ชวนชาวนาร่วมคิด เกี่ยวกับการจัดการระบบน้ำ


สวัสดีครับทุกท่าน

        สบายดีไหมครับ วันนี้ผมเอาภาพโมเดลการจัดการน้ำในระบบนามาชวนกันคิดเล่นๆ หากได้คำตอบอาจจะนำไปใช้ได้ก็ได้นะครับ

ภาพมีดังนี้ครับ

Ricefield-models

จากภาพ มี 2 โมเดลครับ คือ

  • ระบบโมเดล 1 คลองชลประทานจะตื้นกว่าระบบโมเดลที่ 2

  • น้ำใต้ดินจะไหลลงคลองชลประทาน หรือนัยหนึ่งก็คือ การรักษาสมดุลน้ำนั่นเอง เราสามารถใช้น้ำในคลองชลประทาน (ดิน) วัดระดับน้ำในดิน ได้หรือไม่ครับ

  • น้ำมีการระเหยจากคลองชลประทานถึงสู่บรรยากาศตามลักษณะภูมิอากาศครับ

  • ผมลองสังเกตเล่นๆ หลายๆ ที่มีการขุดคลองชลประทานในการส่งน้ำ ลอกคลองแต่ละครั้งให้ลึกขึ้น คุณลองคิดเล่นๆ ดูครับ ว่าส่งผลต่อระบบนาอย่างไรบ้าง

  • หากคุณต้องมีระบบคลองลึก คุณจะจัดการบริหารน้ำในดินอย่างไรครับ

  • หากดินไม่มีน้ำ หรือความชื้น จะเิกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่นาบ้างครับ

  • หากเราำจำเป็นจะขุดคลองชลประทาน เราควรจะขุดให้ลึกเท่าไหร่ดีครับ เพื่อให้ระบบนายังอยู่ได้ และส่งน้ำไปยังที่อื่นได้เช่นกัน

  • อื่นๆ ลองคิดกันเล่น ต่อนะครับ เชื่อมโยงกับระบบนาที่เราสัมผัสอยู่ด้วยก็ได้นะครับ

  • อื่นๆ เพิ่มเติมได้ครับ ร่วมมองต่างมุมครับผม

ขอบพระคุณมากครับ

เม้งครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 145756เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2007 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ถาม หากดินไม่มีน้ำ หรือความชื้น จะเิกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่นาบ้างครับ
  • ตอบ มีคลองไส้ไก่ในอีสานเกือบครึ่งที่ขุดไว้ใส่อากาศ

 

สวัสดีครับอาจารย์เม้ง

             วันนี้มาให้คิดเรื่องภูมิปัญญาอีกแล้ว

              ผมจะลองบอกแนวคิดของผมนะครับ

              ถ้าอยากระบายน้ำก็ให้ขุดในแนวนอน

              ถ้าอยากใช้น้ำก็ให้ขุดในแนวตั้ง

              ถ้าอยากทั้งระบายและใช้น้ำก็ต้องคำนวณพื้นที่ที่ใช้คลองนี้ กับปริมาณฝนที่ตกลงมา กับความเร็วในการไหลของน้ำในคลองครับ

              หากเจ้าหน้าที่เขาคำนวณโดยการศึกษาพื้นที่อย่างจริงจัง เคารพในวิชาชีพ ก่อนตั้งงบประมาณ ตรวจรับงานด้วยความโปร่งใส ผมคิดว่าไม่น่าจะมีคลองไส้ไก่ใส่อากาศให้พบเห็นครับ

                     ขอบคุณครับที่ได้คิดก่อนทำงานครับ

                                  สวัสดีครับ

มีประเด็นเชิงการใช้คำนิดหน่อย

คลองชลประทาน เป็นคลองให้น้ำได้

ส่วนใหญ่จะสูงกว่าพื้นที่ใช้น้ำ จึงมักไต่ไหล่เนินของพื้นที่ให้ปล่อยน้ำได้โดยง่าย

แต่อาจมีบางจุดที่ต้องสูบบ้าง

 

คลองที่กล่าวมาน่าจะเป็นคลองระบายและฝายทดน้ำที่นิยมใช้

  • แก้ปัญหาฝนแล้งและ
  • น้ำท่วมในขณะเดียวกัน

 

ใช้มากในเขตทุ่งกุลาร้องให้ จนทำให้ทุ่งกุลาร้องไห้มีผลิตภาพสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

  • การลดปัญหาน้ำท่วมได้ผลดี
  • แต่การแก้ภัยแล้งจะได้เฉพาะริมคลองที่สูบน้ำได้เท่านั้น
  • แต่ระบบสังคมที่ช่วยเหลือกัน ยืมที่ทำแปลงกล้าก็เป็นส่วนที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้คลอง และใช้น้ำได้ครับ

การขุดคลองลึก ตื้นต้องระวังไม่ให้กระทบระบบเดิม หรือปัญหาแทรกซ้อน เช่น

  • ดินเค็มในภาคอีสาน และ
  • การระบายน้ำดีเกินไปทางภาคใต้ครับ

สวัสดีคะพี่เม้ง

ตอนนี้อากาศเย็น สบายดีคะ ช่วงนี้อยู่ กทม. ปลายๆ เดือนคงได้กลับเชียงใหม่ ไปสูดไอดินกลิ่นหมอกที่บ้านสักทีคะ

น้องพิมพ์รู้สึกว่าที่ไหนมีน้ำ ที่นั่นมีความชุ่มชื่น พื้นที่นาที่มีคลองอยู่ข้างๆ ก็น่าจะชุ่มชื้น ส่งผลดีต่อต้นไม้ใบหญ้าได้...ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่านะคะ

---^.^---

P 1. ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

กราบสวัสดีครับท่านครู

  • ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำตอบครับ
  • ดินแตกระแหงห่อคลองไส้ไก่หรือเปล่าครับ ผมไม่เคยเห็นนะครับ
  • ประสบการณ์ผมกับพื้นที่ในอีสานมีค่าเป็นศูนย์ครับผม เขียนบทความนี้เพราะคิดถึงนาแถวๆ บ้านที่กำลังได้รับผลกระทบครับ
  • ที่น่าสนใจคือ จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดคลองไส้ไก่อย่างที่ว่าครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

P 2. นายช่างใหญ่ 

สวัสดีครับคุณพล

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ สำหรับแนวคิดที่น่าสนใจเรื่อง ระบายน้ำ กับขุดเอาน้ำ ตลอดทั้งการบูรณาการสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็ต้องหาจุดที่เหมาะสมที่ได้ทั้งสองอย่างลงตัวใช่ไหมครับ
  • นาแปลงหนึ่งที่หน้าบ้านเจอสภาพล้อมรอบด้วยสวนยางในนาสามทิศทาง แล้วเหมืองคือคลองส่งน้ำ ลูกทำให้ลึกต่ำลง กำลังน่าสงสัยอยู่เหมือนกันครับ
  • แปลงหนึ่งปลูกยางในนา แปลงหนึ่งทำนาในนา ลองคิดเล่นๆ ดูครับ ขณะที่แปลงหนึ่งอยากมีน้ำ อีกแปลงไม่้ต้องการน้ำ น่าสนใจจริงๆ ในการประสานความขัดแย้งระดับชาวนา
  • หากเราพูดคุยทำความเข้าใจกันได้ระหว่างคนขุดกับคนทำนาก็คงจะดีไม่น้อยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

P 3. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

สวัสดีครับท่าน อ.แสวง

  • ขอบพระคุณมากเลยครับ
  • ผมอาจจะใช้คำไม่ค่อยถูกต้องจริงๆ ครับ ความหมายผมคือการขุดคลองลงไปต่ำกว่าที่นาครับ และเป็นคูดินนะครับ ที่ไม่ใช่ใช้คอนกรีตนะครับ
  • เป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ เพราะผมทราบว่าหลายๆ ที่จะมีการขุดลึกลงไปเพื่อให้น้ำส่งไปถึงได้ไกลพื้นที่ด้วย แต่ในขณะหนึ่งก็ส่งผลกระทบด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับส่วนเติมเต็มให้ชัดมากขึ้นนะครับ

P 4. พิมพ์ดีด

สวัสดีครับน้องพิมพ์

  • ขอบคุณมากครับ สำหรับการรายงานสภาพอากาศครับ และขอให้สนุกกับการได้สูดไอดินกลิ่นหมอที่บ้านนะครับ
  • ครับ ตรงไหนมีน้ำ ตรงนั้นชุ่มชื้นครับ มีคลองก็ชุ่มชื้นครับ หากให้ดีต้องมีต้นน้ำด้วยครับ จะยิ่งชุ่มชื้นเข้าไปครับ เพราะแหล่งต้นน้ำจะทำให้เกิดสภาพที่ชัดสร้างระบบนิเวศที่ดีและสมดุลได้ครับ
  • เพราะหากขาดต้นน้ำบางทีหน้าฝนก็จุก หน้าแล้งก็จุกครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีคะ..เน็ตล่มหลายวันแล้ว
  • เลยมาอ่านบันทึกช้าหน่อย
  • พี่ชอบระบบการทำนาแบบขั้นบันไดที่ใช้ได้ดีตามภูเขาและชอบระบบการระบายน้ำเข้านา
  • เห็นหลายประเทศเขามีระบบผันน้ำที่ดีและดูแลร่วมกัน..เป็นฝายหรือทำนบเล็กๆต่อเนื่องกัน
  • แต่บ้านเราทำยากคะ..เพราะโดนคนต้นน้ำสูบ..หรือกักน้ำไว้ซะหมด

P 9. naree suwan

สวัสดีครับพี่นารี

  • พี่สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับความเห็นดีๆ ครับ
  • ผมว่าการทำนาแบบขั้นบันได เป็นความฉลาดและเข้าใจธรรมชาติของน้ำนะครับ อีกอย่างปกติหากมีป่าไม้ น้ำฟ้าที่ตกลงมาบนป่าเขา ก็ไม่ชะล้างเร็ว เพราะมีตัวใบไม้ กว่าฝนจะตกกระทบดินเป็นน้ำได้ กว่าน้ำจะผ่านรากไม้ไปได้ การชะล้างมีโอกาสเกิดน้อยกว่า ภูเขาหัวโล้นครับ
  • กรณีที่จะทำนาก็เช่นกัน หากภูเขาหัวโล้นแ้ล้ว กระบวนการชะลอน้ำให้ไหลช้าลงก็จะทำให้พืชกักน้ำได้ทัน
  • ผมสุขใจเสมอเวลาเห็นการทำนบกั้นน้ำ สำหรับการขนส่งทางน้ำครับ เพราะว่าพื้นที่ไม่จำเป็นต้นสูงต่ำเท่ากัน ก็สามารถทำให้เรือไหลขนสินค้าไปได้อย่างสบายใจ สบายงบ
  • เรื่องน้ำเป็นปัญหาหลักของสิ่งมีชีวิตเลยครับ ผมเคยถามเพื่อนผมที่มาจากอีสาน ผมถามว่าตั้งแต่เกิดมา จำความได้นั้น ชีวิตคุ้นชินกับสภาพแวดล้อมอย่างไร สีที่คุ้นตาเป็นสีอะไร
  • เพื่อนจะตอบในสีโทนร้อนๆ แต่แน่นอนว่าอาจจะแต่ละจังหวัดก็ต่างๆ กันครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดีครับคุณเม้ง

  • ผมมาตามลิงค์ที่เกี่ยวเนื่องกับบล้อคของท่านอาจารย์ ดร.แสวง ครับ
    4. เม้ง สมพร ช่วยอารีย์
    เมื่อ พฤ. 15 พ.ย. 2550 @ 04:00
    457509 [ลบ]

    สวัสดีครับ ท่าน อ.แสวง และ คุณครูวุฒิ

    อ่านความเห็นของคุณครูวุฒิแล้วทำให้ผมนึกถึงโมเดลวันก่อนที่เขียนไว้เลยครับ ชวนชาวนาร่วมคิด เกี่ยวกับการจัดการระบบน้ำ อย่างน้อยก็มีปัญหาความทุกข์ออกมาจากใจคุณครูวุฒิ ที่ตรงกับประเด็นของบทความนั้นที่ทำไว้ให้คิดเช่นกันครับ  ...ฯลฯ....

  • เห็นโมเดลของคุณเม้งแล้ว  อธิบายแทนข้อความที่ผมเขียนได้ทั้งหมดครับ

  • นั่นคือความเป็นจริง  ที่อย่างน้อยคนศรีสะเกษเสียประโยชน์อันมีมาให้ตามธรรมชาติมากว่า 40 ปี  ซึ่งนับวันจะมหาศาลและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

  • ภาพต่อไปนี้คือ...แผ่นดินศรีสะเกษ  ในส่วนที่ยังไม่มีระบบชลประทานไปกลายใกล้ (ถ่ายช่วงประมาณ มีนา-เมษาครับ                                                                                            Dsc00180yb4 Copyofdsc00464cr7
    Dsc00067zh5 
    0006wu5

  • น้ำที่เห็นเป็นน้ำที่เกืดจากระบบน้ำใต้ดิน 100% ครับ

  • เห็นแล้วชวนให้สรุปได้ว่าคนศรีสะเกษ  ไม่น่าจนนะครับ

  • แล้จะขอคุยกับ อ.เม้งในเรื่องนี้อีกเป็นระยะๆเท่าที่จำเป็นครับ

  • สวัสดีครับ

P 11. ครูวุฒิ

สวัสดีครับคุณครูวุฒิ

  •  ขอบพระคุณคุณครูวุฒิมากๆเลยนะครับ
  • สำหรับภาพทำให้ผมคิดอะไรต่อไปเพิ่มได้อีกครับ
  • มีน้ำมีชีวิต การดึงน้ำใต้ดินมารดดิน น้ำหมุนเวียน แม้ว่าจะมีส่วนหนึ่งสูญเสียไปบ้างระเหยไปบ้างก็ขึ้นไปสู่ระบบได้ วันหนึ่งหากเรามีต้นไ้ม้ป่าไม้ ก็ดึงฝนลงมาได้อีกครับ
  • ทำให้ต้องย้อนไปถามแนวทาง ทำไมถึงจนอีกรอบโดยเอาคำตอบที่เห็นใส่เข้าไปในระบบเดิมของคำถาม น่าจะได้คำตอบชัดขึ้นมาอีกนิดครับ
  • แต่หากได้พูดคุยศึกษาอดีตด้วย อาจจะได้อะไรบางอย่างเพิ่มขึ้นอีก
  • ศึกษาพืชที่น่าจะเหมาะสม เหมาะสมกับพื้นที่ และปลูกเชิงผสม น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการชวนวิจัยกับชาวบ้านได้
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท