ผมทำนาไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่เกี่ยว สำเร็จแล้ว!!


คาดว่าจะได้ผลผลิต ประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ กก. ต่อไร่

  ในช่วงเวลาที่ผ่านมาประมาณ กว่า ๒ เดือนผมใช้เวลาครุ่นคิดว่า 

ผมจะทำนาอย่างไรที่จะไม่ต้องลงทุนลงแรง แต่มีข้าวกิน 

หรือถ้าจะลงก็น้อยที่สุดที่ไม่มีทางขาดทุนแน่นอน และคนทั่วไปนำไปปฏิบัติได้ 

071111+004

นา ๑๐ พย ๕๐

ทำไมเกษตรกรทั่วไปต้องไถ 

·        เพราะต้องการกำจัดวัชพืช

·        จนเกิดผลในการทำลายดินอย่างรุนแรง ดินเสียโครงสร้าง แน่นทึบ เพียงไม่กี่วันหลังการไถ

·        และทำให้ รู้ว่าต้องไถ จึงจะร่วน (แบบชั่วคราว) 

ทำให้ต้องเตรียมการและลงทุนมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งในการขาดทุน

·        ต้องมีไถ หรือรถไถไว้ตลอด ปีหนึ่งใช้ไม่กี่ครั้ง แต่ก็ต้องมี

·        ต้องใช้แรงงาน และน้ำมันที่แพงขึ้นทุกวัน

·        ต้องใช้เวลามากในกระบวนการทำงาน

·        ต้องรอจังหวะฝน จังหวะน้ำ จังหวะดิน

·        ทำลายระบบธรรมชาติ จนเจ้าของนาต้องเข้าไปจัดการทุกเรื่อง ที่ต้องใช้ทุนมาก

·        โดยรวม การลงทุนดังกล่าวทำให้ต้นทุนสูงกว่าราคาข้าวที่จะขายได้ 

การไม่ไถ ทำให้ดินร่วนแบบถาวร โดยปล่อยให้สิ่งที่มีชีวิตในดิน บนดิน ในน้ำ ในอากาศ ทำหน้าที่แทนเราได้

 ทำไมเกษตรกรทั่วไปต้องดำนา

·        เพราะลดการแข่งขันของวัชพืช

·        ให้ข้าวเจริญสม่ำเสมอ สวยงาม 

ข้อนี้เป็นการทำตามความรู้สึก ที่แพงมาก ทั้งเวลา ค่าแรง และต้นทุนในการทำงาน ที่ต้อง

·        เตรียมแปลงกล้า

·        ดูแลแปลงกล้า

·        ไถดะ (ภาษาอีสาน-ไถฮุด)

·        ทิ้งให้หญ้าเน่าตาย

·        ไถแปร

·        ทิ้งให้ขี้ไถร่วน นิ่ม เละ

·        คราด ทำเทือก

·        ถอนกล้า

·        ขนกล้าไปปักดำ 

ทุ่มเททำในสิ่งที่ ไม่ต้องทำก็ได้  

เพราะโดยธรรมชาติข้าวที่โตห่างกันจะแตกกอมากถ้าถี่จะแตกกอน้อย เป็นปกติ อยู่แล้ว 

การหว่านจึงให้ผลไม่แตกต่างจากการดำ เพียงแต่ลดการแข่งขันของวัชพืชได้เท่านั้นก็พอแล้ว 

วนไปวนมาก็ติดอยู่เรื่องเดียว วัชพืช 

ดังนั้นผมจึงไม่ทำอะไร ตั้งใจลดการแข่งขันของวัชพืชเพียงอย่างเดียว 

·        ผมจึงใช้วิธี ทดน้ำแช่ให้วัชพืชอายุยืนตาย ในช่วงที่มีน้ำไหลบ่าผ่านแปลง

20070321_%e0%b8%99%e0%b8%b2_125

นา ต้นพฤษภาคม ๒๕๕๐

·        ปล่อยปลากินหญ้า (เฉาฮื้อ)

·        เดินถอน วัชพืชที่ยังตายไม่หมด

·        พอน้ำลดลง ก็หว่านข้าว ถั่ว งา

20070606_%e0%b8%99%e0%b8%b2_321+%28small%29

นา ๘ มิย ๕๐

·        จะมีหญ้าอายุสั้นขึ้นปนกับข้าว ถั่ว งา

Img_2502+%28small%29

นา ๒๒ กค ๕๐

·        พอหญ้าส่วนใหญ่เริ่มจะออกดอก (๒ เดือน หลังหว่านข้าว) ใช้เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ตัดหญ้า ปนถั่ว ปนข้าว ไปให้วัวกิน

Img_2510+%28small%29

 นา ๒๓ กค ๕๐

Img_2513+%28small%29

·        ปล่อยให้ข้าวแตกยอดใหม่ แต่หญ้าจะตายเป็นส่วนใหญ่·        ไม่ต้องทำอะไร รอเกี่ยวอย่างเดียว 

ถ้าเกี่ยวไม่เป็นจะทำอย่างไร

·        ต้องจ้างคนเกี่ยว

ถ้าไม่มีเงินจ้างล่ะ จะทำอย่างไร

·        ผมคิดอยู่นาน จนได้คำตอบเมื่อวานนี้ ว่า

·        ไปบอกให้คนที่ต้องซื้อข้าวบริโภค มาเกี่ยวแบ่งกัน

·        ถือว่า ผมก็ยังไม่ต้องลงทุนอะไร เช่นเดิม 

ใช้ข้าว เกี่ยวตัวเอง ขนตัวเอง สีตัวเอง เข้ากระสอบเอง และมาอยู่ที่บ้านผมเอง

 บางท่านคงจะงงนะครับ ก็ผมวางแผนให้

·        คนเกี่ยวข้าวลงทุนทั้งหมด และ

·        แบ่งข้าวให้ผมพอกินพอใช้ และได้ขยายที่ปลูกใหม่ และ

·        ผมได้ข้าวพอกินก็พอ (ปีหนึ่งผมจะต้องใช้ข้าว ประมาณ ๗๐๐ กก. ข้าวเปลือก หรือ ๓๕๐ กก. ข้าวสาร ก็พอ รวมแจกให้เพื่อน และญาติพี่น้องทานแล้วด้วย) 

ที่เหลือ ปล่อยให้ร่วง หรือทิ้งไว้ในนา ปีต่อไป จะได้ไม่ต้องหว่านอีก 

ที่เหลือก็ทำบุญ ทำทาน ให้กับคนไม่มีนา ไม่มีข้าวกิน

โดยให้เขามาเกี่ยวข้าวแบ่งกันนั่นแหละครับ 

ผมจึงถือว่า

ผมทำนา ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่เกี่ยว สำเร็จแล้วครับ 

และ ทำให้ผมได้

·        ระบบนิเวศธรรมชาติ ที่ลุ่ม ที่หนองน้ำ ป่าบุ่งป่าทามที่ดีคืนมา

·        มีข้าวอินทรีย์ คุณภาพดี ไว้บริโภคเอง อย่างพอเพียง ไว้แจก

·        ทำบุญ ทำทาน ด้วยข้าวดีๆ กับคนที่ไม่มีนา ไม่มีข้าวดีดี บริโภค

·        มีพันธุ์ข้าวดีๆ ไว้ขยายพันธุ์ ไว้แจกให้กับพันธมิตร และเครือข่าย 

ปีนี้หลังจากตัดต้นข้าวเป็นตารางเมตรตรวจสอบผลผลิตแล้ว

071111+002

นา ๑๐ พย ๕๐

นายอนุวัฒน์ เจิมปรุ

นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ปีที่ ๒ มาเยี่ยมแปลงนา ก็เลยได้วัดผลผลิตข้าวด้วยตัวเอง

ได้จำนวนรวง ๑๓๗ รวง ต่อตารางเมตร

ฟางข้าวสด ๒.๓ กก. ต่อ ตารางเมตร

มีวัชพืชปน ๓๔ ต้นต่อตารางเมตร น้ำหนักสด  ๓๐๐ กรัมต่อตารางเมตร

 071111+003

การนับเมล็ดข้าวต่อรวง โดย นาย อนุวัฒน์ เจิมปรุ

ได้เฉลี่ยประมาณ ๑๕๐ เมล็ดต่อรวง และมีเมล็ดลีบเพียง ๑.๕% 

 คาดว่าจะได้ผลผลิต ประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ กก. ต่อไร่ (จากค่าเฉลี่ย ๖๗๕ กก/ไร่)

จากที่นาที่ทำจริงๆ ๓ ไร่กว่าๆ (ที่เหลือเป็นบ่อปลา คูนาปลูกกล้วย ไม้ผล ไม้ยืนต้น)

น่าจะได้ข้าวเปลือกทั้งหมดประมาณ ๒ ตันกว่าๆ ครับ

จะมีฟางเหลือผุพังอยู่ในนาประมาณ ๑๒ ตัน

และมีปุ๋ยคอกสำรองไว้แล้วประมาณ ๑๕ ตัน จากการเลี้ยงวัว ๑๐ ตัว ควาย ๖ ตัว 

ปีที่แล้ว ผมได้ข้าว ๒.๔ ตัน (ที่ใช้บริโภคในครัวเรือน แจก แบ่งให้ญาติไปทำพันธุ์ เลี้ยงไก่ ทีเหลือใช้เลี้ยงวัว)   โดยไม่ตัดข้าวไปให้วัวกิน  

ปีนี้ทดลองตัดต่ำบ้างสูงบ้าง เพื่อทดสอบการกำจัดวัชพืช นำหญ้าและข้าวที่ตัดไปให้วัวกิน และไม่ได้ใส่ปุ๋ยคอกเพิ่ม ผลผลิตเลยลดลงนิดหน่อยครับ 

ปีหน้าจะ

·        ใส่ปุ๋ยคอกที่มีทั้งหมด

·        ปล่อยให้ข้าวงอกเอง แต่จะหว่านถั่ว งา เติมลงไป หรือหว่านข้าวพร้อมถั่ว งา ในนาแปลงใหม่

·        ตัดหญ้าสูงกว่าปีนี้ (สัก ๔-๖ นิ้ว) ให้ข้าวแตกดีกว่าเดิม

·       และจะรอให้ข้าวมาเข้าบ้านเองเหมือนเดิมครับ 

มีใครสนใจทำตามบ้างครับ   

หมายเลขบันทึก: 145607เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2007 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (107)

แม่ของดิฉันมีที่ทำนา ก็เคยจ้างคนทำนา ปรากฏว่าซื้อข้าวกินน่าจะถูกกว่า

ต่อมาสู้ไม่ไหว ค่าจ้างแพง

ก็ทำแบบอาจารย์ โดยให้คนอื่นทำนาให้เลย แล้วแบ่งข้าวมาได้น้อยก็ไม่เป็นไร

คุ้มค่ะ 

Pครับ

ผมถือว่าไม่มีใครขาดทุน ทุกฝ่ายได้ทั้งหมด รวมทั้งระบบธรรมชาติ เพื่อนบ้าน

ผมก็ถื่อว่าสำเร็จครับ

และไม่ต้องไปพึ่งพาระบบทุนภายนอกที่ไม่มีใครเขาไม่เสี่ยงกับเรา มีแต่เราเสี่ยงต่การขาดทุนอยู่ฝ่ายเดียว

ลองทำดูซิครับ

ปีหนึ่งแทบไม่ต้องทำอะไร ได้ข้าว ๖๐๐ กก ต่อไร่ น่าจะยอมรับได้นะครับ

ไร่เดียวก็พอกินในครอบครัว

๒ ไร่ เหลือแจกเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง

๓ ไร่ เหลือไว้สร้างพันธมิตร

๔ ไร่ขึ้นไป เหลือขาย

ชุดความรู้ก็พอมี ลองไปปรับใช้ได้เลยครับ

อาจารย์คะหนูอยากลองเอาทำนาแบบอาจารย์ไปลองทำดูแย้วล่ะ แต่ไม่รู้ว่าคุพ่อจะช่วยปะ แต่น่าลองมั่กมากเลย อิอิ

ลองสักไร่หนึ่งก่อนก็ได้ ได้ผล รู้เทคนิค วิธีการแล้วค่อยขยาย จะไม่พลาดครับ

จะให้ดีมาคุยกันก่อนก็ได้ครับ

ผมว่าที่เขามีโรงเรียนชาวนา  ของอาจารย์แสวงนี่ต้องเป็นระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยชาวนา  ผมว่าอาจารย์มิได้ทำแคเตรียมดินปลูกข้าว  ผมว่าแบบนี้เขาเรียกปลูกข้าวในใจคน  ที่ต้องเตรียมใจ  ทำใจ  จึงจะปลูกใจสำเร็จ

มีโอกาสคงต้องพาสมาชิกที่ศึกษาไปดูงานอาจารย์แน่ๆ

 อาจารย์ครับเดี๋ยววันอาทิตย์หน้าไปช่วนเกี่ยวนะคับอาทิตย์นี้ไม่ไหวร่างกายทรุดโทรม ภูมิแพ้กำเริบครับ

ขอบพระคุณครับ

P

ผมพยายามใช้ควาวรู้ที่เรียนมาให้เป็นประโยชน์สักหน่อย เท่านั้นแหละครับ

ผมทำงานวิจัยพบว่าระบบนิเวศเสื่อมโทรมมาก เหลือแต่ทรากเชิงโครงสร้าง

ดิน น้ำ ป่า ขาดชีวิต ชีวา

 จนพระแม่ธรณีไม่สามารถดูแลพระแม่โพสพได้

เทพาอารักษ์ก็ถูกทำลาย จนอย่างมากก็เหลือแค่ตอไม้

พระแม่คงคาก็เหลือแค่ "น้ำ" ปนสารพิษ สารพัดชนิด

นักวิชาการไทย ร่วมหัวกับนักธุรกิจที่มีความรู้แค่การค้ากำไร ยุยงส่งเดชให้ชาวบ้านที่ไม่ทันเกมส์การเมือง การค้าวิ่งตามแนวคิดฝรั่ง ลืมภูมิปัญญาไทยในการดูแลทรัพยากร

ถ้าเราไม่กระตุกความคิดกันบ้าง เราก็คงเป็นได้แค่ "ปุ๋ย" ให้กับบริษัทข้ามชาติที่เอาไปเป็น "วัสดุ" ให้บริษัทเขาเจริญอย่างไม่มีขีดจำกัด

หลังจากเขาสูบเลือดกินเนื้อ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา เทพาอารักษ์เราไปจนหมดแล้ว เราจะเหลืออะไร

มีแต่สารพิษ สารเสพติด สารบำรุงกำลัง เต็มบ้านเต็มเมือง

พอเสพเข้าไปก็หลอกตัวเองว่า "ยังมีกำลัง"

เราจะอยู่ได้นานเท่าไหร่กันครับ

ทั้งชาวบ้าน และท่านนักวิชาการที่เสวยสุขบนหอคอยงาช้าง ทั้งหลาย

ท่านยังจะแข่งกันผลิตกระดาษเปื้อนหมึก ตามค่า KPI ของใครก็ไม่รู้ เพื่อใครก็ไม่รู้ ประเทศชาติไม่เห็นได้ประโยชน์อะไร

แล้วใครได้ประโยชน์ ผมก็ไม่ทราบ

แต่น่าจะมีนะครับ

ใครทราบช่วยบอกทีครับ

 

  • ขอบคุณครับเป็นแนวคิดการลดต้นทุนที่หน้าสนใจ
  • ถ้าผมจะลด ไม่ไถ คือหลังเกี่ยวข้าวเสร็จ จะหว่านข่าวเลย ไม่เผาตอฟ้าง มีพืชอะไรก็หว่านลงไป เพราะจะรักษาหน้าดิน
  • พอถึงเดือน 8 ต้นข้าวจะขึ้นมาพร้อมกับ พืชต่าง ๆ
  • ผมจะใช้เครื่องตัดหญ้า ตัดให้เหลือประมาณ 1นิ้วถ้ามีน้ำจะตัดให้เสมอกับน้ำ
  • ส่วนที่ตัดจะไม่เอาออก  จะหมักไว้อย่างนั้น จะได้ปุ๋ยสดๆ  จะลดค่าใช้จ่ายการซื้อปุ๋ยได้
  • ขอบคุณครับผม
  • แวะมาชื่นชมงานของอาจารย์ครับ

 

ขอบคุณครับพันธมิตรทุกท่านที่เข้ามาติดตามผลงาน

ผมคิดว่า ผลผลิตไม่น่าจะแปรปรวนมากนัก

ปีที่แล้วได้ ๘๐๐ กก ต่อไร่ ปีนี้ก็ประมาณ ๖๐๐ กว่าๆ

จอลองปรับปีหน้าครับ

ทั้งนาเก่า และนาใหม่ ที่จะเริ่มปีนีอีก ๑๑ ไร่

ลบคำสบประมาทของสมาชิกเครือข่าย ที่ว่า

"ก็อาจารย์มีแค่ ๔ ไร่ก็เฮ็ดได้แหละเนาะ ผมมียี่สิบกว่าไร่ เฮ็ดบ่ไหวดอกครับ"

ผมจึงจะลองทำ ๑๕ ไร่

แบบ

ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่เกี่ยว

ดูซิว่าจะมีปัญหาอะไร

ไม่มีรถไถ ไม่มีแรงงาน ไม่ลงทุนใดๆ แบบนี้แหละ จะได้สักเท่าไหร่

คิดว่าจากความรู้ที่มี น่าจะได้ประมาณ ๘๐๐ กก ต่อไร่ นะครับ

ผมมั่นใจมากเลยครับ

ปีหน้าผมจะตัดให้สูงกว่านี้ (ที่ตัดง่ายกว่ากัน ครับ)

แค่เพิ่มปุ๋ยคอกเท่าทีมีก็เหลือเฟือแล้วครับ

แล้วผมอยากจะฟังว่าคนที่สบประมาทผมเมื่อปีที่แล้ว จะพูดต่อไป ว่าอย่างไร

ดังนั้น

ผมจึงอยากให้เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ สัก ๒-๓ ตัว ก็จะได้ปุ๋ยคอกและลดภาระการดูแลวัชพืชโดยทั่วๆไปด้วยครับ

 สิ่งที่หลายคนนิยมทำเหมือนกันใช่ว่าจะถูก สิ่งที่คนไม่นิยมสนใจใช่ว่าจะผิด การคิดนอกกรอบถือเป็นการสรรสร้างสิ่งใหม่ๆเพื่อจรรโลงใจให้สดชื่นกระชุ่มกระชวย ในขณะที่โลกทั้งใบกำลังหมุนรอบตัวเองอยู่นั้น เราก้ไม่จำเป็นจะต้องเอี้ยวตัวหมุนตามไป แต่เราสามารถหมุนเอี้ยวร่างกายในทางตรงกันข้ามของการหมุนของโลก ความคิดและการปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน การคิดในทางกลับกันกับความคิดของผู้อื่นและปฏิบัติสวนทางใคร ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ในการประสบกับความสำเร็จ .... สู้ต่อไปครับคุณครู นักพัฒนาปัญหาของไทย

สนุกเปล่า  ได้อะไรบ้างเล่าให้ฟังบ้างสิ   อยากรู้จัง

แปลกนะ

ใกล้ๆแค่นี้ไม่ยอมไปดูเอง

วันหลังก็ให้เพื่อนทานอาหารแทน แล้วก็มาเล่าให้ฟังว่าอร่อยอย่างไร ดีไหม

ประมาณกันนั่นแหละครับ

หนูอยากรู้อย่างละเอียดจังเลยค่ะ ว่าอาจารย์ทำได้ยังไง ไม่หว่าน ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่เกี่ยว แล้วอาจารย์ไปเอาผลผลิตมาจากไหนคะ

 สวัสดีครับ   อาจารย์

  • เรื่องนี้ติดตามมาแต่ต้น
  • ยังเชียร์อาจารย์อยู่ในใจ และถามว่าชาวบ้านเขาจะเอากับอาจารย์หรือ
  • วันนี้อาจารย์ทำสำเร็จ ผลผลิต 700กว่า
  • ขอบคุณมากครับ
  1. ดีใจแทนชาวนาเหลือเกินที่ท่านอาจารย์พยายามหาทางช่วยเหลือคิดค้นวิธีการทำนาเพื่อลดต้นทุนให้ครับ ในฐานะลูกชาวนาคนหนึ่งต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
  2. ผมเองทั้ง ๆ ที่เป็นลูกชาวนามาแต่อ้อนแต่ออก ก็พึ่งเกิดจิตสำนึกอยากช่วยเหลือชาวนาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ก็ตอนสมัยเรียนปริญญาโท มีอยู่วันหนึ่งเข้าไปนั่งอ่านหนังสือเตรียมสอบในห้องสมุด บังเอิญไปพบงานวิจัยเกี่ยวกับ "มันสำปะหลัง" เข้า เลยหยิบขึ้นมาอ่านเล่น ๆ แต่น่าสนใจมากครับ เลยลองค้นคว้าเพิ่มเติม ทำให้พบงานวิจัยเกี่ยวกับ "ข้าว" เป็นงานวิจัยของท่าน "นิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน" เข้าใจว่าทำสมัยท่านเรียน วปอ. เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากครับ ท่านได้นำเสนอวงจรธุรกิจค้าข้าว, 16 กลุ่มทุนค้าข้าวส่งออก พบว่า ไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก (เป็นข้อมูลสมัยที่ยังไม่ทำนาปรังมากนัก) ส่งออกประมาณปีละ 6 ล้านตัน ถ้าคำนวณแบบเอากำไร ก.ก. ละ 1 บาท จะได้กำไรจากการส่งออกข้าว ปีละ 6,000 พันล้าน หลังจากอ่านงานวิจัยเล่มนั้นแล้ว (ตอนนั้นยังเป็นเด็กอยู่มาก) ผมมานั่งคิดกับตัวเองว่า เอ! เราเองก็เป็นลูกชาวนา มีโอกาสได้มาเรียนหนังสือ ได้มาพบมาเห็นงานวิจัย ถ้าเราไม่ช่วยชาวนา แล้วจะให้ใครมาช่วย ผมจึงตัดสินใจโยนหนังสือเตรียมสอบทิ้ง หันมาค้นคว้าข้อมูล เรื่อง ข้าว อย่างจริงจัง จนเวลาจะกลับบ้านที่มหาสารคาม ผมจะนั่งรถแดง (รถโดยสารที่ราคาถูก ที่ชาวบ้านชอบนั่ง) ซึ่งเป็นรถผ่านไปจังหวัดร้อยเอ็ด อุบล บ้าง เพื่อจะได้ใกล้ชิดและได้สอบถามความเป็นจริงกับชาวบ้าน ว่าความเป็นมา และสภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร สิ่งที่ผมคิด กับสิ่งที่ชาวบ้านเชื่อเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร (ผมเกือบสอบตกครับ แต่ผมก็ภูมิใจในตนเองมาก)  ผมได้คิดค้นออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาและช่วยเหลือชาวนาไว้หลาย Models (ถ้ามีบุญวาสนาจะกลับเล่า และขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ใหม่อีกครั้งหนึ่งนะครับ)

สวัสดีครับ

แวะมาอ่านครับ

ขอศึกษารายละเอียดก่อนนะครับ

ผมเซฟเอาไว้แล้ว ;)

 

Model แรก ๆ

  • ในตอนแรกของการศึกษาหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือชาวนา ของลูกชาวนาอย่างผมนั้น ผมมีฐานคิดแบบนักคอมพิวเตอร์ คือ หาเครื่องทุ่นแรงเข้ามาช่วย (ตอนนั้นราคาน้ำมันยังไม่แพง) ผมก็พยายามเข้าไปค้นคว้าเวปไซด์ (พ.ศ.2539 ซึ่ง Google ยังไม่เกิด, yahoo ไม่แน่ใจว่าเกิดหรือยัง)   พบว่าที่ญี่ปุ่น มีเครื่องปลูก เกี่ยว ที่ทันสมัยมาก คือ ทำนาคนเดียว ให้เสร็จภายในวันเดียวได้เลย โอ้โฮ! สุดยอดมาก
  • OK ชอบใจ อาริกะโตะ
  • แต่พอหันมาดู สภาพพี่ไทยของเรา ไม่เห็นมีใครผลิตอย่างเป็นร่ำเป็นสันเลยในตอนนั้น ถึงมีก็ราคาแพงมากเหลือเกิน คิดว่า คงเป็นไปได้ยากที่จะนำเข้าหรือส่งเสริมให้คนไทยตั้งโรงงานผลิต
  • ข้อเท็จจริงของวันนี้ เทคโนโลยี หรือ ผู้ทำลายอย่างสร้างสรรค์ และความเหล็ก ก็ทำลายล้างควายไทย ใกล้สูญพันธุ์แล้ว อนิจจัง!

Model ยุคกลาง หรือยุคที่ 2 "ยกระดับราคาข้าว"

 

Pด้วยวิญญาณลูกชาวนา ๑๐๐% ทำให้ผมหวนกลับมาคิดเรื่องนี้ครับ

หวังว่าจะขับเคลื่อนไปได้ถึงระดับนโยบายครับ

เพราะเราไม่มีทางเลือกมากนักหรอกครับ

เดินหน้ามีแต่เป็นเหยื่อเขาแน่นอน

ต้องกลับมาคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงแล้วครับ

ขอบคุณมากครับ

กราบสวัสดีครับท่าน อ.แสวง

  • สบายดีไหมครับ
  • ดีใจจังครับ ที่อาจารย์ได้ภาพทุกอย่างชัดเจนมากๆ เลยครับ ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่เกี่ยว...
  • เคยนำเสนอกับ อาจารย์เล่นๆ มาครั้งหนึ่งแล้วว่า อาจจะให้นกมากินข้าวและให้นกคาบข้าวมาเก็บไว้ในฉางข้าวของเราที่บ้าน แบ่งข้าวกันกิน
  • มาวันนี้ อาจารย์ค้นพบคนที่ทำหน้าที่แทนนกเหล่านั้น ได้อย่างลงตัวมากๆ เลยครับ เป็นการแบ่งกันกิน การช่วยกัน นับว่ายั่งยืนได้และลงตัว
  • ผมว่าหาก อาจารย์เชื่อมโยงถึงโรงเรียนได้ด้วยจะดีมากๆ ครับ เ่ช่นโรงเรียนนำเด็กนักเรียนมาสอนการเก็บเกี่ยวข้าว และศึกษาแนวทางการทำนาในวิถีนี้ เด็กก็ได้ความรู้นำไปพูดเล่าให้พ่อแม่ฟัง โรงเรียนก็ได้ข้าวไปหุงเป็นอาหารกลางวันของนักเรียนได้ด้วย อาจารย์ก็ได้ประโยชน์ในแนวทางเดิมเช่นกัน หรือวิธีการอื่นๆ
  • ผมจำได้ตอนเด็กๆ คุณครูในระดับประถมฯ ก็พานักเรียนไปเกี่ยวข้าว เช่นกันครับ ทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้นครับ เป็นการให้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง โดยเด็กจะจำนาน
  • ผมลองมองย้อนถึงจุดอ่อนของการทำนาของที่บ้านคือ เราอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับที่นาเท่าที่ควรหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว บางทีใช้วิธีการเผาซังข้าวในอดีต โดยขาดความรู้
  • บางทีก็ปล่อยทิ้งไว้จนไม่ได้สนใจเท่าที่ควรในการบำรุงให้เกิดกิจกรรมในการทำงานของระบบย่อยในดินระหว่างที่ไม่มีการทำนะครับ ประมาณว่าปล่อยทิ้ง ไว้ค่อยมาคิดเอาตอนที่ก่อนจะปลูกข้าวและถึงฤดูกาลที่จะทำนานะครับ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องน้ำฝนด้วย แต่เมื่อระบบชลประทานขุดคลองที่ลึกกว่าที่นามากๆ นาที่ลุ่มก็กลายเป็นนาดอนไปโดยปริยาย  แน่นอนว่าคลองส่งน้ำนั้นดีในการส่งน้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง แต่หากวิเคราะห์ให้ดีแล้ว เป็นการส่งผ่านน้ำใต้ิดินสู่ท้องฟ้ามากเกินไปจนลดปริมาณน้ำในดินได้ไม่น้อยเช่นกันครับ แทนที่น้ำใต้ดินจะถูกเก็บไว้ในดินระดับปกติ
  • เมื่อที่นาเปลี่ยนไปสถานการณ์เปลี่ยน แนวคิดของชาวนาเปลี่ยน ก็หันเปลี่ยนที่นาเป็นการปลูกพืชชนิดอื่นๆ แทนนาข้าว เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ต้นไม้โตเร็ว และอื่นๆ ก็ทำให้สภาพเปลี่ยนไป
  • ผมว่าหากเป็นไปได้ อาจจะลองนำเสนอแนวทางนี้ ให้กับทางคนที่มีส่วนในการส่งเสริมการเกษตรดูนะครับ ในกระทรวงก็ได้ครับ อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งในการนำเสนอให้ชาวนาเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งน่าจะเกิดประโยชน์ร่วมกัน ตลอดทั้งการทำให้ระบบการคืนกลับของระบบนิเวศได้ด้วยครับ เพราะ อาจารย์ก็อยู่ในสาขาทางการเกษตรด้วยแล้วครับ
  • ผมว่าชาวนาส่วนใหญ่พร้อมจะทำตามได้ครับ แม้จะช้าก็ตามครับ เราจะได้หลุดจากวงจรหลายๆ อย่างที่ผูกมัดชาวนาจนเกินสภาพ
  • เมืองไทยเราโชคดีมากนะครับ ประมาณว่ามีข้าวกินกันทั้งปี ปลูกข้าวได้ปีละสองครั้ง แถมมีการปลูกสลับช่วงกันได้ด้วย ระหว่างภาคใต้ กลางอีสาน นี่คือสภาพที่พร้อมและสมบูรณ์
  • ผลไม้และพืชผลอื่นๆ ก็มีมากมายจนพิสูจน์ให้เห็นว่าบ้านเราสมบูรณ์ขนาดไหนครับ
  • ระบบนิเวศนี่สำคัญจริงๆ นะครับ หากเราปรับค่าเพี้ยนไป ระบบเพี้ยนส่งผลกระทบทันทีครับ
  • กราบขอบพระคุณมากครับ ผมจะนำไปพูดคุยกับที่บ้านด้วยครับ ขอบคุณมากๆ นะครับ เพราะว่าระบบน้ำก็ถึงครับ
Model ยุคกลาง หรือยุคที่ 2 "ยกระดับราคาข้าว"
เมื่อได้ศึกษาต่อมาอีกระยะหนึ่ง ผมคิดว่า "การยกระดับราคาข้าว" น่าจะช่วยชาวนาได้ จึงได้คิดวิเคราะห์และออกแบบ โมเดล ระยะที่ 2 ขึ้น ดังนี้
  1. รวมกลุ่มชาวนา หรือ ผู้ผลิต ทั้งในระดับชุมชน ระดับชาติ และกลุ่มผู้ผลิตข้าว (คล้าย OPEC) เพื่อพัฒนาแผนการผลิต และสร้างอำนาจต่อรองร่วมกัน
  2. ตั้งโรงสีในทุกจังหวัด โดยให้ชาวนาเป็นหุ้นส่วน แต่จ้างมืออาชีพที่เป็นลูกชาวนามาบริหาร (ให้ศึกษาความล้มเหลวของระบบสหกรณ์ ปี  2523)
  3. ตั้งบริษัทส่งออกข้าวแห่งประเทศไทย โดยรัฐและชาวนาเป็นหุ้นส่วน เพื่อลดปัญหาพ่อค้าคนกลาง
ผมใช้เวลาศึกษาและพัฒนา Model นี้กว่า 5 ปี พบว่ายังมีจุดอ่อนอยู่หลายจุด และตอบหลายคำถามไม่ได้ จนได้มารู้จักกับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ผมว่า นี่ล่ะคือคำตอบ อยากให้ท่านอาจารย์ และท่านทั้งหลาย ช่วยกันคิดต่อ วิพากษ์วิจารณ์ว่า
  • Model ดังกล่าวมีความเป็นไปได้หรือไม่
  • มีจุดอ่อนอย่างไรบ้าง
  • และทำไม แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็น คำตอบต่อมา

ขอบคุณที่เข้ามาช่วยกันมอง

ผมพยายามหาทางพัฒนาเทคนิค แล้วนำไปพัฒนาการสร้างโมเดลอีกทีหนึ่ง

คงมีโอกาสมองลึกๆ อีกหลายวาระครับ

อาจารย์ครับ ช่วยอธิบายการวัดผลผลิตข้าวอีกทีครับ ผมฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจครับ แล้วช่วยจัดให้นักศึกษาไปดูงานที่นาอาจารย์ด้ายนะครับ เพราะจะให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้นครับ ขอความกรุณาด้วยนะครับ สวัดดีครับ

         อาจารย์คะ ชาวนาทำนาแล้วขาดทุน และไม่ได้กินข้าวที่ตัวเองทำกลับไปซื้อข้าวจากพ่อค้า ในขณะที่ขายข้าวของตนเองไปในราคาที่ต่ำ แต่ซื้อกลับมาในราคาที่สูง ขาดทุนแล้วยังมาซื้อข้าวกินในราคาแพงอีก เราจะทำอย่างไรดีคะ ถึงจะช่วยชาวนาได้ และที่แย่ยิ่งกว่านั้นประเทศไทยนำเข้าข้าวเหนียวจากต่างประเทศแล้วนะคะ

  • ต้องขับเคลื่อนภาคประชาชน
  • ทำผล ให้ชัด และกว้างไกล
  • ใครหลงทางปล่อยไปก่อน
  • เอาคนที่หลงน้อยๆกลับมาก่อน
  •  และการประชาสัมพันธ์พุ่งเป้าสู่นโยบายสาธารณะครับ
สวัสดีครับ อ.แสวง ผมได้อ่านแล้วแต่ผมก็ไม่เข้าใจอยู่ดีครับ ว่าถ้าเราหว่านข้าว ถั่ว งาแล้ว เราจะต้องรอ 2เดือนก่อนจึงค่อยตัดใช่ไหมครับ หลังจากนั้นเราจะปล่อยน้ำเข้านาหรือไม่ครับ และอีกอย่างที่ผมไม่เข้าใจ คือว่า ตอนที่เราเกี่ยวข้าวเราจะต้องไม่เกี่ยวหรือปล่อยข้าวไว้แบบไหนครับ ที่จะให้ข้าวเกิดในปีต่อไป ลืมอีกอย่างครับว่าเราทำได้ทั้งนาลุ่มและนาดอนหรือไม่ครับ ให้อาจารย์ตอบและอธิบายให้ผมอ่านใหม่หน่อยครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ  ท่านอาจารย์ ดร.แสวง ครับ

  • เพิ่งได้มาไล่ตามอ่านย้อนหลัง 
  • ประจักษ์ชัดในเหตุ ผล และความเป็นจริง
  • ฤดูกาลต่อไปนี้  ผมจะทำในที่นาของตนเอง 5 ไร่  เป็นนาดินทรายที่มีระบบน้ำใต้ดินธรรมชาติ ส่วนที่โรงเรียนจะทำสัก 2 งาน  เป็นนาดินทรายที่ไม่มีระบบน้ำใต้ดิน  แต่เป็นพื้นที่ที่ทดน้ำเข้าหรือสูบน้ำออกได้ ซึ่งคงต้องขอรบกวนรับคำปรึกษาและแนะนำจากท่านอาจารย์เป็นระยะๆครับ
  • ตอนนร้ ความเข้าใจเรื่องการตัดทั้งหญ้าและต้นข้าวในจังหวะที่เหมาะสม (ช่วงหญ้าออกดอก) กำลังได้รับการยอมรับจากชาวนาแถวนี้แล้ว  ปีต่อไปคงมีการลองลุยกันมากแน่ๆ  เพราะต้องการอาหารให้วัว-ควายด้วยครับ
  • จะเกาะติดเรื่องในลักษณะนี้ไปเรื่อยๆครับ
  • สวัสดีครับ

Model ยุคที่สาม "ล้อมเว่ยช่วยเจ้า"
หรือ "เปลี่ยนวัฒนธรรมของโลกมากินข้าวเพื่อช่วยชาวนา"

แนวคิดและหลักการ

1. สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปร่วมงานประชุมนานาชาติ ICER2007 จัดที่ Sofitel จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าไปชิมอาหารในร้านอาหารจีน นั่งกินกัน 3 โต๊ะ จ่ายไป 2 หมื่นกว่าบาท .. ประเด็นอยู่ที่ว่า.. อาหารไทยในสายตาชาวโลกเป็นอาหารที่อร่อยและราคาแพง คล้าย ๆ กับภัตาคารจีนในสายตาคนไทย นั่นเอง..

2. เมื่อหลายปีมาแล้ว ผมได้มีโอกาสนำโมเดลยุคที่สอง "แนวคิดการยกระดับราคาข้าว" ไปทดสอบประสิทธิภาพ และหาความเป็นไปได้ โดยไปทำโครงการ B2C eBusiness ณ ประเทศเยอรมนี ทำให้ผมพบข้อเท็จจริงหลายอย่าง เช่น

  • อาหารไทยเป็นอาหารที่อร่อย และเป็นที่นิยมมากในยุโรป
  • ข้าวไทยในร้านสะดวกซื้อมีราคากว่า 200 บาทต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเป็น Asian Shop ราคาจะประหยัดกว่า

3. เกิดคำถามตามมาว่า

  • ในเมื่ออาหารไทยอร่อยแล้วทำไมฝรั่งยังไม่หันมาบริโภคข้าวเป็นหลัก ?
  • ทำไมไทยไม่พยายามส่งเสริม McDonald ร้านอาหารไทยไปทั่วโลกล่ะ ?

ทุกคำถามมีคำตอบ

  • ในความเป็นจริงหลายประเทศในยุโรป อย่างเช่น ที่เยอรมัน อากาศจะเย็นหรือมีหิมะตก 5-6 เดือน ต่อปี ไม่สามารถปลูกข้าว หรือ พืช ได้หลากหลายเท่า เมืองไทยของเรา เพราะฉะนั้นด้วยข้อจำกัดนี้ จึงเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมการกินในอดีต แต่ในปัจจุบัน เมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการขนส่ง พืช ผัก ผลไม้ (เกรด A) ทั้งจาก เอเชีย และแอฟริกา ได้ไหลทะลักเข้าสู่ยุโรปมากพอจนยุโรปสามารถตั้งกำแพงคัดเลือกเอาตามใจชอบได้แล้ว
  • สองปีที่แล้ว ได้มีโอกาสไปดูที่อเมริกา ร้านอาหารไทยก็เป็นที่นิยมมาก ลูกค้าเต็มร้านตลอด แต่เมือสำรวจความนิยม เราอาจจะเป็นรองร้านอาหารเกาหลีบ้างก็ตาม
  • ต้องไปประชุมแล้ว จะมาเล่าต่อนะครับ..ถ้ามีวาสนา
    (เผื่อว่าลูกชาวนาจะช่วยชาวนาได้จริง อิ อิ)

 

 

P  ท่านอาจารย์ ดร.แสวง  ที่เคารพผมอ่านการทำนาของท่านอาจารย์ อยากจะทำนาจริง ๆ ครับ อยากนอนอยู่บนเถียงนา  ลมพัดเย็น ๆ มองดูต้นข้าวเขียว ๆ ฟังเสียงนกเสียงการ้องครับ คงจะมีความสุขดีครับ(ผมไม่มีที่นาครับ)

ผมชอบมากๆเลยนะครับเป็นอะไรที่เขาอาจจะเรียกว่า กบนอกกะลา ผมคนหนึ่งแหล่ะครับที่เรียนเกษตรผมเรียนตั้งแต่ปวช.เป็นเกษตรกรรม ปวส.สัตวศาสตร์ ป.ตรีสัตวศาสตร์ ผมชอบการเกษตรมากๆผมขอชื่นชมคนที่คิดอย่างนี้ ผลผลิตเหมือนกันแต่แต่ปฏิบัติไม่เหมือนกันถ้าวิธีปฏิบัตินี้ควรเอาไปส่งเสริมให้ชาวนาปฏิบัติ คนๆนี้ผมขอชื่นชมด้วยใจจริงครับ

คิดเหมือนกัน แต่ทำ จัดการต่างกัน ผมใช้ฟางเป็นปุ๋ย ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย ใช้น้ำแทนไฟ ใช้สมุนไพรแทนยา ใช้หญ้าแทนปุ๋ย ใช้พูดคุย เป็นกำลังใจ ปีนี้ ทำ 80 ไร่ หาย 16 กระสอบ คำตอบอยู่ที่สมัครคนที่ลักคือมือที่ 3 (มือที่มองไม่เห็น)

น่าสนใจมากทีเดียวค่ะ..กลับบ้านครูแอนก็ทำนาเอง..อาจจะไม่ต้องทำเองแล้วก็ได้..ขอบคุณค่ะ

ครับ

ดีใจครับที่มีแนวร่วมเพิ่ม

ปีนี้ผลออกมาดีมาก ข้าวงาม น่าจะได้ผลผลิตสูง ถึง ๑ ตันต่อไร่ (หรือ มากกว่า)

เชิญมาเยี่ยมชมได้เลยครับ

สุดยอดความคิดเลยครับ ขอนำความคิด ไปเผยแพร์ ให้ กับมือใหม่มือสมัครเล่น ที่จะ กลับบ้านไปทำนา

เรียน เชิญ ท่าน ดร แสวง และทุกท่าน ร่วมถ่าย ช่วยทอด แนวคิดและวิธี การต่างๆให้ กับ เกษตรมือใหม่ และเก่า ที่อยากหันมาทำเกษตรแบบพอเพียง

www.kasetporpeang.com

ห้องแชทพอเพีอง

http://www.kasetporpeang.com/porpeang_chat.htm

ขอบคุณครับ

ทอมมี่@เกษตรพอเพียง

สวัสดีครับท่านอาจารย์ แสวง (ขออนุญาติเรียกอาจารย์แม้ไม่ได้เรียนกับท่าน)

ขออนุญาติเรียนรู้จากท่านเนื่องจากว่าได้รับที่นาจากคุณแม่มา10กว่าไร่ ตอนนี้มีคนเช่าอยู่มีที่เหลือประมาณ 1-2 ไร่ อยากจะทดลองปลูกข้าวตามแนวคิดของท่านอาจารย์ เรียนถามอาจารย์ว่าผมสามารถไปดูงานกับท่านำได้ไหมครับ ต้องใช้เวลาประมาณกี่วันถึงจะได้ความรู้นำไปทดลอง และสุดท้ายช่วงเวลาไหนเหมาะที่จะเยียมชมครับ

ขอบคุณครับ

ดิลก มณีรอด

ไม่ต้องมาให้เสียเวลาหรอกครับ

เพราะแต่ละที่มีทรัพยากรต่างกัน เลียนแบบกันได้ยาก

ลองทำไปเลยเดี๋ยวก็รู้เอง

แบบที่ผมทำนี่แหละ ไม่มีเลียนแบบใคร

ตั้งใจอย่างไร ก็ทำแบบนั้น

ขอให้โชคดีครับ

เขาเรียกว่าปัจจัตตังครับ

แม่นแล่วครับ ลุงเอก

สบายดีนะครับ

ผมใช้หนังสือพระของท่านคุ้มมากเลยครับ

ไม่เชื่อลองไปอ่านเรื่องที่ผมขียนวันนี้ซิครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมจะทดลองทำตามอาจารย์แนะนำเลยครับ

ได้ผลประการใดจะแจ้งให้ท่านทราบ แต่ต้องนานหน่อยครับ

ขอบคุณครับ

เรียนสอบถามอาจารย์ค่ะ สงสัยว่าทำไมต้องหว่านถั่ว และหว่านงา

ขอบคุณค่ะ

เป็นพืชปุ๋ยสดครับ

ดินโทรมมาก ต้องทำทุกวิถีทางแหละครับ

ทำอะไรได้ ทำหมดเลยครับ

เน้นลดต้นทุนที่คุมไม่ได้อย่างเดียว

หลังจากอาจารย์ศึกษาทดลองมาแล้ว ควรตัดหญ้าบวกข้าวบวกถั่วงา ในช่วงอายุข้าวเท่าไหร่ครับแล้วตัดสูงจากพื้นดินกี่นิ้วครับ

ได้มีโอกาสไปที่นาของอาจารย์แล้ว ข้าวสวยมากครับ ไม่คิดว่านาที่ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน จะสมบูรณ์ขนาดนั้น

และแอบเสียใจนิดหน่อยครับ ปลาหมอที่ผมปล่อยลงนาอาจารย์ไป กัดต้นข้าวอาจารย์เสียหายไปเยอะเหมือนกัน  :)

ถั่วงาไม่ต้องตัด น้ำแช่ก็ตายเอง

หญ้าตัดตอนออกดอก ประมาณ ๒ เดือน ครับ

สวัสดีค่ะ อ่านข้อมูลของอาจารย์แล้วรู้สึกสนใจ เพราะกำลังริไปเป็นชาวนาวันหยุด

มีที่นาอยู่3 ไร่ที่เหลือจากให้คนเช่า เพราะที่ลุ่มมาก คนเช่าบอกไม่คุ้ม

หนูมีข้อสงสัยดังนี้ รบกวนขอความรู้ด้วยค่ะ

- อาจารย์ใช้ข้าวพันธุ์ไปเท่าไร ถั่วเท่าไร งาเท่าไรคะจึงจะพอเหมาะกับพื้นที่

- ทำไมอาจารย์ใช้เวลานานจัง นับตั้งแต่มิถุนายน ใช้เวลาถึง 6 เดือน เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวหรือเปล่า พอดีนาหนูอยู่ที่ลุ่มค่ะ มีระยะปลอดภัยแค่ 4-5 เดือน หลังจากนั้นถ้าฝนเยอะ ก็น้ำท่วมค่ะ หรือไม่ก็ต้องตั้งเครื่องวิดน้ำ กินน้ำมันอีก

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะคะ

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ

   กระผมอ่านบล๊อกท่านอาจารย์ กำลังจินตนาการว่า ถ้าอาจารย์ไม่ใช้คน คงจะใช้สิ่งมีชีวิตบางอย่างขนขึ้นไป แต่การใช้คนทำงาน ท่านอาจารย์ก็สร้างพันธมิตรได้มากมาย สร้างกลไกในความมั่นคงเชิงสังคมได้สูง และเป็นไปโดยมีลักษณะที่มีความเป็นมนุษยธรรมดีๆ อีกด้วย แจ่มครับผม

เรียนแสดงความเห็นด้วยความเคารพ

 นิสิต

 

ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จที่ท่านอาจารย์แสวงได้พยายามทำนาไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่เกี่ยว

หากมีโอกาสกระผมจะไปทดลองดูบ้างครับ พอดีปู่ให้ที่นาไว้ คุณพ่อให้ญาติๆปลูก ไม่ได้ติดตาม เดี๋ยวกระผมจะขอแบ่งพื้นที่ทดลองดูบ้างครับ แต่คาดว่าอาจไม่สำเร็จเพราะไม่มีเวลาไปดูแลเนื่องจากอยู่คนละจังหวัดกันเลยครัย แต่ไม่ลองไม่รู้จริงมั๊ยครับ

ทำไม่จริง อาจเหนื่อยเปล่านะครับ

แต่ลองดูก็รู้เองแหละครับ

ปีนี้อาจารย์ยังทำนาอยู่หรือเปล่าครับ ผมแอบเข้ามาชมเป็นระยะไม่เห็นอาจารย์เอามาโชว์เลยครับ

ยังทำเหมือนเดิม ได้ผลเดิมๆ ไม่มีอะไรตื่นเต้นครับ

มีแต่คุมหญ้าได้แล้วครับ

สบายขึ้นหน่อย

สวัสดีครับ อาจารย์

ขอถามหน่อยครับ

1 นาของอาจารย์ไม่ต้องมีน้ำขังตอนปลูกเหมือนคนอื่นเหรอครับ ปลูกแบบแห้งๆหรือครับ

แบบแห้งๆก็ดีครับ ถ้าปราบหญ้าได้แล้ว

เพราะข้าวจะโตดีกว่ากันเยอะเลย ไม่เชื่อลองดูก็ได้ครับ

มีน้ำข้าวจะไม่แตกกอ มีหอยกิน ปูกิน ปลากิน สารพัดครับ

เงื่อนไข ขอให้ดินดีเป็นพอครับ

สวัสดีครับครู

ผมตั้งใจจะกลับไปอยู่บ้านที่ชัยภูมิปีหน้า หากอยากพบครูจะไปพบเจอะเจอได้ที่ไหนครับ

ขอบพระคุณอย่างสูง

ผมอยู่ในเมืองขอนแก่นครับ มาที่ มข. ก็สะดวกดีครับ

สงสัยอยู่ตั้งนานอาจารย์ทำนาไม่ไถ ไม่หว่าน ไม่ดำ ไม่เกี่ยวได้ข้าว ได้คำตอยแล้วคะ ข้าอาจารย์หอมอร่อยมากคะ

ขอบคุณครับ แล้วจะทำไปเรื่อยๆครับ

สวัสดีคะอาจารย์

หนูพึ่งได้อ่านข้อมูลการปลูกข้าวโดยใช้เทคนิคที่แปลกแต่ได้ผลดีของอาจารย์

อยากบอกว่าทึ่งมากๆ คะ อ่านแล้วอยากทำนาขึ้นมาเลยที่เดียว

ตลอดเวลาหนูพยายามคิดหาวิธีที่จะช่วยพ่อแม่และชาวบ้านแถวบ้านหนูให้ลดต้นทุนการผลิต

แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ผล เขายังยึดติดที่จะใช้ปุ๋ยเคมีและเครื่องจักรกันอยู่

นี้หนูกะว่าเรียนจบเมื่อไรจะกลับไปและทดลองทำให้พวกเขาได้เห็นเป็นตัวอย่าง

เขาจะได้ลองเปลี่ยนความคิดและวิถีชีวิตที่ทำงานแทบตายสุดท้ายเป็นหนี้อีกต่างแหก

เสริมนิดหนึ่งเรื่องเกี่ยวข้าว หนูเห็นวีดีโอจาก http://www.youtube.com/watch?v=1UDbGQZEMsA

ที่เขาดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าแบบที่อาจารย์ใช้ตัดต้นขาวและหญ้าออกหลังจากสองเดือนที่หวานนะคะ

ไม่รู้ว่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับเกษตรกรทั่วไปหรือเปล่า เพราะต้นทุนน่าจะถูกกว่า (ในระยะยาว)จ้างแรงงานคนหรือรถเกี่ยว

ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

อยู่ที่กำลังทรัพย์ และแรงงานครับ

ผมมีแรงงานน้อย เลยต้องมีเครื่องมือเป็นตัวช่วยครับ

ถ้ามีแรงงานมาก ใช้คนเกี่ยวก็ได้ครับ

เดี๋ยวลองไปก็จะรู้ว่าอะไรดีกว่ากัน

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร.แสวง

ผมทึ่งในแนวคิดอาจารย์ครับ ปีนี้ผมกำลังจะเริ่ม ทำนาตามแนวทางที่อาจารย์พาทำครับ

มีข้อสงสัย อยากถามอาจารย์ดังนี้ครับ

๑.ที่นาบางส่วนเป็นหินลูกรัง(เกิดจากการเบิกนา แต่เบิกเอาหินขึ้นมา) จะแก้ยังไงครับ

บางคนบอกต้องหาซื้อหน้าดินมาถมหิน บางคนบอก ใส่ปุ่ย(ขี้วัว)ไป ทุกๆ ปีแล้วหินจะจมไปเอง

ผมกำลังคิดว่า หินมันเป็นแนวยาวไปตามแปลงนา เราจะขุดให้มันเป็นคลองนำ้ำไปเลย แนวหินกว้าง

ประมาณ ห้าเมตร ก็จะขุดคลองกว้างห้าเมตร (ข้างล่างเป็นหินดินดาน ดูจากสระที่ขุดไว้แล้ว)

ผมควร ทำยังไงดีครับ

๒.ผมกำลังหาซื้อปุ๋ยขี้วัวอยู่ ตอนนี้ได้มาคอกนึงแล้ว ประมาณ ตันนึง ผมควรใส่ปุ๋ยตอนช่วงเดือน

ไหนดีครับ (แต่ตอนนี้ผมเทใส่นาไปตันนึงแล้ว และเอาคราด ไปคราดให้มันกระจายให้ทั่วๆ

แล้วคราดเอาฟาง มา กลบทับไว้ อ้อ ตอนเกี่ยวข้าวเสร็จไม่นาน ผมก็เอาถั่วเขียว หว่านลงไปในนา

ตอนนี้มันก็เป็นฝักแล้ว ทำแบบนี้จะมีผลเสียอะไรไหมครับ)

๓.ที่นาผมประมาณห้าไร่ กะว่าจะใส่ขี้วัว ประมาณไร่ละ หนึ่งตัน จะมีผลเสียไหมครับ บางคนบอกว่า

ใส่มาก มันจะ ฟะ (มากเกินไป) ครับ นาเบิกใหม่ ดินไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีหินอีก

๔.อาจารย์ใช้พันธุ์ข้าวอะไรบ้างครับ ผมจะไปเอาพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง จากยโสธร บ้านแฟน มาปลูก

อ้อ นาผมอยู่อุบลครับ พันธุ์ยโสธรนี้ยังไงบ้างครับ(ไม่รู้ชื่อทางการพันธุ์ข้าว) แฟนผมเขาเคลมว่า ข้าว

หอมมะลิบ้านเขาอร่อยที่สุด อันนี้จริงไหมครับ และข้าวเหนียวอาจารย์ใช้พันธุ์อะไรปลูกครับ

๕.ข้าวที่ปลูกปีกลายเป็นข้าวเจ้า กับข้าวเหนียว น่าจะ กข๖ (ไม่แน่ใจ) ปีนี้จะเปลี่ยนพันธุ์ข้าวใหม่

ควรทำยังไงกับข้าวที่ตกในแปลงนาครับ

๖.ตอซังที่อยู่ในนา ควรทำยังไง ตอนไหนดีครับ หรือรอฝนมาแล้วให้น้ำแช่ขังให้เปื่อย ย่อยเอง

๗.การหว่านนี้ อาจารย์บอกใช้ สามนิ้ว ควรกะให้ห่างกันประมาณเท่าไหร่ คิดว่า ประมาณ ๕๐ ซม.

ใช่ไหมครับ

๘.หว่านครบ ๒เดือน ใช้เครื่องตัดหญ้ามาตัด ตัดสูงจากดินเท่าไหร่ดีครับ ประมาณ ๖ นิ้วใช่ไหมครับ

๙.หลังจากตัดหญ้าและข้าวแล้ว ผมคิดว่าจะเปิดท่อน้ำที่คันแทนาไว้ ไม่เก็บน้ำเลยจะดีไหมครับ

คิดว่านำ้น้อยข้าวจะได้แตกกอ ดี

๑๐. หลังเกี่ยวข้าวแล้ว ที่นาว่าง เราจะปลูกแตงโม จะมีผลเสียต่อการทำนาไหมครับ หรือควรปล่อยดิน

ให้ว่างไว้ คือ แค่จะหว่านเมล็ดแตงโมแล้วให้มันเกิดเองนะครับ

โอ้ หลายข้อเลย รบกวนอาจารย์ด้วยนะครับ ผมพึ่งหัดทำนามาได้ ปีเดียวเอง ไม่เคยทำเลย

เลยสงสัยเยอะครับ ปีนี้ไม่ได้ซื้อข้าวกินแล้ว ภูมิใจครับ ข้าวปลูกเอง ไม่ใส่สา่รเคมีใดๆ และเหลือเผื่อแผ่ให้ญาติพี่น้องด้วย ข้าวก็สีเป็นข้าวกล้อง ปีกลายก็หว่านเอาครับ ไม่ได้ดำนา จ้างเขาหว่านให้

ปีนี้จะทำเองครับ ขอบคุณอาจารย์ ที่สอนแนวทางดีๆให้ครับ

ที่นาบางส่วนเป็นหินลูกรัง(เกิดจากการเบิกนา แต่เบิกเอาหินขึ้นมา) จะแก้ยังไงครับ

บางคนบอกต้องหาซื้อหน้าดินมาถมหิน บางคนบอก ใส่ปุ่ย(ขี้วัว)ไป ทุกๆ ปีแล้วหินจะจมไปเอง

ผมกำลังคิดว่า หินมันเป็นแนวยาวไปตามแปลงนา เราจะขุดให้มันเป็นคลองนำ้ำไปเลย แนวหินกว้าง

ประมาณ ห้าเมตร ก็จะขุดคลองกว้างห้าเมตร (ข้างล่างเป็นหินดินดาน ดูจากสระที่ขุดไว้แล้ว)

ผมควร ทำยังไงดีครับ

ขุดบ่อก็น่าจะดีนะครับ ดินที่ได้ก็เป็นถนนที่ดี

๒.ผมกำลังหาซื้อปุ๋ยขี้วัวอยู่ ตอนนี้ได้มาคอกนึงแล้ว ประมาณ ตันนึง ผมควรใส่ปุ๋ยตอนช่วงเดือน

ไหนดีครับ (แต่ตอนนี้ผมเทใส่นาไปตันนึงแล้ว และเอาคราด ไปคราดให้มันกระจายให้ทั่วๆ

แล้วคราดเอาฟาง มา กลบทับไว้ อ้อ ตอนเกี่ยวข้าวเสร็จไม่นาน ผมก็เอาถั่วเขียว หว่านลงไปในนา

ตอนนี้มันก็เป็นฝักแล้ว ทำแบบนี้จะมีผลเสียอะไรไหมครับ)

มีแต่ดีครับ

๓.ที่นาผมประมาณห้าไร่ กะว่าจะใส่ขี้วัว ประมาณไร่ละ หนึ่งตัน จะมีผลเสียไหมครับ บางคนบอกว่า

ใส่มาก มันจะ ฟะ (มากเกินไป) ครับ นาเบิกใหม่ ดินไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีหินอีก

ค่อยๆปรุงไปเรื่อยๆ จะได้สมดุลดี ชาวบ้านเขากลัวเสียสมดุลนะครับ

๔.อาจารย์ใช้พันธุ์ข้าวอะไรบ้างครับ ผมจะไปเอาพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง จากยโสธร บ้านแฟน มาปลูก

อ้อ นาผมอยู่อุบลครับ พันธุ์ยโสธรนี้ยังไงบ้างครับ(ไม่รู้ชื่อทางการพันธุ์ข้าว) แฟนผมเขาเคลมว่า ข้าว

หอมมะลิบ้านเขาอร่อยที่สุด อันนี้จริงไหมครับ และข้าวเหนียวอาจารย์ใช้พันธุ์อะไรปลูกครับ

ดีแล้วครับ ข้าวยโสหอมและอร่อยที่สุด

เพราะฝนน้อย ดินทราย ข้าวจะหอมกว่าน้ำมาก ดินเหนียว

๕.ข้าวที่ปลูกปีกลายเป็นข้าวเจ้า กับข้าวเหนียว น่าจะ กข๖ (ไม่แน่ใจ) ปีนี้จะเปลี่ยนพันธุ์ข้าวใหม่

ควรทำยังไงกับข้าวที่ตกในแปลงนาครับ

ตัดออกก็ได้ครับ

๖.ตอซังที่อยู่ในนา ควรทำยังไง ตอนไหนดีครับ หรือรอฝนมาแล้วให้น้ำแช่ขังให้เปื่อย ย่อยเอง

มันเปื่อยเองอยู่แล้วครับ

๗.การหว่านนี้ อาจารย์บอกใช้ สามนิ้ว ควรกะให้ห่างกันประมาณเท่าไหร่ คิดว่า ประมาณ ๕๐ ซม.

ใช่ไหมครับ

ให้ระยะต้นใกล้เคียงกับดำ ที่อาจถอนแยก และดำเสริมได้ก็จะยิ่งดี

๘.หว่านครบ ๒เดือน ใช้เครื่องตัดหญ้ามาตัด ตัดสูงจากดินเท่าไหร่ดีครับ ประมาณ ๖ นิ้วใช่ไหมครับ

๔ นิ้ว พอดีครับ

๙.หลังจากตัดหญ้าและข้าวแล้ว ผมคิดว่าจะเปิดท่อน้ำที่คันแทนาไว้ ไม่เก็บน้ำเลยจะดีไหมครับ

คิดว่าน้ำน้อยข้าวจะได้แตกกอ ดี

ใช้น้ำกันหญ้าแตกยอดมาก่อน แล้วค่อยลดน้ำลงหลังข้าวคลุมหญ้า

๑๐. หลังเกี่ยวข้าวแล้ว ที่นาว่าง เราจะปลูกแตงโม จะมีผลเสียต่อการทำนาไหมครับ หรือควรปล่อยดิน

ให้ว่างไว้ คือ แค่จะหว่านเมล็ดแตงโมแล้วให้มันเกิดเองนะครับ

มีแต่ดีครับ

สวัสดีครับ อาจารย์

ผมก็สนใจแนวคิดของอาจารย์นะครับ

แต่อยากเรียนถามอาจารย์ว่า ในตอนที่เกี่ยวหญ้า เกี่ยวข้าว และเกี่ยวถั่ว พร้อมกันนั้น

ถ้าหากผมไม่มีวัว ไม่มีควาย ผมจะสามารถนำส่วนที่เกี่ยวนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อย่างไร

และที่อาจารย์บอกว่าหลังเกี่ยวแล้วข้าวจะงอกใหม่มากกว่าหญ้า ส่วนหญ้าจะตายเป็นส่วนใหญ่

จริงหรือไม่ครับ เพราะอะไร ขอบคุณครับ

เราต้องตัดตอนหญ้าออกดอกครับ มันจะหมดแรง และอ่อนแอที่สุดครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

น่าสนใจมากๆค่ะ

อยากเรียนถามว่าถ้าไม่มีปุ๋ยขีหมูเอาไปใส่นาข้าวได้ไหมคะ

และสงสัยก่อนนำไปทดลองว่า

"ตัดหญ้าสูงกว่าปีนี้ (สัก ๔-๖ นิ้ว) ให้ข้าวแตกดีกว่าเดิม"

ข้าวจะแตกดีกว่าเดิมได้อย่างไร ในเมื่อต้นหญ้ายังอยู่ และทำไมต้องตัดหญ้าให้สูงคะ

เข้าใจว่าหญ้าต้องแย่งอาหารจากข้าวแน่นอน

ขอบคุณค่ะ

พรุ่งนี้จะมาติดตามต่อค่ะ

ของอย่างนี่ต้องทำเอง

ทำเองรู้เอง อธิบายไปก็ไม่น่าเชื่อเหมือนเดิม

หญ้าออกดอกมันหมดแรงก่อนครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร.แสวง ผมขอฝากตัวเป็นศิษย์ อาจารย์ด้วยนะครับ

วันนี้มีคำถามมาขอความรู้จากอาจารย์เพิ่มครับ

1.ตอนนี้ 22 พฤษภาคม ฝนยังไม่มาเลยครับ แต่ปกติ ปีกลายมานะครับ แต่ปีนี้ ฝนมาช้ามาก

ฟ้าครึ้ม ฟ้าร้อง เปรี้ยงปร้าง ลมพัด อื้ออึง ยังกับจะตก แต่แล้ว มันไม่ตกครับ แล้วก็จากไป (แต่มีคนส่งข่าวว่า

ไปตกแถวๆ ชายแดน ใกล้ภูเขา เช่น อ.นาจะหลวย ) มันเป็นแบบนี้หลายครั้งมากนะครับ ถ้าตกก็ตกไม่มากพอที่จะท่วมหญ้า

มันเกี่ยวกับปีนี้ มีเดือนแปดสองหน ไหมครับ เพราะวันวิสาขบูชา ก็เลื่อนมาเป็นสิบห้าค่ำเดือนเจ็ด หรือว่าไม่เกี่ยว

เป็นเพราะปีนี้ฝนผิดฤดู อากาศก็ร้อนมาก

2.น้ำในแปลงนายังไม่ท่วมหญ้าเลยครับ คือ น้อยมาก ผมควรรอฝนมาก่อนใช่ไหมครับ ให้น้ำท่วมหญ้าให้ตายก่อน

แล้วพอน้ำลดค่อยหว่าน ถ้ารอถึงกลางเดือน หรือ ปลายเดือนมิถุนายน ค่อยหว่าน จะช้าไป หรือจะเสียหายอะไรไหมครับ

3.ถั่วเขียวที่หว่านไว่ก่อนหน้านี้ มันออกฝักต้นก็สูงพอสมควร ถ้านำ้ท่วมหญ้าตายหมดแล้ว ผมควรถอนต้นถั่วเขียวออกไป

เลยไหมครับ แล้วค่อยหว่านใหม่พร้อมข้าว ถั่ว งา หรือ ให้คงต้นถั่วเขียวไว้

4.ผมอยากจะปลูก เป็นข้าวหอมมะลิแดง อย่างเดียวเลย(เรียกมันปูหรือเปล่า) โรงสีเขารับซื้อใช่ไหมครับ ราคาจะเท่ากับ

หอมมะลิขาวไหม กลัวไม่มีตลาดรองรับ กรณีจะขายเป็นข้าวเปลือก แต่มีโครงการในใจว่า อาจจะจะซื้อเครื่องสีข้าวเล็ก

แล้ว สีเป็นข้าวกล้องเอาไว้กิน ถ้าเหลือเยอะอาจเอาไปขาย

5.นาอาจารย์ฝนตกดีไหมครับ อาจารย์หว่านข้าวหรือยังครับ

6.ผมใส่ปุ่ยขี้วัวไปแล้ว ประมาณ 170 กระสอบ ก็น่าจะประมาณ 5 ตัน ไม่ได้หมักก่อนเทลงไป มีคนบอกให้ มาหมักกับพวก

อีเอ็ม หรือ วิธีอื่นๆกอ่นนำไปใช้ มันจะดีกว่า ที่เราใส่ขี้วัว เพียวๆ เพียงอย่างเดียวไหมครับ

7.ตอนที่เราตัดต้นข้าวให้เหลือ สี่นิ้ว ควรจะกะให้น้ำ สูงกี่นิ้ว เพื่อ คลุมหญ้าแตกยอดครับและนานกี่วันเราถึงจะปล่อยน้ำ

ออกจากแปลงครับ ช่วงแตกกอคือ หลังหว่านกี่เืดือนครับ แหะๆ ขอโทษอาจารย์จริงๆ คือ แบบ ไม่รู้อะไรเลยครับ มาลุยเอาเลย

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

นาผมก็แห้งเหมือนกัน แต่ผมกำจัดหญ้าไปก่อนหน้านี้แล้ว ก็เลยหว่านไปแล้ว ตั้งแต่วันพืชมงคล ๑๔ พ ค ที่ผ่านมา

ตอนนี้สูงคืบกว่าแล้ว มีหญ้งอกบ้างประปราย ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ว่างๆ จะเดินถอนตามอีกที

ถั่วเขียวน่าจะเหมาะกับปีนี้ ผมเสียดายที่ไม่ได้หว่าน เพราะอกหักมาหลายปี ที่ฝนมาเร็ว ถั่วตายหมด พอปีนี้ไม่หว่าน ฝนกลับมาช้าพอดี เสียดายจริงๆ ไม่ทราบจะเดาอย่างไร

ถั่วเขียวยิ่งงามยิ่งดี ปล่อยเป็นปุ๋ยไปเลย จะเก็บไว้ทำพันธุ์บ้างก็ได้

การตัดหญ้าปนข้าวต้องตัดตอนหญ้าออกดอก และข้าวกำลังแตกกอ ข้าวจะแตกใหม่ได้ดี หญ้าจะชงัก เทคนิคก็มีประมาณนี่ แต่ปีนี้ของผมไม่มากเท่าไหร่ ถอนก็น่าจะได้ครับ

ถามแบบนี้ ทาง email ตอบง่ายกว่าครับ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำนาค่ะ

นู๋มีโอกาสไปดูงานหลายที่เกี่ยวกับการทำไร่ ทำนา

แบบกสิกรรมธรรมชาติ

และมีความคิดว่าอยากไปทำไร่ ทำนา

ไปใช้ชีวิตแบบพอเพียงค่ะ

ตอนนี้กำลังศึกษาขั้นตอนค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่มีความรู้มากมากนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ

ต้องอ่านหลายรอบจึงจะเข้าใจครับ

ความรู้จากการปฏิบัติก็ซับซ้อนอย่างนี้แหละครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์

ผมดูในคลิป http://www.youtube.com/watch?v=C6lCE8VGrLc&NR=1

เห็นอาจารย์บอกว่ามีคนปลูกข้าวได่ 2 ตันต่อไร่

นี่คือในประเทศไทยรึป่าวครับอาจารย์ อยากไปดูให้เห็นกับตา

ว่าเค้าปลูกอีแบบไหนมันถึงได้เยอะขนาดนั้น

รึว่าเป็นพันธุ์ข้าวตัดต่อ GMO

ขอบพระคุณครับ

อยู่ที่การปรุงดินครับ เมืองไทยมักไม่ค่อยถึง ส่วนใหญ่แค่ตันกว่าๆ ที่โคราชบ้านผมก็พอได้ ส่วนใหญ่เป็นนาตีนบ้าน

ต่างประเทศเขาจัดการดินและน้ำในพื้นที่เหมาะสม ก็ได้อยู่แล้ว ๑๒ ตันต่อเฮคแตร์

ไม่ต้องไปเน้นอย่างนั้นหรอก แค่ ๕๐๐ กก. ผมก็พอกินตั้ง ๒ ปี ไร่เดียวก็พอ สบายๆ

เน้นสบายไว้ก่อนดีกว่า

ไม่ต้องลงทุน จะได้แต่กำไรครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ขอเรียกอาจารย์ก็แล้วกันนะครับ ผมเป็นคนอีสานมาแต่เกิดความจนของชาวนาอีสานอยู่ที่ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง เพราะทำนาปีละ 1ครั้งถ้าไม่ได้ผล อาจารย์ลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น คำครหาต่างๆ นานา ตามมา

ผมมีนา 20 ไร่ พื้นที่ก็เหมือนนาชาวบ้านทั่วไป ปีนี้ผมจะไม่ไถผมจะทำนาตามความคิดของผมที่จินตนาการไว้อย่างที่คนคิดไม่ถึง  ผมเองไม่มีความรู้หรอกครับแต่ผมจะทำ สิ้นปีอาจารย์รอฟังข่าวดี ครับ ผมจะเข้ามาหาข้อมูลเรื่อยๆ นะครับอาจารย์

 

กำจัดหญ้าให้ได้ก่อน ตามด้วยปรุงดิน ได้แน่นอนครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ขอบคุณครับข้อแนะนำครับ

หญ้าไม่มากครับ/ผมหว่านปอเทืองลงแล้วครับเป็นการปรุงดินเบื้องต้นถูกต้องไมครับ รอออกดอก หว่านข้าว ข้าวงอกเติบโต เครื่องตัดปอทับลงไปเลย งานนี้ได้ข้าวแน่นอนต้นทุนถูกๆๆๆๆๆ  ชาวบ้านว่าบ้าๆๆๆๆ ลูกบ้านนี้ รอดูนะครับผมจะเอาผลผลิตมาอวดครับ   ราตรีสวัสดิ์

ปอเทืองจะตายเองเมื่ิอมีน้ำ แบบเดียวกับถั่วเขียว ถั่วพุ่ม แต่โสนจะไม่ตาย

ถ้าหญ้าไม่มาก หรือแค่หญ้าตันเตี้ยๆ ก็ไม่ต้องกังวล เดียวพอข้าวโตมันก็คลุมเอง

หรือ พอหญ้าเริ่มออกดอก ก็ตัด(เฉพาะบริเวณที่มีหญ้ามากๆ )สูงสักสามสี่นิ้ว ก็ได้

ข้าวจะขึ้นคลุมหญ้าได้เอง

ถ้าให้ดีเดินถอนหญ้าต้นสูงด้วยจะยิ่งดีครับ

ตอนนี้ผมก็เดินถอนหญ้าเมื่อมีเวลาทุกวันครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

เรียนเชิญทุกท่านที่มีประสพการณ์ การทำนา ที่ได้ผลผลิต/ไร่สูงๆๆ มาเล่าประสพการณ์ให้ความรู้แลกเปลียนกันเยอะๆๆๆคงดีมากเลยครับ

     ดังนั้นขออนุญาติอาจรรย์ ดร. นะครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

เรียนเชิญทุกท่านที่มีประสพการณ์ การทำนา ที่ได้ผลผลิต/ไร่สูงๆๆ มาเล่าประสพการณ์ให้ความรู้แลกเปลียนกันเยอะๆๆๆคงดีมากเลยครับ

     ดังนั้นขออนุญาติอาจรรย์ ดร. นะครับ

เพียงผลผลิตสูงอย่างเดียวไม่พอ ผมคิดว่ากำไรสูงสำคัญกว่า

และความสุขมากกว่าสำคัญที่สุด

ที่สำคัญกว่านั้นสำหรับผม คือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมครับ

อยากได้พันธุ์ข้าวปลูกจากอาจารย์ครับ 

จะลองปลูกข้าวแบบอาจารย์บ้างครับ

พันธุ์ข้าวไหนก็ได้ครับ สำคัญที่เทคนิคครับ

และเทคนิคก็ไม่สำคัญเท่ากับแนวคิดครับ

แนวคิดที่สำคัญคือ การพึ่งตนเอง และการรักษาทรัพยากรทุกอย่างรอบตัวให้ดี จะนำไปสู่ความสำเร็จครับ

ผมเคยทำนาแบบย่ำตอแล้ว ผลผลิตน่าสนใจ แต่ถ้าจะทำแบบลุงแสวงที่บ้านผมคงไม่ได้

ผมอยู่ที่สุพรรณ ทำนาปีละ 2 รอบ ประมาณเดือน9-10 น้ำจะท่วมประมาณ 3 เดือน

จึงยากต่อการกันวัชพืชมาก รอบแรกต้องทำตามขั้นตอน แต่ผมใช้ปรัชญาเศรฐกิจพอเพียง

คือลงทุนให้น้อยที่สุด ซึ่งก็ได้ผล ทำนาไม่เคยขาดทุนได้กำไร ได้สุขภาพที่ดี

เพราะผมไม่ใช้สารเคมี ส่วนรอบ2 ผมใช้ระบบของลุง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ลงทุนน้อยมากแต่ได้กำไรมาก ขอบคุณครับ

 

ดีมากครับ

นี่คือแนวทางที่ดีครับ ของใครของมัน เหมือนกันไม่ได้ครับ

ถ้าจะทำแบบผมก็ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวแสงได้ครับ

พอไม่มีหญ้าแล้ว จะทำอะไรก็ง่ายขึ้นมาก

จะเกี่ยวปีละกี่ครั้งก็ได้ครับ

แต่ถ้าเก็บออกบ่อยก็ต้องเสริมคืนให้เขาด้วย

ระบบต้องแข็งแรงจึงจะยั่งยืนครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ดินจอมปลวกซึ่งผมสังเกตดูข้าวที่งอกบริเวณนั้นจะงอกงามกว่าที่อื่นเพราะอะไรครับ

สวัสดีครับอาจารย์ หากผมอยากจะไปเยี่ยมชมแปลงสาธิตของอาจารย์ เพื่อสอบถามและเรียนรู้เทคนิคต่างๆและหลักในการทำนา อาจารย์จะสะดวกไหมครับ

สวัสดีค่ะทุกท่าน เก็บมาฝากค่ะ ภาพที่นาและการลงแขกเกี่ยวข้าวที่บ้านมาฝากค่ะ สมัยนี้หาดูยากค่ะ

สวัสดีค่ะ

เคยชิมข้าวแดงของอาจารย์ที่ขอนแก่นเมื่อสองปีที่แล้ว หอมอร่อยมาก

อยากชิมรุ่น ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่เกี่ยว ดูอีก  ท่าจะคุณภาพสูงมากขึ้นแน่ๆเลยค่ะ

อาจารย์ครับ สูตรอาจารย์ สำหรับผ้ที่อยู่บนความพอเพียง

นาโนน (โคก) รอแต่ฝนปีอย่างเดียว คงเป็นไปได้ยาก

จะทำได้แบบอาจารย์ ก็ต้อง มี น้ำ ที่สามารถควบคุมได้ มีปุ๋ย

ผมทำนาหว่าน ประมาณ 30 ไร่ รอน้ำฝน หว่านทิ้งไว้ รอฝน หว่านแล้วคราด ฝนไม่ตกสัก 3 วัน วัชพืช หญ้าตายเรียบ ก็โอเค

แต่ภ้าหว่านแล้วฝนลงตลอด ไม่งอก ปีนั้นฉิบหายแน่ ฝนเร็ว ก็ลำบาก ฝนช้า ก็ลำบาก

นาอาจารย์คงอย่ติดลำน้ำ จึงน่าจะไม่มีปัญหา

ทำนาแบบอาจารย์ ไม่ไถ่ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่เกี่ยว ( แปลกคน) แถวบ้านผมยากมาก ไหนจะ ฝูงนกพิราบ ไหนจะฝูงวัวควาย

ไหนจะฝูงนกเขา พูดง่าย ๆ งอกธรรมชาติไช่ไหมครับ

ผมย้ำเสมอว่า ขอให้คิดเหมือนผม แต่อย่าทำเหมือนผม

เพราะแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน แต่เมื่อพัฒนาความรู้เหมาะสมแล้ว ที่ไหนก็ทำได้ทั้งนั้น

จึจะเรียกว่า "ชาวนา" ตัวจริง

ที่ใช้และพัฒนาความรู้ในการทำนา

คนที่ใช้ความรู้ของคนอื่นมักลำบากเสมอครับ

เพราะไม่ค่อยมีความรู้ของใครเหมาะกับเราร้อยเปอร์เซ็นต์

ผมจึงไม่สนใจว่าใครทำอย่างไร และใช้หลักการ "เริ่มจากสิ่งที่มี" ที่มีโอกาสสำเร็จมากกว่า "เริ่มจากสิ่งที่ไม่มี"

นี่คือสูตรของผม (ถ้าจะอ้างอิง) 

อย่างอื่นเป็นเพียงรายละเอียด ที่ไม่ควรทำตาม ทำไม่ได้ หรือทำได้ยาก

ขอให้เข้าใจตามนี้ครับ

อาจารย์ดร.แสวงครับ

     ที่นาอาจารย์อยู่ม่องได่น้อครับเนี่ย เผิ่งรู้จักวิถีทางและตัวอาจารย์กะจากงานที่ ม.รังสิต เมื่อเดือนที่ผ่านมานี้แหละ กะรู้สึกว่าทึ่งแกมตะลึงคักๆ อยากไปเฮ็ดและไปทำตามแบบอาจารย์มั่ง " นาขี้คร้านแบบนี้น่ะแหมะ "  คือจะเข้าทางกับผมนำแน่  กะเลยอยากจะไปเห็นของจริงจากที่นาของอาจารย์เลย  ผมจะซื้อหนังสือจากมืออาจารย์เลยหล่ะ มาอ่านอยู่ 2 เล่ม " ฟูโอกาดะคิด ตาแหวงเฮ็ดได้ ว่าซั่น  "  กะเลยอยากจะไปเห็นของจริงด้วยตาของตัวเองเลยครับ ตอนนี้ผมทำงานอยู่โคราช  กะเลยอยากไปเบิ่งนาขี้คร้านของอาจารย์นี้แหละครับ  

ปีหน้าค่อยมา จะพาทำให้ครบกระบวนการเลยครับ

เรียนอาจารย์แสวงครับ ผมเห็นด้วยกับแนวทางของอาจารย์ลดต้นทุนของชาวนา อยากทดลองทำครับ มีที่นา 5 ไร่ ในเขตชลประทาน เผื่ออาจจะเป็นความรู้ใหม่บ้าง จะเริ่มจากไม่ไถก่อนครับ ขอถามอาจารย์หน่อยครับ 1. เมล็ดข้าวที่ตกหล่นหลังเก็บเกี่ยวนาปี จะทำนาปรังต่อแบบไม่ไถ จะขังน้ำในนาจะใช้เวลากี่วันครับ เมล็ดข้าวนั้นจึงจะไม่งอก (ป้องกันข้าวปน) 2. ส่วนตอซ้งข้าว จะตัดให้สั้นแล้วขังน้ำ (ไม่เผา) จะใช้เวลากี่วันครับ ไม่ให้งอก ให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย

ขอความรู้จากอาจารย์ด้วยครับ ขอขอบพระคุณอาจารย์ครับ

แค่สัปดาห์เดียวก็หมดแล้วครับ ลองดูก็ได้ครับ

ปีนี้อาจารย์จะเริ่มช่วงไหนครับ ผมขออนุญาตไปศึกษาเพื่อกลับมาทำในนาตัวเองครับ

ก็ทำไปเรื่อยๆ เข้มขันคงประมาณเมษายน ถึงต้นพฤาภาคมครับ

อาจารย์ ดร.แสวง

ไม่รู้เรือ่งข้าวเลยค่ะ   

แต่แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะ 

ขอให้มีความสุขมากๆ นะคะ 

ขอให้นางฟ้าคุ้มครองให้ปลอดภัย และเพิ่มพรให้อีก 100 ข้อตามที่ใจปราถนานะคะ

อิอิ ขอบคุณมากครับ ทำยังกับรู้ว่าผมมี "นางฟ้า" ประจำตัว คอยดูแลผมอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ชอบแสดงตัว

ถ้าได้พร ผมขอข้อเดียวครับ ขอให้ผมได้ทำงานช่วยเหลือสังคม เพื่อความสุขที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวมถ้วนหน้าครับ

"นางฟ้า" ช่วยเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ

ผมกำลังหาพันธุ์ข้าวทำนาแบบธรรมชาติ อาจารย์ช่วยแนะนำพันธุ์ข้าวทั้งนาปีนาปรังด้วยครับ  และอาจารย์ชอบพันธุ์ไหนที่ใช้ปลูกในนาของอาจารย์ครับ


ต้องเลือกเอง เพราะแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ของผมก็มี ทนแล้ง ทนน้ำท่วม ทนโรค งอกได้เอง ไม่ต้องการปุ๋ย ไม่ต้องฉีดยาใดๆ แต่คงไม่เหมาะกับท่าน อิอิอิ

อาจารย์ช่วยแนะนำพันธุ์สำหรับปลูกนาปีที่อาจารย์ชอบด้วยครับ


อาจารย์ครับ  มีเรื่องรบกวนอีกแล้ว  ผักบุ้งขึ้นเต็มนา  น้ำชลประทานไม่มา  ว่าจะไม่ไถ  คงจำเป็นต้องไถแห้ง แล้วหว่านข้าว  คราดกลบจะดีไหม จะได้ไหมครับ  ผักบุ้งจะขึ้นมาอีกไหมครับ 

ผมเป็นชาวนามือใหม่ อยู่อ.ชุมแพอยากขอไปศึกษาดูงานแล้วกลับมาทำจริงๆ ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์ พอจะมีเวลาชี้แนะสักหน่อยไหมครับ หรือ อย่างไรดีครับ

ผมเป็นที่นาดอนไม่มีน้ำขังเพื่อกำจัดวัชพืชจะทำนาแบบอาจารย์ได้หรือไม่ครับ และจะใช้วิธีจัดการกับวัชพืชอย่างไรดีครับ

ผมขอเป็นศิษย์อาจาย์เลยครับ  ผมสนใจผลงานของอาจารย์มาประมาณ 3 ปีแล้ว จากยูทูป ปีกลายเริ่มลงทำ 2 ปิ้ง หว่านพอได้กิน หญ้าขึ้นผมก็ไม่สนใจรอเกี่ยวอย่างเดียว  ก็พอได้อยู่ครับ  ได้ฟาง+หญ้า ปีนี้ว่าจะเริ่มทำสัก 1 ไร่  หลักการของอาจารย์แต่ขอประยุกต์ตามสภาพของนา และความเป็นส่วนตัวของผม  ปีนี้ผมเพิ่มปุ๋ยขี้หมู และแกลบดิบเติมลงไปในนากองไว้เป็นจุด ๆ ใส่จุลินทรีย์ทำเอง รอให้ขี้หมูย่อยสักหน่อย ผมก็จะหยอดข้าวลงในนาครับ  หากมีโอกาสอยากไปชมนาของอาจารย์แน่นอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท