ความจริง ความเป็นตัวตน ความเป็นมาของชาติ ทำให้รู้ว่าจะพัฒนาชาติไปทางไหน


ถ้าเอารูปแบบตัวตนตะวันตกมา พัฒนาภายใต้จิตใจตะวันออกก็เป็นอย่างที่เห็นๆนี้แหละ

          มองชาติต้องดูที่ประวัติศาสตร์ก่อน  บางคนดูแบบขาดตอน่แค่ 100 ปี  บางคนลงลึกไปถึง 1000 ปี  คุยกันไม่รู้เรื่อง  ภาพประวัติศาสตร์แต่ละคนไม่เหมือนกันขาดๆวิ่นๆ      

         หนักไปกว่านั้นระยะหลังมีนักคิดยุคใหม่แบบ Americanization บอกว่าไม่ต้องไปดูมันหรอกประวัติศาสตร์ลืมมันให้หมด  ชาติฉันเจริญก้าวหน้ามาได้เพราะของใหม่ทั้งสิ้นไม่เห็นจะต้องพึ่งพาของเก่า 

          หากแต่เราไทยๆของเก่าเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด(แม้บ้านผมก็มีคนเก่าๆ  แต่ยังใช้ได้ดีอยู่นะ  ฮิฮิ  ) 

          ประเทศเรามีของเก่าๆเยอะจะไม่สนใจไม่ดูแลได้อย่างไร  ไม่ใช่จะแนะนำเอาประวัติศาสตร์มาแก้ปัญหาอะไรดอก  เพราะประวัติศาสตร์ไม่ใช่มีไว้แก้ปัญหา  แต่มีไว้เพื่อไม่ให้ทำผิดซ้ำๆซากๆ  

           ดูวิธีการแก้ปัญหาของชาติในภาคใต้ซิเมื่อ 50 ปีก่อนแก้อย่างไร   ปัจจุบันก๊อปปี้สมองมาแก้แบบเดียวกันเปี๊ยบเลย  แสดงว่าอีก 50 ปีพี่ไทยก็จะแก้แบบนี้อีกต่อไปใช่ใหม  รับรองได้ว่าอนาคตได้เห็นพม่าวิ่งผ่านหน้าแน่นอนครับ 

           แบบนี้เขาเรียกว่าซ้ำซากๆๆๆๆๆครับ  หากได้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่แท้จริงแล้ว  เราคงต้องมาปรับเปลี่ยนวิธีคิดกันใหม่  ที่ผ่านมาและในปัจจุบันก็ยังมีวิธีคิดไปคนละทาง  หาช่องทางบรรจบยาก  สมควรที่จะจัดระเบียบความคิดก่อน  ลดความสับสน  ผลงานจะได้สัมฤทธิ์ซะที

คำสำคัญ (Tags): #ประวัติศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 143868เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2007 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ประเด็นนี้น่าสนใจมาก

แต่มันเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เหมือนกัน

วันที่ 14 ท่านว่างไหมครับ

นัดดวลข้าวต้มที่สกายไฮ เวลา 1 ทุ่ม ครับ

สวัสดีค่ะ

 วันนี้วันเสาร์  จะไปเที่ยวเสียหน่อยค่ะ แวะมาอ่านและ ขอให้ความเห็นส่วนตัวนิดหน่อยค่ะ

เรื่องแนวทางพัฒนาประเทศนี่  ดิฉันก็แค่คนตัวเล็กๆ ได้แค่ดูเป็นส่วนใหญ่ และทำหน้าที่ของตัวเองด้วยความรับผิดชอบให้ดีที่สุด

พอดีไปเจอบทความงานวิจัยด้านล่าง และดิฉันก็เห็นด้วยค่ะ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ไม่ต้องรอให้เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงเจริญก้าวหน้า แต่ควรจะเกิดขึ้นอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย และควรได้รับความสำคัญเป็นลำดับแรก ก่อนการลงทุนด้านอื่นๆ เช่น ณ ปัจจุบันนี้ค่ะ

 เพราะการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น มันมีขึ้นมีลง ตามเหตุปัจจัยร้อยแปดประการ

เหมือนกับดิฉันทำอุตสาหกรรมอาหาร ถ้าปีไหน ทางประเทศตะวันตกหนาวมากๆ จะขายดีมาก เพราะเขาปลูกอะไรไม่ค่อยได้ ต้องพึ่งเรา ทำไม่ทันขายเลย

และพอดีไปเจอการวิจัยนี้ค่ะ ลองอ่านดู

Human Development and Economic Growth

Gustav Ranis, Discussion paper No.887, Yale University

สังเกตไหมคะ งานวิจัยดีๆ เจาะลึกนี่ มาจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพราะเขาอธิบายชัดเจนดี มีเหตุผลประกอบน่าเชื่อถือ

  รูปข้างบนคือเวียดนาม ที่คุณเอกเคยพูดถึง

ไปเมื่อ3 ปีที่แล้วค่ะ ตอนนี้ที่บ้านมีแหล่งข้อมูลของประเทศนี้อยู่ เพราะลูกไปบ่อยทุกเดือน ไปได้Deal เกี่ยวกับการเงินที่นั่นค่ะ เขาก็เฉยๆค่ะ

แต่ถ้าประเทศเราไม่เร่งเครื่อง เขาอาจแซงค่ะ

Pหนึ่งทุ่ม 14 ไปแน่ให้รู้ขา(ไก่)ไหนจะใหญ่กว่า  ฮิฮิ
Pขอบคุณพี่ที่ให้ข้อมูลดีๆครับ  เวียตนามเขามีทุนทางปัญญามาก  ทุนทางทรัพยากรเขาก็มีมากแต่เขามีภัยจากดินฟ้าอากาศ  ที่ต้องอยู่กับพายุปีละเจ็ดลูก  จุดเด่นของเขามองยาวไม่มองสั้นในการวางแผนประเทศ

hi my uncle 

    today is  holiday for me  but  i have  busy  about my work  

    i  read  your imformation   oh it is  very interest   and my idea   everything   have  quality  for  people      

สวัสดีคะ...คุณลุงเอกชัย

ผิดเป็นครู เรียนรู้จากการกระทำ

ถ้าเราตั้งใจเรียนรู้กันมากกว่านี้ บ้านเราก็คงจะ....

---^.^---

ขอบคุณนะคะที่แวะไปให้กำลังใจหลาน...ด้วยความเคารพ

  • สวัสดีครับอาจารย์เอก
  • จากบันทึกนี้ผมมีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นมาครับว่า
  • ประเทศไทยมีด๊อกเตอร์มีคนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้รู้มากมาย แต่ทำไมถึงยังไม่เจริญซะทีครับ ได้ยินว่าเดี๋ยวนี้ไม่ใช่พัฒนาประเทศล่าช้าแล้วนะครับพัฒนาถอยหลังเลย
  • สมัยเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เราบอกว่าเรากำลังจะเป็นเสือ กำลังจะเป็น NIC เราไม่เคยมองประเทศเพื่อนบ้านอยู่ในสายตา เรามองว่าเราเจริญกว่าทุกประเทศในภูมิภาคยกเว้นสิงคโปร์ เมื่อก่อนเราพัฒนาประเทศแข่งกับเกาหลี ญี่ปุ่น แต่ ณ ปัจจุบันเราพัฒนาประเทศแข่งกับ เวียดนาม อันนี้น่าคิดนะครับว่าเกิดจากอะไร แต่ที่น่าคิดกว่าคือจะแก้ไขอย่างไรครับ
  • ขอบคุณครับ
Pนักตำราศาสตร์ท่านว่ามีดอกเตอร์เยอะประเทศชาติจะเจริญ  ที่ทำชาติล่มสลายสมัยปี 40 มาจากการวางแผนชาติของเหล่านักตำราศาสตร์เหล่านี้  ที่ไม่เคยอยู่กับความจริง  เก่งตำราหาเก่งปฎิบัติ  ดูครูบาเป็นไรใช่จะดอกเตอร์  แต่ดอกเตอร์ต้องเรียกพี่ก็แล้วกัน  ประเทศมันเลยไม่เขยื้อนไปสักเท่าไร
Pคนประสบความสำเร็จทุกวันนี้ส่วนใหญ่มาจากเคยล้มเหลวในอดีต  การปฏิบัติลองผิดลองถูกรู้ด้วยตัวเองประเสริฐนักลุงถือคติว่าทำอะไรต้องยึด "ปัจจัตตัง" รู้ด้วยตัวเองดีกว่าไปรู้จำๆท่องๆจากตำรา  หลานมาถูกทางแล้ว(ขอใช้คำนี้ที่คนไปผิดทางใช้บ่อยๆ   ฮิฮิ)

สวัสดีครับ

สบายดีไหมครับ

เมื่อก่อนตอนเด็กๆ ผมไม่ค่อยสนใจวิชาประวัติศาสตร์ เคยย้อนถามตัวเองว่าทำไมถึงไม่ชอบ คำตอบที่ตอบเองในใจ ก็คือ ผมเห็นภาพของวิชานี้ว่าเป็นการนำเอาอดีตมาเล่าให้ฟังซะเป็นส่วนใหญ่ มากกว่าการสกัด หรือตกผลึก เพื่อเรียนรู้จากความผิดพลาดและความสำเร็จในอดีต หรือสะท้อนให้เห็นวิธีคิดในอดีต

เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์จริงๆ ก็ตอนทำงาน R&D ครับ

นึกย้อนไปสมัยเรียนวิชาสังคมตอนนั้น ที่สอนว่า ในอนาคตผู้ประกอบการรายย่อยจะอยู่ไม่ได้ ผมก็ไม่แน่ใจว่าคนจำนวนเท่าใดในสังคมที่รับการฝังแบบนี้มา และเชื่อแบบฝังหัวไปแล้ว และหลงไปตามกระแสทุนนิยม บริโภคนิยม ไปไกลเกินกว่าจุดยูเทิร์น...นี่คือประวัติศาสตร์ทางระบบการศึกษาที่ผมจำได้

ขอบคุณครับ

 

Pเราไม่อยากตามใครแต่โลกนั้นไปไกลเกินเราตาม

สวัสดีครับ..ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ  ตามความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง(ซึ่งอาจจะผิด) ผมว่าเราไม่ค่อยมีความภูมิใจในความเป็นตัวตนของเรานะครับ(ความเป็นตะวันออก) ซึ่งเรามักจะดูถูกตัวเองและมองว่าล้าสมัย ขณะเดียวกัน เราก็มักจะยกย่องในความเป็นตะวันตก ว่าทันสมัย และมักจะเลียนแบบและตะเกียกตะกายไปสู่ความเป็นตะวันตก  ซึ่งสำหรับผมเอง วิถีตะวันตกก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรนะครับ และก็ไม่จำเป็นต้องถอยหลังเข้าคลองไปสู่ความเป็นไทยเดิม  ทางออก คือ เราต้องแสวงหารากแก้วของตัวความเป็นไทย เพื่อนำมาเป็นภูมิคุ้มกันยืนหยัดได้ท่ามกลางกระแสตะวันตก และเลือกรับเอาส่วนที่ดีของกระแสตะวันตกมารองรับการพัฒนาจากรากแก้วแห่งความเป็นไทยของเราเองครับ...ขอบคุณครับ

ความหลากหลายจะนำมาสู่การพัฒนา เพียงไม่ปล่อยให้ช่วงเวลาก้าวล่วงแบบผ่านแล้วผ่านเลยโดยไม่แยแส (แลกเปลี่ยนเท่านั้นครับ)
P

ครับ ในหลวงบอกเราต้องเดินสายกลางอย่างมีเหตุมีผลครับ  เราไม่ควรสุดโต่ง  เลือกเอาส่วนที่ดีมาสู่ชีวิต

Pเราต้องหลีกความเหมือนไปสู่ความหลากหลาย  ที่มีความสร้างสรรมากกว่า  มันเป็นการต่อสู้ระหว่างโลกาภิวัฒน์กับท้องถิ่นนิยม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท