธนาคาร ความรู้ในรูปแบบ ICT” (Knowledge bank) ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงาน กศน.ด้วยกัน ก็ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ลองอ่านดูเป้าหมายของโครงการต่อไปนี้ซิครับ

ฯลฯ 

3.       เป้าหมาย
3.1     มีระบบฐานข้อมูลความรู้ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (Organizational Knowledge based) เช่น ผลงานทางวิชาการ ผลการวิจัย บันทึกส่วนบุคคล สะสมผลการเรียนของนักศึกษา กศน. ความรู้ของวิทยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.2     เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก (External Knowledge based) เช่น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน องค์กร ที่มีระบบงานเดียวกัน
3.3     มีระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
3.4     มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจอิงฐานความรู้(Knowledge based Decision Support System)

ฯลฯ


และยิ่งได้ดูตัวอย่างที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนได้ทำแล้วที่นี่ ICT knowledge banK ก็ยิ่งเห็นแนวทางชัดขึ้น

12 - 18 ธ.ค. ที่จะถึง ผมคงได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมกับ กศน.ภาคอีสาน ที่อุบลราชธานี

หมายเลขบันทึก: 150486เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2007 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

   ต้องขอเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อเนื่อง เรื่อง ICT Knowledge Bank ครับ ที่ผมเขียนไว้ในblog เป็นความเร่งรีบเพียง Copy โครงการไปวางไว้ ในช่วงที่เข้าอบรม คิดเอาไว้ว่า เมื่อมีเวลา จะมาเขียนต่อ พอดีได้มาอ่านเรื่องของครูนง พอดี ก็เลยถือโอกาสเขียนต่ออีกเล็กน้อย

  • โครงการ ICT Knowledge ได้เริ่มคิดกันมาตั้งแต่ Go To Know เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงคิดกันว่า กศน. น่าจะมีแหล่งรวบรวมความรู้บ้าง จึงคิดโครงการกันขึ้นมา กว่าจะคิด กว่าจะจ้างพัฒนา Software พัฒนาระบบ จนถึงทดลองใช้งาน ก็ล่วงเลยไป 2 ปี กว่า
  • ลักษณะการทำงานจะคล้ายๆกับ GotoKnow แต่ใช้งานได้แคบกว่า ที่สำคัญคือ มีลักษณะเป็น blog เหมือนกัน และถ้าท่านใดเคยใช้ My Space ของ Hot mail จะทราบได้ทันที ว่า เหมือนกันมาก
  • ผมเริ่มทดลองเข้าไปใช้งานหลังจากที่เข้าอบรม และลองเอาบทความที่เขียนใน Gotoknow ไปวางไว้  การทำงานทำได้เร็วกว่า Go to Know (เพราะยังมีคนเข้าใช้ไม่มาก) แต่สิ่งที่ยังไม่เป็นไปตามหลักการเรียนรู้นิดหนึ่งคือ เมื่อเขียนบทความ หรือที่เรียกว่า องค์ความรู้ แล้ว จะไม่ได้รับการเผยแพร่ทันที ต้องรอให้ผู้กลั่นกรองอ่าน และอนุญาต ก่อน จึงจะเผยแพร่ได้
  • ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งคือ ไม่สามารถกำหนดหมวดหมู่ หรือหัวข้อเรื่องได้เอง ต้องเป็นไปตามที่ ผู้ดูแลระบบ กำหนด และไม่สามารถสร้างชุมชนของตนเองได้
  • พูดถึงเรื่องระบบแล้ว GotoKnow จะใช้งานได้กว้างขวางกว่า แต่ ICT Knowledge Bank จะอยู่ในวงเฉพาะ กศน. และควบคุมระบบโดยบุคลากรของ กศน. ดังนั้นตอนนี้ผมจึงใช้งานทั้ง 2 ที่ คือ เรื่องที่เขียนลง GotoKnow ก็จะ Copy มาวางที่ ICT Knowledge Bank ด้วย

อ่านข้อความของพี่ที่พี่เขียนว่า พูดถึงเรื่องระบบแล้ว GotoKnow จะใช้งานได้กว้างขวางกว่า แต่ ICT Knowledge Bank จะอยู่ในวงเฉพาะ กศน. และควบคุมระบบโดยบุคลากรของ กศน. ดังนั้นตอนนี้ผมจึงใช้งานทั้ง 2 ที่ คือ เรื่องที่เขียนลง GotoKnow ก็จะ Copy มาวางที่ ICT Knowledge Bank ด้วย...ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งใช่ไม๊ครับที่จะทำให้คนใน(กศน.)ได้เรียนรู้กับสังคมข้างนอก(กศน.)และคนใน กศน.ได้เรียนรู้แบบลึกกับคน กศน.ด้วยกัน

  • ได้ความรู้
  • ขอบคุณทั้งครูนง และพี่ศรีเชาว์ครับ

ครูชา ที่นับถือ

สร้างสังคมแลกเปลี่ยน แลกเปลี่ยนไปเรื่อยๆครับ ไม่เครียด อยู่ที่ไหนก็ทำตัวให้มันเรียนรู้ได้ก็เท่านั้นเองครับ

ครูนงครับ

คิดว่าช่วงเดือนหน้าปลายๆเดือนผมอาจได้เดินทางไป ที่นครฯ ครับ เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับยางพารา ยังไงอาจขอรบกวนสอบถามข้อมูลครับผม

น้องเอก จตุพร

พี่ยินดี หากจะช่วยอะไรได้บ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท