Virtual Cloud 3D ลงหนังสือพิมพ์ เมืองชตูทการ์ท และไฮเดลเบิร์ก เยอรมนี


Virtual Cloud 3D จากงานอดิเรก สู่การนำไปใช้จริง

โปรแกรม Virtual Cloud 3D เป็นโปรแกรมสำหรับการแสดงภาพเคลื่อนไหวของเมฆที่รับภาพจากดาวเทียมที่ผ่านการนำไปซ้อนกับภาพพื้นดินแล้ว หรือยังเป็นภาพดาวเทียมแบบไม่มีสิ่งเจอปนนอกจากเมฆ

ปกติแล้วภาพดาวเทียมนั้น จะมีเป็นสองมิติคือ เป็นภาพถ่ายจากด้านบน เมื่อนำภาพเหล่านั้นมาแสดงต่อเนื่อง ก็จะได้ภาพสองมิติที่ประกอบกันเป็นภาพยนต์สองมิติ ซึ่งมองจากมุมมองจากดาวเทียม แต่การแสดงผลแบบนี้ ภาพไม่สามารถจะซูมเข้าไปดูได้ หรือหากต้องการมองจากมุมมองอื่นๆ ก็จะทำไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ โปรแกรม Virtual Cloud 3D เลยคลอดออกมาเพื่อสนับสนุนการนำไปใช้จริง กรณีต้องการเตือนภัย หรือรายงานผลภาพเมฆหรือพายุที่กำลังเคลื่อนตัวมา เข้าไปยังพื้นที่เสี่ยงภัย

โปรแกรม Virtual Cloud 3D จะทำการดาวโหลดภาพดาวเทียมมาเก็บไว้ในเครื่อง โดยอยู่กับผู้ใช้ว่าจะเลือกภาพดาวเทียมจากดวงไหนที่มีบริการข้อมูล ซึ่งตอนนี้ โปรแกรมจะมีสนับสนุนสามพื้นที่คือ ดาวเทียม METEOSAT ในยุโรป และ MTSAT จากญี่ปุ่น และประเทศไทย ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นผู้รับจากดาวเทียมโดยตรง

เมืองได้ข้อมูลภาพลงมาแล้ว โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนภาพเหล่านั้นให้กลายเป็นภาพสามมิติโดยการเพิ่มความสูงเทียมเข้าไปให้กับภาพตามค่ากำหนดจากผู้ใช้ แล้วจะบันทึกภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบ .JPG , .GIF แล้วส่งผลที่ได้ขึ้นไปแขวนไว้ในเว็บไซต์ ซึ่งคนทั่วไปสามารถจะเข้ามาดูได้ในรายวัน

ตัวอย่างที่มีการนำไปใช้เช่น

http://www.marine.tmd.go.th ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทางทะเล สำนักเฝ้าระวังและเตือนสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา

http://www.schuai.net/VirtualCloud3D เว็บไซต์ตัวอย่างโปรแกรม

http://www.uni-heidelberg.de/presse/news07/2701kyri.html  ลงวารสารของมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก เยอรมนี

http://www.innovations-report.de/html/berichte/interdisziplinaere_forschung/bericht-77958.html  ข่าวของ Innovations Report เกี่ยวกับงานวิจัยแบบบูรณาการ

http://www.schuai.net/VirtualCloud3D/Kyrill/STN/Kyrill.pdf ลงหนังสือพิมพ์ของเมือง Stuttgart Newspaper เมือวันที่ 2 ก.พ. 2550 แสดงภาพสามมิติของพายุ เคอริลที่เกิดเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2550

 http://www.schuai.net/VirtualCloud3D/Kyrill/IWR-RNZ-16Feb2007.pdf ลงในหนังสือ ไรน์เนคคาร์ หนังสือในเมืองไฮเดลเบิร์ก ประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ครับ

งานนี้เกิดมาจากงานอดิเรกในเบื้องต้น อยากให้เมืองไทยมีการวิจัยเชิงบูรณาการที่แท้จริง โดยเริ่มจากทรัพยากรที่เรามี และปัญหาที่เราพบกันอยู่ตอนนี้ ช่วยกันคนละไม้ละมือ วันหนึ่งปัญหาก็จะถูกแก้ไข แล้วนำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆของประเทศเองด้วย

ปัญหาที่น่าเป็นห่วงมากๆ ตอนนี้อีกอย่างคือ การเขื่อนกันคลื่น ณ ชายฝั่งอ่าวไทยที่ภาคใต้ หากสร้างโดยไม่ได้คิดถึงผลกระทบกันก่อน ปัญหาที่หนักจะตามมาในภายหลัง แนวคิดในการสร้างคันกันคลื่น มีหลายวิธี นักวิศวะชายฝั่งควรมีการคิดและคำนวณหรือจำลอง ตลอดนำไปสู่การใช้จริง แล้วให้มีผลต่อการกำหนดนโยบายต่างๆ ในการสร้างด้วย หลักการคือ จะสร้างเพื่อทำลายคลื่นก่อนคลื่นวิ่งกระทบฝั่ง และเกิดการสะท้อนกลับย้อนสู่ทะเลน้อยที่สุด ไม่อย่างนั้น คลื่นมันจะแตกตัวกลายเป็นกระแสน้ำชายฝั่งแล้วหมุนเลี้ยวไปกัดเซาะชายฝั่งดังที่เราพบเห็นปัญหาอยู่ตอนนี้ครับ

การสร้างกำแพงตรงๆ ทื่อๆ ที่ชายฝั่ง ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดครับ ในการแก้ปัญหานี้ ขอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันศึกษาอย่างจริงจังครับ

ขอแสดงความนับถือ

สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 76300เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็น แบบจำลองทาง คณิตศาสาร์ หรือ mathermatic modeling เหรอครับ

 

อันนี้เป็นการนำภาพดาวเทียมมาผ่าน Image Processing ในการกรองส่วนที่เป็นเมฆออกมาจากภาพพื้นหลัง แล้วใช้ความรู้ด้าน Computer Graphics ผสมกับเทคนิคของ OpenGL (Open Graphics Library) มาผสมเข้ากัน โดยจะสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วแสดงผลรวดเร็ว หลังจากที่ผ่านกระบวนการ Image Processing แล้วครับ
ขอบคุณครับ
   ได้ความรู้ + ต่อยอดความคิดได้ดีมากครับ

ขอบคุณมากนะครับ คุณแฮนดี้ จะร่วมพัฒนาและต่อยอดไปเรื่อยๆ ครับ หวังว่าวันหนึ่งจะได้นำไปใช้ในการรายงานสภาพอากาศทางทีวีหรือทางอินเตอร์เนทครับ สามารถเข้าไปดูการรายงานผ่านเนทรายวันที่ กรมอุตุนิยมวิทยานะครับ www.marine.tmd.go.th

อาจจะมีประโยชน์สำหรับนักท่องเที่ยวและชาวประมงและผู้อื่นๆ นะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

สมพร

vpkdwfhdk9^oiN

อยากได้กาตูนร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท