“คิด – ทำ – เรียนรู้” ตอนที่ 4 ว่าด้วยเรื่อง Promotion


องค์กรที่เน้นการเอื้ออำนาจ (Empowerment) ไม่จำเป็นต้อง Promote คนในลักษณะแนวดิ่งเสมอไป จะทำในแนวราบก็ได้

         ในหนังสือ เจาะจุดแข็ง ที่พูดถึงในครั้งที่แล้ว ได้พูดเกี่ยวกับเรื่อง Promotion หรือการเลื่อนตำแหน่งไว้ว่า . . . ความผิดพลาดอันใหญ่หลวงคือการที่เราคิดว่าคนทุกคนปรารถนาจะได้รับความนับถือในรูปแบบเดียวกันหมด นั่นคือความนับถือที่ได้มาจากอำนาจ เรื่องนี้ถ้าเป็นเมื่อยี่สิบปีที่แล้วก็ไม่ถือว่าผิดพลาด เพราะองค์กรส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมเชิงอำนาจ เป็นแบบ Command & Control จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมคนถึงดิ้นรนตะเกียกตะกายที่จะไต่เต้าให้ไปสูงที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะนี่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เขาพ้นการถูกควบคุม เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เขาได้รับการยอมรับนับถือ . . .

 

 อ่านแล้วทำให้เห็นภาพของการ Promote ในลักษณะของการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนในที่สุดคนๆ นั้นก็หลุดออกนอกกรอบความสามารถ (จุดแข็ง) หรือความถนัดของเขา ผมได้พบเห็นกรณีดังกล่าวมานับครั้งไม่ถ้วนที่คนในหน่วยงานได้รับการ Promote ให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยที่บางท่านอาจไม่เหมาะกับตำแหน่งนั้น ครั้นเมื่อถูกวางลงไปให้ต้องรับผิดชอบแล้ว ท่านก็ทำได้ไม่ค่อยดี เพราะเป็นเรื่องที่ท่านไม่ถนัด ยิ่งทำไปก็ยิ่งผิดพลาด จนในที่สุดขาดความมั่นใจ ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจ ลูกน้องเริ่มไม่เชื่อถือ ไม่ให้ความนับถือ ไม่เชื่อในฝีมือ . . .

            ประเด็นที่สรุปได้ก็คือข้อสรุปที่ว่าสำหรับองค์กรยุคนี้ โดยเฉพาะองค์กรที่เน้นการเอื้ออำนาจ (Empowerment) ไม่จำเป็นต้อง Promote คนในลักษณะแนวดิ่งเสมอไป จะทำในแนวราบก็ได้ . . . ว่าแต่ว่าใครมีตัวอย่างเรื่องการ Promote ในแนวราบนี้บ้าง ช่วยยกตัวอย่างหรือแชร์มาให้ฟังกันบ้างนะครับ เผื่อจะได้นำไปปรับใช้กันได้
หมายเลขบันทึก: 141632เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ว่า การโปรโมทคน มีได้ทั้งการสนับสนุนทางแนวดิ่ง คือสนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้นและสนับสนุนทางแนวราบคือมอบหมายให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น  แต่ผมไม่เห็นด้วยว่า การโปรโมทคน จนกระทั่งหลุดออกจากความถนัด จัดเป็นการโปรโมท ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า การบริหาร โดยอาศัยหลักบริหาร ย่อมต้องยึดหลัก put the right man on the right job ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สิ่งนี้น่าจะเป็นกรอบใหญ่ของการบริหาร การกระทำใดๆ ที่ก้าวล่วงนอกกรอบนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะถูกต้องสำหรับการบริหารงานที่ดี ดังนั้นการโปรโมท คนจนกระทั่งหลุดออกจากความถนัดของเขานั้น น่าจะเป็นลักษณะหนึ่งของการมีเส้น มีสาย หรือพวกมากก็ลากกันไป หรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบอุปถัมภ์ หรือเอื้ออำนวยผลประโยชน์ซึ่งกันและกันมากกว่าที่จะยึดประโยชน์ขององค์กรเป็นหลัก ซึ่งการโปรโมทคนในลักษณะที่อาจารย์กล่าวถึงนั้น สามารถพบได้ไม่ยากในองค์กรที่ไม่เน้นด้านการสัมฤทธิ์ผลของการปฎิบัติงานอย่างเช่นงานราชการเป็นต้น ในงานราชการบางแห่ง เอาใครก็ได้ขึ้นไปเป็นหัวหน้า ขอเพียงแค่อ่านหนังสือออก เซ็นหนังสือได้ ก็มีคุณสมบัติในการเป็นหัวหน้าแล้ว เพราะไม่ต้องรับผิดชอบ ทุกอย่างที่ทำเป็นงานประจำ ที่ทำกันเหมือนเดิมตั้งแต่ปีมะโว้ และยังคงต้องทำต่อไปจนถึงชาติหน้า ส่วนการปรับปรุงและพัฒนาเป็นนโยบายจากเบื้องบน หากท่านเร่งมา ก็ค่อยมาว่ากัน หากไม่เร่ง ไม่กระตุ้น ทุกอย่างก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ผมจึงไม่คิดว่า การโปรโมทคนจนหลุดออกจากความถนัด เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานที่ดี
  • การโปรโมท ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการตอบแทนความสามารถ และการทุ่มเททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจตอบแทนได้ทั้งในแง่ของการสนับสนุนให้ก้าวหน้าเพิ่มขึ้นซึ่งอาจเป็นการมีตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้น หรือได้รับมอบหมายงานสำคัญ ดูแลและรับผิดชอบงานมากขึ้นโดยตำแหน่งอาจไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นการโปรโมท อาจหมายถึงการได้รับการตอบแทนที่สูงขึ้น โดยการตอบแทนนี้ อาจเป็นได้ทั้งในรูปที่เป็นตัวเงิน หรือแปลงเป็นเงินได้อย่างเช่นสวัสดิการเป็นต้น หรืออาจจะอยู่ในรูปที่ไม่สามารถแปลงเป็นตัวเงินได้ เช่น การให้ความสำคัญ หรือการกล่าวยกย่อง ชมเชย หรือกล่าวถึงในที่สาธารณะ ให้เป็นตัวอยางที่ดีเป็นต้น

 ขอบคุณ คุณ P Mitochondria มากครับ . . . ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยได้เจอกันนะครับ

สำหรับเรื่องที่ยกมากรณีที่โปรโมทขึ้นมาจนหลุดจากกรอบของความถนัด ก็เป็นอย่างที่ คุณไมโตบอกแหละครับว่าเป็นระบบอุปถัมภ์ ระบบราชการ โดยไม่ได้ดูความสามารถ ซึ่งได้ก่อผลเสียมากมาย

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำเรื่องการโปรโมทในแนวราบครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท