ค่ำคืนแห่งวิทยาการ (Die Nacht der Wissenschaft 2007)


สวัสดีครับญาติมิตรทุกท่าน

        สบายดีไหมครับ วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะถึงในวันเสาร์นี้ วันที่ 10 พ.ย. 2550

http://www.nachtderwissenschaft.com/ 

 

The image “http://www.nachtderwissenschaft.com/images/home_bg.gif” cannot be displayed, because it contains errors.


<p> </p><h4>โดยมีชื่องานว่า</h4><h4 align="center"> Die Nacht der Wissenschaft 2007 </h4><h4>แปลเป็นอังกฤษก็ประมาณว่า </h4><h4 align="center"> The Night of the Sciences 2007 </h4><h4>แปลเป็นไทยอีกครั้ง ก็คงประมาณว่า </h4><h4 align="center">ค่ำคืนแห่งวิทยาการ 2007</h4><h4>        ดูลักษณะงานแล้วก็น่าประทับใจตั้งแต่เริ่มวางแผนกันแล้วครับ ด้วยที่มีสามเมือง ได้แก่ Heidelberg, Mannheim, Ludwigshafen เป็นสามเมือง สามเหลี่ยม โดยมีบริษัทและมหาวิทยาลัย ร่วมมือกัน เปิดแสดงให้กับคนในพื้นที่ หรือคนในพื้นที่อื่นที่สนใจเข้าเยี่ยมชมครับ นับเป็นการถ่ายทอดวิทยาการที่มีในสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ห้องปฏิบัติการต่างๆ บริษัทที่ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เปิดให้คนทั่วไปเข้าเยี่ยมชม โดยจะมีโครงการต่างๆ ที่จะเปิดให้แสดงประมาณ 800 โครงการ และมีการจำหน่ายบัตรพร้อมเดินทางได้ฟรีในค่ำคืนนั้น โดยงานจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 18:00 - 2:00 am ของวันเสาร์สว่างวันอาทิตย์</h4><h4>        ที่ผมชอบมากๆ ก็คือว่า มีผู้สนับสนุนให้เกิดโครงการนี้ ได้แ่ก่บริษัทใหญ่ เช่น บริษัท SAP บริษัทซอฟท์แวร์ของเยอรมัน  บริษัท BASF บริษัทผลิตสารเคมีระดับประเทศ และมีบริษัทอื่นๆ อีกมากมายครับ ตามอ่านได้ที่
</h4><h4 align="center"> http://www.nachtderwissenschaft.com/  </h4> <h4>        ลักษณะในงานก็คงมีโปรเฟสเซอร์และนักศึกษาและนักวิจัยมาร่วมตอบคำถามและอธิบายลักษณะของโครงการที่นำเสนอด้วย ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสดีที่เด็กๆ ครอบครัว คนทั่วๆ ไปจะเข้าถึง ได้ร่วมพูดคุยกับนักวิจัย ได้อย่างเปิดอกถึงใจ เป็นแนวทางหนึ่งของการถ่ายทอดแนวทาง ความคิดให้กับผู้คนได้รับทราบ และได้แนวคิดแนวทางในการไปขยายผลต่อไปหลังจากที่ได้พบเห็น พูดคุยกัน กับนักวิจัย นักวิชาการในหลากหลายสาขาครับ</h4><h4>        ส่วนในสถาบันที่ผมทำงานวิจัยอยู่ ก็จะมีการวางแผนไว้ว่าจะมีโครงการอะไรบ้าง มากมายเหมือนกันครับ จะมีทั้งการนำเสนอผลงานในด้านต่างๆ และการนำเสนอโครงการของนักศึกษาที่เด่นๆ และอธิบายให้เป็นแบบธรรมดาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้</h4><h4>        ในส่วนตัวของผมนั้น จะมีการนำเสนอโครงการสร้างภาพสามมิติจากภาพถ่ายดาวเทียมโดยแสดงผลภาพเคลื่อนไหวของภาพเมฆ พายุ ที่เคยนำเสนอผ่านทางทีวีไปแล้ว และได้เขียนไ้ว้ครั้งก่อนในบทความนี้ครับ ก็จะนำเสนอโปรแกรม และคลิปที่เคยถ่ายทอดทางทีวี ให้คนทั่วไปรับชมนะครับ</h4><ul>

  • Virtual Cloud 3D ลงหนังสือพิมพ์ เมืองชตูทการ์ท และไฮเดลเบิร์ก เยอรมนี
  • ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ตอน พายุ สึนามิ คลื่นลมทะเล ออกทีวีเยอรมัน
  • ขี้โม้อีกแล้วครับท่าน VirtualCloud3D, SiTProS ออกทีวี Campus TV ในเยอรมัน (ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา)
  • สรุปความจากทีวี "VirtualCloud3D, SiTProS ออกทีวี Campus TV ในเยอรมัน (ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา)"
  • </ul><h4>        ไว้จะถ่ายภาพมาฝากนะครับ ว่ามีคนมาเยี่ยมชมมากน้อยแค่ไหนนะครับ</h4><h4>รายละเอียดอื่น สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ในเว็บไซต์นี้นะครับ http://www.nachtderwissenschaft.com/  </h4><h4> </h4><h4> <hr width="100%" size="2">ว่าไปแล้วทำให้ผมนึกถึงว่า เมืืองไทยเราทำแบบนี้บ้างก็น่าจะสนุกนะครับ โดยเปิดให้ชุมชนเข้าถึงโครงการต่างๆ หรือนักวิจัย หรือเปิดห้องแลปต่างๆ ให้คนทั่วไปเข้าถึง ตลอดจนเด็กๆ สามารถเข้าถึงนักวิจัย เข้าถึงนักวิชาการ เข้าถึงคนเอกชน ดั่งเหมือนหลายๆ โครงการที่จัดใน วันวิทยาศาสตร์ หรือว่า วันเด็ก และวันอื่นๆ</h4><h4>ผมเคยไปเจอที่เมืองกีเซ่น ที่มีคนในระดับโปรเฟสเซอร์ มาเปิดบูธที่บนถนนโดยมีซุ้มต่างๆ แล้วให้เด็กเข้าไปเล่น เกิดการเรียนรู้ ดูแล้วช่างน่ารัก ลดช่องว่างๆ ต่างๆ ได้เยอะเลยครับ</h4><h4>จะว่าไปแล้วเมืองไทยก็เหมือนว่าได้จัดหลายๆ กิจกรรมแบบนี้เหมือนกันครับ แต่หากสามารถทำได้ในระดับชุมชนด้วยก็จะดีมากๆ เลยครับ อาจจะเชิญปราชญ์ชุมชน มานั่งในบูธ ตรวจสอบ ดิน น้ำ สารพิษ และอื่นๆ หรือเอาโครงการในชุมชนมานำเสนอให้คนในหมู่บ้านต่างๆ มาเรียนรู้กระบวนการ แนวคิด การแก้ปัญหา ให้รับทราบกัน ซึ่ง อบต. หรือ อบจ. ก็สามารถจะดำเนินการได้ เป็นการลดและเข้าใจ ร่วมกันแก้ปัญหาร่วมกัน อาจจะมีเวทีกลาง เชิญคนที่เกี่ยวข้องในปัญหาต่างๆ มาร่วมปราศัยร่วม หาแนวทางการพัฒนาชุมชน ในการใช้ชีวิตตามแนวพอเพียง เชิญ เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด ครูในชุมชน ปราชญ์ นักการเมืองด้วยเลยครับ มารับรู้ ในแนวทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการของชุมชม รากเหง้าทางวัฒนธรรม ประเพณี การละเล่น ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการศึกษาชุมชนที่ควรจะเป็น ก็น่าจะเกิดประโยชน์ไม่น้อยเลยครับ</h4><h4>ท่านมีความเห็นใดๆ หรือข้อสงสัย ก็ฝากถามไว้ได้นะครับ </h4><h4> ขอแสดงความนับถือ</h4><h4>เม้งครับ </h4><p> </p><hr width="100%" size="2"><p> </p><h4>หลังจัดงาน เป็นอย่างไรบ้าง</h4><ul>

  • พวกเราไปเตรียมตัวกันตั้งแต่ ห้าโมงเย็น ซึ่งงานจะเริ่มตอนหกโมงเย็น ไปจนถึงตีสองของวันอาทิตย์ (11.Nov.2007) แต่พวกเรากลับกันก็ราวๆ ตีสามครับ

  • ผมไม่ค่อยได้เดินออกไปไหนมาก เพราะนั่งประจำเครื่องของตัวเอง และเดินอยู่แต่ในห้องตัวเอง ซึ่งในตึก OMZ นั้นจะมีให้เข้าชมอยู่ทั้งหมด 5 ห้องครับ ได้แก่ ห้องคุยวิทยาการ 1, 2, ห้องหุ่นยนต์ ห้องปฏิบัติการ 1, และห้องปฏิบัติการ 2 ซึ่งผมประจำอยู่ในห้องปฏิบัติการ 2, U12

  • ในตึก OMZ รับคนได้เพียง 200 คนเท่านั้น เพราะห้องอยู่ใต้ดิน และเกรงว่าจะมีอากาศหายใจไม่พอ เลยจำกัดและบริหารคิวกันครับ

  • ผมได้รับทราบจากเพื่อนร่วมงานว่า ด้านนอกตึกฝนตกด้วยครับ และมีคนยืนรอคอยคิวอยู่กลางฝน โดยมีคนรอในคิวประมาณ ห้าสิบคน ทำให้ผมรู้สึกสัมผัสได้ถึงความตั้งใจในการมาเข้าชมครับ

  • ห้องที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคาดว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ ซึ่งคนต่อคิวกันยาวเหยียดจริงๆ ครับ

  • งานนี้ผมมองดูแล้ว ผมว่าเป็นการผสมระหว่างงานวันเด็กกับงานวันวิทยาศาสตร์ในบ้านเราได้อย่างลงตัวเลยครับ พ่อแ่ม่พาเด็กมา แล้วมาแวะตามโต๊ะต่างๆ ทำการทดลองบ้าง เ่ล่นเกมส์บ้าง ชมภาพเคลื่อนไหวบ้าง ปฏิบัติการเล่นคอมพ์ สนุกกับหุ่นยนต์ และอื่นๆ ครับ

  • มาลองดูภาพกันสักภาพก่อนนะครับ


    Ndw1

  • อันนี้เป็นภาพบรรยากาศในห้องที่ผมอยู่ครับ U12 มีวีดีโอราวๆ ประมาณสองชั่วโมงฉายอยู่ที่หน้าห้องครับ

  • แล้วผมจะโพสต์ภาพอื่นๆ ให้ที่ด้านล่างในความเห็นนะครับ

  • ดีใจที่ได้เห็นเด็กๆ สนุก ได้มีโอกาสพบปะักับคน และพูดคุย เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทดสอบว่าเรายังคุยกับคนอื่นได้รู้เรื่องหรือไม่ครับ

  • ขอบคุณมากครับ

  • </ul><p> </p>

    หมายเลขบันทึก: 144891เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 01:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (24)

    ความจริงเมืองไทยก็มีนะคะ แต่อาจจะไม่เอิกเกริกเท่าไร (มั้ง)

     อย่างเช่นงาน open house หรือว่านิทรรศการต่างๆ

    แต่ในไทยไม่แน่ใจว่า กระจุกอยู่เฉพาะกรุงเทพฯ หรือเปล่านะคะ

    ใครรู้ช่วยให้ข้อมูลด้วยค่ะ (อยากรู้เหมือนกัน)

    • มาทักทายน้องบ่าว
    • ถ้าบ้านเรามีกิจกรรมแบบนี้ในต่างจังหวัดด้วย
    • จะเป็นประโยชน์มาก
    • ขอบคุณครับ

    สวัสดีครับอาจารย์เม้ง

                       เมืองไทยจะเป็นแบบระดมสมองครับ ผมอ่านที่บล็อคของครูนงเมืองคอนครับ ก้าวหน้าไปหลายส่วนแล้วครับ ถ้ามีการทำทุกส่วนของประเทศไทยแบบไม่มีอะไรแอบแฝงก็จะดีครับ

                                    ขอบคุณครับ

    • แวะมาทักทายคะกลับมาจากต่างดาวก่อนยานดิสคัพเวอรี่อาทิตย์นึงกลัวมีปัญหาการจราจรทางอากาศคะ..อิอิ
    • บ้านเรามีการจัดนิทรรศการ..สัมมนาประชุม..ออกร้านเยอะคะ
    • แต่ผู้ได้รับประโยชน์เป็นคนบางกลุ่มหรือคนส่วนน้อยคะ
    • และที่สำคัญงานเลิกแล้วเลิกเลย...ไม่ค่อยได้รับการต่อยอดหรือสานต่อ
    • -------------------
    • แล้วจะทยยอยเก็บตกอ่านงานย้อนหลังนะคะ...ต้องไปทักทายคนอื่นต่อแล้วคะ

    สวัสดีครับเพื่อนเม้ง

    • วันนี้ผมมาอยู่ที่แพร่ และมีโอกาสได้ไปนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดของเราด้วย "พระธาตุช่อแฮ" ครับ สวยงามและยิ่งใหญ่ ด้วยศิลปะแบบเมืองเหนือ- - -คิดถึงครับ ตอนที่นมัสการ (คิดถึงดิเรกด้วย)
    • ผมได้ติดต่มบันทึกเก่าๆของเพื่อนมาทั้งหมด เป็นความภาคภูมิมากครับ แม้ว่าเป็นศาสตร์ที่ผมต้องทำความเข้าใจลำบากพอสมควร เพราะไม่คุ้นชิน
    • ที่แพร่มี มหกรรม "งานสร้างสุข" แค่ได้ยินชื่อก็รู้สึกดีแล้วใช่มั้ยครับ ว่ากันว่ามางานนี้สุขทั้งปีครับ เลยเก็บความสุขนั้นมาให้เพื่อนและกัลยาณมิตรในพื้นที่เสมือนแห่งนี้ด้วย
    • ผมมาในฐานะผู้ประเมินเครือข่าย ภาคีของกลุมภาคเหนือทั้งหมดพร้อมกับความพึงพอใจในการเข้ามาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
    • ในบูธมากกว่า ๖๐ บูธ มีประเด็นที่ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลาย น่าสนใจมากๆครับ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ "สุขภาวะ"
    • เสร็จจากงานนี้ผมก็บินไปอุดร เพื่อไปตามใจปรารถนา "ดงหลวง" ไงครับ งานนี้ก็เรียกได้ว่า "สุขภาวะ" สำหรับผมและเครือข่าย"เฮฮาศาสตร์" ด้วยเช่นกัน
    • บอกกล่าวเล่าความเรื่อยเปื่อย จาก แพร่ ครับผม

    สวัสดีคะ พี่เม้ง

    สบายดีนะคะ :)

    ในเมืองไทย มีงานมหกรรมความรู้บ่อยๆ แต่หลายงานๆ เข้าถึงยาก เพราะเป็นงานแห้งๆ ไม่มีชีวิตชีวา ขาดสีสรร ทำให้เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมการเรียนรู้

    ความรู้มีท่วมท้น แต่ไม่นำออกมาให้เกิดการเรียนรู้

    ...สังคมแห่งการเรียนรู้

    แบ่งกันรู้ แบ่งกันเห็น ส่งเสริมกันเรียน

    พัฒนาเด็ก พัฒนาเยาวชน พัฒนาคนรุ่นใหม่ พัฒนาสังคม ประเทศชาติพัฒนา...

    ---^.^---

    สวัสดีครับทุกท่าน

    ขอบคุณมากครับ คุณ...

    เดี๋ยวตอนเย็นวันนี้ จะไปจัดแสดงและเจอแขกมาเยี่ยมชมนะครับ แล้วจะเอารูปบรรยากาศในงานมาฝากนะครับ

    ขอบคุณมากครับ 

    เป็นงานที่น่าสนใจมากค่ะ ที่เมืองไทยก็มีการจัดงานนิทรรศการวิชาการในลักษณะนี้อยู่เรื่อยๆค่ะ ทางด้านเกษตร ไม่ว่างานวันเกษตรที่ มข หรือ มก ก็มีแสดงนิทรรศการด้วยค่ะ ที่ มข ก็จัดค่ะ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ แต่ไม่มีเอกชนค่ะ ทุกอย่างฟรีค่ะ ...คนชมงานก็มีมากบ้าง น้อยบ้าง หากเป็นวิชาการล้วนๆคนจะน้อย หากมีแจมกับการขายสินค้าคนก็จะเยอะค่ะ

    P 8. paew

    สวัสดีครับพี่แป๋ว

    • ขอบคุณมากครับผม งานเรียบร้อยแล้วครับเมื่อคืน เดี๋ยวจะเขียนเล่าไว้ในบทความด้านบนนะครับ
    • ขอบคุณมากครับผม อยากให้บ้านเรามีบ่อยๆ หลากหลาย ให้คนเข้าถึงนะครับ ดีมากๆ นะครับ
    • ขอบคุณมากครับ 

    Ndw1

    ภาพย่อยในสองแถวแรก เป็นภาพด้านหน้าของห้องครับ ภาพประจำโต๊ะผมเองครับ บรรยากาศเป็นกันเอง

    ผมนำเสนอโครงการพวก เมฆ พายุ สึนามิ และต้นไม้ ครับ และหลักๆ เกี่ยวกับสภาพอากาศ โดยมีการยกตัวอย่างและถามว่า

    เมื่อ วันที่ 18 ม.ค. อยู่ที่ไหนทำอะไรอยู่ โดยจะลองให้้นึกดูว่า ยังจำพายุเฮอริเคนไคริล Kyrill กันได้หรือเปล่า แล้วก็บอกให้เข้ามาเยี่ยมชมสภาพอากาศของยุโรปและเอเชียได้ที่เว็บของสถาบัน โดยเข้าไปที่

    www.iwr.uni-heidelberg.de  คลิก services คลิก virtualcloud3D ก็จะไปดูอากาศ พร้อมภาพเคลื่อนไหวในมุมมองต่างๆ ได้

    โดย ภาพจะแสดงผลเพียงแค่เวลาวันนี้จากเมื่อวานหรือเมื่อเช้าจนถึง ณ เวลาตอนนี้ ไม่ได้แสดงภาพการทำนายในอนาคต เพราะภาพนำเข้าเป็นภาพจากดาวเทียม แต่คนดูสามารถจะทำนายได้ในอีก 2-3 ชั่วโมงข้างหน้าว่าแนวโน้มพายุจะไปทางไหน

    ส่วนในภาพย่อยแถวล่างจะเป็นบรรยากาศในห้อง จะมีการแสดงลูกโลกสามมิติ และกิจกรรมโครงการอื่นๆ เกี่ยวกับกล้องถ่ายสามมิติครับ

    มาชมภาพตามคำเชิญของเพื่อน  ดูงานมีสีสัน มีชีวิตชีวามากครับผม...

     

    Ndw2

     อีกบรรยากาศหนึ่งนะครับ

    ภาพแถว 1 ซ้าย  : บรรยากาศในห้อง U12 ทั่วไปทั้งห้อง ยืนชมกันตามโต๊ะต่างๆ ครับ

    ภาพแถว 1 กลาง : โต๊ะทดลองเกี่ยวกับผิวหนังของปลาฉลามครับ ว่าทำไมปลาฉลามถึงว่ายน้ำเร็ว ซึ่งเพื่อนผมอีกคนเชื่อเอลฟี่ ได้ทำวิจัยเรื่องนี้นะครับ ในการเลียนแบบธรรมชาติ ว่าทำไมเค้าว่ายน้ำเร็ว ลักษณะผิวหนังของปลาเป็นอย่างไร อาจจะนำมาออกแบบกับการออกแบบชุดว่ายน้ำ สำหรับนักว่ายน้ำด้วยนะครับ

    ภาพแถว 1 ขวา : บรรยากาศในห้อง U12 เช่นกันครับ หน้าจอหน้าห้องแสดงภาพการจำลองสึนามิบ้านเรา ด้วยโปรแกรม SiTProS (http://www.schuai.net/SiTProS

    ภาพแถว 2 ซ้าย : เป็นโต๊ะที่ให้คนใส่แว่นแล้วดูภาพสามมิติจากหน้าจอคอมพ์ นะครับ จะมีภาพเคลื่อนไหวสามมิติในหน้าจอ ที่ได้จากผลงานทางการคำนวณทางวิทยาศาสตร์เช่น การทำโวลุมเรนเดอร์ริ่งหัวคนที่ได้จากการสแกนหัวคนด้วยเครื่องสแกน ซีที CT Scanner แล้วเราจะเห็นภาพสามมิติเสมือนจริงในหน้าจอครับ

    ภาพแถว 2 กลาง และขวา : อันนั้นเป็นโต๊ะที่ผมประจำอยู่เช่นเดิมครับ

    ภาพแถว 3 ซ้าย เป็นโต๊ะแสดงภาพของนครวัด ของเพื่อนกัมพูชาครับ Angkor Project ครับ

    ภาพแถว 3 กลาง เป็นตัวอย่างชุดว่ายน้ำที่ออกแบบหลังจากใช้เทคนิคของการคำนวณทาง Optimization ของผิวหนังปลาฉลามแล้วผลิตเป็นชุดว่ายน้ำเพื่อให้ว่ายน้ำได้เร็วขึ้นครับ เพราะการว่ายน้ำนั้น จะมีแรงเสียดทานระหว่างผิวของเรากับน้ำเหมือนกันครับ ดังนั้นจะออกแบบอย่างไรให้ว่ายได้เร็วสุด

    แถว 3 ขวา  เป็นการทดลองอะไรไ่ม่แน่ใจรายละเอียดครับ ดูผ่านกล้องจุลทรรศน์นะครับ 

    P 11. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

    สวัสดีครับเอก

    • มีอยุ่ประมาณ 9 ชุดภาพนะครับ แล้วจะเอามาเพิ่มให้ชมพร้อมคำอธิบายภาพคร่าวๆ ครับ จะได้รับรสในภาพบางอย่างในรายละเอียดครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    ภาพล่าสุด แถวที่สามด้านบน ที่มีกล้องจุลทรรศน์ พอดีเพื่อนผมไปถ่ายมาให้ สรุปว่า เป็นกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูผิวของปลาฉลามนั่นเองครับ ว่ามีโครงสร้างอย่างไร เพราะมันเล็กมากๆ นะครับ ความละเอียดอยู่ในระดับ ไมโคร ถึงนาโน ครับ

     

    งานดูน่าสนใจดีจังค่ะ

    พออ่านมาถึงประโยคนี้

    "ดีใจที่ได้เห็นเด็กๆ สนุก ได้มีโอกาสพบปะักับคน และพูดคุย เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทดสอบว่าเรายังคุยกับคนอื่นได้รู้เรื่องหรือไม่ครับ"

     ก็ขำ ๆ เพราะนึกตัวเองขึ้นมาเหมือนกัน ว่าออกจากห้องแลปแล้ว ยังจะคุยกับคนอื่นเขารู้เรื่องไหม ^ ^

    Ndw3

    ภาพแถว 1 ซ้าย  บรรยากาศในห้อง U12 พร้อมภาพภาพแสดงการจำลองการขับรถรางในเืมืองไฮเดลเิบิร์ก

    ภาพแถว 1 กลาง บรรยากาศทางเดินหน้าห้องครับ

    ภาพแถว 1 ขวา และ ภาพแถว 2 ซ้าย และภาพแถว 2 ขวา เป็นหุ่นยนต์เล่นเกมส์กับคนนะครับ โดยจะมีคอมพ์ควบคุมผ่านกล้องจากด้านบนส่องไปยังหุ่นยนต์ให้หุ่นยนต์ทำงานตามคำสั่งของคอมพ์ครับ โดยหุ่นยนต์ทำหน้าที่ยกกระป๋องไปวางไว้ตามจุดที่คำนวณครับ

     ภาพแถว 2 กลาง เป็นหุ่นยนต์อีกตัวครับ ที่ทำหน้าที่รักษาประตูเล่นฟุตบอลครับ

    ภาพแถว 3 ซ้าย ผมเดินถ่ายโปสเตอร์ในงานตอนเสร็จงาน

    ภาพแถว 3 กลาง โต๊ะเพื่อนกัมพูชาครับ แสดงงานนครวัดครับ

    ภาพแถว 3 ขวา เป็นภาพบรรยากาศในห้อง U12 ถ่ายจากโต๊ะที่ผมอยู่ครับ 

    P 15. Plantip

    สวัสดีครับทิพย์

    • สบายดีนะครับผม
    • นั่นนะซิครับ ทำงานอยู่กับแต่เครื่องมือ คอมพ์ ตัวอักษร รับข้อมูลมาเยอะๆ แล้วต้องเช็คว่าตัวเรายังคุยกับคนอื่นรู้เรื่องหรือไม่ครับ
    • อิๆๆ ขอให้สนุกกับการทำงานครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    Nwd4

    ภาพแถว 1 ซ้ายและกลาง เป็นโต๊ะของเพื่อนอีกคนครับ ที่ำนำเสนอการสแกนวัตถุในสามมิติ โดยใช้เว็บแคมและเลเซอร์เรียกว่า Laser Scanner ในการสแกนพื้นที่ผิวสามมิติเข้าไปแล้วโปรแกรมจะสร้างพื้นที่ผิวให้ โดยใช้โปรแกรมชื่่อ DAVID

    ภาพแถว 1 ขวา และแถว 2 ซ้าย เป็นโพสเตอร์ ของกลุ่ม image processing และโพสเตอร์โปรแกรม VirtualCloud3D, Angkor Project

    ภาพแถว 2 กลาง เป็นโต๊ะแสดงงานในโครงการ Angkor Project ในการสร้างวัดอย่างไรให้เร็วในคอมพ์ ครับ

    ภาพแถว 2 ขวา และแถว 3 ซ้ายและกลาง เป็นการแสดงภาพที่หน้าจอหน้าห้อง เกี่ยวกับ การไหลของของไหลที่ผสมกัน เป็นการจำลองทั้งสองและสามมิติ

    ภาพแถว 3 ขวา เป็นโปสเตอร์เี่กี่ยวกับหุ่นยนต์ครับ 

    Ndw5

     ภาพนี้ เป็นชุดของโปสเตอร์เี่กี่ยวกับหุ่นยนต์และโต๊ะนครวัด ในการสร้างวัดครับ เพื่อนชื่อ พาดี กำลังอธิบายครับ

    ดูภาพบรรยากาศงานแล้วน่าสนุกนะค่ะ...ยิ่งเห็นเด็กๆสนุกและสนใจ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี และผู้ใหญ่ก็ให้ความสนใจ อยากเรียนรู้ คงอย่างนี้กระมังที่เค้าเรียนว่าสังคมแห่งการเรียนรู้....

    สวัสดีค่ะน้องเม้ง

                 ขอบคุณมากนะคะที่นำเรื่องราวและภาพงานที่น่าสนใจมากมาฝาก    พี่แอมป์เข้ามาเยี่ยมชมงานเปิดโลกวิทยาการอย่างเพลิดเพลินเลยค่ะ  วิธีนำเสนอด้วยสื่อและวิธีการที่หลากหลายนี่น่าสนใจจัง  พี่ชอบโปสเตอร์ชะมัด   ดูแล้วได้คอนเส็ปต์เร็วดี      (เอ่อ......คือแบบที่เคยอ่านเป็นภาษาไทยน่ะนะคะ)  : ) ....งานนี้มีโปสเตอร์ที่เป็นภาษาอังกฤษบ้างรึปล่าวคะ... 

                 ลักษณะงานนี้คงคล้ายๆงานวันวิทยาศาสตร์หรือสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของบ้านเรากระมังคะ     แต่บ้านเราดูจะรวมพลประสานพลังข้ามแดนได้ไม่มากเท่า  คงเป็นเพราะหาเจ้าภาพกลางที่จะมีพลังประสาน  และสร้างจุดจูงใจ เพื่อ"เปิดโลกวิทยาการ สานความรู้สู่มวลชน" ได้ยากสักนิด    

                 ของบ้านเรา สงสัยต้องบรรจุเป็นวาระแห่งชาติ  ว่าด้วย"โอกาสในการเข้าถึงความรู้"  แล้วระบุเป็นพันธกิจร่วมต่อเนื่องของภาครัฐและภาคเอกชนไปเลย ......จะได้เอื้อให้มีอะไรฟรีได้มั่ง.....  นอกจากกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเฉพาะทางจะได้ประโยชน์มากแล้ว  ยังจุดประกายให้"อนาคตของชาติ" ได้ดีนัก

                 ไม่แน่นะคะ..... เมื่อเด็กๆได้เห็น ได้ถาม ได้สัมผัสผู้รู้ตัวจริง เจ้าของผลงาน  ที่ทำงานนั้นอยู่เองกับมือจริงๆ   มานำเสนอแบบตัวเป็นๆเห็นจะๆ  เป็นรูปธรรมกันไปแล้ว    ประโยคบางประโยคที่ตกผลึกแล้วของผู้รู้จริง   หรือผลงานบางอย่างที่เด็กเขาเห็นปลายทางของการสร้าง(ด้วย)ความรู้     (อย่างวิชาคณิตศาสตร์กับ"VirtualCloud3D, SiTProS"    เป็นต้น)     ก็อาจเป็นแรงบันดาลใจครั้งสำคัญให้แก่ใครบางคน..... 

                  ......อาจส่งผลให้เกิดนักสร้าง  นักคิด นักประดิษฐ์   นักวิทยาศาสตร์ ที่ยิ่งใหญ่ในสักวันหนึ่งก็ได้.......      .
                   ......ใครจะไปรู้.......   : )

                 ....ว่าแต่ว่าของเม้ง...เมื่อเช็คจากงานนี้แล้ว....เอ่อ.....สรุปว่ายังพอพูดกับคนอื่นรู้เรื่องใช่มั้ยคะ.....    : ) 

    ภาพข้อมูลในมุมอื่นในตึกเดียวกันครับ

    http://www-swe.informatik.uni-heidelberg.de/home/people/rueckert/ndw2007/ 

    ขอบคุณมากครับ 

    P 20. paew

    สวัสดีครับพี่แป๋ว

    • ใช่แล้วครับผม หลายๆ อย่างเห็นแล้วมีความสุข
    • พ่อมาถามผมแล้วเอาไปอธิบายให้กับลูกน้อยฟัง ว่าระบบทำงานอย่างไร เด็กๆก็น่าเอ็นดูครับ
    • พอเด็กถามพ่อหรือแม่ พ่อแ่ม่ต้องรู้่่ก่อน และเรียนรู้ก่อน ก่อนจะอธิบายให้ลูกครับ
    • สังคมการเรียนรู้ ก็เรียนรู้ร่วมกัน อย่างเปิดใจ
    • ขอบคุณมากครับ

    P 21. ดอกไม้ทะเล

    สวัสดีครับพี่แอมป์

    สบายดีไหมครับ มาตอบช้าครับผม

    • ขอบคุณมากๆเลยครับ
    • จริงๆ บ้านเรา็ก็ทำได้ดีนะครับผมว่า เพียงแต่การทำให้เกิดความต่อเนื่อง และเิกิดกระบวนการลดช่องว่างในการเรียนรู้ โดยให้องค์ประกอบของสื่อการสื่อสารนั้นเข้ามาอยู่ิชิดติดันมากขึ้นครับ
    • น่าจะบรรจุวาระความต่อเนื่อง ทำต่อเนื่อง เป็นวาระแห่งชาติด้วยนะครับ
    • ผมชอบดู ชอบการดูแนวทางการแสดงออกของเด็กครับ ผมว่าจิตนาการเด็กนั้นยอดมากๆ ครับ
    • การสร้างนักคิด นักสร้าง นักประดิษฐ์ และหลายๆ นัก จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาการศึกษาระดับพื้นฐานมีความสำคัญมากๆ ครับก่อนที่จะต่อยอดอย่างมีลำดับขั้นตอนในอนาคตครับ
    • สำหรับผม เช็คดูแล้วยังพอคุยรู้เรื่องอยู่ครับ อิๆๆ
    • ขอบคุณมากครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท