นี่หรือ..คือ.."ผู้นำ"


“ ในขณะที่เราให้หรือเสียอะไรบางอย่างไป เราก็มักจะได้อะไรบางอย่างมา และในขณะที่เราได้บางสิ่งบางอย่างมา เราก็มักจะต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไปเสมอ ”
สวัสดี..ท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

    เมื่อไม่กี่วันมานี้ ได้มีโอกาส เข้าร่วมประชุมสัมนา เกี่ยวกับ การพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งได้รับความรู้เยอะแยะมากมาย  และอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง กับท่านผู้อ่านทุกท่าน ซึ่งจะได้นำมาเขียนในบล๊อกต่อไป

      แต่ที่ติดใจมาก ๆ และอยากจะนำมาแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่านทุกท่านในบล๊อคนี้คือ (ต้นสายปลายเหตุ )...เมื่อถึงเวลาพักทานอาหารเที่ยงก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวงการ (ครู) เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมและผลักดันครู เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน  ซึ่งมีทั้งชื่นชมยินดีกับบทบาทผู้บริหารของตน และมีทั้งผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้บริหารของตนบ้าง

      ซึ่งแต่ละคนก็มีเหตุผล และความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ผู้เขียน ก็ได้แต่นั่งฟัง และแอบรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในบันทึกของความคิด ในขณะเดียวกันก็..แว๊บปิ๊ง..  ขึ้นมาในใจว่า เดี๋ยวกลับไปต้องนำบันทึกเหล่านั้นมาเปลือยใน  G2K

       ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่ออยากทราบความคิดเห็น และความรู้สึกของทุกท่าน ทั้งที่อยู่ในวงการ ครู หรือ วงการ อื่น ๆ

 

 

       ภาวะผู้นำ (Leadership)  หรือ ความสามารถในการนำ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ  หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้น ควรจะต้องเริ่มต้นด้วย วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและจูงใจ  ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมาย สำหรับอนาคต  แต่ในสายตาของ ผู้เขียน กลับเห็นว่า การสร้างศรัทธา ต่างหาก ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะทำให้การนำสำเร็จ  เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้เขียน พบว่าแม้ วิสัยทัศน์ ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจ สักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว  วิสัยทัศน์ ที่วางไว้นั้น ก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก  แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้ วิสัยทัศน์ หรือเป้าหมาย ที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร  แต่ถ้าหากคน มี ความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว  การนำ มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียว

            คำถามที่มักตามมาก็คือ ....... ศรัทธาเหล่านี้มาจากไหน เราจะสามารถพัฒนามันขึ้นมาได้อย่างไร ...... หากจะกล่าวโดยรวมแล้ว ศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของ การยอมรับ เป็น เรื่องของ ใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอไป

           โดยหลักแล้ว การที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป  บุคคลนั้นก็คงต้องมีอะไรที่ เหนือ หรือโดดเด่น อยู่บ้าง  บางคนก็ให้ความสำคัญกับเรื่อง คุณวุฒิ วัยวุฒิ ในขณะที่บางคนกลับให้ความสำคัญกับเรื่อง ความรู้ความสามารถ เป็นหลัก

           แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งนี้ คือ ปัจจัยหลัก ในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือ การเป็น ผู้ให้   เราจะพบว่า ผู้นำที่แท้คือ ผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน  

           แน่นอนที่สุด หากเรามองว่า ธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือ ชัยชนะ ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคน ล้วนแต่ต้องการ ชัยชนะ ด้วยกันทั้งนั้น  แต่สำหรับ ผู้นำ ที่แท้จริงแล้ว  ชัยชนะที่เขาต้องการนั้น เขามองมันในฐานะที่เป็น "รางวัล" สำหรับทุกคน  มิใช่เพียงเพื่อ ตัวเขาเท่านั้น ผู้นำที่แท้ ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา มีความสุข ได้รับชัยชนะ  ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะ เพื่อคนทุกคน เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ               

        หากเราลองตั้งคำถามว่า  ในโลกนี้มี ผู้นำประเภทที่กล่าวมานี้ด้วยหรือ ?   คำตอบก็คือ  มี   เพราะเราก็ยังคงพบเห็นคนประเภทนี้อยู่ในทุกยุคทุกสมัย  เพียงแต่ว่า ในปัจจุบัน อาจจะมีให้เห็นไม่มากนัก เพราะผู้นำที่เราพบกันโดยทั่วไปมักจะเป็นผู้นำที่มา โดยตำแหน่ง เป็นส่วนใหญ่ 

         การที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น  ผู้ให้ นั้น เท่ากับเป็นการตอกย้ำ ให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่า ผู้นำที่แท้จริง จะต้องไม่เห็นแก่ตัว จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน  หากผู้ใด ยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้ง ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจน ว่าคนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง 

        ผู้นำ จำเป็นจะต้องมี ความเสียสละ ภาวะผู้นำ กับเรื่อง การเสียสละ เป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใด ๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่ง การทุ่มเท และ การเสียสละ    

        มีนักปรัชญาชาวอเมริกันคนหนึ่ง ได้กล่าวไว้ว่า ในขณะที่เราให้หรือเสียอะไรบางอย่างไป เราก็มักจะได้อะไรบางอย่างมา   และในขณะที่เราได้บางสิ่งบางอย่างมา เราก็มักจะต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไปเสมอ     จากคำกล่าว นี้เราจึงพบว่า ผู้ที่ให้มักจะเป็นผู้ที่ได้รับอะไร ๆ อยู่เสมอ ทั้ง ๆ ที่ตัวเขาเองก็มิได้คาดหวังอะไรเป็นสิ่งตอบแทน เข้าทำนองที่ว่า ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ    ซึ่งส่วนหนึ่งของสิ่งที่เขาได้รับนี้ก็คือ  ศรัทธา  อันเป็นผลเนื่องมาจาก ความสามารถที่จะ ซื้อใจ ผู้ตามได้นั่นเอง                                                          

                              ** JasmiN ** 

หมายเลขบันทึก: 146740เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2007 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับ

  • ผู้นำ ศรัทธา ผู้ให้
  • ครับหลายสิ่งหลายอย่างประกอบกัน
  • ตัวเราต่างหาก ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
  • ขอบคุณมาก

สวัสดีท่านพี่ไมตรีค่ะ

P

  • มาเร็วทันใจดีจัง...นึกว่า ไม่มีใครมาซะแล้ว อิอิ
  • ..ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ..
  • ถูกต้องนะคร๊าบบบ
  • ขอบคุณท่านพี่ไมตรี ที่แวะมาทักทายค่ะ

                              "JasmiN"

 

สำหรับผมแล้ว....

ผู้นำ ..ควรต้องศรัทธาต่อตนเอง

และไม่ลืมที่จะเชื่อมั่นต่อคนรอบข้าง

สวัสดี อ.แผ่นดินค่ะ

P 

  • ใช่ค่ะอาจารย์ ต้องศรัทธาต่อตนเอง และเชื่อมั่นต่อคนรอบข้าง
  • ผู้ตาม จะได้รู้สึกว่าตัวเองได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลถึงคุณภาพของงาน
  • หากผู้นำทุกคนเป็นได้อย่างอาจารย์ว่า น่าจะดีนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ อาจารย์

                    "JasmiN"

 

  • สวัสดีครับอ.Jass min
  • ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้ที่ดีๆและมีโยชน์มากครับ

สวัสดีค่ะ ท่านพี่เขียวขจีมรกต

 P

  • หากมีความรู้ดี ๆ ก็ยินดีแปลเปลี่ยนเรียนรู้เสมอค่ะ
  • ขอบคุณนะค่ะที่เข้ามาแวะบล๊อก

                              "JasmiN"

ทั้งนี้และทั้งนั้น  ผู้นำคงต้องมีทั้ง "พระเดช + พระคุณ" ด้วยอีกต่างหาก....นอกเหนือจากที่กล่าวกันมาเยอะแยะมากมายนั่นอีกด้วย  อ้อ...พี่จำได้ว่ามีแบบอย่างของการเป็นผู้นำมาให้คิดว่าจะเลือก...หรือไม่.....ทางโฆษณาในทีวีบ้านเราแล้วด้วย  ดูแล้วยังจ๊ะน้องน้อยนู่โตน  แล้วจะเอารึปล่าวคะผู้นำแบบในโฆษณาน่ะค่ะ   คิดถึงนะคะน้อง

สวัสดีพี่แอนสุดสวยค่ะ

P 

  • ถูกต้องเลยค่ะ "พระเดช + พระคุณ" นี่ ทิ้งไม่ได้เลย จะมีอย่างใดอย่างหนึ่งคงไม่สมบูรณ์แบบ เนาะ
  • เอ ! โฆษณาไหนหนอ  ยังนึกไม่ออกเลยค่ะ
  • คิดถึงเช่นกันค่ะคุณพี่คนฉวย

                            "JasmiN"

  • มาดูเรื่องภาวะผู้นำ
  • มาบอกว่าหายไปนานๆๆมากๆๆๆ
  • คิดถึงๆๆๆ

ผู้นำ..ต้องนำในยามวิกฤต

เฉกเช่นการนำทัพออกรบ.. ดัง "จูมง"   แต่ในยามที่อดอยาก บางครังผู้นำอาจต้องทนหิว เพื่อให้ลูกน้องได้อิ่ม...

 

สวัสดี อ.ขจิต ค่ะ

 P

  • ว๊าวววว...   เซอไพรส์... อ.ขจิต คิดถึง
  • ยังอยู่ค่ะ ไม่ได้ไปไหน วนเวียนอยู่แถว ๆ นี้แหละ
  • จุดธูปสิค่ะ เดี๋ยวคงโผล่ไปให้เห็น อิอิ  ^_^
  • ขอบคุณ อาจารย์ มากค่ะ ที่แวะมาเยี่ยม

                                    "JasmiN"

สวัสดี อ.แผ่นดินค่ะ   P

  • หนัง "จูมง" ให้แง่คิดในเรื่องภาวะผู้นำได้ดีมาก ๆ
  • ติดตามอยู่บ้างค่ะ ที่สำคัญ ชอบ "จูมง" หล่อบาดใจ อิอิ..  ^_^
  • ขอบคุณอาจารย์มาก ๆ ค่ะ

                                   "JasmiN"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท