ประวัติศาสตร์"เมืองปาย"(1)


บรรยากาศ วัฒนธรรม โดยเฉพาะ วิถีชีวิต"คนปาย "

   มีนักท่องเที่ยว ผู้สนใจประวัติศาสตร์หลายท่านพูดและถามถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ"เมืองปาย" เนื่องจากว่า ปายกำลังเนื้อหอมจึงมีผู้คนสนใจมากมาย

ความจริงแล้วอำเภอปายเพิ่งได้รับความสนใจเมื่องประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวฝั่งยุโรป ซึ่งอาจจาเข้ามาโดยไม่ตั้งใจ แต่เมื่อมาพบบรรยากาศ วัฒนธรรม โดยเฉพาะวิถีชีวิต "คนปาย" จึงติดใจและไปพูดต่อในลักษณะ "Directive Promotion" จนในที่สุดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจำนวนมากมุ่งหน้าสู่"ปาย"

(ตั้งแต่อดีตมีข้อมูลหรือกระแสข่าวด้าน"ลบ"กับ "ปาย" มาตั้งแต่เริ่มต้นว่านักท่องเที่ยวที่มานั้นเพราะ "ยาเสพติด"ในปาย หาได้อย่างไม่ยากเย็น จนถึงปัจจุบันปัญหา"ยาเสพติด"ในพื้นที่น้อยลงอย่างมาก จากการทำงานอย่างหนักของ ศตส.และภาคส่วนต่าง ๆ แต่ก็ยังมีข่าวมาอยู่เป็นระยะ ๆ)

อย่างไรก็ตามครับ เมืองปายเป็นเมืองที่มีประวัติศาตร์ความเป็นมาอย่างแน่นอน และเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ค่อยมีใครมาศึกษาค้นคว้าครับ

ประชาชนชาว"ปาย"มีใครบ้าง หลายท่านเคยเข้ามา "ปาย"จะทราบว่ามีหลากหลายเผ่าพันธุ์ ร้อยละ30 เป็นไทยใหญ่ (อพยพจากรัฐฉาน พม่า) ร้อยละ 30 ไทยเหนือ(ย้ายมาจากล้านนา) ที่เหลือประมาณ ร้อยละ 40 เป็นฃาวเขาเผ่าต่าง ๆเช่น ลีซอหรือลีซู,มูเซอหรือลาหู่ ,ปากากะยอหรือกะเหรี่ยง ,ม้งหรือแม้ว

แล้วคำว่าปายมาจากไหน ?

เรื่องเล่าและความเป็นมาคำว่า "ปาย"มีหลายตำนานเหลือเกินแต่น่าจะมีเพียงตำนานเดียวเท่านั้นที่เป็นไปได้และถูกต้อง(ดร.แสวง  รวยสูงเนิน)

ตำนานที่ 1  ที่ชื่อ"ปาย" เพราะเพี้ยนมาจากคำว่า "ป้าย" ที่แปลว่าหนี หรืออพยพ เป็นภาษไทยใหญ่ (อิ๊ดอินปาย)ไม่มีเอกสารหลักฐานยืนยันเป็นเรื่องเล่า

ตำนานที่ 2 "ปาย"มาจากชื่อผู้นำที่ชื่อ "ขุนส่างปาย"(อ.เจริญ วรรณยอดคำ)ไม่พบเอกสารยืนยันเช่นกันครับ

ตำนานที่ 3  "ปาย"มาจากคำว่า"พลาย" ที่มีการบันทึกในหอสมุดแห่งชาติ(อ.โกศล  กันทะรส รอง ผอก.รร.รปค.22) บันทึกว่าในสมัยที่กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองอยู่ มีเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้น ได้สั่งให้เมืองเชียงใหม่หาช้าง คล้องช้างไปเป็นเครื่องบรรณาการให้อยุธยา เมื่อเมืองเชียงใหม่มาคล้องช้างที่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเชียงใหม่พบชุมชนเล็ก ๆและคล้องได้ช้างพลายหลายเชือก (จึงนำไปฝึกที่"แม่ร่องสอน"จึงเป็นที่มาของคำว่าแม่ฮ่องสอนด้วย) จึงน่าจะตั้งชื่อเมืองปายว่าเป็นเมืองพลาย (ในบันทึกมีคำว่าเมืองพลายช้างผู้) ต่อเมื่อเรียกสืบต่อกันนาน ๆจึงน่าจะเพี้ยนจากคำว่า"เมืองพลาย"มาเป็นคำว่า"เมืองปาย" ซึ่งเป็นคำเหนือ คล้าย ๆกับคำว่าเมือง"แพร่" คำเมืองเรียกว่า"แป้" คำว่า"พลิก" ก็เป็นคำว่า "ปิ๊ก" ในลักษณะเดียวกันนั่นเองครับ

ขออนุญาตพักครับ !(มีต่อครับ)

หมายเลขบันทึก: 141631เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ขอรายละเอียดได้จากที่ไหน

วันนี้เจอ ดร.ดวงใจ หล่อธนะวณิชย์ ได้คุยกันมากเกี่ยวกับ ประเด็นที่ปาย ...ผมคิดว่ามีโอกาสจะคุยกันนะครับ ผมมีประเด็นในใจที่อยากขอความคิดเห็นร่วมกัน

ขอบคุณครับสำหรับบันทึกรายละเอียดนี้ หลายๆท่านสนใจถามกันมาก

ผมมีงานวิจัยของนักวิจัยท่านหนึ่งเกี่ยวกับเมืองปาย มีรายละเอียดที่น่าสนใจมาก วันหน้าจะได้นำมาแลกเปลี่ยนกันครับ

 

สวัสดีครับอาจารย์P

ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือนถึงบ้านครบ

ทราบว่าเป็นไข้ หายเร็ว ๆนะครับ

ขอบคุณสำหรับของฝากและที่ช่วยโปรโมทนะครับ

คิดค่าที่พักราคาพิเศษสำหรับ Blogger G2K

และฟรีสำหรับผู้มาช่วยชาวปายครับ

สวัสดีครับครู P

รู้สึกดีและภูมิใจในตัวเอกมาก ๆ

ประวัติเมืองปายยังมีอีกมาก คงใช้เวลาเขียนหน่อย

หากท่านใดจะมาย้อนรอยเมืองเจ้าน้อยหรือเดินป่าลุยโป่งเชิญได้(เสาร์-อาทิตย์)พี่จะเป็นไกด์ให้เอง ครับ

ขอบคุณและขอเป็น-รับ กำลังใจให้กันเสมอ

ตอนแรกที่อ่านนึกว่าใคร นายกระโถน  กะจะชวนเข้าแก๊งบล็อกเกอร์ปาย  ที่ไหนได้  เป็นพี่กระท้อนนี่เอง  ต้องกราบขอโทษที่จำไม่ได้

มาจำได้ตอนอ่านเจอชื่อ  ดร.แสวง นี่แหละ  เพราะว่าในวงนั้นผมบังเอิญอยู่ด้วย แหะๆ

สวัสดีครับพี่กระท้อน  ว่างๆจะไปเยี่ยมครับ

  • ทันทีที่กลับมาจาก Oregon อยากไปที่นี่ครับพี่รอน
  • เมืองเจ้าน้อย
  • ขอบคุณมากครับที่ช่วยดูแลตอนอยู่ปาย
ชอบครับ ... จะจดจำไว้เลยนะครับ :)

สวัสดีครับP

กลับมาเมื่อไร ยินดีขับ 4WD พาอาจารย์ขึ้นไปชมและย้อนรอยเมืองเจ้าน้อยครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ อ.P

ขอบคุณที่มาเยือนและให้กำลังใจครับ

มีเวลามากับ อ.ขจิต เลยครับ จะพาขึ้นไปด้วยกัน

แม้ไม่ชัดเจน ก็ดีกว่าไม่มีหลักฐานนะครับ ผมว่าการบันทึกเป็นการแสดงแหล่งข้อมูล ที่สามรถชี้นำให้ศึกษาต่อหรือคิดต่อได้ดีครับ

กราบเรียนท่านอาจารย์ ดร.แสวงครับ

ผมได้พบกับ ผอ.โรงเรียนบ้านเมืองน้อย(สังวาลย์วิทย์ 3)และผู้ใหญ่บ้านเมืองน้อย ต่างรู้สึกยินดีที่มีผู้สนใจ หากมีท่านใดจะสืบค้นต่อสามารถประสานผ่าน Mr.Kraton ได้ครับ

   ต้องการทราบว่า

1. "ปาย" มาจากคำว่า "พลาย" ที่มีการบันทึกในหอสมุดแห่งชาติ

2. " สมัยกรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองอยู่มีเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นได้สั่งให้เมืองเชียงใหม่หาช้าง คล้องช้างไปเป็นเครื่องบรรณาการให้อยุธยา เมือเมืองเชียงใหม่มาคล้องช้างท่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่พบชุมชนเล็ก ๆ และคล้องได้ช้างพลายหลายเชือก (จึงนำไปฝึกที่"แม่ร่องสอน" จึงเป็นที่มาของคำว่าแม่ฮ่องสอนด้วย)

ผมเขียนไว้ที่ไหนหนอ.. สมองผมเลอะเลือนขณะนั้นเชียวหรืออนุเคราะห์แจ้งให้ทราบด้วยครับผม

ปล.ผมนามสกุล  กันธะรส ครับผม

ผมต้องการอ่านปาย ที่เขียนโดย ดร.แสวง  รวยสูงเนิน ที่ Mr. kraton pai ว่าเป็นไปได้และถูกต้อง อนุเคราะห์ส่งเสริม ให้เป็นบุญตา หรือแจ้งแหล่งที่มาของหนังสือ หรือบทความก็ได้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท